ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
กุสินาราสูตร
[๔๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ไพรสณฑ์เป็นที่นำไปทำ พลีกรรม ใกล้กรุงกุสินารา ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นโจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณา ธรรม ๕ ประการในตน พึงเข้าไปตั้งธรรม ๕ ประการไว้ในตน แล้วจึงโจท ผู้อื่น ธรรม ๕ ประการอันภิกษุพึงพิจารณาในตนเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นโจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้มีกาย- *สมาจารอันบริสุทธิ์ เราเป็นผู้ประกอบด้วยกายสมาจารอันบริสุทธิ์ ไม่ขาด ไม่ บกพร่องหรือหนอ ธรรมนี้มีพร้อมอยู่แก่เราหรือไม่หนอ ดูกรภิกษุทั้งหลาย หาก ว่าภิกษุมิได้เป็นผู้มีกายสมาจารอันบริสุทธิ์ มิได้เป็นผู้ประกอบด้วยกายสมาจาร อันบริสุทธิ์ ไม่ขาด ไม่บกพร่องไซร้ จะมีผู้ว่ากล่าวภิกษุนั้นว่า เชิญท่านจง ศึกษาความประพฤติทางกายเสียก่อนเถิด จะมีผู้ว่ากล่าวภิกษุนั้น ดังนี้ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นโจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณา อย่างนี้ว่า เราเป็นผู้มีวจีสมาจารบริสุทธิ์ เราเป็นผู้ประกอบด้วยวจีสมาจารอัน บริสุทธิ์ ไม่ขาด ไม่บกพร่องหรือหนอ ธรรมนี้มีพร้อมอยู่แก่เราหรือไม่หนอ ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่าภิกษุมิได้เป็นผู้มีวจีสมาจารบริสุทธิ์ มิได้ประกอบด้วยวจี- *สมาจารอันบริสุทธิ์ ไม่ขาด ไม่บกพร่องไซร้ จะมีผู้ว่ากล่าวภิกษุนั้นว่า เชิญท่าน จงศึกษาความประพฤติทางวาจาเสียก่อนเถิด จะมีผู้ว่ากล่าวภิกษุนั้น ดังนี้ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นโจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณา อย่างนี้ว่า เราเข้าไปตั้งเมตตาจิตไม่อาฆาตไว้ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายแล้วหรือ หนอ ธรรมนี้มีพร้อมอยู่แก่เราหรือไม่หนอ ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่าภิกษุไม่เข้าไป ตั้งเมตตาจิตไม่อาฆาตไว้ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายไซร้ จะมีผู้ว่ากล่าวภิกษุนั้น ว่า เชิญท่านจงเข้าไปตั้งเมตตาจิตไว้ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายเสียก่อนเถิด จะมีผู้ว่ากล่าวภิกษุนั้น ดังนี้ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นโจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณา อย่างนี้ว่า เราเป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้สดับมามาก ทรงไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิซึ่งธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่าม กลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิงหรือหนอ ธรรมนี้มีพร้อมอยู่แก่เราหรือไม่หนอ ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุไม่เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ ไม่เป็นผู้ได้สดับมามาก ทรงไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิซึ่งธรรมอันงามในเบื้องต้น งามใน ท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงไซร้ จะมีผู้ว่ากล่าวภิกษุนั้นว่า เชิญท่านจงเล่าเรียนคัมภีร์ เสียก่อนเถิด จะมีผู้ว่ากล่าวภิกษุนั้น ดังนี้ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นโจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณา อย่างนี้ว่า เราจำปาติโมกข์ทั้ง ๒ ได้ดีแล้ว จำแนกดีแล้ว ให้เป็นไปดีแล้วโดย พิสดาร วินิจฉัยดีแล้วโดยสูตรโดยอนุพยัญชนะหรือหนอ ธรรมนี้มีพร้อมอยู่แก่ เราหรือไม่หนอ ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่าภิกษุเป็นผู้ไม่จำปาติโมกข์ทั้ง ๒ ได้ดี แล้ว มิได้จำแนกดีแล้ว มิได้ให้เป็นไปดีแล้วโดยพิสดาร มิได้วินิจฉัยด้วยดีโดย สูตร โดยอนุพยัญชนะ ภิกษุนั้นถูกถามว่า ท่านผู้มีอายุ สิกขาบทนี้พระผู้มี- *พระภาคตรัสแล้วในที่ไหน ดังนี้ แก้ไม่ได้ จะมีผู้ว่ากล่าวภิกษุนั้นว่า เชิญท่าน ศึกษาวินัยเสียก่อนเถิด จะมีผู้ว่ากล่าวภิกษุนั้น ดังนี้ ธรรม ๕ ประการนี้ อัน ภิกษุผู้เป็นโจทก์พึงพิจารณาในตน ฯ ธรรม ๕ ประการ อันภิกษุผู้เป็นโจทก์พึงให้เข้าไปตั้งไว้ในตนเป็นไฉน คือ จักกล่าวโดยกาลอันควร จักไม่กล่าวโดยกาลอันไม่ควร ๑ จักกล่าวด้วยคำ จริง จักไม่กล่าวด้วยคำไม่จริง ๑ จักกล่าวด้วยคำอ่อนหวาน จักไม่กล่าวด้วยคำ หยาบ ๑ จักกล่าวด้วยคำอันประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่กล่าวด้วยคำอันไม่ ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ จักมีเมตตาจิตกล่าว จักไม่เพ่งโทษกล่าว ๑ ธรรม ๕ ประการนี้ อันภิกษุผู้เป็นโจทก์พึงเข้าไปตั้งไว้ในตน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ผู้เป็นโจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาธรรม ๕ ประการนี้ในตน พึงเข้า ไปตั้งธรรม ๕ ประการนี้ไว้ในตน แล้วจึงโจทผู้อื่น ฯ
จบสูตรที่ ๔

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๑๙๐๓-๑๙๕๕ หน้าที่ ๘๒-๘๔. https://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=24&A=1903&Z=1955&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=24&siri=42              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=44              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [44] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=24&item=44&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=7781              The Pali Tipitaka in Roman :- [44] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=24&item=44&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=7781              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i041-e.php#sutta4 https://suttacentral.net/an10.44/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :