ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
กรรมสูตรที่ ๒
[๑๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวความสิ้นสุดกรรม ที่สัตว์ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น ก็วิบากนั้นแล อันสัตว์ผู้ทำพึงได้เสวยในปัจจุบัน ในอัตภาพถัดไป หรือในอัตภาพต่อๆ ไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อม ไม่กล่าวการทำที่สุดทุกข์แห่งกรรมที่สัตว์ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจ เป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก ความวิบัติอันเป็นโทษแห่ง การงานทางวาจา ๔ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มี ทุกข์เป็นวิบาก ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจ เป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้พูดเท็จ ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้อยากได้ของผู้อื่น ฯลฯ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็น อกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะเหตุแห่งความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล เพราะเหตุแห่งความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทาง วาจา ๔ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล หรือเพราะเหตุแห่งความวิบัติอันเป็น โทษแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง มีความตั้งใจเป็นอกุศล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวความสิ้นสุดแห่งกรรมที่ สัตว์ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น ก็วิบากนั้น อันสัตว์ผู้ทำพึงได้เสวยในปัจจุบัน ใน อัตภาพถัดไป หรือในอัตภาพต่อๆ ไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่ กล่าวการทำที่สุดทุกข์แห่งกรรมที่สัตว์ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้นสมบัติแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล ย่อมมีสุข เป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก สมบัติแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง อันมีความตั้งใจ เป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก สมบัติแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมบัติแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจ เป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล บางคนในโลกนี้ ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมบัติแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมบัติแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง อันมีความตั้งใจ เป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล บางคนในโลกนี้ ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมบัติแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมบัติแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจ เป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่อยากได้ของผู้อื่น ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมบัติ แห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุข เป็นวิบาก อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะเหตุแห่งสมบัติแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล เพราะเหตุแห่งสมบัติแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล หรือ เพราะเหตุแห่งสมบัติแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล ฯ
จบสูตรที่ ๔

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๗๐๘๘-๗๑๔๕ หน้าที่ ๓๐๘-๓๑๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=24&A=7088&Z=7145&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=24&siri=193              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=195              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [195] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=24&item=195&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- [195] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=24&item=195&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i189-e.php#sutta8 https://suttacentral.net/an10.218/en/sujato https://suttacentral.net/an10.218/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :