ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
อุตติยสูตร
[๙๕] ครั้งนั้นแล อุตติยปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ท่านโคดม ผู้เจริญ โลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า หรือหนอ พระผู้มีพระภาค ตรัสตอบว่า ดูกรอุตติยะ ข้อนี้เราไม่พยากรณ์ ฯ อุ. ท่านโคดมผู้เจริญ ก็โลกไม่เที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่าหรือ ฯ พ. ดูกรอุตติยะ แม้ข้อนี้เราก็ไม่พยากรณ์ ฯ อุ. ท่านโคดมผู้เจริญ โลกมีที่สุด ... โลกไม่มีที่สุด ... ชีพอันนั้น สรีระอันนั้น ... ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ... สัตว์เมื่อตายแล้ว ย่อมเป็น อีก ... สัตว์เมื่อตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก ... สัตว์เมื่อตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ไม่เป็นอีกก็มี ... สัตว์เมื่อตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่าหรือ ฯ พ. ดูกรอุตติยะ แม้ข้อนี้เราก็ไม่พยากรณ์ ฯ อุ. ท่านถูกเราถามว่า ท่านโคดมผู้เจริญ โลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่าหรือหนอ ก็ตรัสตอบว่า ดูกรอุตติยะ ข้อนี้เราไม่พยากรณ์ เมื่อถูก ถามว่า ท่านโคดมผู้เจริญ ก็โลกไม่เที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่าหรือ ก็ตรัสตอบว่า ดูกรอุตติยะ ข้อนี้เราก็ไม่พยากรณ์ เมื่อถูกถามว่า ท่านโคดม ผู้เจริญ โลกมีที่สุด ... โลกไม่มีที่สุด ... ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ... ชีพอย่าง หนึ่ง สรีระก็อย่างหนึ่ง ... สัตว์เมื่อตายแล้วย่อมเป็นอีก ... สัตว์เมื่อตายแล้วย่อม ไม่เป็นอีก ... สัตว์เมื่อตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี ... สัตว์เมื่อตาย แล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า หรือหนอ ก็ตรัสตอบว่า ดูกรอุตติยะ แม้ข้อนี้เราก็ไม่พยากรณ์ เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านโคดมผู้เจริญจะพยากรณ์ในทางไหน ฯ พ. ดูกรอุตติยะ เราย่อมแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงเสียซึ่งความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อกระทำให้แจ้ง ซึ่งพระนิพนาน ฯ อุ. ด้วยข้อที่พระโคดมผู้เจริญได้ทรงแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายเพื่อ ความรู้ยิ่ง เพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย... เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน นั้น โลกทั้งหมดหรือกึ่งหนึ่งหรือสามส่วนจักออกไปจากทุกข์ได้ เมื่ออุตติย- *ปริพาชกกราบทูลอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคได้ทรงนิ่งเสีย ลำดับนั้นแล ท่านพระ อานนท์ได้มีความคิดว่า อุตติยปริพาชกอย่าได้ทิฐิอันลามกอย่างนี้ว่า พระสมณ โคดมถูกเราถามปัญหาเฉพาะหน้าทั้งปวง ย่อมเลี่ยง ไม่ทรงวิสัชนา หรือวิสัชนา ไม่ได้แน่นอน เพราะทิฐิอันลามกนั้น จะพึงเป็นไปเพื่อสิ่งมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน แก่อุตติยปริพาชก ลำดับนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้กล่าว กะอุตติยปริพาชกว่า ดูกรอาวุโสอุตติยะ ถ้าเช่นนั้น เราจักอุปมาแก่ท่าน วิญญู บุรุษบางพวกในโลกนี้ ย่อมรู้อรรถแห่งภาษิตได้ด้วยอุปมา ดูกรอาวุโสอุตติยะ เปรียบเหมือนนครอันตั้งอยู่ชายแดนของพระราชา นครนั้นมีป้อมมั่นคง มีกำแพง และประตูมั่นคง มีประตูเดียว นายประตูในนครนั้น เป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา ห้ามคนที่ไม่รู้จักเข้าไป ให้คนที่รู้จักเข้าไป เขาเดินเลียบไปตามทางเลียบกำแพง โดยรอบนครนั้น ไม่พึงเห็นที่ต่อแห่งกำแพงหรือช่องแห่งกำแพง แม้โดยที่สุด พอแมวออกได้ และเขาย่อมไม่มีความรู้อย่างนี้ว่า สัตว์มีประมาณเท่านี้ เข้ามาสู่ นครนี้หรือออกไป โดยที่แท้ เขาย่อมมีความรู้ในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า สัตว์ตัวใหญ่ๆ บางเหล่า ย่อมเข้ามาสู่นครนี้หรือย่อมออกไป สัตว์ทั้งหมดนั้นย่อมเข้ามาหรือออก ไปทางประตูนี้ แม้ฉันใด ดูกรอาวุโสอุตติยะ พระตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกัน มิได้ทรงมีความขวนขวายอย่างนี้ว่า โลกทั้งหมดหรือกึ่งหนึ่งหรือสามส่วนจักออกไป จากทุกข์ โดยที่แท้ พระตถาคตทรงมีพระญาณอย่างนี้ว่า สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ออกไปแล้ว หรือกำลังออกไป หรือจักออกไปจากโลก สัตว์ทั้งหมดนั้นละนิวรณ์ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองใจ ทำปัญญาให้ทุรพล ๕ ประการแล้ว เป็นผู้มีจิตตั้งมั่น แล้วด้วยดีในสติปัฏฐาน ๔ เจริญโพชฌงค์ ๗ ประการตามเป็นจริงแล้ว สัตว์ เหล่านั้นออกไปแล้วหรือกำลังออกไป หรือจักออกไปจากโลกด้วยอาการอย่างนี้ ดูกรอาวุโสอุตติยะ ท่านได้ทูลถามปัญหานี้กะพระผู้มีพระภาคข้อใด ปัญหาข้อนั้น ท่านได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคโดยปริยายอื่น ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงไม่ทรง พยากรณ์ปัญหานั้นแก่ท่าน ฯ
จบสูตรที่ ๕

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๔๔๒๓-๔๔๗๘ หน้าที่ ๑๙๑-๑๙๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=24&A=4423&Z=4478&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=24&siri=93              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=95              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [95] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=24&item=95&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=8287              The Pali Tipitaka in Roman :- [95] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=24&item=95&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=8287              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i091-e.php#sutta5 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an10/an10.095.than.html https://suttacentral.net/an10.95/en/sujato https://suttacentral.net/an10.95/en/thanissaro

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :