ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
มหาลิสูตร
[๔๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน ใกล้นครเวสาลี ครั้งนั้นแล กษัตริย์ลิจฉวีพระนามว่ามหาลี ได้เสด็จเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งการทำบาปกรรม แห่งความเป็นไปแห่ง บาปกรรม พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรมหาลี โลภะแลเป็นเหตุเป็นปัจจัย แห่งการทำบาปกรรม แห่งความเป็นไปแห่งบาปกรรม ดูกรมหาลี โทสะแล ... โมหะแล ... อโยนิโสมนสิการแล ... ดูกรมหาลี จิตอันบุคคลตั้งไว้ผิดแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งการทำบาปกรรม แห่งความเป็นไปแห่งบาปกรรม ดูกร มหาลี กิเลสมีโลภะเป็นต้นนี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งการทำบาปกรรม แห่งความเป็นไปแห่งบาปกรรม ฯ ม. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย แห่งการทำ กัลยาณกรรม แห่งความเป็นไปแห่งกัลยาณกรรม ฯ พ. ดูกรมหาลี อโลภะแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งการทำกัลยาณกรรม แห่งความเป็นไปแห่งกัลยาณกรรม ดูกรมหาลี อโทสะแล ... อโมหะแล ... โยนิโสมนสิการแล ... ดูกรมหาลี จิตอันบุคคลตั้งไว้ชอบแล เป็นเหตุเป็น ปัจจัยแห่งการทำกัลยาณกรรม แห่งความเป็นไปแห่งกัลยาณกรรม ดูกรมหาลี ธรรมมีอโลภะเป็นต้นนี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งการทำกัลยาณธรรม แห่งความ เป็นไปแห่งกัลยาณธรรม ดูกรมหาลี ถ้าธรรม ๑๐ ประการนี้แลไม่พึงมีในโลก ชื่อว่าความประพฤติไม่สม่ำเสมอ คือ ความประพฤติอธรรม หรือความประพฤติ สม่ำเสมอ คือ ความประพฤติธรรม ก็จะไม่พึงปรากฏในโลกนี้ ดูกรมหาลี ก็เพราะธรรม ๑๐ ประการนี้มีพร้อมอยู่ในโลก ฉะนั้น ชื่อว่าความประพฤติไม่ สม่ำเสมอ คือ ความประพฤติอธรรม หรือความประพฤติสม่ำเสมอ คือ ความประพฤติธรรม จึงปรากฏ (ในโลกนี้) ฯ
จบสูตรที่ ๗

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๒๐๘๔-๒๑๐๙ หน้าที่ ๙๐-๙๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=24&A=2084&Z=2109&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=24&siri=45              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=47              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [47] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=24&item=47&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=7827              The Pali Tipitaka in Roman :- [47] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=24&item=47&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=7827              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i041-e.php#sutta7 https://suttacentral.net/an10.47/en/sujato https://suttacentral.net/an10.47/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :