ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ธรรมสังคณีปกรณ์
๔. สัญโญชนโคจฉกะ
๑. สัญโญชนทุกะ
[๑๔๗๗] สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์ เป็นไฉน สังโยชน์ ๑๐ คือ ๑. กามราคสังโยชน์ ๒. ปฏิฆสังโยชน์ ๓. มานสังโยชน์ ๔. ทิฏฐิสังโยชน์ ๕. วิจิกิจฉาสังโยชน์ ๖. สีลัพพตปรามาสสังโยชน์ ๗. ภวราคสังโยชน์ ๘. อิสสาสังโยชน์ ๙. มัจฉริยสังโยชน์ ๑๐. อวิชชาสังโยชน์ กามราคสังโยชน์เกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ ๘ ปฏิฆสังโยชน์เกิดขึ้น ในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒ มานสังโยชน์เกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สหรคต ด้วยโลภะ วิปปยุตตจากทิฏฐิ ๔ ทิฏฐิสังโยชน์เกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๖๒}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์]

ทุกอัตถุทธาระ สัญโญชนโคจฉกะ

ทิฏฐิ ๔ วิจิกิจฉาสังโยชน์เกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ๑ สีลัพพต- ปรามาสสังโยชน์เกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ภวราคสังโยชน์เกิดขึ้นใน จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะที่วิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ อิสสาสังโยชน์และมัจฉริย- สังโยชน์เกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒ อวิชชาสังโยชน์เกิดขึ้นในอกุศล ทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นสังโยชน์ [๑๔๗๘] สภาวธรรมที่ไม่เป็นสังโยชน์ เป็นไฉน อกุศลที่เหลือ เว้นสังโยชน์ กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ อัพยากตกิริยาใน ภูมิ ๓ รูปทั้งหมด และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นสังโยชน์
๒. สัญโญชนิยทุกะ
[๑๔๗๙] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็นไฉน กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ [๑๔๘๐] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็นไฉน มรรค ๔ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สามัญญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์
๓. สัญโญชนสัมปยุตตทุกะ
[๑๔๘๑] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์ เป็นไฉน อกุศลที่เหลือ เว้นโมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า สัมปยุตด้วยสังโยชน์ [๑๔๘๒] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์ เป็นไฉน โมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ อัพยากตกิริยาใน ภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากสังโยชน์
๔. สัญโญชนสัญโญชนิยทุกะ
[๑๔๘๓] สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์และเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็นไฉน สังโยชน์เหล่านั้นนั่นแหละชื่อว่าเป็นสังโยชน์และเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๖๓}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์]

ทุกอัตถุทธาระ สัญโญชนโคจฉกะ

[๑๔๘๔] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ เป็นไฉน อกุศลที่เหลือ เว้นสังโยชน์ กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ รูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังโยชน์และเป็นอารมณ์ ของสังโยชน์ หรือเป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์
๕. สัญโญชนสัญโญชนสัมปยุตตทุกะ
[๑๔๘๕] สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์ เป็นไฉน สังโยชน์ ๒ สังโยชน์ ๓ เกิดร่วมกันในสภาวธรรมเหล่าใด สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าเป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์ [๑๔๘๖] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ เป็นไฉน อกุศลที่เหลือ เว้นสังโยชน์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยสังโยชน์แต่ ไม่เป็นสังโยชน์ สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังโยชน์และ สัมปยุตด้วยสังโยชน์ หรือสัมปยุตด้วยสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์
๖. สัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยทุกะ
[๑๔๘๗] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็นไฉน โมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ อัพยากตกิริยาใน ภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ ของสังโยชน์ [๑๔๘๘] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็นไฉน มรรค ๔ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สามัญญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากสังโยชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ สภาวธรรมที่ สัมปยุตด้วยสังโยชน์กล่าวไม่ได้ว่าวิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ หรือวิปปยุตจากสังโยชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์
สัญโญชนโคจฉกะ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๖๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๔ หน้าที่ ๓๖๒-๓๖๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka3/m_siri.php?B=34&siri=70              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=34&A=7985&Z=8042                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=919              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=34&item=919&items=6              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=34&item=919&items=6                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu34



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :