ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
ขีลสูตร
[๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตาปูตรึงใจ ๕ ประการ อันบุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ยังละไม่ได้แล้ว เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ อัน บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ยังตัดไม่ขาดแล้ว กลางคืนหรือกลางวัน ที่ผ่านมาถึงบุคคลนั้น บุคคลนั้นพึงหวังความเสื่อมอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเจริญเลย ตาปูตรึงใจ ๕ ประการ ที่บุคคลนั้นยังละไม่ได้แล้ว เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในศาสดา จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อ ประกอบเนืองๆ เพื่อการกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ตาปูตรึงใจประการที่ ๑ นี้ อันภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังละไม่ได้แล้ว ด้วยประการฉะนี้ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ในพระธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ตาปูตรึงใจประการ ที่ ๒ นี้ อันภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อ บำเพ็ญเพียร ยังละไม่ได้แล้ว ด้วยประการฉะนี้ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่ เลื่อมใสในพระสงฆ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อ ความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ตาปู ตรึงใจประการที่ ๓ นี้ อันภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบ เนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังละไม่ได้แล้ว ด้วยประการ ฉะนี้ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่ เลื่อมใสในสิกขา ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อ ความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ตาปูตรึงใจ ประการที่ ๔ นี้ อันภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังละไม่ได้แล้ว ด้วยประการนี้ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมโกรธ ไม่พอใจ มีจิตอันโทสะประทุษร้าย มีจิตกระด้าง ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อ บำเพ็ญเพียร ตาปูตรึงใจประการที่ ๕ นี้ อันภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังละไม่ได้แล้ว ด้วย ประการอย่างนี้ ตาปูตรึงใจ ๕ ประการนี้ อันบุคคลนั้นยังละไม่ได้แล้ว ฯ เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ อันบุคคลนั้นยังตัดไม่ขาดแล้วเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความอยาก ในกามทั้งหลาย จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อ บำเพ็ญเพียร เครื่องผูกพันใจประการที่ ๑ นี้ อันภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อ ความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังตัด ไม่ขาดแล้ว ด้วยประการอย่างนี้ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความ พอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความอยาก ในกาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุนั้น ย่อม ไม่น้อมไปเพื่อความความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อ บำเพ็ญเพียร เครื่องผูกพันใจประการที่ ๒ นี้ อันภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อ ความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังตัด ไม่ขาดแล้ว ด้วยประการอย่างนี้ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุยังเป็นผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจาก ความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความ เร่าร้อน ไม่ปราศจากความอยาก ในรูป จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อ ความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร เครื่อง ผูกพันใจประการที่ ๓ นี้ อันภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบ เนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังตัดไม่ขาดแล้ว ด้วยประการ อย่างนี้ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุฉันอาหารเต็มท้องตามต้องการแล้ว ย่อมประกอบ ความสุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุขในการหลับอยู่ จิตของภิกษุ นั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร เครื่องผูกพันใจประการที่ ๔ นี้ อันภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อ ความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังตัดไม่ขาดแล้ว ด้วยประการอย่างนี้ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความปรารถนาเป็นเทพ นิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า เราจักเป็นเทพเจ้าหรือเป็นเทพองค์ใดองค์หนึ่ง ด้วยศีล พรต ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร เครื่องผูกพันใจ ประการที่ ๕ นี้ อันภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังตัดไม่ได้ขาดแล้ว ด้วยประการอย่างนี้ เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการนี้ อันบุคคลนั้นยังตัดไม่ขาดแล้ว ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตาปูตรึงใจ ๕ ประการนี้ อันบุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเป็น ภิกษุหรือเป็นภิกษุณีก็ตาม ยังละไม่ได้แล้ว เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการนี้ อัน บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ยังตัดไม่ขาดแล้ว กลางคืนหรือกลางวัน ที่ผ่านมาถึงบุคคลนั้น บุคคลนั้นพึงหวังความเสื่อมอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเจริญเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนกลางคืนหรือกลางวันที่ ผ่านมาถึงพระจันทร์ในกาลปักษ์ พระจันทร์นั้นย่อมเสื่อมไปจากสี ย่อมเสื่อมจาก มณฑล ย่อมเสื่อมจากแสงสว่าง ย่อมเสื่อมจากความยาวและความกว้าง แม้ ฉันใด ตาปูตรึงใจ ๕ ประการนี้ อันบุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ยังละไม่ได้แล้ว เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการนี้ อันบุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุหรือ ภิกษุณีก็ตาม ยังตัดไม่ขาดแล้ว กลางคืนหรือกลางวันที่ผ่านมาถึงบุคคลนั้น บุคคลนั้นพึงหวังความเสื่อมอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเจริญเลย ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตาปูตรึงใจ ๕ ประการ อันบุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุ หรือภิกษุณีก็ตาม ละได้แล้ว เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ อันบุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ตัดได้ขาดแล้ว กลางคืนหรือกลางวันที่ผ่านมาถึงบุคคล นั้น บุคคลนั้นพึงหวังความเจริญอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความ เสื่อมเลย ฯ ตาปูตรึงใจ ๕ ประการ ที่บุคคลนั้นละได้แล้ว เป็นไฉน ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่เคลือบแคลงสงสัย ย่อมน้อมใจเชื่อ เลื่อมใสในพระศาสดา จิตของภิกษุนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อ ประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ตาปูตรึงใจประการที่ ๑ นี้ อันภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ละได้แล้ว ด้วยประการอย่างนี้ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมไม่เคลือบแคลง ไม่สงสัย ย่อมน้อมใจเชื่อ ย่อมเลื่อมใสในพระธรรม ฯลฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมไม่เคลือบแคลง ไม่สงสัย ย่อมน้อมใจเชื่อ ย่อมเลื่อมใสในพระสงฆ์ ฯลฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมไม่เคลือบแคลง ไม่สงสัย ย่อมน้อมใจเชื่อ ย่อมเลื่อมใสในสิกขา ฯลฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมไม่โกรธ พอใจ มีจิตอันโทสะไม่ประทุษร้าย มีจิตไม่กระด้าง ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย จิตของภิกษุนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อ ความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ตาปูตรึงใจ ๕ ประการ นี้ อันภิกษุมีจิตน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อ กระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ละได้แล้ว ด้วยประการอย่างนี้ ตะปูตรึงใจ ๕ ประการนี้ อันบุคคลนั้นละได้แล้ว ฯ เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ อันบุคคลนั้นตัดได้ขาดแล้ว เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจาก ความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความอยาก ในกามทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุนั้น ย่อม น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร เครื่องผูกพันใจประการที่ ๑ นี้ อันภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อ ประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ตัดได้ขาดแล้ว ด้วย ประการฉะนี้ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจาก ความอยาก ในกาย ฯลฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจาก ความอยาก ในรูป ฯลฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุฉันอาหารเต็มท้องตามต้องการแล้ว ไม่ประกอบ ความสุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุขในการหลับอยู่ ฯลฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความปรารถนาเป็นเทพ- *นิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า เราจักเป็นเทพเจ้าหรือเทพองค์ใดองค์หนึ่ง ด้วยศีล พรต ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ จิตของภิกษุนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อ ประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร เครื่องผูกพันใจประการ ที่ ๕ นี้ อันภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำ ติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ตัดได้ขาดแล้ว ด้วยประการอย่างนี้ เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการนี้ อันบุคคลนั้นตัดได้ขาดแล้ว ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตาปูตรึงใจ ๕ ประการนี้ อันบุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเป็น ภิกษุหรือเป็นภิกษุณีก็ตาม ละได้แล้ว เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการนี้ อันบุคคล ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ตัดได้ขาดแล้ว กลางคืนหรือกลางวันที่ ผ่านมาถึงบุคคลนั้น บุคคลนั้นพึงหวังความเจริญอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเสื่อมเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนกลางคืนหรือกลางวันที่ ผ่านมาถึงพระจันทร์ในชุณหปักษ์ พระจันทร์นั้นย่อมเจริญด้วยสี ย่อมเจริญด้วย มณฑล ย่อมเจริญด้วยแสงสว่าง ย่อมเจริญด้วยส่วนยาวและส่วนกว้าง แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตาปูตรึงใจ ๕ ประการนี้ อันบุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุหรือเป็น ภิกษุณีก็ตาม ละได้แล้ว เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการนี้ อันบุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเป็น ภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ตัดได้ขาดแล้ว กลางคืนหรือกลางวันที่ผ่านมาถึงบุคคลนั้น บุคคลนั้นพึงหวังความเจริญอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเสื่อมเลย ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ
จบสูตรที่ ๕

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๔๒๘-๕๖๖ หน้าที่ ๑๙-๒๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=24&A=428&Z=566&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=24&siri=14              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=14              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [14] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=24&item=14&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=7213              The Pali Tipitaka in Roman :- [14] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=24&item=14&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=7213              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i011-e.php#sutta4 https://suttacentral.net/an10.14/en/sujato https://suttacentral.net/an10.14/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :