ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
ปัญจมปัณณาสก์ที่ ๕
ปฐมวรรคที่ ๑
ยถาภตสูตร
[๑๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ถูกทอดทิ้งไว้ในนรก เหมือนสิ่งของที่เขานำมาทอดทิ้งไว้ ธรรม ๑๐ ประการ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนฆ่าสัตว์ หยาบช้า มีมือชุ่มด้วยโลหิต ตั้งอยู่ในการฆ่าและการทุบตี ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์ที่มีชีวิต ทั้งปวง ๑ เป็นคนลักทรัพย์ ถือเอาวัตถุเป็นอุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแห่ง ผู้อื่นของบุคคลอื่น ซึ่งอยู่ในบ้านหรือในป่าที่เจ้าของมิได้ให้ ด้วยจิตเป็นขโมย ๑ เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม คือ เป็นผู้ถึงความประพฤติล่วงในสตรีที่มารดารักษา บิดารักษา พี่ชายน้องชายรักษา พี่สาวน้องสาวรักษา ญาติรักษา ธรรม รักษา ผู้มีสามี ผู้มีอาชญาโดยรอบ โดยที่สุดแม้สตรีผู้ที่บุรุษคล้องแล้วด้วย พวงมาลัย ๑ เป็นผู้พูดเท็จ คือ เขาอยู่ในสภา ในบริษัท ในท่ามกลางญาติ ใน ท่ามกลางเสนา หรือในท่ามกลางราชสกุล ถูกผู้อื่นนำไปเป็นพยานซักถามว่า มา เถิดบุรุษผู้เจริญ ท่านรู้สิ่งใดจงพูดสิ่งนั้น ดังนี้ บุคคลผู้นั้นเมื่อไม่รู้ก็กล่าวว่ารู้ หรือเมื่อรู้ก็กล่าวว่าไม่รู้ เมื่อไม่เห็นก็กล่าวว่าเห็น หรือเมื่อเห็นก็กล่าวว่าไม่เห็น เป็นผู้กล่าวเท็จทั้งรู้ เพราะเหตุแห่งตนบ้าง เพราะเหตุแห่งผู้อื่นบ้าง เพราะเหตุ เห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง ด้วยประการดังนี้ ๑ เป็นผู้พูดส่อเสียด คือ ฟังข้าง นี้แล้วไปบอกข้างโน้นเพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือฟังข้างโน้นมาบอกข้างนี้ เพื่อทำลาย คนหมู่โน้น ยุยงคนทั้งหลายผู้สามัคคีกันให้แตกกัน หรือส่งเสริมคนผู้แตกกันแล้ว ชอบความแยกกัน ยินดีความแยกกัน เพลิดเพลินในความแยกกัน กล่าวแต่คำ ที่ทำให้แยกกัน ๑ เป็นผู้พูดคำหยาบ คือกล่าววาจาหยาบช้า กล้าแข็งเดือดร้อนผู้อื่น เสียดสีผู้อื่น ใกล้ต่อความโกรธ ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ ๑ เป็นพูดเพ้อเจ้อ คือ กล่าวไม่ถูกกาล กล่าวไม่จริง กล่าวไม่อิงอรรถ กล่าวไม่อิงธรรม กล่าวไม่อิง วินัย กล่าววาจาที่ไม่มีหลักฐาน ไม่มีที่อ้างอิง ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่ประกอบด้วย ประโยชน์ โดยกาลอันไม่ควร ๑ เป็นผู้อยากได้ของผู้อื่น คือ อยากได้วัตถุเป็น อุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแห่งผู้อื่น ของบุคคลอื่นว่า ไฉนหนอ วัตถุเป็น อุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแห่งผู้อื่นของบุคคลอื่นพึงเป็นของเรา ดังนี้ ๑ เป็น ผู้มีจิตคิดปองร้าย คือ มีความดำริในใจอันชั่วร้ายว่า ขอสัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่า จง ถูกทำลาย จงขาดสูญ จงพินาศ หรืออย่าได้เป็นแล้ว ดังนี้ ๑ เป็นผู้มีความ เห็นผิด คือ มีความเห็นวิปริตว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล การ บูชาไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่บุคคลทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ผู้เป็นอุปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปโดย ชอบ ผู้ปฏิบัติชอบ ผู้ทำโลกนี้และปรโลกให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตาม ย่อมไม่มีในโลก ดังนี้ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล เป็นผู้ถูกทอดทิ้งไว้ในนรก เหมือนสิ่งของ ที่เขานำมาทอดทิ้งไว้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ถูก เชิญมาประดิษฐานไว้ในสวรรค์ เหมือนสิ่งของที่นำมาประดิษฐานไว้ ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศาตรา มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณาหวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ละการลักทรัพย์ งดเว้น จากการลักทรัพย์ ไม่ถือเอาวัตถุเป็นอุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแห่งผู้อื่นของ บุคคลอื่น ซึ่งอยู่ในบ้านหรืออยู่ในป่า ที่เจ้าของมิได้ให้ด้วยจิตเป็นขโมย ๑ ละการ ประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม คือไม่ถึงความประพฤติล่วง ในสตรีที่มารดารักษา บิดารักษา พี่ชายน้องชายรักษา พี่สาวน้องสาวรักษา ญาติ รักษา ธรรมรักษา มีสามี มีอาชญาโดยรอบโดยที่สุดแม้สตรีที่บุรุษคล้องแล้ว ด้วยพวงมาลัย ๑ ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ คือ อยู่ในสภา ในบริษัท ในท่ามกลางญาติ ในท่ามกลางเสนา หรือในท่ามกลางราชสกุล ถูกผู้อื่นนำ ไปเป็นพยานซักถามว่า มาเถิดบุรุษผู้เจริญ ท่านรู้สิ่งใดจงพูดสิ่งนั้น บุคคลนั้น เมื่อไม่รู้ก็บอกว่าไม่รู้ หรือเมื่อรู้ก็บอกว่ารู้ เมื่อไม่เห็นก็บอกว่าไม่เห็น หรือ เมื่อเห็นก็บอกว่าเห็น ไม่เป็นผู้กล่าวเท็จทั้งรู้ เพราะเหตุแห่งตนบ้าง เพราะเหตุ ของผู้อื่นบ้าง หรือเพราะเหตุเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง ด้วยประการฉะนี้ ๑ ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด คือ ฟังข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือฟังจากข้างโน้นแล้วไม่มาบอกข้างนี้เพื่อทำลายคนหมู่โน้น สมานคนที่แตกร้าวกันบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันบ้าง ชอบคนผู้พร้อม เพรียงกัน ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลินในคนผู้พร้อมเพรียงกัน กล่าววาจาที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน ด้วยประการฉะนี้ ๑ ละคำหยาบ เว้นขาดจาก คำหยาบ กล่าววาจาที่ไม่มีโทษ เพราะหู ชวนให้รัก จับใจ เป็นของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่ พอใจ ๑ ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่เป็นจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำที่มีหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์โดยกาลอันควร ๑ ไม่อยากได้ ของผู้อื่น คือ ไม่อยากได้วัตถุเป็นเครื่องอุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจของผู้ อื่นว่า ไฉนหนอ วัตถุที่เป็นเครื่องอุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแห่งผู้อื่นของ บุคคลอื่นพึงเป็นของเรา ดังนี้ ๑ เป็นผู้ไม่มีจิตคิดปองร้าย คือ ไม่มีความดำริ ในใจอันชั่วร้ายว่า ขอสัตว์เหล่านี้จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีความมุ่งร้ายกัน ไม่มี ทุกข์ มีสุขรักษาตนเถิด ดังนี้ ๑ เป็นผู้มีความเห็นชอบ คือ มีความเห็นไม่ วิปริตว่า ทานที่บุคคลให้แล้วมีผล การเซ่นสรวงมีผล การบูชามีผล ผลวิบาก แห่งกรรมที่บุคคลทำดีทำชั่วมีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ ทั้งหลายผู้เป็นอุปปาติกะมี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปโดยชอบ ผู้ปฏิบัติชอบ ผู้ทำ โลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้ตาม มีอยู่ ดังนี้ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล เป็นผู้ถูกเชิญมาประดิษฐานไว้ในสวรรค์ เหมือนสิ่งของที่เชิญมาประดิษฐานไว้ ฯ
จบสูตรที่ ๑

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๖๗๖๕-๖๘๓๘ หน้าที่ ๒๙๕-๒๙๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=24&A=6765&Z=6838&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=24&siri=187              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=189              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [189] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=24&item=189&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=8503              The Pali Tipitaka in Roman :- [189] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=24&item=189&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=8503              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i189-e.php# https://suttacentral.net/an10.211/en/sujato https://suttacentral.net/an10.211/en/bodhi https://suttacentral.net/an10.212/en/sujato https://suttacentral.net/an10.212/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :