ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
นาถสูตรที่ ๒
[๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีที่พึ่งอยู่เถิด อย่าเป็นผู้ ไม่มีที่พึ่งอยู่เลย (เพราะว่า) บุคคลผู้ไม่มีที่พึ่งย่อมอยู่เป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันกระทำที่พึ่ง ๑๐ ประการนี้ ๑๐ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุผู้ เป็นเถระก็ดี เป็นมัชฌิมะก็ดี เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้เป็นผู้มี ศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายหนอ ดังนี้ ว่าเป็นผู้พึงว่ากล่าว สั่งสอน ภิกษุนั้นอันภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะ อนุเคราะห์แล้ว พึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย นี้ เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ภิกษุ ทั้งหลายผู้เป็นเถระก็ดี ผู้เป็นมัชฌิมะก็ดี ผู้เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้เป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิหนอ ดังนี้ ว่าเป็นผู้พึงว่ากล่าว สั่งสอน ภิกษุนั้นอันภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะ อนุเคราะห์ แล้ว พึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นเถระก็ดี เป็นมัชฌิมะก็ดี เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้มี มิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดีหนอ ดังนี้ ว่าเป็นผู้พึงว่ากล่าวสั่งสอน ภิกษุนั้นอัน ภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะ อนุเคราะห์แล้ว พึงหวังความเจริญ ในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย นี้เป็นธรรมกระทำ ที่พึ่ง ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย คือ ประกอบด้วยธรรมเครื่องกระทำ ความเป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน รับอนุสาสนีโดยเคารพ ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระ ก็ดี เป็นมัชฌิมะก็ดี เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้เป็นผู้ว่าง่าย คือ ประกอบด้วยธรรมเครื่องกระทำความเป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน รับอนุสาสนี โดยเคารพหนอ ดังนี้ ว่าเป็นผู้พึงว่ากล่าวสั่งสอน ภิกษุนั้นอันภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะ อนุเคราะห์แล้ว พึงหวังความเจริญในกุศลทั้งหลาย อย่างเดียว ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน ในกิจที่ควรทำอย่างไร ทั้งสูงทั้งต่ำ ของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาเครื่อง พิจารณาอันเป็นอุบายในกิจนั้น อาจทำ อาจจัดได้ ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระก็ดี เป็นมัชฌิมะก็ดี เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจ คร้านในกิจที่ควรทำอย่างไร ทั้งสูงทั้งต่ำ ของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย เป็นผู้ ประกอบด้วยปัญญาเครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในกิจนั้น อาจทำ อาจจัดได้หนอ ดังนี้ ว่าเป็นผู้พึงว่ากล่าวสั่งสอน ภิกษุนั้น อันภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะ อนุเคราะห์แล้ว พึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ใคร่ในธรรม เป็นผู้ฟังและแสดงธรรมอัน เป็นที่รัก มีความปราโมทย์อย่างยิ่งในธรรมอันยิ่ง ในวินัยอันยิ่ง ภิกษุทั้งหลายผู้ เป็นเถระก็ดี เป็นมัชฌิมะก็ดี เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้เป็น ผู้ใคร่ในธรรม เป็นผู้ฟังและแสดงธรรมอันเป็นที่รัก มีความปราโมทย์อย่างยิ่งใน ธรรมอันยิ่ง ในวินัยอันยิ่งหนอ ดังนี้ ว่าเป็นผู้พึงว่ากล่าวสั่งสอน ภิกษุนั้นอัน ภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะ อนุเคราะห์แล้ว พึงหวังความเจริญใน กุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียวไม่พึงหวังความเสื่อมเลย นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรมทั้งหลาย เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระก็ดี เป็นมัชฌิมะก็ดี เป็น นวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศล ธรรมทั้งหลาย เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้มีกำลัง มีความ บากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่หนอ ดังนี้ ว่าเป็นผู้พึงว่า กล่าวสั่งสอน ภิกษุนั้นอันภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะ อนุเคราะห์แล้ว พึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว ไม่พึงหวัง ความเสื่อมเลย นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ เภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยแก่คนไข้ ตามมีตามได้ ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระก็ดี เป็นมัชฌิมะก็ดี เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้เป็นผู้สันโดษด้วย จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยแก่คนไข้ ตามมี ตามได้หนอ ดังนี้ ว่าเป็นผู้พึงว่ากล่าวสั่งสอน ภิกษุนั้นอันภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะ อนุเคราะห์แล้ว พึงหวังความเจริญในกุศลธรรม ทั้งหลายอย่างเดียว ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษา ตนอย่างยิ่ง ระลึกได้ ตามระลึกได้ ซึ่งสิ่งที่ทำคำที่พูดแล้วแม้นานได้ ภิกษุ ทั้งหลายผู้เป็นเถระก็ดี เป็นมัชฌิมะก็ดี เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้เป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกได้ ตามระลึกได้ ซึ่งสิ่งที่ทำคำที่พูดแล้วแม้นานได้หนอ ดังนี้ ว่าเป็นผู้พึงว่ากล่าว สั่งสอน ภิกษุนั้นอันภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะ อนุเคราะห์ แล้ว พึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญา อันเห็น ความเกิดความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ภิกษุ ทั้งหลายผู้เป็นเถระก็ดี เป็นมัชฌิมะก็ดี เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้ เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาอันเห็นความเกิดความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบหนอ ดังนี้ ว่าเป็นผู้พึงว่ากล่าวสั่งสอน ภิกษุนั้นอันภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะ อนุเคราะห์แล้ว พึงหวัง ความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย นี้เป็นธรรม กระทำที่พึ่ง ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีที่พึ่งอยู่เถิด อย่าเป็นผู้ไม่มี ที่พึ่งอยู่เลย (เพราะว่า) บุคคลผู้ไม่มีที่พึ่ง ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันกระทำที่พึ่ง ๑๐ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๘

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๖๗๗-๗๕๗ หน้าที่ ๓๐-๓๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=24&A=677&Z=757&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=24&siri=18              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=18              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [18] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=24&item=18&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=7262              The Pali Tipitaka in Roman :- [18] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=24&item=18&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=7262              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i011-e.php#sutta8 https://suttacentral.net/an10.18/en/sujato https://suttacentral.net/an10.18/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :