ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์
๑๒. อุปาทาปัญญัตตานุโยคะ
ว่าด้วยการซักถามถึงอุปาทาบัญญัติ๒-
[๙๕] สก. เพราะอาศัยรูปจึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม ปร. ใช่ สก. แม้บุคคลก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๓- ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ เที่ยงเสมอเหมือนนิพพาน หมายถึง นิพพานคือภาวะที่ไม่เกิดไม่ดับ ถ้าถือว่าบุคคลเที่ยงเหมือนนิพพาน @ก็จัดเป็นสัสสตทิฏฐิ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๔/๑๔๘) @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๒ หน้า ๓ ในเล่มนี้ @ ปรวาทียังยึดถือความเห็นเดิมของตนที่ว่า บุคคลเที่ยง จึงตอบปฏิเสธ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๕/๑๔๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๔}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

[๙๖] สก. เพราะอาศัยเวทนา ฯลฯ เพราะอาศัยสัญญา ฯลฯ เพราะ อาศัยสังขาร ฯลฯ เพราะอาศัยวิญญาณ จึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. วิญญาณไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม ปร. ใช่ สก. แม้บุคคลก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๙๗] สก. เพราะอาศัยรูปจึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เพราะอาศัยรูปสีเขียว จึงบัญญัติบุคคลสีเขียวใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เพราะอาศัยรูปสีเหลือง ฯลฯ เพราะอาศัยรูปสีแดง ฯลฯ เพราะอาศัย รูปสีขาว ฯลฯ เพราะอาศัยรูปที่เห็นได้ ฯลฯ เพราะอาศัยรูปที่เห็นไม่ได้ ฯลฯ เพราะอาศัยรูปที่กระทบได้ ฯลฯ เพราะอาศัยรูปที่กระทบไม่ได้ จึงบัญญัติบุคคล ที่กระทบไม่ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๙๘] สก. เพราะอาศัยเวทนาจึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เพราะอาศัยเวทนาที่เป็นกุศล จึงบัญญัติบุคคลที่เป็นกุศลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เพราะอาศัยเวทนาที่เป็นกุศล จึงบัญญัติบุคคลที่เป็นกุศลใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๕}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

สก. เวทนาที่เป็นกุศล มีผล มีวิบาก มีผลน่าปรารถนา มีผลน่ายินดี มีผล น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากใช่ไหม ปร. ใช่ สก. แม้บุคคลที่เป็นกุศลก็มีผล มีวิบาก มีผลน่าปรารถนา มีผลน่ายินดี มีผลน่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๙๙] สก. เพราะอาศัยเวทนาจึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เพราะอาศัยเวทนาที่เป็นอกุศล จึงบัญญัติบุคคลที่เป็นอกุศลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เพราะอาศัยเวทนาที่เป็นอกุศล จึงบัญญัติบุคคลที่เป็นอกุศลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เวทนาที่เป็นอกุศลมีผล มีวิบาก มีผลไม่น่าปรารถนา มีผลไม่น่ายินดี มีผลไม่น่าพอใจ มีผลเร่าร้อน มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากใช่ไหม ปร. ใช่ สก. แม้บุคคลที่เป็นอกุศลก็มีผล มีวิบาก มีผลไม่น่าปรารถนา มีผลไม่น่า ยินดี มีผลไม่น่าพอใจ มีผลเร่าร้อน มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๐๐] สก. เพราะอาศัยเวทนา จึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เพราะอาศัยเวทนาที่เป็นอัพยากฤต จึงบัญญัติบุคคลที่เป็นอัพยากฤต ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๖}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

สก. เพราะอาศัยเวทนาที่เป็นอัพยากฤต จึงบัญญัติบุคคลที่เป็นอัพยากฤต ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เวทนาที่เป็นอัพยากฤตไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม ปร. ใช่ สก. แม้บุคคลที่เป็นอัพยากฤตก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๐๑] สก. เพราะอาศัยสัญญา ฯลฯ เพราะอาศัยสังขาร ฯลฯ เพราะอาศัย วิญญาณ จึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เพราะอาศัยวิญญาณที่เป็นกุศล จึงบัญญัติบุคคลที่เป็นกุศลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เพราะอาศัยวิญญาณที่เป็นกุศล จึงบัญญัติบุคคลที่เป็นกุศลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. วิญญาณที่เป็นกุศลมีผล มีวิบาก มีผลน่าปรารถนา มีผลน่ายินดี มีผล น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากใช่ไหม ปร. ใช่ สก. แม้บุคคลที่เป็นกุศลก็มีผล มีวิบาก มีผลน่าปรารถนา มีผลน่ายินดี มีผลน่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๐๒] สก. เพราะอาศัยวิญญาณจึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๗}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

สก. เพราะอาศัยวิญญาณที่เป็นอกุศล จึงบัญญัติบุคคลที่เป็นอกุศลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เพราะอาศัยวิญญาณที่เป็นอกุศล จึงบัญญัติบุคคลที่เป็นอกุศลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. วิญญาณที่เป็นอกุศลมีผล มีวิบาก มีผลไม่น่าปรารถนา มีผลไม่น่ายินดี มีผลไม่น่าพอใจ มีผลเร่าร้อน มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากใช่ไหม ปร. ใช่ สก. แม้บุคคลที่เป็นอกุศลก็มีผล มีวิบาก มีผลไม่น่าปรารถนา มีผลไม่น่า ยินดี มีผลไม่น่าพอใจ มีผลเร่าร้อน มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๐๓] สก. เพราะอาศัยวิญญาณ จึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เพราะอาศัยวิญญาณที่เป็นอัพยากฤต จึงบัญญัติบุคคลที่เป็นอัพยากฤต ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เพราะอาศัยวิญญาณที่เป็นอัพยากฤต จึงบัญญัติบุคคลที่เป็นอัพยากฤต ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. วิญญาณที่เป็นอัพยากฤตไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม ปร. ใช่ สก. แม้บุคคลที่เป็นอัพยากฤตก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๘}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

[๑๐๔] สก. เพราะอาศัยจักษุ ท่านจึงยอมรับว่า “บุคคลมีจักษุ” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เมื่อจักษุดับแล้ว ท่านจึงยอมรับว่า “บุคคลผู้มีจักษุดับ” ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เพราะอาศัยโสตะ ฯลฯ เพราะอาศัยฆานะ ฯลฯ เพราะอาศัยชิวหา ฯลฯ เพราะอาศัยกาย ฯลฯ เพราะอาศัยมโน ท่านจึงยอมรับว่า “บุคคลผู้มีมโน” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เมื่อมโนดับแล้ว ท่านจึงยอมรับว่า “บุคคลผู้มีมโนดับ” ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น [๑๐๕] สก. เพราะอาศัยมิจฉาทิฏฐิ ท่านจึงยอมรับว่า “บุคคลเป็นมิจฉาทิฏฐิ” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เมื่อมิจฉาทิฏฐิดับแล้ว ท่านจึงยอมรับว่า “บุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิดับ” ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เพราะอาศัยมิจฉาสังกัปปะ ฯลฯ เพราะอาศัยมิจฉาวาจา ฯลฯ เพราะ อาศัยมิจฉากัมมันตะ ฯลฯ เพราะอาศัยมิจฉาอาชีวะ ฯลฯ เพราะอาศัยมิจฉาวายามะ ฯลฯ เพราะอาศัยมิจฉาสติ ฯลฯ เพราะอาศัยมิจฉาสมาธิ ท่านจึงยอมรับว่า “บุคคล เป็นมิจฉาสมาธิ” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เมื่อมิจฉาสมาธิดับแล้ว ท่านจึงยอมรับว่า “บุคคลผู้เป็นมิจฉาสมาธิดับ” ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๙}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

[๑๐๖] สก. เพราะอาศัยสัมมาทิฏฐิ ท่านจึงยอมรับว่า “บุคคลผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เมื่อสัมมาทิฏฐิดับแล้ว ท่านจึงยอมรับว่า “บุคคลผู้เป็นสัมมาทิฏฐิดับ” ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เพราะอาศัยสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ เพราะอาศัยสัมมาวาจา ฯลฯ เพราะ อาศัยสัมมากัมมันตะ ฯลฯ เพราะอาศัยสัมมาอาชีวะ ฯลฯ เพราะอาศัยสัมมา- วายามะ ฯลฯ เพราะอาศัยสัมมาสติ ฯลฯ เพราะอาศัยสัมมาสมาธิ ท่านจึง ยอมรับว่า “บุคคลผู้เป็นสัมมาสมาธิ” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เมื่อสัมมาสมาธิดับแล้ว ท่านจึงยอมรับว่า “บุคคลผู้เป็นสัมมาสมาธิดับ” ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๐๗] สก. เพราะอาศัยรูป เพราะอาศัยเวทนา จึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เพราะอาศัยขันธ์ ๒ จึงบัญญัติบุคคล ๒ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เพราะอาศัยรูป เพราะอาศัยเวทนา เพราะอาศัยสัญญา เพราะอาศัย สังขาร เพราะอาศัยวิญญาณ จึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เพราะอาศัยขันธ์ ๕ จึงบัญญัติบุคคล ๕ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๐}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

[๑๐๘] สก. เพราะอาศัยจักขายตนะ เพราะอาศัยโสตายตนะ จึงบัญญัติ บุคคลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เพราะอาศัยอายตนะ ๒ จึงบัญญัติบุคคล ๒ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เพราะอาศัยจักขายตนะ เพราะอาศัยโสตายตนะ ฯลฯ เพราะอาศัย ธัมมายตนะ จึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เพราะอาศัยอายตนะ ๑๒ จึงบัญญัติบุคคล ๑๒ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๐๙] สก. เพราะอาศัยจักขุธาตุ เพราะอาศัยโสตธาตุ จึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เพราะอาศัยธาตุ ๒ จึงบัญญัติบุคคล ๒ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เพราะอาศัยจักขุธาตุ เพราะอาศัยโสตธาตุ ฯลฯ เพราะอาศัยธัมมธาตุ จึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เพราะอาศัยธาตุ ๑๘ จึงบัญญัติบุคคล ๑๘ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๑๐] สก. เพราะอาศัยจักขุนทรีย์ เพราะอาศัยโสตินทรีย์ จึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เพราะอาศัยอินทรีย์ ๒ จึงบัญญัติบุคคล ๒ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๑}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

สก. เพราะอาศัยจักขุนทรีย์ เพราะอาศัยโสตินทรีย์ ฯลฯ เพราะอาศัย อัญญาตาวินทรีย์ จึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เพราะอาศัยอินทรีย์ ๒๒ จึงบัญญัติบุคคล ๒๒ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๑๑] สก. เพราะอาศัยเอกโวการภพ๑- จึงบัญญัติบุคคล ๑ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เพราะอาศัยจตุโวการภพ๒- จึงบัญญัติบุคคล ๔ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เพราะอาศัยเอกโวการภพ จึงบัญญัติบุคคล ๑ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เพราะอาศัยปัญจโวการภพ๓- จึงบัญญัติบุคคล ๕ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ในเอกโวการภพมีบุคคลเพียง ๑ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ในจตุโวการภพมีบุคคลเพียง ๔ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ในเอกโวการภพมีบุคคลเพียง ๑ ใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ เอกโวการภพ หมายถึงภพของสัตว์ที่มีขันธ์ ๑ คือรูปขันธ์ ได้แก่ อสัญญีภพ (อภิ.วิ.อ. ๒๓๔/๑๙๘-๒๒๐) @ จตุโวการภพ หมายถึงภพของสัตว์ที่มีขันธ์ ๔ คือเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ @ได้แก่ สัญญีภพ (อภิ.วิ.อ. ๒๓๔/๑๙๘-๒๒๐, ขุ.ป.อ. ๑/๕/๙๗) @ ปัญจโวการภพ หมายถึงภพของสัตว์ที่มีขันธ์ ๕ ได้แก่ กามภพและรูปภพ (อภิ.วิ.อ. ๒๓๔/๑๙๘-๒๒๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๒}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

สก. ในปัญจโวการภพมีบุคคลเพียง ๕ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๑๒] สก. เพราะอาศัยต้นไม้จึงบัญญัติเงาไม้ ฉันใด เพราะอาศัยรูปจึง บัญญัติบุคคล ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เพราะอาศัยต้นไม้จึงบัญญัติเงาไม้ แม้ต้นไม้ก็ไม่เที่ยง แม้เงาไม้ก็ไม่เที่ยง ฉันใด เพราะอาศัยรูปจึงบัญญัติบุคคล แม้รูปก็ไม่เที่ยง แม้บุคคลก็ไม่เที่ยง ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เพราะอาศัยต้นไม้จึงบัญญัติเงาไม้ ต้นไม้กับเงาไม้เป็นคนละอย่างกัน ฉันใด เพราะอาศัยรูปจึงบัญญัติบุคคล รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน ฉันนั้นเหมือนกัน ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๑๓] สก. เพราะอาศัยบ้านจึงบัญญัติชาวบ้าน ฉันใด เพราะอาศัยรูปจึง บัญญัติบุคคล ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เพราะอาศัยบ้านจึงบัญญัติชาวบ้าน บ้านกับชาวบ้านเป็นคนละอย่างกัน ฉันใด เพราะอาศัยรูปจึงบัญญัติบุคคล รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน ฉันนั้น เหมือนกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๑๔] สก. เพราะอาศัยรัฐจึงบัญญัติพระราชา ฉันใด เพราะอาศัยรูปจึง บัญญัติบุคคล ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๓}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

สก. เพราะอาศัยรัฐจึงบัญญัติพระราชา รัฐกับพระราชาเป็นคนละอย่างกัน ฉันใด เพราะอาศัยรูปจึงบัญญัติบุคคล รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน ฉันนั้นเหมือนกัน ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๑๕] สก. ตรวนมิใช่ผู้ถูกจำตรวน ตรวนมีแก่ผู้ใด ผู้นั้นชื่อว่าผู้ถูกจำตรวน ฉันใด รูปมิใช่ผู้มีรูป รูปมีแก่ผู้ใด ผู้นั้นชื่อว่าผู้มีรูป ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ตรวนมิใช่ผู้ถูกจำตรวน ตรวนมีแก่ผู้ใด ผู้นั้นชื่อว่าผู้ถูกจำตรวน ตรวน กับผู้ถูกจำตรวนเป็นคนละอย่างกัน ฉันใด รูปมิใช่ผู้มีรูป รูปมีแก่ผู้ใด ผู้นั้น ชื่อว่าผู้มีรูป รูปกับผู้มีรูปเป็นคนละอย่าง ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๑๖] สก. มีการบัญญัติบุคคลในจิตแต่ละดวงใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลย่อมเกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิ ในจิตแต่ละดวงใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็นคนเดียวกันหรือเป็น คนละคนกัน” ใช่ไหม ปร. ใช่๑- สก. เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็นเด็กชายหรือเป็น เด็กหญิง” ใช่ไหม ปร. ข้าพเจ้ายอมรับ๒- @เชิงอรรถ : @ เพราะมีความเห็นว่า บุคคลในจิตดวงที่ ๑ กับบุคคลในจิตดวงที่ ๒ จะกล่าวว่าเป็นคนเดียวกันหรือเป็นคน @ละคนกันก็ไม่ได้ เพราะถ้ายอมรับว่าเป็นคนเดียวกัน ก็เกรงจะถูกกล่าวหาว่าเป็นสัสสตทิฏฐิ และถ้ายอม @รับว่าเป็นคนละคนกันก็เกรงจะถูกกล่าวหาว่าเป็นอุจเฉททิฏฐิ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๑๖/๑๕๑) @ เพราะมีความเห็นว่า จะเป็นการขัดกับภาษาที่ชาวโลกใช้พูดกัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๔}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้ เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น หากท่านไม่ยอมรับว่า “เป็นคนเดียวกันหรือเป็น คนละคนกัน” ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ข้าพเจ้า ไม่ยอมรับว่า เป็นเด็กชายหรือเป็นเด็กหญิง” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ข้าพเจ้าไม่ยอมรับว่า ‘เป็นคน เดียวกันหรือเป็นคนละคนกัน’ เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ข้าพเจ้าจึงยอมรับว่า เป็นเด็กชายหรือเป็นเด็กหญิง” คำนั้นของท่านผิด อนึ่ง เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น หากท่านยอมรับว่า “เป็นเด็กชายหรือเป็น เด็กหญิง” ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ข้าพเจ้ายอมรับว่า เป็นคนเดียวกันหรือเป็นคนละคนกัน” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ข้าพเจ้าไม่ยอมรับว่า ‘เป็นคน เดียวกันหรือเป็นคนละคนกัน’ เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ข้าพเจ้าจึงยอมรับว่า เป็นเด็กชายหรือเป็นเด็กหญิง” คำนั้นของท่านผิด [๑๑๗] สก. เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็นคนเดียวกัน หรือเป็นคนละคนกัน” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็นสตรีหรือเป็นบุรุษ เป็นคฤหัสถ์หรือเป็นบรรพชิต เป็นเทวดาหรือเป็นมนุษย์” ใช่ไหม ปร. ข้าพเจ้ายอมรับ สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้ หากเมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็นคนเดียวกันหรือเป็น คนละคนกัน” ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ข้าพเจ้า ไม่ยอมรับว่า เป็นเทวดาหรือเป็นมนุษย์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ข้าพเจ้าไม่ยอมรับว่า ‘เป็นคน เดียวกันหรือเป็นคนละคนกัน’ เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ข้าพเจ้าจึงยอมรับว่า เป็นเทวดาหรือเป็นมนุษย์” คำนั้นของท่านผิด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๕}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

อนึ่ง เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น หากท่านยอมรับว่า “เป็นเทวดาหรือเป็นมนุษย์” ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ข้าพเจ้ายอมรับว่า เป็นคนเดียวกันหรือว่าเป็นคนละคนกัน” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ข้าพเจ้าไม่ยอมรับว่า ‘เป็นคน เดียวกันหรือว่าเป็นคนละคนกัน เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ข้าพเจ้าจึงยอมรับว่า เป็นเทวดาหรือเป็นมนุษย์” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ [๑๑๘] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. บุคคลใดเห็น เห็นรูปใด เห็นด้วยจักษุใด บุคคลนั้นเห็น เห็นรูปนั้น เห็นด้วยจักษุนั้นมิใช่หรือ๑- สก. ใช่๒- ปร. หากบุคคลใดเห็น เห็นรูปใด เห็นด้วยจักษุใด บุคคลนั้นเห็น เห็นรูปนั้น เห็นด้วยจักษุนั้น ดังนั้น ท่านจึงยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ- ปรมัตถ์” [๑๑๙] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. บุคคลใดฟัง ฯลฯ บุคคลใดดม ฯลฯ บุคคลใดลิ้มรส ฯลฯ บุคคลใด ถูกต้อง ฯลฯ บุคคลใดรู้ รู้ธรรมารมณ์ใด รู้ด้วยมโนใด บุคคลนั้นรู้ รู้ธรรมารมณ์นั้น รู้ด้วยมโนนั้นมิใช่หรือ สก. ใช่ @เชิงอรรถ : @ คำถามนี้ มีใจความว่า ผู้เห็นมีอยู่จริง รูปที่ถูกเห็นก็มีอยู่จริง ตาที่เห็นก็มีอยู่จริง @ เพราะมุ่งถึงสมมติสัจจึงตอบรับ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๑๘/๑๕๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๖}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

ปร. หากบุคคลใดรู้ รู้ธรรมารมณ์ใด รู้ด้วยมโนใด บุคคลนั้นรู้ รู้ธรรมารมณ์ นั้น รู้ด้วยมโนนั้น ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดย สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” [๑๒๐] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลใดไม่เห็น ไม่เห็นรูปใด ไม่เห็นด้วยจักษุใด บุคคลนั้นไม่เห็น ไม่เห็นรูปนั้น ไม่เห็นด้วยจักษุนั้นมิใช่หรือ ปร. ใช่๑- สก. หากบุคคลใดไม่เห็น ไม่เห็นรูปใด ไม่เห็นด้วยจักษุใด บุคคลนั้นไม่เห็น ไม่เห็นรูปนั้น ไม่เห็นด้วยจักษุนั้น ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคล ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลใดไม่ฟัง ฯลฯ บุคคลใดไม่ดม ฯลฯ บุคคลใดไม่ลิ้มรส ฯลฯ บุคคลใดไม่ถูกต้อง ฯลฯ บุคคลใดไม่รู้ ไม่รู้ธรรมารมณ์ใด ไม่รู้ด้วยมโนใด บุคคลนั้นไม่รู้ ไม่รู้ธรรมารมณ์นั้น ไม่รู้ด้วยมโนนั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. หากบุคคลใดไม่รู้ ไม่รู้ธรรมารมณ์ใด ไม่รู้ด้วยมโนใด บุคคลนั้นไม่รู้ ไม่รู้ธรรมารมณ์นั้น ไม่รู้ด้วยมโนนั้น ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้ บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” [๑๒๑] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ใช่ไหม สก. ใช่ @เชิงอรรถ : @ เพราะปรวาทีมุ่งหมายเอาบุคคล ๕ จำพวก คือ (๑) คนตาบอด (๒) อสัญญีสัตว์ (๓) บุคคลผู้เกิดในอรูปภพ @(๔) บุคคลผู้เข้านิโรธสมาบัติ (๕) คนตาไม่บอดแต่ไม่ดูรูป จึงตอบรับ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๒๐/๑๕๑-๑๕๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๗}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราเห็นหมู่สัตว์ผู้ กำลังจุติ กำลังปฏิสนธิ ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม”๑- มีอยู่จริง มิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ [๑๒๒] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เราเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังปฏิสนธิ ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไป ตามกรรม” จึงยอมรับว่า “ข้าพเจ้าจึงหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระผู้มีพระภาคทรงเห็นรูป หรือทรงเห็นบุคคลได้ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ เหนือมนุษย์ ปร. ทรงเห็นรูป สก. รูปเป็นบุคคล รูปจุติ รูปปฏิสนธิ รูปเป็นไปตามกรรมใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระผู้มีพระภาคทรงเห็นรูป หรือทรงเห็นบุคคลได้ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ เหนือมนุษย์ ปร. ทรงเห็นบุคคล สก. บุคคลเป็นรูป เป็นรูปายตนะ เป็นรูปธาตุ เป็นสีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว สิ่งที่จะรู้ได้ทางจักษุ กระทบที่จักษุ มาสู่คลองจักษุได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๕๙/๒๒๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๘}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

สก. พระผู้มีพระภาคทรงเห็นรูป หรือทรงเห็นบุคคลได้ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ เหนือมนุษย์ ปร. ทรงเห็นได้ทั้ง ๒ อย่าง สก. ทั้ง ๒ อย่าง เป็นรูป เป็นรูปายตนะ เป็นรูปธาตุ ทั้ง ๒ อย่างเป็นสีเขียว ทั้ง ๒ อย่างเป็นสีเหลือง ทั้ง ๒ อย่างเป็นสีแดง ทั้ง ๒ อย่างเป็นสีขาว ทั้ง ๒ อย่างเป็นสิ่งที่จะรู้ได้ทางจักษุ ทั้ง ๒ อย่างกระทบที่จักษุ ทั้ง ๒ อย่างมาสู่คลองจักษุ ทั้ง ๒ อย่างจุติ ทั้ง ๒ อย่างปฏิสนธิ ทั้ง ๒ อย่างเป็นไปตามกรรมใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อุปาทาปัญญัตตานุโยคะ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๕๔-๖๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka3/m_siri.php?B=37&siri=16              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=37&A=1039&Z=1363                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=92              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=92&items=30              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=3343              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=92&items=30              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=3343                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv1.1/en/aung-rhysdavids#pts-cs1.1.171



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :