ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์
๘. กัมมกถา (๒๐๗)
ว่าด้วยกรรม
[๘๘๙] สก. กรรมทั้งปวงเป็นสภาวะที่แน่นอนใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. เป็นสภาวะที่ผิดและแน่นอนใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เป็นสภาวะที่ถูกและแน่นอนใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายอุตตราปถกะบางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๘๙/๓๑๘) @ เพราะมีความเห็นว่า กรรมทุกอย่างเป็นสิ่งที่แน่นอน ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น เช่น กรรมที่ให้ผลใน @ปัจจุบันก็ต้องให้ผลในปัจจุบัน ไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า กรรมทุกอย่าง @อาจเปลี่ยนแปลง เช่น กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน ถ้าไม่ให้ผลก็กลายเป็นอโหสิกรรมได้ @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๘๙/๓๑๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๙๒๐}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๑. เอกวีสติมวรรค]

๘. กัมมกถา (๒๐๗)

สก. กอง(แห่งสภาวธรรม)ที่ไม่แน่นอนไม่มีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กอง(แห่งสภาวธรรม)ที่ไม่แน่นอนมีอยู่มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากกอง(แห่งสภาวธรรม)ที่ไม่แน่นอนมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “กรรมทั้งปวงเป็นสภาวะที่แน่นอน” สก. กรรมทั้งปวงเป็นสภาวะที่แน่นอนใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กอง(แห่งสภาวธรรม)พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ๓ อย่าง คือ (๑) กอง ที่ผิดและแน่นอน (๒) กองที่ถูกและแน่นอน (๓) กองที่ไม่แน่นอน มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากกอง(แห่งสภาวธรรม)พระผู้มีพระภาคตรัสกองไว้ ๓ อย่าง คือ (๑) กองที่ผิดและแน่นอน (๒) กองที่ถูกและแน่นอน (๓) กองที่ไม่แน่นอน ท่านก็ไม่ ควรยอมรับว่า “กรรมทั้งปวงเป็นสภาวะที่แน่นอน” [๘๙๐] สก. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรมเป็นสภาวะที่แน่นอนโดยอรรถว่าเป็นกรรม อันบุคคลพึงเสวยในปัจจุบันใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรมนั้นเป็นสภาวะที่ผิดและแน่นอนใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เป็นสภาวะที่ถูกและแน่นอนใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. อุปปัชชเวทนียกรรม ฯลฯ อปราปริยเวทนียกรรม เป็นสภาวะที่แน่นอน โดยอรรถว่าเป็นกรรมอันบุคคลพึงเสวยในอัตภาพต่อๆ ไปใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อปราปริยเวทนียกรรมนั้นเป็นสภาวะที่ผิดและให้ผลแน่นอนใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๙๒๑}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๑. เอกวีสติมวรรค]

รวมกถาที่มีในวรรค

สก. เป็นสภาวะที่ถูกและให้ผลแน่นอนใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๘๙๑] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ทิฏฐธรรมเวทนียกรรมเป็นสภาวะที่แน่นอน โดยอรรถว่าเป็นกรรมอันบุคคลพึงเสวยในปัจจุบัน อุปปัชชเวทนียกรรม ฯลฯ อปราปริยเวทนียกรรมเป็นสภาวะที่แน่นอน โดยอรรถว่าเป็นกรรมอันบุคคลพึง เสวยในอัตภาพต่อๆ ไป” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรมเป็นอุปปัชชเวทนียกรรม เป็นอปราปริยเวทนีย- กรรม ฯลฯ อุปปัชชเวทนียกรรมเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม เป็นอปราปริย- เวทนียกรรม ฯลฯ อปราปริยเวทนียกรรมเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม เป็น อุปปัชชเวทนียกรรมใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ปร. ดังนั้น ทิฏฐธรรมเวทนียกรรมจึงเป็นสภาวะที่แน่นอน โดยอรรถว่า เป็นกรรมอันบุคคลพึงเสวยในปัจจุบัน อุปปัชชเวทนียกรรม ฯลฯ อปราปริย- เวทนียกรรมเป็นสภาวะที่แน่นอน โดยอรรถว่าเป็นกรรมอันบุคคลพึงเสวยใน อัตภาพต่อๆ ไป
กัมมกถา จบ
เอกวีสติมวรรค จบ
รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สาสนกถา ๒. อวิวิตตกถา ๓. สัญโญชนกถา ๔. อิทธิกถา ๕. พุทธกถา ๖. สัพพทิสากถา ๗. ธัมมกถา ๘. กัมมกถา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๙๒๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๙๒๐-๙๒๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka3/m_siri.php?B=37&siri=225              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=37&A=19743&Z=19793                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1851              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1851&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=7168              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1851&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=7168                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv21.8/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :