ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์
๖. อิทังทุกขันติกถา (๑๑๑)
ว่าด้วยการเปล่งวาจาว่านี้ทุกข์
[๖๑๘] สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้ทุกข์” ญาณว่า “นี้ทุกข์” จึงดำเนินไปใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๑๘/๒๕๗) @ เพราะมีความเห็นว่า ในขณะที่บรรลุอริยมรรค จะมีการเปล่งเสียงออกมาว่า “นี้ทุกข์” การเปล่งเสียงนี้ @จัดเป็นญาณ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ในขณะที่บรรลุอริยมรรคนั้น จะไม่มีการเปล่งเสียง @ใดๆ ทั้งสิ้น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๑๘/๒๕๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๗๔}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค]

๖. อิทังทุกขันติกถา (๑๑๑)

สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้ทุกขสมุทัย” ญาณว่า “นี้ทุกขสมุทัย” จึงดำเนินไป ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้ทุกข์” ญาณว่า “นี้ทุกข์” จึงดำเนินไปใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้ทุกขนิโรธ” ญาณว่า “นี้ทุกขนิโรธ” จึงดำเนินไป ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้ทุกข์” ญาณว่า “นี้ทุกข์” จึงดำเนินไปใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้มรรค” ญาณว่า “นี้มรรค” จึงดำเนินไปใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้สมุทัย” แต่ญาณว่า “นี้สมุทัย” ไม่ดำเนินไป ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้ทุกข์” แต่ญาณว่า “นี้ทุกข์” ไม่ดำเนินไปใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้นิโรธ” ... เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้มรรค” แต่ญาณว่า “นี้มรรค” ไม่ดำเนินไปใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้ทุกข์” แต่ญาณว่า “นี้ทุกข์” ไม่ดำเนินไปใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๗๕}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค]

๖. อิทังทุกขันติกถา (๑๑๑)

[๖๑๙] สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้ทุกข์” ญาณว่า “นี้ทุกข์” จึงดำเนินไปใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “รูปไม่เที่ยง” ญาณว่า “รูปไม่เที่ยง” จึงดำเนินไป ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้ทุกข์” ญาณว่า “นี้ทุกข์” จึงดำเนินไปใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยง” ญาณว่า “วิญญาณไม่เที่ยง” จึงดำเนินไปใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้ทุกข์” ญาณว่า “นี้ทุกข์” จึงดำเนินไปใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “รูปเป็นอนัตตา” ญาณว่า “รูปเป็นอนัตตา” จึง ดำเนินไปใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้ทุกข์” ญาณว่า “นี้ทุกข์” จึงดำเนินไปใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “เวทนาเป็นอนัตตา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณเป็นอนัตตา” ญาณว่า “วิญญาณเป็นอนัตตา” จึงดำเนินไปใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เมื่อเปล่งว่า “รูปไม่เที่ยง” แต่ญาณว่า “รูปไม่เที่ยง” ไม่ดำเนินไป ใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๗๖}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค]

๖. อิทังทุกขันติกถา (๑๑๑)

สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้ทุกข์” แต่ญาณว่า “นี้ทุกข์” ไม่ดำเนินไปใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยง” แต่ญาณว่า “วิญญาณไม่เที่ยง” ไม่ดำเนินไปใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้ทุกข์” แต่ญาณว่า “นี้ทุกข์” ไม่ดำเนินไปใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “รูปเป็นอนัตตา” แต่ญาณว่า “รูปเป็นอนัตตา” ไม่ดำเนินไปใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้ทุกข์” แต่ญาณว่า “นี้ทุกข์” ไม่ดำเนินไปใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “เวทนาเป็นอนัตตา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณเป็นอนัตตา” แต่ญาณว่า “วิญญาณเป็นอนัตตา” ไม่ดำเนินไปใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้ทุกข์” แต่ญาณว่า “นี้ทุกข์” ไม่ดำเนินไปใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๖๒๐] สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้ทุกข์” ญาณว่า “นี้ทุกข์” จึงดำเนินไปใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ญาณว่า “อิ” ว่า “ทํ” ว่า “ทุ” และว่า “ขํ” จึงดำเนินไปใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อิทังทุกขันติกถา จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๗๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๖๗๔-๖๗๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka3/m_siri.php?B=37&siri=130              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=37&A=14747&Z=14812                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1454              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1454&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=5792              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1454&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=5792                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv11.4/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :