ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
พราหมณสูตร
[๑๙๗] ครั้งนั้นแล พราหมณ์คนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไป แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ท่าน พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรพราหมณ์ เพราะเหตุแห่งการประพฤติ อธรรมและการประพฤติไม่สม่ำเสมอ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อตายไป ย่อม เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ พร. ท่านพระโคดมผู้เจริญ ก็อะไรเล่า เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้สัตว์ บางพวกในโลกนี้ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ พ. ดูกรพราหมณ์ เพราะเหตุแห่งการประพฤติธรรมและประพฤติสม่ำ เสมอ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ พร. ข้าพเจ้ายังมิรู้ทั่วถึงอรรถแห่งภาษิตโดยย่อของท่านพระโคดมผู้เจริญ นี้โดยพิสดาร ขอประทานโอกาส ขอท่านพระโคดมผู้เจริญโปรดทรงแสดงธรรม โดยประการที่ข้าพระองค์จะพึงรู้ทั่วถึงอรรถแห่งภาษิตโดยย่อของท่านพระโคดมผู้เจริญ นี้โดยพิสดารเถิด ฯ พ. ดูกรพราหมณ์ ถ้าเช่นนั้นท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ฯ พราหมณ์นั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกร พราหมณ์ การประพฤติอธรรมและการประพฤติไม่สม่ำเสมอทางกายมี ๓ อย่าง การ ประพฤติอธรรมการประพฤติไม่สม่ำเสมอทางวาจามี ๔ อย่าง การประพฤติอธรรม และการประพฤติไม่สม่ำเสมอทางใจมี ๓ อย่าง ฯ ดูกรพราหมณ์ ก็การประพฤติอธรรมและการประพฤติไม่สม่ำเสมอทาง กายมี ๓ อย่าง อย่างไร ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ดูกรพราหมณ์ การประพฤติอธรรมและการประพฤติไม่สม่ำเสมอทางกายมี ๓ อย่าง อย่างนี้แล ฯ ดูกรพราหมณ์ ก็การประพฤติอธรรมและการประพฤติไม่สม่ำเสมอทาง วาจามี ๔ อย่าง อย่างไรเล่า ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กล่าว เท็จ ฯลฯ ดูกรพราหมณ์ การประพฤติอธรรมและการประพฤติไม่สม่ำเสมอทาง วาจามี ๔ อย่าง อย่างนี้แล ฯ ดูกรพราหมณ์ ก็การประพฤติอธรรมและการประพฤติไม่สม่ำเสมอทาง ใจมี ๓ อย่าง อย่างไรเล่า ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้อยากได้ ของผู้อื่น ฯลฯ ดูกรพราหมณ์ การประพฤติอธรรม และการประพฤติไม่สม่ำ เสมอทางใจมี ๓ อย่าง อย่างนี้แล ฯ ดูกรพราหมณ์ เพราะเหตุแห่งการประพฤติอธรรมและการประพฤติไม่ สม่ำเสมออย่างนี้แล สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ ดูกรพราหมณ์ การประพฤติธรรมและการประพฤติสม่ำเสมอทางกายมี ๓ อย่าง การประพฤติธรรมและการประพฤติสม่ำเสมอทางวาจามี ๔ อย่าง การ ประพฤติธรรมและการประพฤติสม่ำเสมอทางใจมี ๓ อย่าง ฯ ดูกรพราหมณ์ ก็การประพฤติธรรมและการประพฤติสม่ำเสมอทางกายมี ๓ อย่าง อย่างไรเล่า ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ดูกรพราหมณ์ การประพฤติธรรมและการประพฤติ สม่ำเสมอทางกายมี ๓ อย่าง อย่างนี้แล ฯ ดูกรพราหมณ์ การประพฤติธรรมและการประพฤติสม่ำเสมอทางวาจามี ๔ อย่าง อย่างไรเล่า ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ ละการกล่าวเท็จ เว้นขาดจากการกล่าวเท็จ ฯลฯ ดูกรพราหมณ์ การประพฤติธรรมและการประพฤติ สม่ำเสมอทางวาจามี ๔ อย่าง อย่างนี้แล ฯ ดูกรพราหมณ์ ก็การประพฤติธรรมและการประพฤติสม่ำเสมอทางใจมี ๓ อย่าง อย่างไรเล่า ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่อยากได้ของผู้อื่น ฯลฯ ดูกรพราหมณ์ การประพฤติธรรมและการประพฤติสม่ำเสมอทางใจมี ๓ อย่าง อย่างนี้แล ฯ ดูกรพราหมณ์ เพราะเหตุแห่งการประพฤติธรรมและการประพฤติสม่ำ เสมออย่างนี้แล สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ พร. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก ฯลฯ ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้ง แต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบปฐมวรรคที่ ๑
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๗๑๙๖-๗๒๕๕ หน้าที่ ๓๑๓-๓๑๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=24&A=7196&Z=7255&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=24&siri=195              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=197              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [197] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=24&item=197&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- [197] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=24&item=197&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i189-e.php#sutta10 https://suttacentral.net/an10.220/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :