ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
อภัพพสูตร
[๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ ไม่พึงมีในโลก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่พึงบังเกิดในโลก ธรรมวินัยที่พระตถาคต ทรงประกาศไว้แล้ว ไม่พึงรุ่งเรืองในโลก ๓ ประการเป็นไฉน คือ ชาติ ๑ ชรา ๑ มรณะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้ง ๓ ประการนี้แล ไม่พึงมีในโลก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่พึงบังเกิดในโลก ธรรมวินัยอันพระตถาคต ทรงประกาศไว้แล้วไม่พึงรุ่งเรืองในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะธรรม ๓ ประการนี้มีอยู่ในโลก ฉะนั้น พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงบังเกิด ในโลก ธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้จึงรุ่งเรืองในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการแล้ว ก็ไม่อาจละชาติ ชรา มรณะได้ ๓ ประการ เป็นไฉน คือ ราคะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ ละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว ก็ไม่อาจละชาติ ชรา มรณะได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการแล้ว ก็ไม่อาจละราคะ โทสะ โมหะได้ ๓ ประการ เป็นไฉน คือ สักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพตปรามาส ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว ก็ไม่อาจละราคะ โทสะ โมหะได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการแล้ว ก็ไม่อาจละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ การกระทำไว้ในใจโดย อุบายไม่แยบคาย ๑ การเสพทางผิด ๑ ความหดหู่แห่งจิต ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการนี้แล ก็ไม่อาจละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพต- *ปรามาสได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการแล้ว ก็ไม่อาจละ การกระทำไว้ในใจโดยอุบายไม่แยบคาย การเสพทางผิดความหดหู่แห่งจิตได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้มีสติหลงลืม ๑ ความไม่มีสัมปชัญญะ ๑ ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว ก็ไม่อาจละการกระทำไว้ในใจโดยอุบายไม่แยบคาย การเสพทางผิด ความหดหู่ แห่งจิตได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการแล้ว ก็ไม่อาจละ ความเป็นผู้มีสติหลงลืม ความไม่มีสัมปชัญญะความฟุ้งซ่านแห่งจิตได้ ๓ ประการ เป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ไม่ใคร่เห็นพระอริยะ ๑ ความเป็นผู้ไม่ใคร่ฟังธรรม ของพระอริยะ ๑ ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดี ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ ละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว ก็ไม่อาจละความเป็นผู้มีสติหลงลืม ความไม่มี สัมปชัญญะ ความฟุ้งซ่านแห่งจิตได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการแล้ว ก็ไม่อาจละความเป็นผู้ไม่ใคร่เห็นพระอริยะ ความเป็นผู้ไม่ใคร่ ฟังธรรมของพระอริยะ ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดีได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ ความฟุ้งซ่าน ๑ ความไม่สำรวม ๑ ความทุศีล ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ ละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว ก็ไม่อาจละความเป็นผู้ไม่ใคร่เห็นพระอริยะ ความ เป็นผู้ไม่ใคร่ฟังธรรมของพระอริยะ ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการแล้ว ก็ไม่อาจละความฟุ้งซ่าน ความไม่สำรวม ความทุศีลได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ความเป็นผู้ ไม่รู้ความประสงค์ ๑ ความเกียจคร้าน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว ก็ไม่อาจละความฟุ้งซ่าน ความไม่สำรวม ความทุศีลได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการแล้ว ก็ไม่อาจละความเป็นผู้ ไม่มีศรัทธา ความเป็นผู้ไม่รู้ความประสงค์ ความเกียจคร้าน ๓ ประการเป็นไฉน คือ ความไม่เอื้อเฟื้อ ๑ ความเป็นผู้ว่ายาก ๑ ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว ก็ไม่อาจละความเป็นผู้ ไม่มีศรัทธา ความเป็นผู้ไม่รู้ความประสงค์ ความเกียจคร้านได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการแล้ว ก็ไม่อาจละความไม่เอื้อเฟื้อ ความเป็นผู้ว่ายาก ความเป็นผู้มีมิตรชั่วได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือความไม่มีหิริ ๑ ความไม่มี โอตตัปปะ ๑ ความประมาท ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการ นี้แล้ว ก็ไม่อาจละความไม่เอื้อเฟื้อ ความเป็นผู้ว่ายาก ความเป็นผู้มีมิตรชั่วได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่มีความละอาย ไม่มีความเกรงกลัว เป็นผู้ประมาท ก็ไม่อาจละความเป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ความเป็นผู้ว่ายาก ความเป็นผู้มีมิตรชั่วได้ บุคคลเป็นผู้มีมิตรชั่ว ก็ไม่อาจละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ความเป็นผู้ไม่รู้ความ ประสงค์ ความเกียจคร้านได้ บุคคลเป็นผู้เกียจคร้าน ก็ไม่อาจละความฟุ้งซ่าน ความไม่สำรวม ความทุศีลได้ บุคคลเป็นผู้ทุศีล ก็ไม่อาจละความเป็นผู้ ไม่ใคร่เห็นพระอริยะ ความเป็นผู้ไม่ใคร่ฟังธรรมของพระอริยะ ความเป็นผู้มีจิตคิด แข่งดีได้ บุคคลเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดี ก็ไม่อาจละความเป็นผู้มีสติหลงลืม ความไม่มี สัมปชัญญะ ความฟุ้งซ่านแห่งจิตได้ บุคคลเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ก็ไม่อาจละ ความกระทำไว้ในใจโดยอุบายไม่แยบคาย การเสพทางผิด ความหดหู่แห่งจิตได้ บุคคลเป็นผู้มีจิตหดหู่ก็ไม่อาจละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ บุคคลเป็นผู้มีวิจิกิจฉาก็ไม่อาจละราคะ โทสะ โมหะได้ บุคคลไม่ละราคะ โทสะ โมหะแล้วก็ไม่อาจละชาติ ชรา มรณะได้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการแล้ว จึงอาจละชาติ ชรา มรณะได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ ราคะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว จึงอาจละชาติ ชรา มรณะได้ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการแล้ว จึงอาจละ ราคะ โทสะ โมหะได้ ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ สักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพตปรามาส ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว จึงอาจละ ราคะ โทสะ โมหะได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการแล้ว จึงอาจละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ การกระทำไว้ในใจโดย อุบายไม่แยบคาย ๑ การเสพทางผิด ๑ ความหดหู่แห่งจิต ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว จึงอาจละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการแล้ว จึงอาจละการกระทำไว้ ในใจโดยอุบายไม่แยบคาย การเสพทางผิด ความหดหู่แห่งจิตได้ ๓ ประการ เป็นไฉน คือ ความเป็นผู้มีสติหลงลืม ๑ ความไม่มีสัมปชัญญะ ๑ ความฟุ้งซ่าน แห่งจิต ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว จึงอาจละการ กระทำไว้ในใจโดยอุบายไม่แยบคาย การเสพทางผิด ความหดหู่แห่งจิตได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการแล้ว จึงอาจละความเป็นผู้มีสติ หลงลืม ความไม่มีสัมปชัญญะ ความฟุ้งซ่านแห่งจิตได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ไม่ใคร่เห็นพระอริยะ ๑ ความเป็นผู้ไม่ใคร่ฟังธรรมของพระอริยะ ๑ ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดี ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว จึงอาจละความเป็นผู้มีสติหลงลืม ความไม่มีสัมปชัญญะ ความฟุ้งซ่านแห่งจิตได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการแล้ว จึงอาจละความเป็นผู้ไม่ใคร่เห็น พระอริยะ ความเป็นผู้ไม่ใคร่ฟังธรรมของพระอริยะ ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดีได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ ความฟุ้งซ่าน ๑ ความไม่สำรวม ๑ ความเป็นผู้ทุศีล ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว จึงอาจละความเป็นผู้ไม่ใคร่ เห็นพระอริยะ ความเป็นผู้ไม่ใคร่ฟังธรรมของพระอริยะ ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่ง ดีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการแล้ว จึงอาจละความฟุ้งซ่าน ความไม่สำรวม ความเป็นผู้ทุศีลได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ไม่มี ศรัทธา ๑ ความเป็นผู้ไม่รู้ความประสงค์ ๑ ความเกียจคร้าน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว จึงอาจละความฟุ้งซ่าน ความไม่สำรวม ความ เป็นผู้ทุศีลได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการแล้ว จึงอาจละความ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ความเป็นผู้ไม่รู้ความประสงค์ ความเกียจคร้านได้ ๓ ประการ เป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ๑ ความเป็นผู้ว่ายาก ๑ ความเป็นผู้ มีมิตรชั่ว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว จึงอาจละความ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ความเป็นผู้ไม่รู้ความประสงค์ ความเกียจคร้านได้ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการแล้ว จึงอาจละความเป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ความ เป็นผู้ว่ายาก ความเป็นผู้มีมิตรชั่วได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ไม่มี ความละอาย ๑ ความเป็นผู้ไม่มีความเกรงกลัว ๑ ความประมาท ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว จึงอาจละความเป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ความเป็นผู้ว่ายาก ความเป็นผู้มีมิตรชั่วได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความ ละอาย มีความเกรงกลัว ไม่ประมาทอยู่ ก็อาจละความเป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ความ เป็นผู้ว่ายาก ความเป็นผู้มีมิตรชั่วได้ บุคคลเป็นผู้มีมิตรดี ก็อาจละความเป็นผู้ ไม่มีศรัทธา ความเป็นผู้ไม่รู้ความประสงค์ ความเกียจคร้านได้ บุคคลเป็นผู้ ปรารภความเพียร ก็อาจละความเป็นผู้ฟุ้งซ่าน ความไม่สำรวม ความเป็นผู้ทุศีล ได้ บุคคลเป็นผู้มีศีล ก็อาจละความเป็นผู้ไม่ใคร่เห็นพระอริยะ ความเป็นผู้ ไม่ใคร่ฟังธรรมของพระอริยะ ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดีได้ บุคคลเป็นผู้มีจิตไม่ คิดแข่งดี ก็อาจละความเป็นผู้มีสติหลงลืม ความไม่มีสัมปชัญญะ ความฟุ้งซ่าน แห่งจิตได้ บุคคลเป็นผู้มีจิตอันไม่ฟุ้งซ่าน ก็อาจละการกระทำไว้ในใจโดยอุบาย อันไม่แยบคาย การเสพทางผิด ความหดหู่แห่งจิตได้ บุคคลเป็นผู้มีจิตไม่หดหู่ ก็อาจละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ บุคคลเป็นผู้ไม่มีวิจิกิจฉา ก็อาจละราคะ โทสะ โมหะได้ บุคคลละราคะ โทสะ โมหะแล้ว ก็อาจละชาติ ชรา มรณะได้ ฯ
จบสูตรที่ ๖

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๓๓๘๑-๓๔๙๒ หน้าที่ ๑๔๖-๑๕๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=24&A=3381&Z=3492&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=24&siri=74              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=76              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [76] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=24&item=76&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- [76] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=24&item=76&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i071-e.php#sutta6 https://suttacentral.net/an10.76/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :