ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
ปริหานสูตร
[๕๕] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโส ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำของท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้ถามว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคย่อมตรัสว่า บุคคลผู้มีธรรมอันเสื่อม บุคคลผู้มีธรรมอันเสื่อม ดังนี้ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลผู้มีธรรมอันเสื่อม พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอแล อนึ่ง บุคคลผู้มีธรรม อันไม่เสื่อม พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร ภิกษุเหล่านั้น กล่าวว่า ข้าแต่อาวุโส กระผมทั้งหลายมาแต่ที่ไกลแล เพื่อทราบเนื้อความแห่ง ภาษิตนี้ในสำนักของท่านพระสารีบุตร ขอเนื้อความแห่งภาษิตนี้จงแจ่มแจ้งกะท่าน พระสารีบุตรเองเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อท่านพระสารีบุตรแล้วจักทรงจำไว้ ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารี- *บุตรได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลผู้มีธรรมอันเสื่อม พระผู้มีพระภาค ตรัสไว้แล้วด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอแล ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรม วินัยนี้ ไม่ฟังธรรมที่ไม่เคยฟัง ๑ ธรรมที่ภิกษุนั้นฟังแล้วย่อมถึงความเลอะเลือน ๑ ธรรมที่ภิกษุนั้นเคยถูกต้องด้วยใจในกาลก่อน ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอ ๑ ภิกษุนั้น ย่อมไม่รู้ธรรมที่ตนยังไม่รู้ ๑ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลผู้มีธรรมอันเสื่อม พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้วด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล ฯ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ส่วนบุคคลผู้มีธรรมอันไม่เสื่อม พระผู้มีพระภาค ตรัสไว้ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม ฟังธรรมที่ตนไม่เคยฟังมา ๑ ธรรมที่ภิกษุนั้นเคยฟังแล้ว ย่อมไม่ถึงความเลอะ เลือน ๑ ธรรมที่ภิกษุนั้นเคยถูกต้องด้วยใจในกาลก่อน ย่อมปรากฏ ๑ ภิกษุนั้น ย่อมรู้ธรรมที่ตนยังไม่รู้ ๑ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลผู้มีธรรมอันไม่เสื่อม พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้แล้วด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล ฯ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย หากว่าภิกษุไม่เป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของผู้อื่นไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านทั้งหลายพึงศึกษาว่า เราทั้งหลายจักเป็นผู้ฉลาดในวาระจิต ของตน ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของตนอย่างไร ดูกร อาวุโสทั้งหลาย เปรียบเหมือนสตรีหรือบุรุษที่เป็นหนุ่มสาว มีปรกติชอบแต่งตัว ส่องดูเงาหน้าของตนในคันฉ่องอันบริสุทธิ์หมดจด หรือในภาชนะน้ำอันใส ถ้าเห็นธุลีหรือจุดดำที่หน้านั้น ก็ย่อมพยายามกำจัดธุลีหรือจุดดำนั้นเสีย ถ้าไม่เห็น ธุลีหรือจุดดำที่หน้านั้นก็ย่อมดีใจ มีความดำริอันบริบูรณ์ด้วยเหตุนั้นนั่นเทียวว่า เป็นลาภของเราแล้วหนอ หน้าของเราบริสุทธิ์แล้วหนอ แม้ฉันใด ดูกรอาวุโส ทั้งหลาย การพิจารณาของภิกษุว่า เราเป็นผู้ไม่มีอภิชฌาอยู่โดยมากหรือหนอ ธรรมนี้มีอยู่แก่เราหรือว่าไม่มีหนอ เราเป็นผู้มีจิตไม่พยาบาทอยู่โดยมากหรือหนอ ธรรมนี้มีอยู่แก่เราหรือว่าไม่มีหนอ เราเป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะอยู่โดยมากหรือหนอ ธรรมนี้มีอยู่แก่เราหรือว่าไม่มีหนอ เราเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่านอยู่โดยมากหรือหนอ ธรรมนี้มีอยู่แก่เราหรือว่าไม่มีหนอ เราเป็นผู้ข้ามพ้นความสงสัยอยู่โดยมากหรือ หนอ ธรรมนี้มีอยู่แก่เราหรือว่าไม่มีหนอ เราเป็นผู้ไม่มักโกรธอยู่โดยมากหรือ หนอ ธรรมนี้มีอยู่แก่เราหรือว่าไม่มีหนอ เราเป็นผู้ไม่เศร้าหมองอยู่โดยมาก หรือหนอ ธรรมนี้มีอยู่แก่เราหรือว่าไม่มีหนอ เราเป็นผู้ได้ความปราโมทย์ในธรรม ภายในหรือหนอ ธรรมนี้มีอยู่แก่เราหรือว่าไม่มีหนอ เราเป็นผู้ได้ความสงบ แห่งจิตภายในหรือหนอ ธรรมนี้มีอยู่แก่เราหรือว่าไม่มีหนอ เราเป็นผู้ได้ความเห็น แจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งหรือหนอ ธรรมนี้มีอยู่แก่เราหรือว่าไม่มีหนอ ดังนี้ เป็นอุปการะมากในกุศลธรรมทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมไม่พิจารณาเห็นกุศลธรรม เหล่านี้แม้ทั้งหมดในตนไซร้ ภิกษุนั้นควรทำความพอใจ ความพยายาม ความ อุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อได้เฉพาะซึ่งกุศลธรรมเหล่านี้ทั้งหมดนั่นเทียว ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เปรียบ เหมือนบุคคลผู้มีผ้าถูกไฟไหม้ หรือมีศีรษะถูกไฟไหม้ ควรทำความพอใจ ความ พยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อดับไฟไหม้ผ้าหรือไฟไหม้ศีรษะนั้นนั่นเทียว แม้ฉันใด ภิกษุนั้นควรทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่ง เพื่อได้เฉพาะซึ่งกุศล ธรรมเหล่านี้ทั้งหมดนั่นเทียว ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมพิจารณาเห็นกุศลธรรม บางอย่างในตนย่อมไม่พิจารณาเห็นกุศลธรรม บางอย่างในตนไซร้ ภิกษุนั้นพึงตั้งอยู่ ในกุศลธรรมทั้งหลายที่พิจารณาเห็นในตนแล้ว พึงทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มี ประมาณยิ่ง เพื่อได้เฉพาะซึ่งกุศลธรรมทั้งหลายที่ไม่พิจารณาเห็นในตนเหล่านั้น ฯ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีผ้าถูกไฟไหม้หรือมีศีรษะถูก ไฟไหม้ควรทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่ง เพื่อดับไฟไหม้ผ้าหรือไฟไหม้ศีรษะ นั้นนั่นเทียว แม้ฉันใด ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรตั้งอยู่ในกุศลธรรมทั้ง หลายที่พิจารณาเห็นในตนแล้ว ควรทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อได้ เฉพาะซึ่งกุศลธรรมทั้งหลายที่ไม่พิจารณาเห็นในตนเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือน กันแล ฯ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมพิจารณาเห็นกุศลธรรม เหล่านี้แม้ทั้งหมดในตนไซร้ ภิกษุนั้นควรตั้งอยู่ในกุศลธรรมเหล่านี้ทั้งหมดนั่น เทียว แล้วพึงทำความเพียรให้ยิ่งขึ้นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ฯ
จบสูตรที่ ๕

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๒๔๖๑-๒๕๓๒ หน้าที่ ๑๐๖-๑๐๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=24&A=2461&Z=2532&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=24&siri=53              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=55              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [55] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=24&item=55&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- [55] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=24&item=55&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i051-e.php#sutta5 https://suttacentral.net/an10.55/en/sujato https://suttacentral.net/an10.55/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :