ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
โกศลสูตรที่ ๒
[๓๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้า ปเสนทิโกศลเสด็จกลับจากการรบชนะสงครามมาแล้ว มีพระราชประสงค์อันได้ แล้ว ครั้งนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จไปยังอาราม เสด็จไปโดย พระราชยานเท่าที่ยานจะไปได้ เสด็จลงจากยานแล้ว เสด็จไปด้วยพระบาทเข้าไปสู่ อาราม ฯ ก็โดยสมัยนั้น ภิกษุมากรูปเดินจงกรมอยู่ในที่แจ้ง ครั้งนั้นแล พระเจ้า ปเสนทิโกศลได้เสด็จเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นแล้วได้ตรัสถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บัดนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ในที่ไหนหนอ ด้วยว่า ดิฉันประสงค์จะเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ขอถวายพระพร ขอมหาบพิตรจงเงียบเสียงเสด็จเข้าไปยังพระวิหารซึ่งมีประตูปิด นั่นแล้ว ไม่รีบด่วน เสด็จเข้าไปยังระเบียงทรงกระแอม ทรงเคาะอกเลาประตู เถิด พระผู้มีพระภาคจักทรงเปิดประตูรับ ขอถวายพระพร ครั้งนั้นแล พระ- *เจ้าปเสนทิโกศลทรงเงียบเสียง เสด็จเข้าไปยังวิหารที่มีประตูปิดนั้น ครั้นแล้ว มิได้ทรงรีบด่วน เสด็จเข้าไปยังระเบียงแล้ว ทรงกระแอม ทรงเคาะอกเลาประตู พระผู้มีพระภาคทรงเปิดประตูรับ ครั้งนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปสู่ วิหาร ซบพระเศียรลงที่พระบาททั้งคู่ของพระผู้มีพระภาคทรงจุ๊บพระบาททั้งสอง ของพระผู้มีพระภาคด้วยพระโอฐ ทรงนวดด้วยพระหัตถ์ทั้งสอง และทรงประกาศ พระนามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันคือพระเจ้าปเสนทิโกศล หม่อมฉัน คือพระเจ้าปเสนทิโกศล ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรมหาบพิตร มหาบพิตรทรงเห็นอำนาจ ประโยชน์อะไรเล่า จึงทรงทำความนบนอบอย่างยิ่ง มอบถวายความนับถืออัน ประกอบด้วยเมตตาเห็นปานนี้ ในสรีระนี้ ฯ พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็น ความกตัญญูกตเวที จึงทำความนบนอบอย่างยิ่ง ถวายความนับถืออันประกอบ ด้วยเมตตาเห็นปานนี้ ในพระผู้มีพระภาค เพราะพระผู้มีพระภาคทรงปฏิบัติเพื่อ ประโยชน์แก่ชนหมู่มาก เพื่อความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก ทรงยังชนหมู่มากให้ดำรงอยู่ในอริยญายธรรม คือ ความเป็นผู้มีกัลยาณธรรม ความ เป็นผู้มีกุศลธรรม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์แม้นี้แล จึงทำความนอบน้อมอย่างยิ่ง ถวายความนับถืออันประกอบด้วยเมตตาเห็นปานนี้ ในพระผู้มีพระภาค ฯ อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีศีล มีศีลอันเจริญ มีศีลอัน ประเสริฐ มีศีลเป็นกุศล ทรงเป็นผู้ประกอบแล้วด้วยกุศลศีล ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์แม้นี้แล จึงทำความนอบน้อมอย่างยิ่ง ถวายความนับถืออันประกอบด้วยเมตตาเห็นปานนี้ ในพระผู้มีพระภาค ฯ อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ทรงเสพ เสนาสนะอันสงัดซึ่งตั้งอยู่แนวป่า ตลอดกาลนาน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉัน เห็นอำนาจประโยชน์แม้นี้แล จึงทำความนอบน้อมอย่างยิ่ง ถวายความนับถืออัน ประกอบด้วยเมตตาเห็นปานนี้ ในพระผู้มีพระภาค ฯ อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงสันโดษด้วยจีวร บิณฑบาตเสนาสนะ และเภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยแก่คนไข้ ตามมีตามได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์แม้นี้แล จึงทำความนอบน้อมอย่างยิ่ง ถวายความ นับถืออันประกอบด้วยเมตตาเห็นปานนี้ ในพระผู้มีพระภาค ฯ อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของ ต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี ทรงเป็นนาบุญของโลก ไม่มี นาบุญอื่นยิ่งกว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์แม้นี้แล จึงทำความนอบน้อมอย่างยิ่ง ถวายความนับถืออันประกอบด้วยเมตตาเห็นปานนี้ ในพระผู้มีพระภาค ฯ อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดย ไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งกถาเป็นเครื่องขัดเกลาอย่างยิ่ง เป็นที่สบายแห่งการเที่ยว ไปแห่งจิต คือ อัปปิจฉกถา สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา อสังสัคคกถา วิริยารัมภกถา สีลกถา สมาธิกถา ปัญญากถา วิมุตติญาณทัสสนกถา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์แม้นี้แล จึงทำความนอบน้อมอย่างยิ่ง ถวายความ นับถืออันประกอบด้วยเมตตาเห็นปานนี้ ในพระผู้มีพระภาค ฯ อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดย ไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์แม้นี้แล จึงทำความนอบน้อม อย่างยิ่ง ถวายความนับถืออันประกอบด้วยเมตตาเห็นปานนี้ ในพระผู้มีพระภาค ฯ อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็น อันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุข เสวยทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุเพียงเท่านี้ ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพ นั้น เราก็เป็นผู้มีชื่อย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุเพียงเท่านี้ ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ มาเกิดในภพนี้ ทรงระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์แม้นี้แล จึงทำความนอบน้อมอย่างยิ่ง ถวายความนับถืออันประกอบด้วยเมตตาเห็นปานนี้ ในพระผู้มีพระภาค ฯ อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคย่อมทรงเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลัง อุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุ อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุมนุษย์ ย่อมทรงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์ เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยะเจ้า เป็น มิจฉาทิฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฐิ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโน- *สุจริต ไม่ติเตียนพระอริยะเจ้า เป็นสัมมาทิฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฐิ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ย่อมทรงเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอัน บริสุทธิ์ล่วงจักษุมนุษย์ ย่อมทรงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมด้วยประการฉะนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์แม้นี้แล จึงทำความนอบน้อม อย่างยิ่ง ถวายความนับถืออันประกอบด้วยเมตตาเห็นปานนี้ ในพระผู้มีพระภาค ฯ อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยพระปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์แม้นี้แล จึงทำ ความนอบน้อมอย่างยิ่ง ถวายความนับถืออันประกอบด้วยเมตตาเห็นปานนี้ ใน พระผู้มีพระภาค ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเป็นผู้มีกิจมาก มีกรณียะมากขอถวาย บังคมลาไป ณ บัดนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมหาบพิตร ขอมหาบพิตรทรง สำคัญกาลอันควรในบัดนี้เถิด ครั้งนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกสลเสด็จลุกขึ้น จากอาสน์ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทรงทำประทักษิณแล้ว เสด็จกลับไป ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบมหาวรรคที่ ๓
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สีหสูตร ๒. อธิมุตติสูตร ๓. กายสูตร ๔. จุนทสูตร ๕. กสิณ สูตร ๖. กาลีสูตร ๗. มหาปัญหาสูตรที่ ๑ ๘. มหาปัญหาสูตรที่ ๒ ๙. โกศล สูตรที่ ๑ ๑๐. โกศลสูตรที่ ๒ ฯ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๑๕๙๐-๑๖๙๐ หน้าที่ ๖๘-๗๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=24&A=1590&Z=1690&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=24&siri=30              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=30              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [30] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=24&item=30&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=7634              The Pali Tipitaka in Roman :- [30] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=24&item=30&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=7634              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i021-e.php#sutta10 https://suttacentral.net/an10.30/en/sujato https://suttacentral.net/an10.30/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :