ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
กัตถีสูตร
[๘๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหาจุนทะอยู่ที่สหชาติวัน ในแคว้นเจตี ณ ที่นั้นแล ท่านพระมหาจุนทะเรียกภิกษุทั้งหลายว่าดูกรภิกษุทั้งหลายผู้มีอายุ ภิกษุ เหล่านั้นรับคำท่านพระมหาจุนทะแล้ว ท่านพระมหาจุนทะได้กล่าวคำนี้ว่า ดูกรท่าน ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปกติกล่าวโอ้อวดในการบรรลุคุณวิเศษ ทั้งหลายว่า เราเข้าปฐมฌานก็ได้ ออกก็ได้ เข้าทุติยฌานก็ได้ ออกก็ได้ เข้าตติยฌาน ก็ได้ ออกก็ได้ เข้าจตุตถฌานก็ได้ ออกก็ได้ เข้าอากาสานัญจายตนฌานก็ได้ ออก ก็ได้ เข้าวิญญาณัญจายตนฌานก็ได้ ออกก็ได้ เข้าอากิญจัญญายตนฌานก็ได้ ออกก็ได้ เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานก็ได้ ออกก็ได้ เข้าสัญญาเวทยิต นิโรธก็ได้ ออกก็ได้ ฯ พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาด ในจิตของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น ย่อมไล่เลียง สอบถาม ซักถาม ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นอันพระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ... ไล่เลียง สอบถาม ซักถาม ย่อมถึงความเป็นผู้เปล่า ไม่มีคุณ ไม่เจริญ ถึงความพินาศ ถึงความไม่เจริญและความพินาศ พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ผู้ฉลาดในสมาบัติ ผู้ฉลาดในจิตของผู้อื่น ผู้ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น กำหนดใจด้วยใจแล้ว กระทำไว้ในใจซึ่งภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า เพราะเหตุอะไรหนอ ท่านผู้นี้จึงเป็นผู้มีปกติกล่าวโอ้อวดในการบรรลุคุณวิเศษทั้งหลายว่า เราเข้าปฐมฌาน ก็ได้ ออกก็ได้ ฯลฯ เราเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธก็ได้ ออกก็ได้ พระตถาคตหรือ สาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ... กำหนดใจด้วยใจอย่างนี้แล้ว ย่อมรู้ภิกษุนั้น อย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้กระทำศีลให้ขาด กระทำศีลให้ทะลุ กระทำศีลให้ด่าง กระทำศีลให้พร้อย ไม่กระทำความเพียรติดต่อ ไม่ประพฤติติดต่อในศีลทั้งหลาย ท่านผู้นี้เป็นผู้ทุศีลตลอดกาลนาน ก็ความเป็นผู้ทุศีลนี้แล เป็นความเสื่อมในธรรม วินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว ท่านผู้นี้เป็นผู้ไม่มีศรัทธา มีความประพฤติไม่ สมควร ก็ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธานี้แล เป็นความเสื่อมในธรรมวินัยที่พระตถาคต ทรงประกาศแล้ว ท่านผู้นี้เป็นผู้มีการสดับน้อย มีความประพฤติไม่สมควร ก็ความ เป็นผู้มีการสดับน้อยนี้แล เป็นความเสื่อมในธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศ แล้ว ท่านผู้นี้เป็นผู้ว่ายาก มีความประพฤติไม่สมควร ก็ความเป็นผู้ว่ายากนี้แล เป็นความเสื่อมในธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว ท่านผู้นี้เป็นผู้มีมิตรชั่ว ก็ความเป็นผู้มีมิตรชั่วนี้แล เป็นความเสื่อมในธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศ แล้ว ท่านผู้นี้เป็นผู้เกียจคร้าน ก็ความเป็นผู้เกียจคร้านนี้แล เป็นความเสื่อมใน ธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว ท่านผู้นี้เป็นผู้มีสติหลงลืม ก็ความเป็นผู้ มีสติหลงลืมนี้แล เป็นความเสื่อมในธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว ท่าน ผู้นี้เป็นผู้หลอกลวง ก็ความเป็นผู้หลอกลวงนี้แล เป็นความเสื่อมในธรรมวินัยที่ พระตถาคตทรงประกาศแล้ว ท่านผู้นี้เป็นผู้เลี้ยงยาก ก็ความเป็นผู้เลี้ยงยากนี้แล เป็นความเสื่อมในธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว ท่านผู้นี้เป็นผู้มีปัญญา ทราม ก็ความเป็นผู้มีปัญญาทรามนี้แล เป็นความเสื่อมในธรรมวินัยที่พระตถาคต ทรงประกาศแล้ว ฯ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนสหายพึงกล่าวกะสหายอย่างนี้ว่า ดูกรสหาย เมื่อใด กิจที่ควรกระทำด้วยทรัพย์มีอยู่แก่ท่าน ท่านพึงบอกเราให้ ทราบ เราจะให้ทรัพย์แก่ท่าน สหายอีกฝ่ายหนึ่งนั้น เมื่อมีกิจที่ควรกระทำด้วย ทรัพย์บางอย่างเกิดขึ้นแล้ว จึงบอกกับสหายอย่างนี้ว่า ดูกรสหาย เราต้องการ ทรัพย์ ขอท่านจงให้ทรัพย์แก่เรา สหายนั้นก็ตอบอย่างนี้ว่า ดูกรสหาย ถ้าเช่นนั้น ท่านจงขุดลงไปในที่นี้ สหายอีกฝ่ายหนึ่งนั้น เมื่อขุดลงไปในที่นั้น ไม่พึงพบทรัพย์ จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรสหาย ท่านได้พูดพล่อยๆ กะเรา ได้กล่าวคำเท็จกะเราว่า ท่านจงขุดลงไปในที่นี้ สหายนั้นจึงพูดอย่างนี้ว่า ดูกรสหาย เราหาได้พูดพล่อยๆ ไม่ หาได้กล่าวคำเท็จไม่ ท่านจงขุดลงไปในที่นี้เถิด สหายอีกฝ่ายหนึ่งนั้น เมื่อ ขุดลงไปแม้ในที่นั้นก็ยังไม่พบทรัพย์ จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านได้พูดพล่อยๆ กะเรา ได้กล่าวคำเท็จกะเราว่า จงขุดลงไปในที่นี้ สหายนั้นตอบอย่างนี้ว่า เราหาได้พูด พล่อยๆ ไม่ หาได้กล่าวคำเท็จไม่ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงขุดลงไปในที่นี้ สหายอีก ฝ่ายหนึ่งนั้น เมื่อขุดลงไปแม้ในที่นั้นก็ไม่พบทรัพย์ จึงพูดอย่างนี้ว่า ดูกรสหาย ท่านพูดพล่อยๆ แก่เรา ท่านได้กล่าวคำเท็จกะเราว่า จงขุดลงไปในที่นี้ สหายนั้น ก็ตอบอย่างนี้ว่า ดูกรสหาย เราหาได้พูดพล่อยๆ ไม่ หาได้กล่าวคำเท็จไม่ แต่ ว่าเราถึงความเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่านไป ซึ่งมิใช่กำหนดรู้ด้วยใจ แม้ฉันใด ดูกรท่านผู้ มีอายุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้มีปกติกล่าวโอ้อวดในคุณวิเศษทั้ง หลายว่า เราเข้าปฐมฌานก็ได้ ออกก็ได้ ... เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธก็ได้ ออกก็ได้ พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ผู้ฉลาดในสมาบัติ ผู้ฉลาดในจิต ของผู้อื่น ผู้ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น ย่อมไล่เลียง สอบถาม ซักถาม ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นอันพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ... ไล่เลียง สอบถาม ซักถามอยู่ ย่อมถึงความเป็นผู้เปล่า ไม่มีคุณ ไม่เจริญ พินาศ ความไม่ เจริญและความพินาศ พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ผู้ฉลาดใน สมาบัติ ผู้ฉลาดในจิตของผู้อื่น ผู้ฉลาดในอันกำหนดรู้จิตของผู้อื่น กำหนดใจด้วย ใจแล้ว กระทำไว้ในใจซึ่งภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า เพราะเหตุอะไรหนอ ท่านผู้นี้จึงเป็น ผู้มีปกติกล่าวโอ้อวดในการบรรลุคุณวิเศษทั้งหลายว่า เราเข้าปฐมฌานก็ได้ ออกก็ ได้ ฯลฯ เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธก็ได้ ออกก็ได้ พระตถาคตหรือสาวกของพระ ตถาคตผู้ได้ฌาน ผู้ฉลาดในสมาบัติ ผู้ฉลาดในจิตของผู้อื่น ผู้ฉลาดในการกำหนด รู้จิตของผู้อื่น กำหนดใจด้วยใจแล้ว ย่อมรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้ทำให้ ขาด ทำให้ทะลุ ทำให้ด่าง ทำให้พร้อย ไม่กระทำความเพียรติดต่อ ไม่ประพฤติ ติดต่อในศีลทั้งหลาย ท่านผู้นี้เป็นผู้ทุศีลตลอดกาลนาน ก็ความเป็นผู้ทุศีลนี้แล เป็นความเสื่อมในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ... ท่านผู้นี้เป็นผู้มีปัญญา ทราม ก็ความเป็นผู้มีปัญญาทรามนี้แล เป็นความเสื่อมในธรรมวินัยที่พระตถาคต ประกาศแล้ว ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนั้นแล ไม่ละธรรม ๑๐ ประการนี้ แล้วจักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ภิกษุ นั้นแล ละธรรม ๑๐ ประการนี้แล้ว จึงจักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรม วินัยนี้ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ
จบสูตรที่ ๕

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๓๖๕๔-๓๗๒๙ หน้าที่ ๑๕๘-๑๖๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=24&A=3654&Z=3729&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=24&siri=83              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=85              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [85] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=24&item=85&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=8137              The Pali Tipitaka in Roman :- [85] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=24&item=85&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=8137              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i081-e.php#sutta5 https://suttacentral.net/an10.85/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :