ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
กรรมสูตรที่ ๓
[๑๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวความสิ้นสุดแห่ง กรรมที่สัตว์ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น ก็วิบากนั้นแลอันสัตว์ผู้ทำพึงได้เสวยในปัจจุบัน ในอัตภาพถัดไป หรือในอัตภาพต่อๆ ไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวการทำที่สุดทุกข์แห่งกรรมที่สัตว์ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนั้นนั่นแล เป็นผู้ปราศจากอภิชฌา ปราศจากพยาบาท ไม่ลุ่มหลง มีสัมปชัญญะ มีสติเฉพาะหน้า มีใจประกอบด้วย เมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ก็เหมือนกัน โดย นัยนี้ ทั้งทิศเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณ มิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ อริยสาวกนั้นย่อมรู้อย่างนี้ว่า ในกาล ก่อนแล จิตของเรานี้เป็นจิตเล็กน้อย เป็นจิตไม่ได้อบรมแล้ว แต่บัดนี้ จิตของ เรานี้ เป็นจิตหาประมาณมิได้ เป็นจิตอบรมดีแล้ว ก็กรรมที่ทำแล้วพอประมาณ อย่างใดอย่างหนึ่งนั้นย่อมไม่เหลืออยู่ ไม่ตั้งอยู่ในจิตของเรานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน คือหากในเวลายังเป็นเด็ก เด็กนี้พึง เจริญเมตตาเจโตวิมุติไซร้ พึงทำบาปกรรมบ้างหรือ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ไม่ ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็ทุกข์จะพึงถูกต้องบุคคลผู้ไม่ทำบาปกรรมและหรือ ฯ ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยว่าทุกข์จักถูก ต้องบุคคลผู้ไม่ทำบาปกรรมได้แต่ที่ไหน ฯ พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมตตาเจโตวิมุตินี้ อันสตรีหรือบุรุษ พึงเจริญ แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายนี้มิได้มีส่วนอันสตรีหรือบุรุษจะพึงพาเอาไปได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ผู้มีอันจะต้องตายเป็นสภาพนี้ เป็นผู้มีจิตเป็นเหตุ สัตว์นั้น ย่อมรู้อย่างนี้ว่าบาปกรรมไรๆ ของเรา อันกรัชกายนี้ทำแล้วในกาลก่อน บาป กรรมนั้นทั้งหมด เป็นกรรมอันเราพึงเสวยในอัตภาพนี้ จักไม่ติดตามไป ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุติ อันภิกษุผู้มีปัญญา ผู้ยังไม่แทงตลอดวิมุติ อันยิ่ง ในธรรมวินัยนี้อบรมแล้ว ด้วยประการอย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเป็นพระอนาคามี ฯ พระอริยสาวกมีจิตประกอบด้วยกรุณา มุทิตา อุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศ หนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ก็เหมือนกันโดยนัยนี้ ทั้งทิศเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยจิต อันประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่ มีความเบียดเบียนอยู่ อริยสาวกนั้นย่อมรู้อย่างนี้ว่า ในกาลก่อนแล จิตของเรานี้ เป็นจิตเล็กน้อย เป็นจิตไม่ได้อบรมแล้ว แต่บัดนี้ จิตของเรานี้ เป็นจิต หาประมาณมิได้ เป็นจิตอบรมดีแล้ว ก็กรรมที่ทำแล้วพอประมาณอย่างใดอย่างหนึ่ง นั้น ย่อมไม่เหลืออยู่ไม่ตั้งอยู่ในจิตของเรานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน คือ หากว่าในเวลายังเป็นเด็ก เด็กนี้พึงเจริญ อุเบกขาเจโตวิมุติไซร้ พึงกระทำบาปกรรมบ้างหรือ ฯ ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็ทุกข์จะพึงถูกต้องบุคคลผู้ไม่ทำบาปกรรมและหรือ ฯ ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยว่าทุกข์จัก ถูกต้องบุคคลผู้ไม่ทำบาปกรรมได้แต่ที่ไหน ฯ พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุเบกขาเจโตวิมุตินี้ อันสตรีหรือบุรุษพึงเจริญแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายนี้มิได้มีส่วนอันสตรีหรือบุรุษจะพึงพาเอาไปได้ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย สัตว์ผู้มีอันจะต้องตายเป็นสภาพนี้ เป็นผู้มีจิตเป็นเหตุ สัตว์นั้นย่อมรู้ อย่างนี้ว่า บาปกรรมไรๆ ของเรา อันกรัชกายนี้ทำแล้วในกาลก่อน บาปกรรม นั้นทั้งหมด อันเราจะพึงเสวยในอัตภาพนี้ จักไม่ติดตามไปดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุเบกขาเจโตวิมุติ อันภิกษุผู้มีปัญญา ผู้ยังไม่แทงตลอดวิมุตติอันยิ่ง ในธรรมวินัยนี้ เจริญแล้วด้วยประการอย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นพระอนาคามี ฯ
จบสูตรที่ ๙

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๗๑๔๖-๗๑๙๕ หน้าที่ ๓๑๑-๓๑๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=24&A=7146&Z=7195&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=24&siri=194              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=196              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [196] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=24&item=196&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=8527              The Pali Tipitaka in Roman :- [196] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=24&item=196&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=8527              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i189-e.php#sutta9 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an10/an10.208.than.html https://suttacentral.net/an10.219/en/sujato https://suttacentral.net/an10.219/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :