ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
นาถสูตรที่ ๑
[๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีที่พึ่งอยู่เถิด อย่าเป็นผู้ ไม่มีที่พึ่งอยู่เลย (เพราะว่า) บุคคลผู้ไม่มีที่พึ่งย่อมอยู่เป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันกระทำที่พึ่ง ๑๐ ประการนี้ ๑๐ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและ โคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท ทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขา บททั้งหลาย นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้สดับ มาก ทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่งธรรมอันงามใน เบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็น พหูสูต ฯลฯ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้เป็นธรรมกระทำ ที่พึ่ง ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย คือ ประกอบด้วยธรรมเครื่องกระทำ ความเป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน รับอนุศาสนีโดยเคารพ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย คือ เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมเครื่องกระทำความเป็นผู้ว่าง่าย เป็น ผู้อดทน รับอนุสาสนีโดยเคารพ นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในกิจที่ควรทำอย่างไร ทั้งสูงทั้งต่ำ ของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา อันเป็นอุบายในกิจนั้น อาจทำ อาจจัดได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ ขยัน ไม่เกียจคร้านในกิจที่ควรทำอย่างไร ทั้งสูงทั้งต่ำ ของเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งหลาย ฯลฯ อาจทำ อาจจัดได้ นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ใคร่ในธรรม เป็นผู้ฟังและแสดงธรรมอัน เป็นที่รัก มีความปราโมทย์อย่างยิ่งในธรรมอันยิ่ง ในวินัยอันยิ่ง ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ใคร่ในธรรม เป็นผู้ฟังและแสดงธรรมอันเป็นที่รัก มี ความปราโมทย์อย่างยิ่งในธรรมอันยิ่ง ในวินัยอันยิ่ง นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรมทั้งหลาย เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ปรารภ ความเพียร เพื่อละอกุศลธรรมทั้งหลาย เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เป็น ธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ เภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยของคนไข้ ตามมีตามได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุ เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยของ คนไข้ ตามมีตามได้ นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษา ตนอย่างยิ่ง ระลึกได้ ตามระลึกได้ซึ่งสิ่งที่ทำคำที่พูดแล้วแม้นานได้ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกได้ ตามระลึกได้ซึ่งสิ่งที่ทำคำที่พูดแล้วแม้นานได้ นี้ เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญา อันเห็นความ เกิดความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา คือประกอบด้วยปัญญาอันเห็นความเกิดความ ดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบนี้ เป็นธรรมกระทำ ที่พึ่ง ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีที่พึ่งอยู่เถิด อย่าเป็นผู้ไม่มีที่พึ่ง อยู่เลย (เพราะว่า) บุคคลผู้ไม่มีที่พึ่งย่อมอยู่เป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม กระทำที่พึ่ง ๑๐ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๗

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๖๒๕-๖๗๖ หน้าที่ ๒๘-๓๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=24&A=625&Z=676&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=24&siri=17              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=17              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [17] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=24&item=17&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=7238              The Pali Tipitaka in Roman :- [17] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=24&item=17&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=7238              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i011-e.php#sutta7 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an10/an10.017.than.html https://suttacentral.net/an10.17/en/sujato https://suttacentral.net/an10.17/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :