ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๒. ทวาทสมวรรค]

๓. สัทโทวิปาโกติกถา (๑๑๘)

๓. สัทโทวิปาโกติกถา (๑๑๘)
ว่าด้วยเสียงเป็นวิบาก
[๖๓๖] สก. เสียงเป็นวิบากใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. เสียงมีสุขเวทนา มีทุกขเวทนา มีอทุกขมสุขเวทนา สัมปยุตด้วย สุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา สัมปยุตด้วยผัสสะ สัมปยุตด้วยเวทนา สัมปยุตด้วยสัญญา สัมปยุตด้วยเจตนา สัมปยุตด้วยจิต รับรู้ อารมณ์ได้ มีความนึกถึง มีความผูกใจ มีความสนใจ มีความใฝ่ใจ มีความจงใจ มีความปรารถนา มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เสียงไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มี ความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากเสียงไม่มีสุขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ฯลฯ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “เสียงเป็นวิบาก” สก. ผัสสะเป็นวิบาก มีสุขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เสียงเป็นวิบาก มีสุขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๓๖/๒๖๓) @ เพราะมีความเห็นว่า เสียงเกิดจากกรรม จึงจัดเป็นวิบาก ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า เสียง @เป็นเพียงรูปธรรม เกิดจากจิตและอุตุ (ธรรมชาติ) ไม่เรียกว่าวิบาก ส่วนธรรมที่จะเรียกว่าวิบากได้ ต้อง @เป็นนามธรรมล้วน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๓๖/๒๖๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๙๕}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๒. ทวาทสมวรรค]

๔. สฬายตนกถา (๑๑๙)

สก. เสียงเป็นวิบาก ไม่มีสุขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ผัสสะเป็นวิบาก ไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๖๓๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “เสียงเป็นวิบาก” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “เพราะตถาคต ได้ทำ สั่งสม พอกพูน เพิ่มพูนกรรมนั้น ตถาคตนั้น จึงมีพระสุรเสียงดุจเสียงพรหม ตรัสดุจ เสียงร้องของนกการเวก”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. ดังนั้น เสียงจึงเป็นวิบาก
สัทโทวิปาโกติกถา จบ
๔. สฬายตนกถา (๑๑๙)
ว่าด้วยอายตนะ ๖
[๖๓๘] สก. จักขายตนะเป็นวิบากใช่ไหม ปร.๒- ใช่๓- สก. จักขายตนะมีสุขเวทนา มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ที.ปา. (แปล) ๑๑/๒๓๖/๑๙๓ @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๓๘/๒๖๓) @ เพราะมีความเห็นว่า อายตนะที่เป็นรูปเกิดจากกรรม จึงจัดเป็นวิบาก ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า @อายตนะที่เป็นรูป เป็นเพียงรูปธรรม เกิดจากจิตและอุตุ (ธรรมชาติ) ไม่เรียกว่าวิบาก ส่วนธรรมที่จะเรียกว่า @วิบากได้ ต้องเป็นนามธรรมล้วน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๓๘/๒๖๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๙๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๖๙๕-๖๙๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka3/m_siri.php?B=37&siri=137              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=37&A=15162&Z=15199                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1485              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1485&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=5920              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1485&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=5920                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv12.3/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :