ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
โกกนุทสูตร
[๙๖] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์ (อยู่ที่ตโปทาราม ใกล้พระนคร ราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์) ลุกขึ้นแล้วในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี ได้ไปยังแม่น้ำตโปทาเพื่อสรงน้ำ ครั้นสรงน้ำที่แม่น้ำตโปทาแล้วกลับขึ้นมา มีจีวร ผืนเดียว ได้ยืนผึ่งตัวอยู่ แม้โกกนุทปริพาชกลุกขึ้นแล้วในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี ได้ไปยังแม่น้ำตโปทาเพื่ออาบน้ำ โกกนุทปริพาชกได้เห็นท่านพระอานนท์เดินมา แต่ไกลเทียว ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอาวุโสใครอยู่ในที่นี้ ท่านพระอานนท์ตอบว่า ดูกรอาวุโส เราเป็นภิกษุ ฯ โก. ดูกรอาวุโส ภิกษุพวกไหน ฯ อา. ดูกรอาวุโส เราเป็นพวกสมณะศากยบุตร ฯ โก. ข้าพเจ้าพึงถามข้อข้องใจบางอย่างกะท่าน หากท่านจะให้โอกาส เพื่อแก้ปัญหา ฯ อา. เชิญท่านถามเถิด อาวุโส เราฟังแล้วจักกล่าวแก้ ฯ โก. ท่านผู้เจริญมีความเห็นอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่าหรือหนอ ฯ อา. ดูกรอาวุโส เรามิได้มีความเห็นอย่างนั้น ฯ โก. ท่านผู้เจริญมีความเห็นอย่างนี้หรือว่า โลกไม่เที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่าหรือหนอ ฯ อา. ดูกรอาวุโส เรามิได้มีความเห็นอย่างนั้น ฯ โก. ท่านผู้เจริญมีความเห็นอย่างนี้ว่า โลกมีที่สุด ... โลกไม่มีที่สุด ... ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ... ชีพอย่างหนึ่ง สรีระก็อย่างหนึ่ง ... สัตว์เมื่อตาย แล้วย่อมเป็นอีก ... สัตว์เมื่อตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก ... สัตว์เมื่อตายแล้วย่อมเป็น อีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี ... สัตว์เมื่อตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็น อีกก็หามิได้ สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่าหรือหนอ ฯ อา. ดูกรอาวุโส เรามิได้มีความเห็นอย่างนั้น ฯ โก. ถ้าอย่างนั้น ท่านผู้เจริญย่อมไม่รู้ ไม่เห็นนะซิ ฯ อา. ดูกรอาวุโส เราไม่รู้ไม่เห็นหามิได้ เรารู้อยู่ เห็นอยู่ ฯ โก. ดูกรท่านผู้เจริญ ท่านถูกข้าพเจ้าถามว่า ท่านผู้เจริญมีความเห็น อย่างนี้หรือว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่าหรือหนอ ก็กล่าวว่า ดูกรอาวุโส เรามิได้มีความเห็นอย่างนั้น เมื่อถูกถามว่า ท่านผู้เจริญมีความเห็น อย่างนี้หรือว่า โลกไม่เที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่าหรือหนอ ก็กล่าวว่า ดูกรอาวุโส เรามิได้มีความเห็นอย่างนั้น เมื่อถูกถามว่า ท่านผู้เจริญมีความเห็น อย่างนี้หรือว่า โลกมีที่สุด ... โลกไม่มีที่สุด ... ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ... ชีพอย่างหนึ่ง สรีระก็อย่างหนึ่ง ... สัตว์เมื่อตายแล้วย่อมเป็นอีก ... สัตว์เมื่อตาย แล้วย่อมไม่เป็นอีก ... สัตว์เมื่อตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี ... สัตว์เมื่อตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่าหรือหนอ ก็กล่าวว่า ดูกรอาวุโส เรามิได้มีเห็นอย่างนั้น เมื่อถูกถาม ว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านผู้เจริญย่อมไม่รู้ ไม่เห็นละซิ ก็กล่าวว่า ดูกรอาวุโส เรา ย่อมไม่รู้ ไม่เห็นหามิได้ เรารู้อยู่ เห็นอยู่ ดูกรอาวุโส ก็อรรถแห่งภาษิตนี้จะพึง เห็นได้อย่างไรเล่า ฯ อา. ดูกรอาวุโส ข้อนี้ว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เป็นทิฐิอย่างหนึ่ง ข้อนี้ว่า โลกไม่เที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เป็นทิฐิ อย่างหนึ่ง ข้อนี้ว่า โลกมีที่สุด ... โลกไม่มีที่สุด ... ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ... ชีพอย่างหนึ่ง สรีระก็อย่างหนึ่ง ... สัตว์เมื่อตายแล้วย่อมเป็นอีก ... สัตว์เมื่อตาย แล้วย่อมไม่เป็นอีก ... สัตว์เมื่อตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี ... สัตว์เมื่อตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ก็เป็นทิฐิอย่างหนึ่ง ดูกรอาวุโส ทิฐิก็ดี เหตุที่ตั้งทิฐิก็ดี ที่ตั้งมั่น แห่งทิฐิก็ดี ที่ตั้งขึ้นโดยรอบแห่งทิฐิก็ดี ความเพิกถอนทิฐิก็ดี มีประมาณเท่าใด เราย่อมรู้ ย่อมเห็นทิฐิเป็นต้นนั้น มีประมาณเท่านั้น เรารู้ทิฐิเป็นต้นนั้น จึงกล่าว ว่า เรารู้อยู่ เราเห็นทิฐิเป็นต้นนั้น จึงกล่าวว่า เราเห็นอยู่ เราจะกล่าวว่า เราไม่รู้ ไม่เห็นอย่างไรได้ ดูกรอาวุโส เรารู้อยู่ เห็นอยู่ ฯ โก. ท่านผู้มีอายุชื่อไร และเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายย่อมเรียกท่านผู้มี อายุว่าอย่างไร ฯ อา. ดูกรอาวุโส เรามีชื่อว่า อานนท์ และเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย เรียกเราว่า อานนท์ ฯ โก. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าสนทนาอยู่กับท่านอาจารย์ผู้ใหญ่ ไม่รู้ เลยว่า เป็นท่านพระอานนท์ ก็ถ้าว่าข้าพเจ้าพึงรู้ว่านี้คือท่านพระอานนท์ไซร้ ข้าพเจ้าก็ไม่พึงกล่าวโต้ตอบถึงเท่านี้ ขอท่านพระอานนท์จงอดโทษแก่ข้าพเจ้า ด้วยเถิด ฯ
จบสูตรที่ ๖

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๔๔๗๙-๔๕๓๘ หน้าที่ ๑๙๓-๑๙๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=24&A=4479&Z=4538&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=24&siri=94              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=96              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [96] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=24&item=96&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=8308              The Pali Tipitaka in Roman :- [96] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=24&item=96&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=8308              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i091-e.php#sutta6 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an10/an10.096.than.html https://suttacentral.net/an10.96/en/sujato https://suttacentral.net/an10.96/en/thanissaro

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :