ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
ทิฏฐิสูตร
[๙๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านอนาถ- *บิณฑิกคฤหบดี ออกจากพระมหานครสาวัตถีแต่ยังวัน เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค ลำดับนั้น ท่านได้มีความคิดเช่นนี้ว่า มิใช่เวลาเพื่อจะเฝ้าพระผู้มีพระภาคก่อน เพราะพระผู้มีพระภาคยังทรงหลีกเร้นอยู่ มิใช่กาลเพื่อจะเยี่ยมภิกษุทั้งหลายผู้ยังใจ ให้เจริญ เพราะพวกภิกษุผู้ยังใจให้เจริญยังหลีกเร้นอยู่ อย่ากระนั้นเลย เราพึง เข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเถิด ลำดับนั้น ท่านอนาถบิณฑิก- *คฤหบดี จึงเข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ก็สมัยนั้นแล พวก อัญญเดียรถีย์ปริพาชกกำลังร่วมประชุมกัน บันลือเสียงเอ็ดอึง นั่งพูดกันถึง ดิรัจฉานกถาหลายอย่าง พอได้เห็นท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเดินมาแต่ไกล ครั้น แล้วจึงยังกันและกันให้หยุดด้วยกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงเบาเสียง อย่าได้เปล่ง เสียง อนาถบิณฑิกคฤหบดีคนนี้เป็นสาวกของพระสมณโคดม กำลังเดินมา อนาถบิณฑิกคฤหบดีนี้เป็นสาวกคนหนึ่ง บรรดาคฤหัสถ์ผู้นุ่งห่มผ้าขาว ซึ่งเป็น สาวกของพระสมณโคดม อาศัยอยู่ในพระนครสาวัตถี ก็ท่านเหล่านั้นเป็นผู้ใคร่ ในเสียงเบา ได้รับแนะนำในทางเสียงเบา กล่าวสรรเสริญเสียงเบา แม้ไฉนเขา ทราบบริษัทผู้มีเสียงเบา พึงสำคัญที่จะเข้ามาหา ลำดับนั้น ปริพาชกเหล่านั้น ได้นิ่งอยู่ ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปหาปริพาชกเหล่านั้นถึงที่อยู่ ได้สนทนา ปราศรัยกับพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไป แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นได้กล่าว กะท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ดูกรคฤหบดี ขอท่านจงบอก พระสมณโคดมมี ทิฐิอย่างไร อนาถบิณฑิกคฤหบดีตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าไม่ ทราบทิฐิทั้งหมดของพระผู้มีพระภาค ฯ ป. ดูกรคฤหบดี นัยว่า บัดนี้ท่านไม่ทราบทิฐิทั้งหมดของพระสมณโคดม ขอท่านจงบอก ภิกษุทั้งหลายมีทิฐิอย่างไร ฯ อ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าไม่ทราบทิฐิทั้งหมด แม้ของภิกษุ ทั้งหลาย ฯ ป. ดูกรคฤหบดี นัยว่า ท่านไม่ทราบทิฐิทั้งหมดของพระสมณโคดม ทั้งไม่ทราบทิฐิทั้งหมดของพวกภิกษุด้วยประการดังนี้ ขอท่านจงบอก ตัวท่านมี ทิฐิอย่างไร ฯ ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย การที่ข้าพเจ้าบอกทิฐิของข้าพเจ้าว่ามีทิฐิอย่างใด นี้ไม่ยาก เชิญท่านทั้งหลายบอกทิฐิของตนเสียก่อน ข้าพเจ้าจึงจะบอกทิฐิของ ข้าพเจ้าว่ามีทิฐิอย่างใดในภายหลัง ซึ่งเป็นการทำไม่ยาก ฯ เมื่อท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว ปริพาชกคนหนึ่งได้กล่าว กะท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ดูกรคฤหบดี เรามีทิฐิอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้ เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ฯ ปริพาชกอีกคนหนึ่งได้กล่าวกะอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ดูกรคฤหบดี เรา มีทิฐิอย่างนี้ว่า โลกไม่เที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า แม้ปริพาชกอีกคนหนึ่ง ได้กล่าวกะอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า โลกมีที่สุด ... อีกคนหนึ่งพูดว่า โลกไม่มี ที่สุด ... อีกคนหนึ่งพูดว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ... อีกคนหนึ่งพูดว่า ชีพ อย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ... อีกคนหนึ่งพูดว่า สัตว์เมื่อตายแล้วย่อมเป็นอีก ... อีกคนหนึ่งพูดว่า สัตว์เมื่อตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก ... อีกคนหนึ่งพูดว่า สัตว์เมื่อ ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็มี ไม่เป็นอีกก็มี ... อีกคนหนึ่งพูดว่า ดูกรคฤหบดี เรา มีทิฐิอย่างนี้ว่า สัตว์เมื่อตายแล้วย่อมเป็นอีกหามิได้ ไม่เป็นอีกหามิได้ สิ่งนี้เท่า นั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ฯ เมื่อพวกปริพาชกกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีได้กล่าว กะปริพาชกเหล่านั้นว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ท่านผู้มีอายุได้กล่าว อย่างนี้ว่า ดูกรคฤหบดี เรามีทิฐิอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่น เปล่า ทิฐิของท่านผู้มีอายุนี้ เกิดขึ้นเพราะเหตุแห่งการกระทำไว้ในใจโดย ไม่แยบคายของตน หรือเพราะโฆษณาของผู้อื่นเป็นปัจจัย ก็ทิฐินั้น เกิดขึ้น แล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อันปัจจัยก่อขึ้นแล้ว เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัย ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อันปัจจัยก่อขึ้นแล้ว เกิดขึ้น เพราะอาศัยปัจจัย สิ่งนั้นไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใด เป็นทุกข์ ท่านผู้มีอายุนั้นเป็นผู้ติดสิ่งนั้นแหละ ท่านผู้มีอายุนั้นเข้าถึงสิ่งนั้นแหละ แม้ท่านผู้มีอายุรูปใดกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรคฤหบดี เรามีทิฐิอย่างนี้ว่า โลกไม่เที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ทิฐิของท่านผู้มีอายุแม้นี้ ก็เกิดขึ้นเพราะเหตุแห่ง การกระทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายของตน หรือเพราะการโฆษณาของผู้อื่นเป็น ปัจจัย ก็ทิฐินั้นเกิดขึ้นแล้ว อันอาศัยปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อันปัจจัยก่อขึ้นแล้ว เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัย ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัย สิ่งนั้นไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใด เป็นทุกข์ ท่านผู้มีอายุนั้นเป็นผู้ติดสิ่งนั้นแหละ ท่านผู้มีอายุนั้นเป็นผู้เข้าถึงสิ่งนั้น แหละ แม้ท่านผู้มีอายุรูปใดกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรคฤหบดี เรามีทิฐิอย่างนี้ว่า โลก มีที่สุด ... โลกไม่มีที่สุด ... ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ... ชีพอย่างหนึ่ง สรีระก็ อย่างหนึ่ง ... สัตว์เมื่อตายแล้วย่อมเป็นอีก ... สัตว์เมื่อตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก ... สัตว์เมื่อตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี ... สัตว์เมื่อตายแล้วย่อมเป็น อีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ทิฐิของท่าน ผู้มีอายุนี้ เกิดขึ้นเพราะเหตุแห่งการกระทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายของตน หรือ เพราะการโฆษณาของผู้อื่นเป็นปัจจัย ก็ทิฐินั้นเกิดขึ้นแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อันปัจจัยก่อขึ้นแล้ว เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัย ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้ว อัน ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อันปัจจัยก่อขึ้นแล้ว เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัย สิ่งนั้นไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ ท่านผู้มีอายุนั้นเป็นผู้ติดสิ่งนั้น แหละ ท่านผู้มีอายุนั้นเข้าถึงสิ่งนั้นแหละ ฯ เมื่อท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว ปริพาชกเหล่านั้นได้กล่าว กะท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ดูกรคฤหบดี พวกเราทั้งหมดบอกทิฐิของตนแล้ว ขอท่านจงบอก ท่านมีทิฐิอย่างไร ฯ อ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้ว อันปัจจัย ปรุงแต่งแล้ว อันปัจจัยก่อขึ้นแล้ว เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัย สิ่งนั้นไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ ข้าพเจ้ามีความเห็นสิ่งนั้นอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ฯ ป. ดูกรคฤหบดี สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อันปัจจัยก่อขึ้นแล้ว เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัย สิ่งนั้นไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ ท่านเป็นผู้ติดสิ่งนั้นแหละ ท่านเข้าถึงสิ่งนั้น แหละ ฯ อ. ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อันปัจจัยก่อ ขึ้นแล้ว เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัย สิ่งนั้นไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็น ทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ ข้าพเจ้าเห็นสิ่งนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ทั้งรู้ชัดอุบาย เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งสิ่งนั้นอย่างยอดเยี่ยมตามเป็นจริง ฯ เมื่อท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว ปริพาชกเหล่านั้นพากัน นั่งนิ่ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา โต้ตอบไม่ได้ ท่านอนาถบิณฑิก- *คฤหบดีทราบปริพาชกเหล่านั้นเป็นผู้นิ่ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา โต้ตอบไม่ได้ แล้วลุกจากอาสนะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลถึงเรื่องที่ สนทนากับอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นทั้งหมด แด่พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ ทุกประการ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละๆ คฤหบดี ท่านพึงข่มขี่พวกโมฆบุรุษ เหล่านั้นให้เป็นการข่มขี่ด้วยดี โดยกาลอันควร โดยชอบธรรมอย่างนี้แล ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีให้เห็นชัด ให้สมาทาน ให้ อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีอันพระผู้มีพระภาคทรง ชี้แจงให้เห็นชัด ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ลุกจาก ที่นั่ง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป เมื่อท่านอนาถ- *บิณฑิกคฤหบดีหลีกไปไม่นาน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุใดแลเป็นผู้มีธรรมอันไม่หวั่นไหวในธรรมวินัยตลอดกาลนาน ภิกษุ แม้นั้นพึงข่มขี่อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ให้เป็นการข่มขี่ด้วยดีโดยชอบ ธรรมอย่างนี้ เหมือนท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีข่มขี่แล้ว ฉะนั้น ฯ
จบสูตรที่ ๓

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๔๒๔๐-๔๓๔๔ หน้าที่ ๑๘๓-๑๘๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=24&A=4240&Z=4344&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=24&siri=91              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=93              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [93] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=24&item=93&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=8265              The Pali Tipitaka in Roman :- [93] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=24&item=93&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=8265              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i091-e.php#sutta3 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an10/an10.093.than.html https://suttacentral.net/an10.93/en/sujato https://suttacentral.net/an10.93/en/thanissaro

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :