ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
มหาปัญหาสูตรที่ ๒
[๒๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าไผ่ ใกล้กชังคลนคร ครั้งนั้นแล อุบาสกชาวเมืองกชังคละมากด้วยกัน เข้าไปหากชังคลาภิกษุณีถึงที่อยู่ อภิวาทกชังคลาภิกษุณีแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ถามกชังคลา ภิกษุณีว่า ข้าแต่แม่เจ้า พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ในมหาปัญหา ทั้งหลายว่า ปัญหา ๑ อุเทศ ๑ ไวยากรณ์ ๑ ปัญหา ๒ อุเทศ ๒ ไวยากรณ์ ๒ ปัญหา ๓ อุเทศ ๓ ไวยากรณ์ ๓ ปัญหา ๔ อุเทศ ๔ ไวยากรณ์ ๔ ปัญหา ๕ อุเทศ ๕ ไวยากรณ์ ๕ ปัญหา ๖ อุเทศ ๖ ไวยากรณ์ ๖ ปัญหา ๗ อุเทศ ๗ ไวยากรณ์ ๗ ปัญหา ๘ อุเทศ ๘ ไวยากรณ์ ๘ ปัญหา ๙ อุเทศ ๙ ไวยากรณ์ ๙ ปัญหา ๑๐ อุเทศ ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐ ดังนี้ ข้าแต่แม่เจ้า เนื้อความแห่ง พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสโดยย่อนี้ จะพึงเห็นโดยพิสดารได้อย่างไรหนอ ฯ กชังคลาภิกษุณีตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระดำรัสนี้เราได้สดับ รับฟังมาแล้ว ในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคก็หามิได้ เราได้สดับรับฟัง มาแล้ว ในที่เฉพาะหน้าของภิกษุทั้งหลายผู้สำเร็จทางใจก็หามิได้ ก็แต่ว่าเนื้อความ ในพระพุทธภาษิตนี้ย่อมปรากฏแก่เราอย่างไร ท่านทั้งหลายจงฟังเนื้อความแห่งพระ พุทธภาษิตนั้นอย่างนั้น จงทำไว้ในใจให้ดี เราจักกล่าว พวกอุบาสกชาวเมือง กชังคละ รับคำของกชังคลาภิกษุณีแล้ว กชังคลาภิกษุณีได้กล่าวว่า ก็พระดำรัส ที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสแล้วว่า ปัญหา ๑ อุเทศ ๑ ไวยากรณ์ ๑ ดังนี้ พระองค์ ทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัด โดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรมอย่าง ๑ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรมอย่าง ๑ เป็นไฉน คือ สัตว์ทั้งปวงมีอาหารเป็นที่ตั้ง ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุ ประโยชน์โดยชอบ ในธรรมอย่าง ๑ นี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วว่า ปัญหา ๑ อุเทศ ๑ ไวยากรณ์ ๑ ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยข้อนี้ตรัสแล้ว ฯ ก็พระดำรัสที่พระองค์ตรัสว่า ปัญหา ๒ อุเทศ ๒ ไวยากรณ์ ๒ ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุ ประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๒ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ในนาม ๑ ในรูป ๑ ... ฯ ก็พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ปัญหา ๓ อุเทศ ๓ ไวยากรณ์ ๓ ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่าย โดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๓ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๓ อย่างเป็นไฉน คือ ในเวทนา ๓ ... ฯ ก็พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ปัญหา ๔ อุเทศ ๔ ไวยากรณ์ ๔ ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีจิตอัน อบรมดีแล้วโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๔ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๔ อย่างเป็นไฉน คือ ในสติปัฏฐาน ๔ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีจิตอันอบรมดีแล้วโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๔ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ปัญหา ๔ อุเทศ ๔ ไวยากรณ์ ๔ ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยข้อนี้ตรัสแล้ว ฯ ก็พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ปัญหา ๕ อุเทศ ๕ ไวยากรณ์ ๕ ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีจิตอันอบรม ดีแล้วโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๕ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๕ อย่างเป็นไฉน คือ ในอินทรีย์ ๕ ... ในธรรม ๖ อย่างเป็นไฉน คือ ในนิสสรณียธาตุ ๖ ... ในธรรม ๗ อย่างเป็นไฉน คือ ในโพชฌงค์ ๗ ... ในธรรม ๘ อย่างเป็นไฉน คือ ใน อริยมรรคมีองค์ ๘ ... ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีจิตอันอบรมดีแล้วโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๘ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ปัญหา ๘ อุเทศ ๘ ไวยากรณ์ ๘ ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยข้อนี้ตรัสแล้ว ฯ ก็พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ปัญหา ๙ อุเทศ ๙ ไวยากรณ์ ๙ ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่าย โดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๙ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๙ อย่างเป็นไฉน คือ ในสัตตาวาส ๙ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อ หน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุด โดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๙ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุด ทุกข์ได้ในปัจจุบัน พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ปัญหา ๙ อุเทศ ๙ ไวยากรณ์ ๙ ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยข้อนี้ตรัสแล้ว ฯ ก็พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ปัญหา ๑๐ อุเทศ ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐ ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีจิตอันอบรม ดีแล้วโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๑๐ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๑๐ อย่างเป็นไฉน คือ ในกุศลธรรม ๑๐ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีจิตอันอบรมดีแล้วโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๑๐ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ปัญหา ๑๐ อุเทศ ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐ ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยข้อนี้ตรัสแล้ว ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสในมหาปัญหา ทั้งหลายว่า ปัญหา ๑ อุเทศ ๑ ไวยากรณ์ ๑ ฯลฯ ปัญหา ๑๐ อุเทศ ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐ เราย่อมรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดย ย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้ ดังนี้แล ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็แลท่านทั้งหลายจำนง อยู่ พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลสอบถามความข้อนี้ พระผู้มีพระภาคของ เราทรงพยากรณ์อย่างใด ท่านทั้งหลายพึงทรงจำความนั้นไว้อย่างนั้นเถิด ฯ พวกอุบาสกชาวเมืองกชังคละรับคำว่า อย่างนั้นแม่เจ้า แล้วชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของกชังคลาภิกษุณี ลุกจากอาสนะ อภิวาทกชังคลาภิกษุณี ทำประทักษิณแล้ว ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มี พระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว จึงกราบทูลถ้อยคำที่สนทนา กับกชังคลาภิกษุณีนั้นทั้งหมดแด่พระผู้มีพระภาค ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละๆ คหบดีทั้งหลาย กชังคลาภิกษุณีเป็น บัณฑิต มีปัญญามาก ดูกรคหบดีทั้งหลาย ถ้าแม้ท่านทั้งหลายพึงเข้ามาหาเราแล้ว ถามเนื้อความนี้ไซร้ แม้เราก็พึงพยากรณ์เนื้อความ เหมือนอย่างที่กชังคลาภิกษุณี พยากรณ์แล้ว และเนื้อความของคำนั้น คือนี้แหละ ท่านทั้งหลายพึงทรงจำเนื้อ ความไว้อย่างนั้นแหละ ฯ
จบสูตรที่ ๘

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๑๓๖๐-๑๔๔๗ หน้าที่ ๕๙-๖๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=24&A=1360&Z=1447&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=24&siri=28              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=28              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [28] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=24&item=28&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=7592              The Pali Tipitaka in Roman :- [28] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=24&item=28&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=7592              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i021-e.php#sutta8 https://suttacentral.net/an10.28/en/sujato https://suttacentral.net/an10.28/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :