ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ธรรมสังคณีปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

ทุกนิกเขปะ อุปาทานโคจฉกะ

๑๑. อุปาทานโคจฉกะ
๑. อุปาทานทุกะ
[๑๒๑๙] สภาวธรรมที่เป็นอุปาทาน เป็นไฉน อุปาทาน ๔ คือ ๑. กามุปาทาน ๒. ทิฏฐุปาทาน ๓. สีลัพพตุปาทาน ๔. อัตตวาทุปาทาน๑- [๑๒๒๐] บรรดาอุปาทาน ๔ นั้น กามุปาทาน เป็นไฉน ความยึดมั่นในกาม ความกำหนัดในกาม ความเพลิดเพลินในกาม ตัณหา ในกาม สิเนหาในกาม ความเร่าร้อนเพราะกาม ความหลงใหลในกาม ความ หมกมุ่นในกาม ในกามทั้งหลาย นี้เรียกว่ากามุปาทาน [๑๒๒๑] ทิฏฐุปาทาน เป็นไฉน ความเห็นว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วก็ไม่มี ไม่มีโลกนี้ ไม่มีโลกหน้า มารดาไม่มีคุณ บิดา ไม่มีคุณ สัตว์ที่เกิดผุดขึ้นไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้ และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็ไม่มีในโลก ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สังโยชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือผิด ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิอันเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ ความ ยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าทิฏฐุปาทาน เว้นสีลัพพตุปาทาน และอัตตวาทุปาทานแล้ว มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมดชื่อว่าทิฏฐุปาทาน [๑๒๒๒] สีลัพพตุปาทาน เป็นไฉน @เชิงอรรถ : @ ที.ปา. ๑๑/๓๑๒/๒๐๕, ม.มู. ๑๒/๒๔๓/๒๐๕, สํ.นิ. ๑๖/๒/๓, สํ.ม. ๑๙/๑๗๔/๕๕, อภิ.วิ. ๓๕/๙๓๘/๔๕๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๐๘}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

ทุกนิกเขปะ อุปาทานโคจฉกะ

สมณพราหมณ์ภายนอกแต่ศาสนานี้มีความเห็นว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีได้ด้วย ศีล ด้วยพรต ด้วยศีลและพรต ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือ ทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สังโยชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือผิด ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิอันเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าสีลัพพตุปาทาน [๑๒๒๓] อัตตวาทุปาทาน เป็นไฉน ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับการฝึกฝนในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของ สัตบุรุษ ไม่ได้รับการฝึกฝนในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมพิจารณาเห็นรูปเป็นตน หรือ เห็นตนมีรูป เห็นรูปในตน หรือเห็นตนในรูป เห็นเวทนาเป็นตนหรือเห็นตนมีเวทนา เห็นเวทนาในตน หรือเห็นตนในเวทนา เห็นสัญญาเป็นตน หรือเห็นตนมีสัญญา เห็นสัญญาในตน หรือเห็นตนในสัญญา เห็นสังขารเป็นตนหรือเห็นตนมีสังขาร เห็น สังขารในตนหรือเห็นตนในสังขาร เห็นวิญญาณเป็นตนหรือเห็นตนมีวิญญาณ เห็น วิญญาณในตน หรือเห็นตนในวิญญาณ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดาร คือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สังโยชน์คือ ทิฏฐิ ความยึดถือผิด ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะ ที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าอัตตวาทุปาทาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอุปาทาน [๑๒๒๔] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทาน เป็นไฉน เว้นสภาวธรรมที่เป็นอุปาทานแล้ว สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และ อัพยากฤตที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏ- ทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นอุปาทาน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๐๙}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

ทุกนิกเขปะ อุปาทานโคจฉกะ

๒. อุปาทานิยทุกะ
[๑๒๒๕] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นกามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของอุปาทาน [๑๒๒๖] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน มรรค ผลของมรรคที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
๓. อุปาทานสัมปยุตตทุกะ
[๑๒๒๗] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทาน เป็นไฉน สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสภาวธรรมที่เป็นอุปาทาน ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยอุปาทาน [๑๒๒๘] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทาน เป็นไฉน สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานเหล่านั้น ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณ- ขันธ์ รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจาก อุปาทาน
๔. อุปาทานอุปาทานิยทุกะ
[๑๒๒๙] สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน อุปาทานนั้นนั่นแหละชื่อว่าเป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน [๑๒๓๐] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทาน เป็นไฉน เว้นสภาวธรรมที่เป็นอุปาทานเหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และ อัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นกามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่ เป็นอุปาทาน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๑๐}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

ทุกนิกเขปะ อุปาทานโคจฉกะ

๕. อุปาทานอุปาทานสัมปยุตตทุกะ
[๑๒๓๑] สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทาน เป็นไฉน ทิฏฐุปาทานเป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทานเพราะกามุปาทาน กามุ- ปาทานเป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทานเพราะทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน เป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทานเพราะกามุปาทาน กามุปาทานเป็นอุปาทาน และสัมปยุตด้วยอุปาทานเพราะสีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทานเป็นอุปาทานและ สัมปยุตด้วยอุปาทานเพราะกามุปาทาน กามุปาทานเป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วย อุปาทานเพราะอัตตวาทุปาทาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอุปาทานและสัมปยุต ด้วยอุปาทาน [๑๒๓๒] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทาน เป็นไฉน เว้นสภาวธรรมที่เป็นอุปาทานเหล่านั้นแล้ว ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณ- ขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทาน
๖. อุปาทานวิปปยุตตอุปาทานิยทุกะ
[๑๒๓๓] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานเหล่านั้น คือ สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นกามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากอุปาทานแต่ เป็นอารมณ์ของอุปาทาน [๑๒๓๔] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน มรรค ผลของมรรคที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากอุปาทานและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
อุปาทานโคจฉกะ จบ
ทุติยภาณวารในนิกเขปกัณฑ์ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๑๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๔ หน้าที่ ๓๐๘-๓๑๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka3/m_siri.php?B=34&siri=62              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=34&A=6823&Z=6903                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=780              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=34&item=780&items=11              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=53&A=11010              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=34&item=780&items=11              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=53&A=11010                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu34              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ds2.3.2/en/caf_rhysdavids#pts-vp-en323



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :