ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
ภัณฑนสูตร
[๕๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ภิกษุ มากด้วยกันกลับจากบิณฑบาตในเวลาภายหลังภัต นั่งประชุมกันที่หอฉัน เกิด หมายมั่นก่อความทะเลาะวิวาทกันขึ้น ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอก คือ ปาก ครั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้น เสด็จเข้าไปยังหอฉัน แล้ว ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้นแล้วได้ตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บัดนี้ เธอทั้งหลายนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ และเรื่อง อะไรอันเธอทั้งหลายพักค้างไว้ในระหว่าง ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์ทั้งหลายกลับจากบิณฑบาต ในเวลาภายหลังภัต นั่งประชุมกันที่หอฉัน เกิดหมายมั่นก่อความทะเลาะวิวาท กันขึ้น ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอก คือ ปากอยู่ ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย การที่เธอทั้งหลายเกิดความ หมายมั่นก่อความทะเลาะวิวาทกันขึ้น ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอก คือ ปากอยู่นี้ เป็นกรรมไม่สมควรแก่เธอทั้งหลาย ผู้เป็นกุลบุตรออกบวชเป็นบรรพชิตด้วย ศรัทธา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ เป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ทำให้เป็นที่รัก ที่เคารพกัน ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันและกัน ไม่วิวาทกัน สามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วย อาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน สิกขาบททั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีศีล ฯลฯ แม้นี้ เป็นธรรม ที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ทำให้เป็นที่รัก ที่เคารพกัน เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ กันและกัน ไม่วิวาทกัน สามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ สดับมามาก ทรงไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่งธรรม ทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุ เป็นพหูสูต ฯลฯ นี้เป็นธรรมที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ทำให้เป็นที่รัก ที่เคารพ กัน ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันและกัน ไม่วิวาทกัน สามัคคีเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดีนี้ เป็นธรรมที่ตั้งแห่ง ความระลึกถึงกันและกัน ทำให้เป็นที่รัก ที่เคารพกัน ย่อมเป็นไปเพื่อความ สงเคราะห์กันและกัน ไม่วิวาทกัน สามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมเครื่องทำให้เป็น ผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน มีปรกติรับคำพร่ำสอนโดยเคารพ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อ ที่ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ฯลฯ นี้ เป็นธรรมที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกันและกัน ทำให้ เป็นที่รักที่เคารพกัน ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันและกัน ไม่วิวาทกัน สามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้านในกรณียกิจทั้งสูงทั้งต่ำ ของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาอันเป็น อุบายในกรณียกิจนั้น เป็นผู้สามารถเพื่อทำ เพื่อจัดได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ ภิกษุเป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้านในกรณียกิจทั้งสูงทั้งต่ำ ของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ฯลฯ นี้ เป็นธรรมที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกันและกัน ทำให้เป็นที่รัก ที่เคารพกัน ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันและกัน ไม่วิวาทกันสามัคคีเป็นอันหนึ่งอัน เดียวกัน ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีความใคร่ในธรรม เป็นผู้ฟังและแสดงธรรมอัน เป็นที่รัก มีความปราโมทย์อย่างยิ่งในอภิธรรม ในอภิวินัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีความใคร่ในธรรม ฯลฯ นี้ เป็นธรรมที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน และกัน ทำให้เป็นที่รัก ที่เคารพกัน เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันและกัน ไม่วิวาทกัน สามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรมทั้งหลาย เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ปรารภความ เพียร ฯลฯ นี้ เป็นธรรมที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกันและกัน ทำให้เป็นที่รัก ที่เคารพกัน ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันและกัน ไม่วิวาทกัน สามัคคีเป็น อันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและ เภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยแก่คนไข้ ตามมีตามได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุ เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยของ คนไข้ตามมีตามได้นี้ เป็นธรรมที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกันและกัน ทำให้เป็นที่ รัก ที่เคารพกัน ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันและกัน ไม่วิวาทกัน สามัคคี เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่อง รักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกนึกถึงกิจที่ทำและคำที่พูดแม้นานได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีสติ ฯลฯ นี้ เป็นธรรมที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกันและกัน ทำให้เป็นที่รัก ที่เคารพกัน ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันและกัน ไม่วิวาท กันสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเครื่อง พิจารณาเห็นความเกิด ดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา ฯลฯ นี้ เป็นธรรมที่ตั้งแห่งความ ระลึกถึงกันและกัน ทำให้เป็นที่รัก ที่เคารพกัน ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ กันและกัน ไม่วิวาทกัน สามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล เป็นที่ตั้งแห่งความระลึก ถึงกันและกัน ทำให้เป็นที่รักที่เคารพกัน ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน และกัน ไม่วิวาทกัน สามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบอักโกสวรรคที่ ๕
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. วิวาทสูตร ๒. วิวาทมูลสูตรที่ ๑ ๓. วิวาทมูลสูตรที่ ๒ ๔. กุสินาราสูตร ๕. ปเวสนสูตร ๖. สักกสูตร ๗. มหาลิสูตร ๘. อภิณหปัจจเวกขณธรรมสูตร ๙. สรีรัฏฐธรรมสูตร ๑๐. ภัณฑนสูตร ฯ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๒๑๓๘-๒๒๒๑ หน้าที่ ๙๒-๙๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=24&A=2138&Z=2221&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=24&siri=48              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=50              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [50] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=24&item=50&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=7892              The Pali Tipitaka in Roman :- [50] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=24&item=50&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=7892              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i041-e.php#sutta10 https://suttacentral.net/an10.50/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :