ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์
๙. นวัตตัพพังสังฆัสสทินนังมหัปผลันติกถา (๑๗๔)
ว่าด้วยไม่ควรยอมรับว่าทานที่ถวายแด่พระสงฆ์มีผลมาก
[๗๙๗] สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “ทานที่ถวายแด่พระสงฆ์มีผลมาก” ใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. พระสงฆ์เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลกมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากพระสงฆ์เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ฯลฯ เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ทานที่ถวาย แด่พระสงฆ์มีผลมาก” สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “ทานที่ถวายแด่พระสงฆ์มีผลมาก” ใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเวตุลลกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๙๗/๒๙๕) @ เพราะมีความเห็นว่า มรรคและผลเท่านั้น ชื่อว่าสงฆ์ บุคคลไม่สามารถที่จะให้หรือรับอะไรจากมรรคและ @ผลเหล่านั้น การให้ทานแก่มรรคและผลจึงไม่เกิดอุปการะอะไร ดังนั้น จึงไม่ควรกล่าวว่า ทานที่บุคคล @ถวายแด่พระสงฆ์มีผลมาก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๙๗-๗๙๘/๒๙๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๘๓๑}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค]

๙. นวัตตัพพังสังฆัสสทินนังมหัปผลันติกถา (๑๗๔)

สก. อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นผู้ควรแก่ ทักษิณามิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากอริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นผู้ ควรแก่ทักษิณา ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ทานที่ถวายแด่พระสงฆ์มีผลมาก” [๗๙๘] สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “ทานที่ถวายแด่พระสงฆ์มีผลมาก” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “โคตมี พระนางจงถวายสงฆ์เถิด เมื่อพระนางถวายสงฆ์แล้ว จักชื่อว่าเป็นผู้ได้บูชาอาตมภาพและสงฆ์”๑- มีอยู่จริง มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ทานที่ถวายแด่พระสงฆ์จึงมีผลมาก สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “ทานที่ถวายแด่พระสงฆ์มีผลมาก” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ท้าวสักกะจอมเทพได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “เมื่อมนุษย์ทั้งหลายผู้เป็นสัตว์ ปรารถนาบุญ บูชาอยู่ ทำบุญซึ่งให้เกิดผล ทานให้แล้วในที่ไหนมีผลมาก พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ท่านผู้ปฏิบัติดี ๔ จำพวก ท่านผู้ตั้งอยู่ในผล ๔ จำพวก นั่นคือพระสงฆ์ เป็นผู้ปฏิบัติตรง ตั้งมั่นอยู่ในศีล สมาธิ และปัญญา เมื่อมนุษย์ทั้งหลายผู้เป็นสัตว์ ปรารถนาบุญ บูชาอยู่ ทำบุญซึ่งให้เกิดผล ทานให้แล้วในพระสงฆ์มีผลมาก @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ม.อุ. (แปล) ๑๔/๓๗๖/๔๒๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๘๓๒}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค]

๑๐. นวัตตัพพังพุทธัสสทินนังมหัปผลันติกถา (๑๗๕)

ด้วยว่า พระสงฆ์นี้มีคุณยิ่งใหญ่ ไพบูลย์ หาประมาณมิได้ ดุจทะเลเปี่ยมด้วยน้ำ พระอริยบุคคลเหล่านี้แลเป็นผู้ประเสริฐสุด เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าผู้มีความเพียร เป็นผู้ให้แสงสว่างคือปัญญาแก่ชาวโลก ย่อมยกธรรมขึ้นแสดง ทานที่บุคคลถวายเจาะจงสงฆ์นั้น ชื่อว่าเป็นทานถวายดีแล้ว บูชาสักการะอย่างดีแล้ว ทักษิณาที่ถวายสงฆ์นั้นมีผลมาก ทั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ทรงรู้แจ้งโลกก็ทรงสรรเสริญแล้ว เหล่าชนมาหวนระลึกถึงบุญเช่นนี้ได้เกิดปีติและโสมนัส กำจัดมลทินคือความตระหนี่พร้อมทั้งมูลได้ ท่องเที่ยวไปในโลก ไม่ถูกบัณฑิตติเตียน จึงเข้าถึงแดนสวรรค์ได้”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ทานที่ถวายแด่พระสงฆ์จึงมีผลมาก
นวัตตัพพังสังฆัสสทินนังมหัปผลันติกถา จบ
๑๐. นวัตตัพพังพุทธัสสทินนังมหัปผลันติกถา (๑๗๕)
ว่าด้วยไม่ควรยอมรับว่าทานที่ถวายแด่พระพุทธเจ้ามีผลมาก
[๗๙๙] สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “ทานที่ถวายแด่พระพุทธเจ้ามีผลมาก” ใช่ไหม ปร.๒- ใช่๓- @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ขุ.วิ. (แปล) ๒๖/๖๔๓-๖๔๕/๗๑, ๗๕๒-๗๕๔/๘๗-๘๘ @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเวตุลลกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๙๙/๒๙๖) @ เพราะมีความเห็นว่า พระพุทธเจ้าย่อมไม่ทรงฉันอะไรๆ แต่เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก ย่อมทรงแสดงพระ @องค์เหมือนกับว่าทรงฉันอยู่ ดังนั้น การถวายทานแด่พระพุทธเจ้าจึงไม่ควรกล่าวว่ามีผลมาก @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๙๙/๒๙๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๘๓๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๘๓๑-๘๓๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka3/m_siri.php?B=37&siri=192              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=37&A=17949&Z=17996                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1722              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1722&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=6660              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1722&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=6660                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv17.9/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :