ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ธรรมสังคณีปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

ทุกนิกเขปะ เหตุโคจฉกะ

ทุกนิกเขปะ
๑. เหตุโคจฉกะ
๑. เหตุทุกะ
[๑๐๕๙] สภาวธรรมที่เป็นเหตุ เป็นไฉน เหตุที่เป็นกุศลมี ๓ เหตุที่เป็นอกุศลมี ๓ เหตุที่เป็นอัพยากฤตมี ๓ เหตุที่เป็น กามาวจรมี ๙ เหตุที่เป็นรูปาวจรมี ๖ เหตุที่เป็นอรูปาวจรมี ๖ เหตุที่เป็นโลกุตตระ มี ๖ [๑๐๖๐] บรรดาสภาวธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้น เหตุที่เป็นกุศล ๓ เป็นไฉน เหตุที่เป็นกุศล ๓ คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ [๑๐๖๑] บรรดาเหตุที่เป็นกุศล ๓ นั้น อโลภะ เป็นไฉน ความไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ภาวะที่ไม่โลภ ความไม่กำหนัด กิริยาที่ไม่กำหนัด ภาวะที่ไม่กำหนัด ความไม่เพ่งเล็ง กุศลมูลคืออโลภะ นี้เรียกว่าอโลภะ [๑๐๖๒] อโทสะ เป็นไฉน ความไม่คิดประทุษร้าย กิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ภาวะที่ไม่คิดประทุษร้าย ความมีไมตรี กิริยาที่สนิทสนม ภาวะที่สนิทสนม ความเอ็นดู กิริยาที่เอ็นดู ภาวะที่ เอ็นดู ความแสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ความสงสาร ความไม่พยาบาท ความไม่คิด เบียดเบียน กุศลมูลคืออโทสะ นี้เรียกว่าอโทสะ [๑๐๖๓] อโมหะ เป็นไฉน ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธ- คามินีปฏิปทา ความรู้ในส่วนอดีต ความรู้ในส่วนอนาคต ความรู้ในส่วนอดีตและ ส่วนอนาคต ความรู้ในปฏิจจสมุปปาทว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนด หมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือน แผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ดี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๗๑}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

ทุกนิกเขปะ เหตุโคจฉกะ

ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญา เหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ที่มี ลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าอโมหะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเหตุที่เป็นกุศล ๓ [๑๐๖๔] บรรดาสภาวธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้น เหตุที่เป็นอกุศล ๓ เป็นไฉน เหตุที่เป็นอกุศล ๓ คือ โลภะ โทสะ และโมหะ [๑๐๖๕] บรรดาเหตุที่เป็นอกุศล ๓ นั้น โลภะ เป็นไฉน ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความคล้อยตามอารมณ์ ความยินดี ความ เพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนักแห่งจิต ความอยาก ความสยบ ความหมกมุ่น ความใคร่ ความรักใคร่ ความข้องอยู่ ความ จมอยู่ ธรรมชาติที่คร่าไป ธรรมชาติที่หลอกลวง ธรรมชาติที่ยังสัตว์ให้เกิด ธรรมชาติ ที่ยังสัตว์ให้เกิดพร้อม ธรรมชาติที่ร้อยรัด ธรรมชาติที่มีข่าย ธรรมชาติที่กำซาบใจ ธรรมชาติที่ซ่านไป ธรรมชาติเหมือนเส้นด้าย ธรรมชาติที่แผ่ไป ธรรมชาติที่ ประมวลมา ธรรมชาติเป็นเพื่อนสอง ปณิธาน ธรรมชาติที่นำไปสู่ภพ ตัณหาเหมือน ป่า ตัณหาเหมือนดง ความเกี่ยวข้อง ความเยื่อใย ความห่วงใย ความผูกพัน ความ หวัง กิริยาที่หวัง ภาวะที่หวัง ความหวังรูป ความหวังเสียง ความหวังกลิ่น ความ หวังรส ความหวังโผฏฐัพพะ ความหวังลาภ ความหวังทรัพย์ ความหวังบุตร ความหวังชีวิต ธรรมชาติที่กระซิบ ธรรมชาติที่กระซิบทั่ว ธรรมชาติที่กระซิบยิ่ง ความกระซิบ กิริยาที่กระซิบ ภาวะที่กระซิบ ความละโมบ กิริยาที่ละโมบ ภาวะที่ ละโมบ ธรรมชาติเป็นเหตุซมซานไป ภาวะที่ใคร่แต่อารมณ์ดีๆ ความกำหนัดในฐานะ อันไม่ควร ความโลภเกินพอดี ความติดใจ กิริยาที่ติดใจ ความปรารถนา ความ กระหยิ่มใจ ความปรารถนานัก กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา รูปตัณหา อรูปตัณหา นิโรธตัณหา รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพ- ตัณหา ธัมมตัณหา โอฆะ โยคะ คันถะ อุปาทาน อาวรณ์ นิวรณ์ เครื่องปิดบัง เครื่องผูก อุปกิเลส อนุสัย ปริยุฏฐาน ตัณหาเหมือนเถาวัลย์ ความปรารถนาและ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๗๒}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

ทุกนิกเขปะ เหตุโคจฉกะ

ติดอยู่ในวัตถุมีอย่างต่างๆ มูลเหตุแห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ทุกขสมุทัย บ่วงแห่งมาร เบ็ดแห่งมาร วิสัยแห่งมาร ตัณหาเหมือนแม่น้ำ ตัณหาเหมือนข่าย ตัณหาเหมือนเชือก ตัณหาเหมือนสมุทร อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ นี้ชื่อว่าโลภะ [๑๐๖๖] โทสะ เป็นไฉน ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้เคยทำความเสื่อมเสียแก่เรา ความอาฆาตเกิดขึ้น ว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่เรา ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้จักทำความเสื่อม เสียแก่เรา ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้เคยทำความเสื่อมเสีย ฯลฯ กำลังทำความ เสื่อมเสีย ฯลฯ จักทำความเสื่อมเสียแก่คนที่รัก ที่ชอบพอของเรา ความอาฆาต เกิดขึ้นว่า ผู้นี้ได้เคยทำความเจริญ ฯลฯ กำลังทำความเจริญ ฯลฯ จักทำความ เจริญแก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก ที่ชอบพอของเรา หรือความอาฆาตเกิดขึ้นในฐานะอันไม่ สมควร จิตอาฆาต ความขัดเคือง ความกระทบกระทั่ง ความแค้น ความเคือง ความขุ่นเคือง ความพล่านไป โทสะ ความคิดประทุษร้าย ความคิดมุ่งร้าย ความ ขุ่นจิต ธรรมชาติ ที่ประทุษร้ายใจ ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ มีลักษณะ เช่นว่านี้ (และ) ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ภาวะที่คิดประทุษร้าย ความคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ภาวะที่คิดปองร้าย ความพิโรธ ความแค้น ความดุร้าย ความเกรี้ยวกราด ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียก ว่าโทสะ [๑๐๖๗] โมหะ เป็นไฉน ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ความไม่รู้ใน ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ในส่วนอนาคต ความไม่รู้ ในส่วนอดีตและอนาคต ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาทว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความ ไม่รู้ตามเป็นจริง ความไม่แทงตลอด ความไม่ถือเอาโดยถูกต้อง ความไม่หยั่งลงโดย รอบคอบ ความไม่พินิจ ความไม่พิจารณา ความไม่ทำให้ประจักษ์ ความทราม ปัญญา ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง ความลุ่มหลง ความหลงใหล อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าโมหะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเหตุที่เป็นอกุศล ๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๗๓}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

ทุกนิกเขปะ เหตุโคจฉกะ

[๑๐๖๘] บรรดาสภาวธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้น เหตุที่เป็นอัพยากฤต ๓ เป็นไฉน อโลภะ อโทสะ และอโมหะ ฝ่ายวิบาก แห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศล หรืออโลภะ อโทสะ และอโมหะ ในสภาวธรรมที่เป็นอัพยากตกิริยา สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเหตุ ที่เป็นอัพยากฤต ๓ [๑๐๖๙] บรรดาเหตุเหล่านั้น เหตุที่เป็นกามาวจร ๙ เป็นไฉน เหตุที่เป็นกุศลมี ๓ เหตุที่เป็นอกุศลมี ๓ เหตุที่เป็นอัพยากฤตมี ๓ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเหตุที่เป็นกามาวจร ๙ [๑๐๗๐] บรรดาสภาวธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้น เหตุที่เป็นรูปาวจร ๖ เป็นไฉน เหตุที่เป็นกุศลมี ๓ เหตุที่เป็นอัพยากฤตมี ๓ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเหตุที่ เป็นรูปาวจร ๖ [๑๐๗๑] บรรดาสภาวธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้น เหตุที่เป็นอรูปาวจร ๖ เป็นไฉน เหตุที่เป็นกุศลมี ๓ เหตุที่เป็นอัพยากฤตมี ๓ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเหตุที่ เป็นอรูปาวจร ๖ [๑๐๗๒] บรรดาเหตุเหล่านั้น เหตุที่เป็นโลกุตตระ ๖ เป็นไฉน เหตุที่เป็นกุศลมี ๓ เหตุที่เป็นอัพยากฤตมี ๓ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเหตุที่ เป็นโลกุตตระ ๖ [๑๐๗๓] บรรดาเหตุที่เป็นโลกุตตระ ๖ เหล่านั้น เหตุที่เป็นกุศล ๓ เป็นไฉน เหตุที่เป็นกุศล ๓ คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ [๑๐๗๔] บรรดาเหตุที่เป็นกุศล ๓ เหล่านั้น อโลภะ เป็นไฉน ความไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ภาวะที่ไม่โลภ ความไม่กำหนัด กิริยาที่ไม่กำหนัด ภาวะที่ไม่กำหนัด ความไม่เพ่งเล็ง กุศลมูลคืออโลภะ นี้เรียกว่าอโลภะ [๑๐๗๕] อโทสะ เป็นไฉน ความไม่คิดประทุษร้าย กิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ภาวะที่ไม่คิดประทุษร้าย ฯลฯ ความไม่พยาบาท ความไม่คิดเบียดเบียน กุศลมูลคืออโทสะ นี้เรียกว่าอโทสะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๗๔}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

ทุกนิกเขปะ เหตุโคจฉกะ

[๑๐๗๖] อโมหะ เป็นไฉน ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธ- คามินีปฏิปทา ความรู้ในส่วนอดีต ความรู้ในส่วนอนาคต ความรู้ในส่วนอดีตและ อนาคต ความรู้ในปฏิจจสมุปบาทว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความ เข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญา เครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญาเหมือน ปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือน ปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้ชื่อว่าอโมหะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเหตุที่เป็นกุศล [๑๐๗๗] เหตุที่เป็นอัพยากฤต ๓ เป็นไฉน อโลภะ อโทสะ และอโมหะ ฝ่ายวิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศล สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่าเหตุที่เป็นอัพยากฤต ๓ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเหตุที่เป็นโลกุตตระ ๖ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นเหตุ [๑๐๗๘] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุ เป็นไฉน เว้นสภาวธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และ อัพยากฤตที่เหลือ เว้นสภาวธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้นซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นเหตุ
๒. สเหตุกทุกะ
[๑๐๗๙] สภาวธรรมที่มีเหตุ เป็นไฉน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๗๕}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

ทุกนิกเขปะ จูฬันตรทุกะ

สภาวธรรมที่มีเหตุ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่ามีเหตุ [๑๐๘๐] สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุ เป็นไฉน สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และ ธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่มีเหตุ
๓. เหตุสัมปยุตตทุกะ
[๑๐๘๑] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุ เป็นไฉน สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยเหตุ [๑๐๘๒] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากเหตุ เป็นไฉน สภาวธรรมที่วิปปยุตจากเหตุ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูป ทั้งหมดและธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากเหตุ
๔. เหตุสเหตุกทุกะ
[๑๐๘๓] สภาวธรรมที่เป็นเหตุและมีเหตุ เป็นไฉน โลภะเป็นเหตุและมีเหตุเพราะโมหะ โมหะเป็นเหตุและมีเหตุเพราะโลภะ โทสะ เป็นเหตุและมีเหตุเพราะโมหะ โมหะเป็นเหตุและมีเหตุเพราะโทสะ อโลภะ อโทสะ และอโมหะนั้นเป็นเหตุและมีเหตุเพราะอาศัยกันและกัน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น เหตุและมีเหตุ [๑๐๘๔] สภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ เป็นไฉน เว้นสภาวธรรม(ที่เป็นเหตุ)เหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่มีเหตุ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ
๕. เหตุเหตุสัมปยุตตทุกะ
[๑๐๘๕] สภาวธรรมที่เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ เป็นไฉน โลภะเป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุเพราะโมหะ โมหะเป็นเหตุและสัมปยุตด้วย เหตุเพราะโลภะ โทสะเป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุเพราะโมหะ โมหะเป็นเหตุและ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๗๖}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

ทุกนิกเขปะ จูฬันตรทุกะ

สัมปยุตด้วยเหตุเพราะโทสะ อโลภะ อโทสะ และอโมหะนั้นเป็นเหตุและสัมปยุตด้วย เหตุเพราะอาศัยกันและกัน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ [๑๐๘๖] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ เป็นไฉน เว้นสภาวธรรมเหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ
๖. นเหตุสเหตุกทุกะ
[๑๐๘๗] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ เป็นไฉน สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ [๑๐๘๘] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ เป็นไฉน สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุ และไม่มีเหตุ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นเหตุและ ไม่มีเหตุ
เหตุโคจฉกะ จบ
๒. จูฬันตรทุกะ
๑. สัปปัจจยทุกะ
[๑๐๘๙] สภาวธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง เป็นไฉน ขันธ์ ๕ คือ ๑. รูปขันธ์ ๒. เวทนาขันธ์ ๓. สัญญาขันธ์ ๔. สังขารขันธ์ ๕. วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีปัจจัยปรุงแต่ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๗๗}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

ทุกนิกเขปะ จูฬันตรทุกะ

[๑๐๙๐] สภาวธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง เป็นไฉน ธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมนี้ชื่อว่าไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง
๒. สังขตทุกะ
[๑๐๙๑] สภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง เป็นไฉน สภาวธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง ชื่อว่าถูกปัจจัยปรุงแต่ง [๑๐๙๒] สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง เป็นไฉน สภาวธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ชื่อว่าไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
๓. สนิทัสสนทุกะ
[๑๐๙๓] สภาวธรรมที่เห็นได้ เป็นไฉน รูปายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเห็นได้ [๑๐๙๔] สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้ เป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปที่ เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ ซึ่งนับเนื่องในธัมมายตนะ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเห็นไม่ได้
๔. สัปปฏิฆทุกะ
[๑๐๙๕] สภาวธรรมที่กระทบได้ เป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ากระทบได้ [๑๐๙๖] สภาวธรรมที่กระทบไม่ได้ เป็นไฉน เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ ซึ่งนับเนื่องใน ธัมมายตนะ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ากระทบไม่ได้
๕. รูปีทุกะ
[๑๐๙๗] สภาวธรรมที่เป็นรูป เป็นไฉน มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นรูป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๗๘}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

ทุกนิกเขปะ จูฬันตรทุกะ

[๑๐๙๘] สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูป เป็นไฉน เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่า นี้ชื่อว่าไม่เป็นรูป
๖. โลกิยทุกะ
[๑๐๙๙] สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะ เป็นไฉน สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็น กามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่าเป็นโลกิยะ [๑๑๐๐] สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระ เป็นไฉน มรรค ผลของมรรคที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นโลกุตตระ
๗. เกนจิวิญเญยยทุกะ
[๑๑๐๑] สภาวธรรมที่จิตบางดวงรู้ได้และที่จิตบางดวงรู้ไม่ได้ เป็นไฉน สภาวธรรมที่จักขุวิญญาณรู้ได้แต่โสตวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือสภาวธรรมที่ โสตวิญญาณรู้ได้แต่จักขุวิญญาณรู้ไม่ได้ สภาวธรรมที่จักขุวิญญาณรู้ได้แต่ฆานวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือสภาวธรรมที่ ฆานวิญญาณรู้ได้แต่จักขุวิญญาณรู้ไม่ได้ สภาวธรรมที่จักขุวิญญาณรู้ได้แต่ชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือสภาวธรรมที่ ชิวหาวิญญาณรู้ได้แต่จักขุวิญญาณรู้ไม่ได้ สภาวธรรมที่จักขุวิญญาณรู้ได้แต่กายวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือสภาวธรรมที่ กายวิญญาณรู้ได้แต่จักขุวิญญาณรู้ไม่ได้ สภาวธรรมที่โสตวิญญาณรู้ได้แต่ฆานวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือสภาวธรรมที่ ฆานวิญญาณรู้ได้แต่โสตวิญญาณรู้ไม่ได้ สภาวธรรมที่โสตวิญญาณรู้ได้แต่ชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือสภาวธรรมที่ ชิวหาวิญญาณรู้ได้แต่โสตวิญญาณรู้ไม่ได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๗๙}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

ทุกนิกเขปะ จูฬันตรทุกะ

สภาวธรรมที่โสตวิญญาณรู้ได้แต่กายวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือสภาวธรรมที่ กายวิญญาณรู้ได้แต่โสตวิญญาณรู้ไม่ได้ สภาวธรรมที่โสตวิญญาณรู้ได้แต่จักขุวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือสภาวธรรมที่ จักขุวิญญาณรู้ได้แต่โสตวิญญาณรู้ไม่ได้ สภาวธรรมที่ฆานวิญญาณรู้ได้แต่ชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือสภาวธรรมที่ ชิวหาวิญญาณรู้ได้แต่ฆานวิญญาณรู้ไม่ได้ สภาวธรรมที่ฆานวิญญาณรู้ได้แต่กายวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือสภาวธรรมที่ กายวิญญาณรู้ได้แต่ฆานวิญญาณรู้ไม่ได้ สภาวธรรมที่ฆานวิญญาณรู้ได้แต่จักขุวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือสภาวธรรมที่ จักขุวิญญาณรู้ได้แต่ฆานวิญญาณรู้ไม่ได้ สภาวธรรมที่ฆานวิญญาณรู้ได้แต่โสตวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือสภาวธรรมที่ โสตวิญญาณที่รู้ได้แต่ฆานวิญญาณรู้ไม่ได้ สภาวธรรมที่ชิวหาวิญญาณรู้ได้แต่กายวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือสภาวธรรมที่ กายวิญญาณรู้ได้แต่ชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้ สภาวธรรมที่ชิวหาวิญญาณรู้ได้แต่จักขุวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือสภาวธรรมที่ จักขุวิญญาณรู้ได้แต่ชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้ สภาวธรรมที่ชิวหาวิญญาณรู้ได้แต่โสตวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือสภาวธรรมที่ โสตวิญญาณรู้ได้แต่ชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้ สภาวธรรมที่ชิวหาวิญญาณรู้ได้แต่ฆานวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือสภาวธรรมที่ ฆานวิญญาณรู้ได้แต่ชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้ สภาวธรรมที่กายวิญญาณรู้ได้แต่จักขุวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือสภาวธรรมที่ จักขุวิญญาณรู้ได้แต่กายวิญญาณรู้ไม่ได้ สภาวธรรมที่กายวิญญาณรู้ได้แต่โสตวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือสภาวธรรมที่ โสตวิญญาณรู้ได้แต่กายวิญญาณรู้ไม่ได้ สภาวธรรมที่กายวิญญาณรู้ได้แต่ฆานวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือสภาวธรรมที่ ฆานวิญญาณรู้ได้แต่กายวิญญาณรู้ไม่ได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๘๐}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

ทุกนิกเขปะ อาสวโคจฉกะ

สภาวธรรมที่กายวิญญาณที่รู้ได้แต่ชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือสภาวธรรมที่ ชิวหาวิญญาณรู้ได้แต่กายวิญญาณรู้ไม่ได้ สภาวธรรมเหล่านี้เรียกว่าจิตบางดวงรู้ได้ และที่จิตบางดวงรู้ไม่ได้
จูฬันตรทุกะ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๔ หน้าที่ ๒๗๑-๒๘๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka3/m_siri.php?B=34&siri=55              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=34&A=6042&Z=6260                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=689              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=34&item=689&items=19              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=53&A=10453              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=34&item=689&items=19              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=53&A=10453                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu34              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ds2.3.2/en/caf_rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :