ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓. อัปปมัญญาวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์

๒. อภิธรรมภาชนีย์
[๖๘๓] อัปปมัญญา ๔ คือ ๑. เมตตา (ความรักใคร่) ๒. กรุณา (ความสงสาร) ๓. มุทิตา (ความพลอยยินดี) ๔. อุเบกขา (ความวางเฉย)
เมตตากุศลฌานจตุกกนัย
[๖๘๔] บรรดาอัปปมัญญา ๔ นั้น เมตตา เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ ปฐมฌานที่สหรคตด้วยเมตตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ภาวะที่รักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า เมตตา สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุต ด้วยเมตตา (๑) เมตตา เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยเมตตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ภาวะที่รักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า เมตตา สภาวธรรม ที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยเมตตา (๒) เมตตา เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยเมตตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความรักใคร่ กิริยา ที่รักใคร่ ภาวะที่รักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า เมตตา สภาวธรรมที่เหลือ ชื่อว่าสัมปยุตด้วยเมตตา (๓)
เมตตากุศลฌานปัญจกนัย
[๖๘๕] ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยเมตตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความรักใคร่ กิริยาที่ รักใคร่ ภาวะที่รักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า เมตตา สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่า สัมปยุตด้วยเมตตา (๑-๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๓๓}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓. อัปปมัญญาวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์

ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกามและสภาวธรรม ที่เป็นอกุศลทั้งหลายแล้ว บรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยเมตตา ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ภาวะที่รักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า เมตตา สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่า สัมปยุตด้วยเมตตา (๒-๕) ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับ ไปแล้ว ฯลฯ บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยเมตตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความ รักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ภาวะที่รักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า เมตตา สภาวธรรม ที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยเมตตา (๓-๖) ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเมตตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความรักใคร่ กิริยา ที่รักใคร่ ภาวะที่รักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า เมตตา สภาวธรรมที่เหลือ ชื่อว่าสัมปยุตด้วยเมตตา (๔-๗)
กรุณากุศลฌานจตุกกนัย
[๖๘๖] กรุณา เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ ปฐมฌานที่สหรคตด้วยกรุณา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความสงสาร กิริยาที่สงสาร ภาวะที่สงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า กรุณา สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุต ด้วยกรุณา (๑) กรุณา เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป แล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยกรุณา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความ สงสาร กิริยาที่สงสาร ภาวะที่สงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า กรุณา สภาวธรรม ที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยกรุณา (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๓๔}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓. อัปปมัญญาวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์

กรุณา เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยกรุณา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความสงสาร กิริยาที่สงสาร ภาวะที่สงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า กรุณา สภาวธรรมที่ เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยกรุณา (๓)
กรุณากุศลฌานปัญจกนัย
[๖๘๗] ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยกรุณา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความสงสาร กิริยาที่สงสาร ภาวะที่สงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า กรุณา สภาวธรรมที่ เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยกรุณา (๑-๔) ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกามและสภาว- ธรรมที่เป็นอกุศลทั้งหลายแล้ว บรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยกรุณา ไม่มีวิตกมี เพียงวิจาร มีปีติและสุขที่เกิดจากวิเวก อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความสงสาร กิริยาที่สงสาร ภาวะที่สงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า กรุณา สภาวธรรมที่ เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยกรุณา (๒-๕) ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับ ไปแล้ว ฯลฯ บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยกรุณา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความสงสาร กิริยาที่สงสาร ภาวะที่สงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า กรุณา สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยกรุณา (๓-๖) ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยกรุณา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความสงสาร กิริยาที่สงสาร ภาวะที่สงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า กรุณา สภาวธรรมที่เหลือ ชื่อว่าสัมปยุตด้วยกรุณา (๔-๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๓๕}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓. อัปปมัญญาวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์

มุทิตากุศลฌานจตุกกนัย
[๖๘๘] มุทิตา เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ ปฐมฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความพลอยยินดี กิริยา ที่พลอยยินดี ภาวะที่พลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า มุทิตา สภาวธรรม ที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยมุทิตา (๑) มุทิตา เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป แล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความพลอย ยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ภาวะที่พลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า มุทิตา สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยมุทิตา (๒) มุทิตา เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ภาวะที่พลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า มุทิตา สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยมุทิตา (๓)
มุทิตากุศลฌานปัญจกนัย
[๖๘๙] ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ภาวะที่พลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า มุทิตา สภาว- ธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยมุทิตา (๑-๔) ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกามและสภาวธรรม ที่เป็นอกุศลทั้งหลายแล้ว บรรลุทุติยฌานที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร มีปีติและสุข อัน เกิดจากวิเวก อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ภาวะที่พลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า มุทิตา สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่า สัมปยุตด้วยมุทิตา (๒-๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๓๖}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓. อัปปมัญญาวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์

ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป แล้ว ฯลฯ บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความ พลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ภาวะที่พลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า มุทิตา สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยมุทิตา (๓-๖) ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ภาวะที่พลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า มุทิตา สภาว- ธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยมุทิตา (๔-๗)
อุเปกขากุศลฌาน
[๖๙๐] อุเบกขา เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยอุเบกขา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความวางเฉย กิริยาที่วางเฉย ภาวะที่วางเฉย อุเปกขาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า อุเบกขา สภาวธรรม ที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยอุเบกขา


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๔๓๓-๔๓๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka3/m_siri.php?B=35&siri=52              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=35&A=9143&Z=9290                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=750              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=35&item=750&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=9623              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=35&item=750&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=9623                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb13/en/thittila#pts-s682



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :