ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๖ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ธาตุกถา-ปุคคลบัญญัติปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๒. ทุกปุคคลบัญญัติ

๒. ทุกปุคคลบัญญัติ
[๔๕] บุคคลผู้มักโกรธ เป็นไฉน ในข้อนั้น ความโกรธ เป็นไฉน ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิด ประทุษร้าย ภาวะที่คิดประทุษร้าย ความคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ภาวะ ที่คิดปองร้าย ความพิโรธ ความพิโรธตอบ ความดุร้าย ความเกรี้ยวกราด ความที่จิตไม่เบิกบาน นี้เรียกว่า ความโกรธ บุคคลใดยังละความโกรธนี้ไม่ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มักโกรธ [๔๖] บุคคลผู้ผูกโกรธ เป็นไฉน ในข้อนั้น ความผูกโกรธ เป็นไฉน ความโกรธในเบื้องต้นชื่อว่าความโกรธ ความโกรธในเวลาต่อมาชื่อว่าความ ผูกโกรธ ความผูกโกรธ กิริยาที่ผูกโกรธ ภาวะที่ผูกโกรธ ความไม่หยุดโกรธ การตั้งความโกรธไว้ การดำรงความโกรธไว้ การโผลงไปตามความโกรธ การตาม ผูกความโกรธไว้ การทำความโกรธให้มั่น นี้เรียกว่า ความผูกโกรธ บุคคลใดยัง ละความผูกโกรธนี้ไม่ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ผูกโกรธ [๔๗] บุคคลผู้มักลบหลู่ เป็นไฉน ในข้อนั้น ความลบหลู่ เป็นไฉน ความลบหลู่ กิริยาที่ลบหลู่ ภาวะที่ลบหลู่ ความดูหมิ่น การกระทำความ ดูหมิ่น นี้เรียกว่า ความลบหลู่ บุคคลใดยังละความลบหลู่นี้ไม่ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มักลบหลู่ [๔๘] บุคคลผู้ตีเสมอ เป็นไฉน ในข้อนั้น ความตีเสมอ เป็นไฉน ความตีเสมอ กิริยาที่ตีเสมอ ภาวะที่ตีเสมอ สภาวธรรมที่เป็นอาหารแห่ง ความตีเสมอโดยนำเอาชัยชนะของตนมาอ้างเหตุแห่งความวิวาท ความแข่งดี ความไม่ยอมสละ นี้เรียกว่า ความตีเสมอ บุคคลใดยังละความตีเสมอนี้ไม่ได้ บุคคล นี้เรียกว่า ผู้ตีเสมอ [๔๙] บุคคลผู้มีความริษยา เป็นไฉน ในข้อนั้น ความริษยา เป็นไฉน ความริษยา กิริยาที่ริษยา ภาวะที่ริษยา ความเกลียดชัง กิริยาที่เกลียดชัง ภาวะที่เกลียดชังในเมื่อผู้อื่นได้ลาภ สักการะ ความเคารพ ความนับถือ การ กราบไหว้ และการบูชา นี้เรียกว่า ความริษยา บุคคลใดยังละความริษยานี้ไม่ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีความริษยา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๑๕๗}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๒. ทุกปุคคลบัญญัติ

[๕๐] บุคคลผู้มีความตระหนี่ เป็นไฉน ในข้อนั้น ความตระหนี่ เป็นไฉน ความตระหนี่ ๕ อย่าง คือ ๑. ความตระหนี่ที่อยู่ ๒. ความตระหนี่ตระกูล ๓. ความตระหนี่ลาภ ๔. ความตระหนี่วรรณะ ๕. ความตระหนี่ธรรม ความตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ ภาวะที่ตระหนี่ ความหวงแหน ความเหนียวแน่น ความปกปิด ความมีจิตไม่เผื่อแผ่ นี้เรียกว่า ความตระหนี่ บุคคลใดยังละความ ตระหนี่นี้ไม่ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีความตระหนี่ [๕๑] บุคคลผู้โอ้อวด เป็นไฉน ในข้อนั้น ความโอ้อวด เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้โอ้อวด เป็นผู้โอ้อวดจัด ความโอ้อวด กิริยาที่ โอ้อวด ภาวะที่โอ้อวด ภาวะที่แข็งกระด้าง กิริยาที่แข็งกระด้าง การพูดเป็นเหลี่ยมคู กิริยาที่พูดแอบอ้าง นี้เรียกว่า ความโอ้อวด บุคคลใดยังละความโอ้อวดนี้ไม่ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้โอ้อวด [๕๒] บุคคลผู้มีมายา เป็นไฉน ในข้อนั้น มายา เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เพราะเหตุจะ ปกปิดทุจริตนั้นจึงตั้งความปรารถนาอันเลวทราม ปรารถนาว่า “ใครๆ อย่ารู้จักเรา” ดำริว่า “ใครๆ อย่ารู้จักเรา” กล่าวว่า “ใครๆ อย่ารู้จักเรา” พยายามทางกายว่า “ใครๆ อย่ารู้จักเรา” ความเจ้าเล่ห์ ความเป็นคนเจ้าเล่ห์ กิริยาที่หลอกให้หลง ความหลอกลวง ความโกง ความกลบเกลื่อน ความหลีกเลี่ยง ความซ่อน ความซ่อนบัง ความปิดบัง ความปกปิด การไม่ทำให้ชัดเจน การไม่ทำให้แจ่มแจ้ง การปิดบังอำพรางกิริยาที่เลวทรามเช่นนี้ นี้เรียกว่า มายา บุคคลใดยังละมายานี้ ไม่ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีมายา [๕๓] บุคคลผู้ไม่มีหิริ เป็นไฉน ในข้อนั้น ความไม่มีหิริ เป็นไฉน กิริยาที่ไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริตที่ควรละอาย กิริยาที่ไม่ละอายต่อการ ประกอบสภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป นี้เรียกว่า ความไม่มีหิริ บุคคลผู้ ประกอบด้วยความไม่มีหิรินี้ชื่อว่าผู้ไม่มีหิริ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๑๕๘}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๒. ทุกปุคคลบัญญัติ

[๕๔] บุคคลผู้ไม่มีโอตตัปปะ เป็นไฉน ในข้อนั้น ความไม่มีโอตตัปปะ เป็นไฉน กิริยาที่ไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตที่ควรเกรงกลัว กิริยาที่ไม่เกรงกลัว ต่อการประกอบสภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป นี้เรียกว่า ความไม่มีโอตตัปปะ บุคคลผู้ประกอบด้วยความไม่มีโอตตัปปะนี้ชื่อว่าผู้ไม่มีโอตตัปปะ [๕๕] บุคคลผู้ว่ายาก เป็นไฉน ในข้อนั้น ความเป็นผู้ว่ายาก เป็นไฉน กิริยาของผู้ว่ายาก ภาวะของผู้ว่ายาก ความเป็นผู้ว่ายาก ความยึดถือข้าง ขัดขืน ความพอใจการโต้แย้ง ความไม่เอื้อเฟื้อ ภาวะแห่งผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่ เคารพและไม่รับฟังในเมื่อถูกว่ากล่าวโดยชอบ นี้เรียกว่า ความเป็นผู้ว่ายาก บุคคลผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้ว่ายากนี้ชื่อว่าผู้ว่ายาก [๕๖] บุคคลผู้มีมิตรชั่ว เป็นไฉน ในข้อนั้น ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว เป็นไฉน บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา ทุศีล สดับมาน้อย มีความตระหนี่ มีปัญญาทราม การเสพ การส้องเสพ การส้องเสพด้วยดี การคบ การคบหา ความภักดี ความจงรักภักดีต่อบุคคลเหล่านั้น ความเป็นผู้มีกายและใจโน้มน้าวไปตามบุคคลเหล่านั้น นี้เรียกว่า ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว บุคคลผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้มีมิตรชั่วนี้ชื่อว่า ผู้มีมิตรชั่ว [๕๗] บุคคลผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ เป็นไฉน ในข้อนั้น ความเป็นผู้ ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นรูปทางตาแล้วรวบถือ๑- แยกถือ๒- ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อ สำรวมจักขุนทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็เป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมทั้งหลายคืออภิชฌา @เชิงอรรถ : @ รวบถือ ในที่นี้หมายถึงการมองภาพด้านเดียว คือมองภาพรวมโดยเห็นเป็นหญิงหรือเป็นชาย เช่น @เห็นว่ารูปสวย เสียงไพเราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสที่อ่อนนุ่ม เป็นอารมณ์ที่น่าปรารถนาด้วย @อำนาจฉันทราคะ (อภิ.สงฺ.อ. ๑๓๕๒/๔๕๖-๔๕๗) @ แยกถือ ในที่นี้หมายถึงการมองภาพ ๒ ด้าน คือมองแยกแยะเป็นส่วนๆ ไปด้วยอำนาจกิเลส เช่น @เห็นมือเท้าว่าสวยหรือไม่สวย เห็นอาการยิ้มแย้ม หัวเราะ การพูด การเหลียวซ้ายแลขวาว่าน่ารักหรือ @ไม่น่ารัก ถ้าเห็นว่าสวยน่ารักก็เกิดอารมณ์ที่น่าปรารถนา ถ้าเห็นว่าไม่สวยไม่น่ารักก็เกิดอารมณ์ที่ไม่น่า @ปรารถนา (อภิ.สงฺ.อ. ๑๓๕๒/๔๕๖-๔๕๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๑๕๙}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๒. ทุกปุคคลบัญญัติ

และโทมนัสครอบงำได้ ย่อมไม่ระวังจักขุนทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟัง เสียงทางหู ฯลฯ ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะ ทางกาย ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ทางใจ เป็นผู้รวบถือ แยกถือ ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อ สำรวมจักขุนทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็เป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมทั้งหลายคืออภิชฌา และโทมนัสครอบงำได้ ไม่ระวังจักขุนทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ความ ไม่คุ้มครอง กิริยาที่ไม่คุ้มครอง ความไม่รักษา ความไม่สำรวมอินทรีย์ทั้ง ๖ เหล่านี้ นี้เรียกว่า ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ บุคคลผู้ประกอบด้วยความเป็น ผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์นี้ชื่อว่าผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ [๕๘] บุคคลผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค เป็นไฉน ในข้อนั้น ความเป็น ผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่พิจารณาโดยแยบคายกลืนกินอาหารเพื่อเล่น เพื่อ ความมัวเมา เพื่อประดับ เพื่อตกแต่ง ความเป็นผู้ไม่สันโดษ ความเป็นผู้ไม่รู้จัก ประมาณในการพิจารณาแล้วบริโภคโภชนาหารนั้น นี้เรียกว่า ความเป็นผู้ไม่รู้จัก ประมาณในการบริโภค บุคคลผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการ บริโภคนี้ชื่อว่า ผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค [๕๙] บุคคลผู้มีสติหลงลืม เป็นไฉน ในข้อนั้น ความเป็นผู้มีสติหลงลืม เป็นไฉน ความระลึกไม่ได้ ความไม่ตามระลึก ความไม่หวนระลึก ความระลึกไม่ได้ อาการที่ระลึกไม่ได้ ความทรงจำไม่ได้ ความเลื่อนลอย ความหลงลืม นี้เรียกว่า ความเป็นผู้มีสติหลงลืม บุคคลผู้ประกอบด้วยความมีสติหลงลืมนี้ชื่อว่าผู้มีสติหลงลืม [๖๐] บุคคลผู้ไม่มีสัมปชัญญะ เป็นไฉน ในข้อนั้น ความไม่มีสัมปชัญญะ เป็นไฉน ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้ ตามความเป็นจริง ความไม่รู้แจ้งตลอด ความไม่ถือเอาให้ถูกต้อง ความไม่หยั่งลง อย่างรอบคอบ ความไม่พินิจ ความไม่พิจารณา ความไม่ทำให้ประจักษ์ ความ ทรามปัญญา ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง ความหลุ่มหลง ความหลงใหล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๑๖๐}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๒. ทุกปุคคลบัญญัติ

อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชานุสัย ปริยุฏฐานกิเลสคืออวิชชา ลิ่มคือ อวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า ความไม่มีสัมปชัญญะ บุคคลผู้ประกอบ ด้วยความไม่มีสัมปชัญญะนี้ชื่อว่าผู้ไม่มีสัมปชัญญะ [๖๑] บุคคลผู้มีศีลวิบัติ เป็นไฉน ในข้อนั้น ศีลวิบัติ เป็นไฉน การล่วงละเมิดทางกาย การล่วงละเมิดทางวาจา การล่วงละเมิดทั้งทางกาย และทางวาจา นี้เรียกว่า ศีลวิบัติ ความเป็นผู้ทุศีลแม้ทั้งหมดชื่อว่าศีลวิบัติ บุคคลผู้ประกอบด้วยศีลวิบัตินี้ชื่อว่าผู้มีศีลวิบัติ [๖๒] บุคคลผู้มีทิฏฐิวิบัติ เป็นไฉน ในข้อนั้น ทิฏฐิวิบัติ เป็นไฉน ความเห็นว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มี ผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่มีคุณ สัตว์ที่เกิดผุดขึ้นไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบทำให้แจ้ง โลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งไม่มีในโลก ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด รกชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นอันเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สังโยชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิที่เป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ ความยึดถือโดย คลาดเคลื่อน นี้เรียกว่า ทิฏฐิวิบัติ มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมดชื่อว่าทิฏฐิวิบัติ บุคคลผู้ ประกอบทิฏฐิวิบัตินี้ชื่อว่าผู้มีทิฏฐิวิบัติ [๖๓] บุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายใน เป็นไฉน บุคคลใดยังละสังโยชน์เบื้องต่ำทั้ง ๕ ประการไม่ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีสังโยชน์ ในภายใน [๖๔] บุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายนอก เป็นไฉน บุคคลใดยังละสังโยชน์เบื้องสูงทั้ง ๕ ประการไม่ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีสังโยชน์ ในภายนอก [๖๕] บุคคลผู้ไม่มักโกรธ เป็นไฉน ในข้อนั้น ความโกรธ เป็นไฉน ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิด ประทุษร้าย ภาวะที่คิดประทุษร้าย ความคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ภาวะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๑๖๑}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๒. ทุกปุคคลบัญญัติ

ที่คิดปองร้าย ความพิโรธ ความพิโรธตอบ ความดุร้าย ความเกรี้ยวกราด ความที่จิตไม่เบิกบาน นี้เรียกว่า ความโกรธ บุคคลใดละความโกรธนี้ได้ บุคคล นี้เรียกว่า ผู้ไม่มักโกรธ [๖๖] บุคคลผู้ไม่ผูกโกรธ เป็นไฉน ในข้อนั้น ความผูกโกรธ เป็นไฉน ความโกรธในเบื้องต้นชื่อว่าความโกรธ ความโกรธในเวลาต่อมาชื่อว่าความ ผูกโกรธ ความผูกโกรธ กิริยาที่ผูกโกรธ ภาวะที่ผูกโกรธ ความไม่หยุด โกรธ การตั้งความโกรธไว้ การดำรงความโกรธไว้ การโผลงไปตามความโกรธ การตามผูกความโกรธไว้ การทำความโกรธให้มั่น นี้เรียกว่า ความผูกโกรธ บุคคลใดละความผูกโกรธนี้ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ไม่ผูกโกรธ [๖๗] บุคคลผู้ไม่ลบหลู่ เป็นไฉน ในข้อนั้น ความลบหลู่ เป็นไฉน ความลบหลู่ กิริยาที่ลบหลู่ ภาวะที่ลบหลู่ ความดูหมิ่น การกระทำความ ดูหมิ่น นี้เรียกว่า ความลบหลู่ บุคคลใดละความลบหลู่นี้ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ไม่ ลบหลู่ [๖๘] บุคคลผู้ไม่ตีเสมอ เป็นไฉน ในข้อนั้น ความตีเสมอ เป็นไฉน ความตีเสมอ กิริยาที่ตีเสมอ ภาวะที่ตีเสมอ สภาวธรรมที่เป็นอาหารแห่ง ความตีเสมอโดยการนำเอาชัยชนะของตนมาอ้างเหตุแห่งความวิวาท ความแข่งดี ความไม่ยอมสละ นี้เรียกว่า ความตีเสมอ บุคคลใดละความตีเสมอนี้ได้ บุคคลนี้ เรียกว่า ผู้ไม่ตีเสมอ [๖๙] บุคคลผู้ไม่มีความริษยา เป็นไฉน ในข้อนั้น ความริษยา เป็นไฉน ความริษยา กิริยาที่ริษยา ภาวะที่ริษยา ความเกลียดชัง กิริยาที่เกลียดชัง ภาวะที่เกลียดชังในเมื่อผู้อื่นได้ลาภ สักการะ ความเคารพ ความนับถือ การ กราบไหว้และการบูชา นี้เรียกว่า ความริษยา บุคคลใดละความริษยานี้ได้ บุคคล นี้เรียกว่า ผู้ไม่มีความริษยา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๑๖๒}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๒. ทุกปุคคลบัญญัติ

[๗๐] บุคคลผู้ไม่มีความตระหนี่ เป็นไฉน ในข้อนั้น ความตระหนี่ เป็นไฉน ความตระหนี่ ๕ อย่าง คือ ๑. ความตระหนี่ที่อยู่ ๒. ความตระหนี่ตระกูล ๓. ความตระหนี่ลาภ ๔. ความตระหนี่วรรณะ ๕. ความตระหนี่ธรรม ความตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ ภาวะที่ตระหนี่ ความหวงแหน ความ เหนียวแน่น ความปกปิด ความมีจิตไม่เผื่อแผ่ นี้เรียกว่า ความตระหนี่ บุคคล ใดละความตระหนี่นี้ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ไม่มีความตระหนี่ [๗๑] บุคคลผู้ไม่โอ้อวด เป็นไฉน ในข้อนั้น ความโอ้อวด เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้โอ้อวด เป็นผู้โอ้อวดจัด ความโอ้อวด กิริยาที่ โอ้อวด ภาวะที่โอ้อวด ภาวะที่แข็งกระด้าง กิริยาที่แข้งกระด้าง การพูดเป็นเหลี่ยมคู กิริยาที่พูดแอบอ้าง นี้เรียกว่า ความโอ้อวด บุคคลใดละความโอ้อวดนี้ได้ บุคคล นี้เรียกว่า ผู้ไม่โอ้อวด [๗๒] บุคคลผู้ไม่มีมายา เป็นไฉน ในข้อนั้น มายา เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เพราะเหตุจะ ปกปิดทุจริตนั้นจึงตั้งความปรารถนาอันเลวทราม ปรารถนาว่า “ใครๆ อย่ารู้จักเรา” ดำริว่า “ใครๆ อย่ารู้จักเรา” กล่าวว่า “ใครๆ อย่ารู้จักเรา” พยายามทางกายว่า “ใครๆ อย่ารู้จักเรา” ความเจ้าเล่ห์ ความเป็นคนเจ้าเล่ห์ กิริยาที่หลอกให้หลง ความหลอกลวง ความโกง ความกลบเกลื่อน ความหลีกเลี่ยง ความซ่อน ความซ่อนบัง ความปิดบัง ความปกปิด การไม่ทำให้ชัดเจน การไม่ทำให้แจ่มแจ้ง การปิดบังอำพราง กิริยาที่เลวทรามเช่นนี้ นี้เรียกว่า มายา บุคคลใดละมายานี้ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ไม่มีมายา [๗๓] บุคคลผู้มีหิริ เป็นไฉน ในข้อนั้น หิริ เป็นไฉน กิริยาที่ละอายต่อการประพฤติทุจริตที่ควรละอาย กิริยาที่ละอายต่อการ ประกอบสภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป นี้เรียกว่า หิริ บุคคลผู้ประกอบด้วยหิริ นี้ชื่อว่าผู้มีหิริ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๑๖๓}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๒. ทุกปุคคลบัญญัติ

[๗๔] บุคคลผู้มีโอตตัปปะ เป็นไฉน ในข้อนั้น โอตตัปปะ เป็นไฉน กิริยาที่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตที่ควรเกรงกลัว กิริยาที่เกรงกลัวต่อ การประกอบสภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป นี้เรียกว่า โอตตัปปะ บุคคลผู้ ประกอบด้วยโอตตัปปะนี้ชื่อว่าผู้มีโอตตัปปะ [๗๕] บุคคลผู้ว่าง่าย เป็นไฉน ในข้อนั้น ความเป็นผู้ว่าง่าย เป็นไฉน กิริยาของผู้ว่าง่าย ภาวะของผู้ว่าง่าย ความเป็นผู้ว่าง่าย ความไม่ยึดถือข้าง ขัดขืน ความพอใจในการไม่โต้แย้ง ความเอื้อเฟื้อ ภาวะแห่งผู้เอื้อเฟื้อ ความเคารพ และรับฟังในเมื่อถูกว่ากล่าวโดยชอบ นี้เรียกว่า ความเป็นผู้ว่าง่าย บุคคลผู้ ประกอบด้วยความเป็นผู้ว่าง่ายนี้ชื่อว่าผู้ว่าง่าย [๗๖] บุคคลผู้มีมิตรดี เป็นไฉน ในข้อนั้น ความเป็นผู้มีมิตรดี เป็นไฉน บุคคลผู้มีศรัทธา มีศีล สดับมามาก มีความเสียสละ มีปัญญา การเสพ การส้องเสพ การส้องเสพด้วยดี การคบ การคบหา ความภักดี ความจงรักภักดี ต่อบุคคลเหล่านั้น ความเป็นผู้มีกายและใจโน้มน้าวไปตามบุคคลเหล่านั้น นี้เรียกว่า ความเป็นผู้มีมิตรดี บุคคลผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้มีมิตรดีนี้ชื่อว่าผู้มีมิตรดี [๗๗] บุคคลผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ เป็นไฉน ในข้อนั้น ความเป็นผู้คุ้ม ครองทวารในอินทรีย์ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นรูปทางตาแล้วไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติ เพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็เป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมทั้งหลายคือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมระวังจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมจักขุนทรีย์ ฟังเสียงทางหู ฯลฯ ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ ถูกต้อง โผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ทางใจ เป็นผู้ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อม ปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรม ทั้งหลายคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมระวังมนินทรีย์ ย่อมถึงความ สำรวมในมนินทรีย์ ความคุ้มครอง กิริยาที่คุ้มครอง การรักษา การสำรวมอินทรีย์ ทั้ง ๖ เหล่านี้ นี้เรียกว่า ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ บุคคลผู้ประกอบ ด้วยความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ นี้ชื่อว่าผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๑๖๔}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๒. ทุกปุคคลบัญญัติ

[๗๘] บุคคลผู้รู้จักประมาณในการบริโภค เป็นไฉน ในข้อนั้น ความเป็นผู้ รู้จักประมาณในการบริโภค เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้วกลืนกินอาหาร มิใช่เพื่อเล่น มิใช่เพื่อความมัวเมา มิใช่เพื่อประดับ มิใช่เพื่อตกแต่ง เพียงเพื่อความดำรงอยู่ แห่งกายนี้ เพื่อยังชีวิตินทรีย์ให้เป็นไป เพื่อกำจัดความหิว เพื่ออนุเคราะห์ พรหมจรรย์ด้วยคิดเห็นว่า “เราจักกำจัดเวทนาเก่าและจักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น ความดำเนินไปแห่งกาย ความไม่มีโทษ และการอยู่อย่างผาสุกจักมีแก่เรา” ความเป็นผู้สันโดษ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการพิจารณาแล้วบริโภคในโภชนาหารนั้น นี้เรียกว่า ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค บุคคลผู้ประกอบด้วยความเป็น ผู้รู้จักประมาณในการบริโภคนี้ชื่อว่าผู้รู้จักประมาณในการบริโภค [๗๙] บุคคลผู้มีสติตั้งมั่น เป็นไฉน ในข้อนั้น สติ เป็นไฉน สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติอันใด นี้ เรียกว่า สติ บุคคลผู้ประกอบด้วยสตินี้ชื่อว่าผู้มีสติตั้งมั่น [๘๐] บุคคลผู้มีสัมปชัญญะ เป็นไฉน ในข้อนั้น สัมปชัญญะ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความ กำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะ ที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความคิดค้น ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ เห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่าง คือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ นี้เรียกว่า สัมปชัญญะ บุคคลผู้ประกอบด้วย สัมปชัญญะนี้ชื่อว่าผู้มีสัมปชัญญะ [๘๑] บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นไฉน ในข้อนั้น ความสมบูรณ์ด้วยศีล เป็นไฉน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๑๖๕}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๒. ทุกนิทเทส

การไม่ล่วงละเมิดทางกาย การไม่ล่วงละเมิดทางวาจา การไม่ล่วงละเมิดทั้ง ทางกายและทางวาจา นี้เรียกว่า ความสมบูรณ์ด้วยศีล บุคคลผู้ประกอบด้วย ความสมบูรณ์ด้วยศีลนี้ชื่อว่าผู้สมบูรณ์ด้วยศีล [๘๒] บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ เป็นไฉน ในข้อนั้น ความสมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิเช่นนี้ว่า ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล การเซ่นสรวงมีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วมีผล โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามีคุณ บิดามีคุณ สัตว์ที่เกิดผุดขึ้นมี สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วย ปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งมีอยู่ในโลก นี้เรียกว่า ความสมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิแม้ทั้งหมดชื่อว่าความสมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ บุคคลผู้ประกอบด้วยความ สมบูรณ์ด้วยทิฏฐินี้ชื่อว่าผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ [๘๓] บุคคลผู้หาได้ยากในโลก ๒ จำพวก เป็นไฉน คือ ปุพพการีบุคคลและกตัญญูกตเวทีบุคคล บุคคล ๒ จำพวกเหล่านี้หาได้ ยากในโลก [๘๔] บุคคลผู้ให้อิ่มได้ยากในโลก ๒ จำพวก เป็นไฉน คือ บุคคลผู้เก็บสะสมสิ่งของที่ตนได้แล้วๆ และบุคคลผู้สละสิ่งของที่ตนได้ แล้วๆ บุคคล ๒ จำพวกเหล่านี้ชื่อว่าผู้ให้อิ่มได้ยาก [๘๕] บุคคลผู้ให้อิ่มได้ง่าย ๒ จำพวก เป็นไฉน คือ บุคคลผู้ไม่เก็บสะสมสิ่งของที่ตนได้แล้วๆ และบุคคลผู้ไม่สละสิ่งของที่ตน ได้แล้วๆ บุคคล ๒ จำพวกเหล่านี้ชื่อว่าผู้ให้อิ่มได้ง่าย [๘๖] อาสวะของบุคคล ๒ จำพวกเหล่าไหนย่อมเพิ่มพูน บุคคลผู้รังเกียจสิ่งที่ไม่ควรรังเกียจและบุคคลผู้ไม่รังเกียจสิ่งที่ควรรังเกียจ อาสวะของบุคคล ๒ จำพวกเหล่านี้ย่อมเพิ่มพูน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๑๖๖}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๓. ติกปุคคลบัญญัติ

[๘๗] อาสวะของบุคคล ๒ จำพวกเหล่าไหนย่อมไม่เพิ่มพูน บุคคลผู้ไม่รังเกียจสิ่งที่ไม่ควรรังเกียจและบุคคลผู้รังเกียจสิ่งที่ควรรังเกียจ อาสวะของบุคคล ๒ จำพวกเหล่านี้ย่อมไม่เพิ่มพูน [๘๘] บุคคลผู้มีอัธยาศัยเลว เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันเลวทราม เขาย่อมเสพ ย่อมคบหา ย่อมเข้าไปนั่งใกล้บุคคลอื่นผู้ทุศีลมีธรรมอันเลวทราม บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีอัธยาศัยเลว [๘๙] บุคคลผู้มีอัธยาศัยประณีต เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีศีล มีธรรมอันงาม เขาย่อมเสพ ย่อมคบหา ย่อม เข้าไปนั่งใกล้บุคคลอื่นผู้มีศีล มีธรรมอันงาม บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีอัธยาศัยประณีต [๙๐] บุคคลผู้อิ่มแล้ว เป็นไฉน พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกของพระตถาคตชื่อว่าผู้อิ่มแล้ว พระ สัมมาสัมพุทธเจ้าชื่อว่าผู้อิ่มแล้วและทำคนอื่นให้อิ่ม
ทุกนิทเทส จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๖ หน้าที่ ๑๕๗-๑๖๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka3/m_siri.php?B=36&siri=28              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=36&A=2940&Z=3224                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=36&i=573              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=36&item=573&items=26              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=1375              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=36&item=573&items=26              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=1375                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu36              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pp2.2/en/law



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :