ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
วัชชิยสูตร
[๙๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งสระโบกขรณีชื่อคัคครา ใกล้เมืองจัมปา ครั้งนั้นแล วัชชิยมาหิตคฤหบดีได้ออกจากเมืองจัมปาแต่ยังวัน เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค ลำดับนั้น วัชชิยมาหิตคฤหบดีได้มีความคิดว่า มิใช่เวลา เพื่อจะเฝ้าพระผู้มีพระภาคก่อน เพราะพระผู้มีพระภาคยังทรงหลีกเร้นอยู่ มิใช่กาล เพื่อจะเยี่ยมภิกษุทั้งหลายผู้ยังใจให้เจริญ เพราะภิกษุทั้งหลายผู้ยังใจให้เจริญยัง หลีกเร้นอยู่ อย่ากระนั้นเลย เราพึงเข้าไปยังอารามของอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเถิด ลำดับนั้น วัชชิยมาหิตคฤหบดีได้เข้าไปยังอารามของอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ก็ สมัยนั้นแล พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกกำลังร่วมประชุมกัน บันลือเสียงเอ็ดอึง นั่งพูดกันถึงดิรัจฉานกถาหลายอย่าง พวกเขาเห็นวัชชิยมาหิตคฤหบดีกำลังเดินมา แต่ไกล ครั้นแล้วจึงยังกันและกันให้หยุดด้วยกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงเบาเสียง อย่าได้เปล่งเสียง วัชชิยมาหิตคฤหบดีคนนี้เป็นสาวกของพระสมณโคดม กำลัง เดินมา วัชชิยมาหิตคฤหบดีนี้เป็นสาวกคนหนึ่ง บรรดาคฤหัสถ์ผู้นุ่งห่มผ้าขาวซึ่ง เป็นสาวกของพระสมณโคดม อาศัยอยู่ในเมืองจัมปา ก็ท่านเหล่านั้นเป็นผู้ใคร่ใน เสียงเบา ได้รับแนะนำในทางเสียงเบา กล่าวสรรเสริญเสียงเบา แม้ไฉน เขา ทราบบริษัทผู้มีเสียงเบา พึงสำคัญที่จะเข้ามาหา ลำดับนั้น ปริพาชกเหล่านั้นได้ นิ่งอยู่ วัชชิยมาหิตคฤหบดีก็เข้าไปหาพวกปริพาชกถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว ได้สนทนา ปราศรัยกับปริพาชกเหล่านั้น ครั้นผ่านการสนทนาปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไป แล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นได้กล่าวกะท่าน วัชชิยมาหิตคฤหบดีว่า ดูกรคฤหบดี ได้ยินว่า พระมหาสมณโคดมทรงติเตียน ตบะทั้งหมด เข้าไปด่า เข้าไปว่าร้ายผู้มีตบะ ผู้ที่เลี้ยงชีพด้วยอาการเศร้าหมอง ทั้งหมด โดยส่วนเดียว จริงหรือ ฯ วัชชิยมาหิตคฤหบดีตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พระผู้มีพระภาค ทรงติเตียนตบะทั้งหมดหามิได้ เข้าไปด่า เข้าไปว่าร้ายผู้มีตบะ ผู้ที่เลี้ยงชีพด้วย อาการเศร้าหมองทั้งหมด โดยส่วนเดียวก็หามิได้ พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนผู้ที่ ควรติเตียน ทรงสรรเสริญผู้ที่ควรสรรเสริญ เพราะพระผู้มีพระภาคทรงติเตียน ผู้ที่ควรติเตียนอยู่ ทรงสรรเสริญผู้ที่ควรสรรเสริญอยู่ พระผู้มีพระภาคทรงมีปรกติ ตรัสแยกกัน ในเรื่องนี้พระผู้มีพระภาคนั้นมิใช่มีปรกติตรัสโดยส่วนเดียว ฯ เมื่อวัชชิยมาหิตคฤหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว ปริพาชกคนหนึ่ง จึงพูด กะวัชชิยมาหิตคฤหบดีว่า ท่านหยุดก่อน คฤหบดี พระสมณโคดมที่ท่านกล่าว สรรเสริญ เป็นผู้แนะนำในทางฉิบหาย เป็นผู้ไม่มีบัญญัติ ฯ ว. ท่านผู้เจริญ แม้ในเรื่องนี้ข้าพเจ้าจะกล่าวกะท่านผู้มีอายุทั้งหลายโดย ชอบธรรม พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติว่า สิ่งนี้เป็นกุศล สิ่งนี้เป็นอกุศล เมื่อ พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิ่งที่เป็นกุศลและอกุศลไว้ดังนี้ จึงชื่อว่าทรงเป็นผู้มี บัญญัติ พระผู้มีพระภาคนั้นมิใช่ผู้แนะนำในทางฉิบหาย ไม่ใช่ผู้ไม่มีบัญญัติ ฯ เมื่อวัชชิยมาหิตคฤหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว ปริพาชกทั้งหลายได้เป็นผู้นั่งนิ่ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา โต้ตอบไม่ได้ ลำดับนั้น วัชชิยมาหิตคฤหบดี ทราบว่า ปริพาชกเหล่านั้นเป็นผู้นิ่ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา โต้ตอบ ไม่ได้ แล้วลุกจากอาสนะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลเรื่องที่ สนทนากับอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นทั้งหมด แด่พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ ทุกประการ ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละ ดีละ คฤหบดี ท่านพึงข่มขี่พวก โมฆบุรุษให้เป็นการข่มขี่ด้วยดี โดยกาลอันควร โดยชอบธรรมอย่างนี้แล ดูกร คฤหบดี เราไม่กล่าวตบะทั้งหมดว่า ควรบำเพ็ญ เราไม่กล่าวตบะทั้งหมดว่า ไม่ควรบำเพ็ญ เราไม่กล่าวการสมาทานทั้งหมดว่า ควรสมาทาน เราไม่กล่าวการ สมาทานทั้งหมดว่า ไม่ควรสมาทาน เราไม่กล่าวการเริ่มตั้งความเพียรทั้งหมดว่า ควรเริ่มตั้งความเพียร เราไม่กล่าวการเริ่มตั้งความเพียรทั้งหมดว่า ไม่ควรเริ่ม ตั้งความเพียร เราไม่กล่าวการสละทั้งหมดว่า ควรสละ เราไม่กล่าวการสละ ทั้งหมดว่า ไม่ควรสละ เราไม่กล่าวการหลุดพ้นทั้งหมดว่า ควรหลุดพ้น เราไม่ กล่าวการหลุดพ้นทั้งหมดว่า ไม่ควรหลุดพ้น ดูกรคฤหบดี เมื่อบุคคลบำเพ็ญ ตบะอันใดอยู่ อกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญ กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อมไป เรากล่าวตบะเห็นปานนี้ว่า ไม่ควรบำเพ็ญ ก็เมื่อบุคคลบำเพ็ญตบะอันใดอยู่ อกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญยิ่ง เรากล่าวตบะ เห็นปานนี้ว่า ควรบำเพ็ญ เมื่อบุคคลสมาทานการสมาทานอันใดอยู่ อกุศลธรรม ทั้งหลายย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อมไป เรากล่าวการสมาทาน เห็นปานนั้นว่า ไม่ควรสมาทาน เมื่อบุคคลสมาทานการสมาทานอันใดอยู่ อกุศล ธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญยิ่ง เรากล่าวการสมาทาน เห็นปานนั้นว่า ควรสมาทาน เมื่อบุคคลเริ่มตั้งความเพียรอันใดอยู่ อกุศลธรรม ทั้งหลายย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อมไป เรากล่าวการเริ่มตั้งความ เพียรเห็นปานนั้นว่า ควรสมาทาน เมื่อบุคคลเริ่มตั้งความเพียรอันใดอยู่ อกุศล ธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญยิ่ง เรากล่าวการเริ่มตั้ง ความเพียรเห็นปานนั้นว่า ควรเริ่มตั้ง เมื่อบุคคลสละซึ่งการสละอันใดอยู่ อกุศล ธรรมทั้งหลายย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อมไป เรากล่าวการสละ เห็นปานนั้นว่า ไม่ควรสละ เมื่อบุคคลสละการสละอันใดอยู่ อกุศลธรรม ทั้งหลายย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญยิ่ง เรากล่าวการสละเห็น ปานนั้นว่า ควรสละ เมื่อบุคคลหลุดพ้นการหลุดพ้นอันใดอยู่ อกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อมไป เรากล่าวการหลุดพ้นเห็นปานนั้น ว่า ไม่ควรหลุดพ้น เมื่อบุคคลหลุดพ้นการหลุดพ้นอันใดอยู่ อกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญยิ่ง เรากล่าวการหลุดพ้นเห็นปานนั้นว่า ควรหลุดพ้น ลำดับนั้น วัชชิยมาหิตคฤหบดีอันพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็น ชัด ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ลุกจากที่นั่งถวาย บังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป เมื่อวัชชิยมาหิตคฤหบดี หลีกไปไม่นาน พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ใดแล ผู้มีกิเลสเพียงดังว่าธุลีในปัญญาจักษุน้อยในธรรมวินัยนี้ตลอดกาลนาน ภิกษุแม้นั้น พึงข่มขี่อัญญเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลายให้เป็นการข่มขี่ด้วยดีโดยชอบ ธรรม เหมือนอย่างวัชชิยมาหิตคฤหบดีข่มขี่แล้ว ฉะนั้น ฯ
จบสูตรที่ ๔

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๔๓๔๕-๔๔๒๒ หน้าที่ ๑๘๘-๑๙๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=24&A=4345&Z=4422&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=24&siri=92              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=94              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [94] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=24&item=94&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=8270              The Pali Tipitaka in Roman :- [94] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=24&item=94&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=8270              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i091-e.php#sutta4 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an10/an10.094.than.html https://suttacentral.net/an10.94/en/sujato https://suttacentral.net/an10.94/en/thanissaro

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :