ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
วัตถุกถาสูตรที่ ๒
[๗๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ภิกษุ เป็นจำนวนมากกลับจากบิณฑบาตภายหลังภัต นั่งประชุมกันที่หอฉัน สนทนา ดิรัจฉานกถาเป็นอันมาก คือ สนทนาเรื่องพระราชา เรื่องโจร ฯลฯ เรื่องความ เจริญและความเสื่อม ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้นในเวลาเย็น เสด็จเข้าไปยังหอฉัน ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาตบแต่งไว้ ครั้นแล้ว ได้ตรัส ถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เธอทั้งหลายนั่งประชุมสนทนากัน ด้วยเรื่องอะไรหนอ ก็แหละกถาอะไรที่เธอทั้งหลายสนทนาค้างไว้ ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์ทั้งหลาย กลับจากบิณฑบาตภายหลังภัต นั่งประชุมกันที่หอฉัน สนทนาดิรัจฉานกถา เป็นอันมาก คือ สนทนาเรื่องพระราชา เรื่องโจร ฯลฯ เรื่องความเจริญและ ความเสื่อม พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย การที่เธอ ทั้งหลายสนทนาดิรัจฉานกถาเป็นอันมาก คือ สนทนาเรื่องพระราชา เรื่องโจร ฯลฯ เรื่องความเจริญและความเสื่อมนี้ ไม่สมควรแก่เธอทั้งหลายผู้เป็นกุลบุตร ออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธาเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ควรสรรเสริญ ๑๐ อย่างนี้ ๑๐ อย่างเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ตนเองเป็นผู้มีความ ปรารถนาน้อย และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุผู้มีความปรารถนาน้อย และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้มีความ ปรารถนาน้อยแก่ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะควรสรรเสริญ ๑ ตนเองเป็นผู้สันโดษ และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สันโดษแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สันโดษ และ กล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สันโดษแก่ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะควรสรรเสริญ ๑ ตนเองเป็นผู้สงัด และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สงัดแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ผู้สงัด และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สงัดแก่ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะควร สรรเสริญ ๑ ตนเองเป็นผู้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ และกล่าวกถาปรารภความไม่ คลุกคลีด้วยหมู่คณะแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ และกล่าว กถาปรารภความไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะแก่ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะควรสรรเสริญ ๑ ตนเองเป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวกถาปรารภความเพียรแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ปรารภความเพียร และกล่าวกถาปรารภความเพียรแก่ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น ฐานะที่ควรสรรเสริญ ๑ ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล และกล่าวกถาปรารภความ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยศีล และกล่าวกถา ปรารภความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลแก่ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะควรสรรเสริญ ๑ ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิ และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิ แก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิ และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้ สมบูรณ์ด้วยสมาธิแก่ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะควรสรรเสริญ ๑ ตนเองเป็นผู้ สมบูรณ์ด้วยปัญญา และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญาแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วย ปัญญาแก่ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะควรสรรเสริญ ๑ ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วย วิมุตติ และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ สมบูรณ์ด้วยวิมุตติ และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติแก่ภิกษุ ทั้งหลายนี้เป็นฐานะควรสรรเสริญ ๑ ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ แก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สมบูรณ์ ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะแก่ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะควรสรรเสริญ ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลายฐานะที่ควรสรรเสริญ ๑๐ อย่างนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบยมกวรรคที่ ๒
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อวิชชาสูตร ๒. ตัณหาสูตร ๓. นิฏฐาสูตร ๔. อเวจจสูตร ๕. สุขสูตรที่ ๑ ๖. สุขสูตรที่ ๒ ๗. นฬกปานสูตรที่ ๑ ๘. นฬกปานสูตร ที่ ๒ ๙. วัตถุกถาสูตรที่ ๑ ๑๐. วัตถุกถาสูตรที่ ๒ ฯ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๓๐๖๔-๓๑๑๖ หน้าที่ ๑๓๑-๑๓๔. https://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=24&A=3064&Z=3116&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=24&siri=68              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=70              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [70] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=24&item=70&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=8000              The Pali Tipitaka in Roman :- [70] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=24&item=70&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=8000              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i061-e.php#sutta10 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an10/an10.070.than.html https://suttacentral.net/an10.70/en/sujato https://suttacentral.net/an10.70/en/thanissaro

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :