ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
ทสมสูตร
[๒๒๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ เวฬุวคาม ใกล้พระนคร เวสาลี ก็สมัยนั้น ทสมคฤหบดีชาวเมืองอัฏฐกะ เดินทางไปถึงเมืองปาตลีบุตร ด้วยกรณียกิจบางอย่าง ครั้งนั้นแล ทสมคฤหบดีชาวเมืองอัฏฐกะ เข้าไปหาภิกษุ รูปหนึ่ง ณ กุกกุฏาราม ครั้นแล้วได้ถามภิกษุนั้นว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บัดนี้ ท่าน พระอานนท์อยู่ที่ไหน เพราะว่าข้าพเจ้าเป็นผู้ใคร่เพื่อจะพบท่านพระอานนท์ ภิกษุ นั้นตอบว่า ดูกรคฤหบดี ท่านพระอานนท์อยู่ ณ เวฬุวคาม ใกล้พระนครเวสาลี ฯ ครั้งนั้นแล ทสมคฤหบดีชาวเมืองอัฏฐกะ กระทำกรณียกิจนั้นที่เมือง ปาตลีบุตรเสร็จแล้ว ได้เข้าไปหาท่านพระอานนท์ ณ เวฬุวคาม ใกล้พระนคร เวสาลี ไหว้ท่านพระอานนท์แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถาม ท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ ธรรมอย่างเอก อันเป็นที่หลุด พ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่ หมดสิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุโดยลำดับซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอด เยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ แห่งภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้รู้ผู้เห็น เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ โดยชอบมีอยู่หรือ ฯ ท่านพระอานนท์ตอบว่า ดูกรคฤหบดี ธรรมอย่างเอกอันเป็นที่หลุดพ้น แห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่หมด สิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุโดยลำดับซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยัง ไม่บรรลุโดยลำดับ แห่งภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่พระผู้มี พระภาคพระองค์นั้น ผู้รู้ผู้เห็น เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้แล้วโดย ชอบ มีอยู่ ฯ ท. ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ธรรมอย่างเอก อันเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความหมดสิ้นแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่หมดสิ้น หรือ เป็นที่บรรลุโดยลำดับซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดย ลำดับ แห่งภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น ผู้รู้ผู้เห็น เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้โดยชอบ เป็น ไฉน ฯ อา. ดูกรคฤหบดี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศล- *ธรรม บรรลุปฐมฌานอันมีตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ภิกษุนั้นย่อม พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ปฐมฌานนี้แลถูกปรุงแล้วถูกตบแต่งแล้ว และย่อมรู้ชัดว่า ก็สิ่ง ใดสิ่งหนึ่งถูกปรุงแล้ว ถูกตบแต่งแล้ว สิ่งนั้นเป็นของไม่เที่ยง มีความดับไปเป็น ธรรมดา เธอจึงตั้งอยู่ในสมถะและวิปัสสนาธรรมนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่ง อาสวะทั้งหลาย หากว่าไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นอุปปาติก ๑- พรหมเพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ โดยความพอใจ เพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ จักปรินิพพานในนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็น ธรรมดา ดูกรคฤหบดี นี้แลคือธรรมอย่างเอก อันเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่ หลุดพ้น เป็นที่ถึงความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่หมดสิ้นไป หรือเป็น ที่บรรลุโดยลำดับซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ที่ยังไม่บรรลุโดย ลำดับ แห่งภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น ผู้รู้ผู้เห็น เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้แล้วโดยชอบ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภาย ใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิอยู่ ... ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุข ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญ ว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุขอยู่ ... ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตฌาน อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละ ทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสในก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ภิกษุ นั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า แม้จตุตถฌานนี้แล ถูกปรุงแล้ว ถูกตบแต่งแล้ว และ ย่อมรู้ชัดว่า ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งถูกปรุงแล้ว ถูกตบแต่งแล้ว สิ่งนั้นเป็นของไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา เธอตั้งอยู่ในสมถะและวิปัสสนาธรรมนั้น ย่อม บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากว่าไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะ @๑. อนาคามี ฯ ทั้งหลาย ก็จักเป็นอุปปาติกพรหม เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์อันเป็นไปใน ส่วนเบื้องต่ำ ๕ ด้วยความพอใจเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ จักปรินิพพานในภพ นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ดูกรคฤหบดี แม้ข้อนี้แลก็เป็นธรรม อย่างเอก อันเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความหมดสิ้นไปแห่ง อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่หมดสิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุโดยลำดับซึ่งธรรมเป็นแดน เกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ แห่งภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความ เพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้รู้ผู้เห็น เป็นอรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้า ตรัสแล้วโดยชอบ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีจิตประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปสู่ทิศที่หนึ่งอยู่ ทิศที่ สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยเมตตาอัน ไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ภิกษุนั้นย่อม พิจารณาเห็นดังนี้ว่า แม้เมตตาเจโตวิมุตินี้แล ถูกปรุงแล้ว ถูกตบแต่งแล้ว และย่อมรู้ชัดว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งถูกปรุงแล้ว ถูกตบแต่งแล้ว สิ่งนั้นเป็นของไม่เที่ยง มีความไปดับเป็นธรรมดา เธอตั้งอยู่แล้วในสมถะและวิปัสสนาธรรมนั้น ย่อม บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากว่าเธอไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะ ทั้งหลาย ก็จักเป็นอุปปาติกพรหม เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์อันเป็นไปใน ส่วนเบื้องต่ำ ๕ ด้วยความพอใจเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ดูกรคฤหบดี แม้ข้อนี้แลก็เป็นธรรมอย่างเอก อันเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะ ทั้งหลายที่ยังไม่หมดสิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุโดยลำดับซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจาก โยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ แห่งภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้รู้ผู้เห็น เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธ เจ้าตรัสไว้แล้วโดยชอบ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้มีจิตประกอบด้วยกรุณา ... อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้มีจิตประกอบด้วยมุทิตา ... อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีจิตประกอบด้วยอุเบกขา ย่อมแผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบ ด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า แม้อุเบกขาเจโตวิมุตินี้แล ถูกปรุงแล้ว ถูกตบ แต่งแล้ว และย่อมรู้ชัดว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งถูกปรุงแล้ว ถูกตบแต่งแล้ว สิ่งนั้น เป็นของไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา เธอตั้งอยู่แล้วในสมถะและวิปัสสนา ธรรมนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากว่าเธอไม่บรรลุความ สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จักเป็นอุปปาติกพรหม เพราะความสิ้นไปของ สังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ด้วยความพอใจเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ดูกรคฤหบดี แม้ ข้อนี้แลก็เป็นธรรมอย่างเอก อันเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่หมด สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่หมดสิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุโดยลำดับซึ่งธรรม เป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ แห่งภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้รู้ผู้เห็น เป็นอรหันต- *สัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้แล้วโดยชอบ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมบรรลุอากาสานัญจายตนฌานด้วยการบริกรรมว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา ภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า แม้อากาสานัญ จายตนสมาบัตินี้แล ถูกปรุงแล้ว ถูกตบแต่งแล้ว และย่อมรู้ชัดว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งถูก ปรุงแล้ว ถูกตบแต่งแล้ว สิ่งนั้นเป็นของไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา เธอ ตั้งอยู่แล้วในสมถะและวิปัสสนาธรรมนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะ ทั้งหลาย หากว่าเธอไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จักเป็นอุปาติก- *พรหม เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ด้วยความ พอใจเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลก นั้นเป็นธรรมดา ดูกรคฤหบดี แม้ข้อนี้แลก็เป็นธรรมอย่างเอก อันเป็นที่หลุดพ้น แห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่หมด สิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุโดยลำดับซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ ยังไม่บรรลุโดยลำดับ แห่งภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว อัน พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้รู้ผู้เห็น เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้แล้ว โดยชอบ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ย่อมบรรลุวิญญาณัญจายตนฌานโดยบริกรรมว่า วิญญาณไม่มีที่สุด ... อีกประการหนึ่ง ภิกษุก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ย่อมบรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดยบริกรรมว่า หน่อยหนึ่งไม่มี ดังนี้ ภิกษุนั้น ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า อากิญจัญญายตนสมาบัตินี้แล ถูกปรุงแล้ว ถูกตบแต่ง แล้ว และย่อมรู้ชัดว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งถูกปรุงแล้ว ถูกตบแต่งแล้ว สิ่งนั้นเป็น ของไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ภิกษุนั้นตั้งอยู่แล้วในสมถะและวิปัสสนา ธรรมนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากว่าเธอไม่บรรลุความสิ้น ไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จักเป็นอุปปาติกพรหม เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ด้วยความพอใจเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ จัก ปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ดูกรคฤหบดี แม้ ข้อนี้แลก็เป็นธรรมอย่างเอก อันเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึง ความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่หมดสิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุโดยลำดับ ซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ แห่งภิกษุผู้ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้รู้ผู้เห็น เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้แล้วโดยชอบ ฯ เมื่อท่านพระอานนท์กล่าวอย่างนี้แล้ว ทสมคฤหบดีชาวเมืองอัฏฐกะ ได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ เปรียบเหมือนบุรุษ แสวงหาแหล่งขุมทรัพย์ขุมเดียว พึงพบแหล่งขุมทรัพย์ ๑๑ ขุมคราวเดียวกัน แม้ฉันใด ข้าพเจ้าเมื่อแสวงหาประตูอมตธรรมประตูเดียว ก็ได้สดับประตู อมตธรรม ๑๑ ประตูคราวเดียวกัน ฉันนั้น เปรียบเหมือนบุรุษมีเรือน ๑๑ ประตู เมื่อเรือนนั้นถูกไฟไหม้ บุรุษพึงอาจเพื่อทำตนให้สวัสดีโดยประตูหนึ่งๆ แม้ฉันใด ข้าพเจ้าจักอาจเพื่อทำตนให้สวัสดีโดยประตูอมตธรรมประตูหนึ่งๆ บรรดาประตูอมตธรรม ๑๑ ประตูเหล่านี้ ฉันนั้นเหมือนกันแล ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ธรรมดาอัญญเดียรถีย์เหล่านี้จักแสวงหาทรัพย์บูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์ ส่วนข้าพเจ้า จักบูชาท่านพระอานนท์อย่างไรเล่า ลำดับนั้นแล ทสมคฤหบดีชาวเมืองอัฏฐกะ นิมนต์พระภิกษุสงฆ์ผู้อยู่ในนครเวสาลีและเมืองปาตลีบุตรให้ประชุมกันแล้ว อังคาส ภิกษุสงฆ์ให้อิ่มหนำสำราญ ด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีตด้วยมือของตน นิมนต์ภิกษุรูปหนึ่งๆ ให้ครองผ้าคู่หนึ่ง นิมนต์ท่านพระอานนท์ให้ครองไตรจีวร และสร้างวิหารราคาห้าร้อยถวายท่านพระอานนท์ ดังนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๖

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๘๓๑๐-๘๔๕๑ หน้าที่ ๓๖๑-๓๖๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=24&A=8310&Z=8451&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=24&siri=212              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=223              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [223] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=24&item=223&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=8642              The Pali Tipitaka in Roman :- [223] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=24&item=223&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=8642              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i218-e.php#sutta6 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an11/an11.017.than.html https://suttacentral.net/an11.16/en/sujato https://suttacentral.net/an11.16/en/thanissaro

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :