ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์
๔. ธัมมาภิสมยกถา (๒๑๑)
ว่าด้วยการบรรลุธรรม
[๘๙๗] สก. การบรรลุธรรมของสัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มีได้ใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. การแสดงธรรม การฟังธรรม การสนทนาธรรม การสอบถาม การ สมาทานศีล ความคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้จักประมาณใน @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะบางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๙๗/๓๒๐) @ เพราะมีความเห็นว่า บุคคลผู้เป็นพระโสดาบันในภพก่อนอยู่ในครรภ์ของมารดาแล้วคลอดออกมา จึงเข้าใจ @ว่ามีการบรรลุธรรมขณะอยู่ในครรภ์ของมารดา ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า การบรรลุธรรมไม่ @สามารถมีได้ในขณะอยู่ในครรภ์มารดา เพราะผู้อยู่ในครรภ์ไม่มีการเจริญภาวนา ไม่มีสติสัมปชัญญะ @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๙๗/๓๒๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๙๒๗}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค]

๔. ธัมมาภิสมยกถา (๒๑๑)

โภชนะ การหมั่นประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นทั้งในปฐมยามและปัจฉิมยาม แห่งราตรี ของสัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มีได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. การแสดงธรรม การฟังธรรม ฯลฯ การหมั่นประกอบความเพียรเป็น เครื่องตื่นทั้งในปฐมยามและปัจฉิมยามแห่งราตรีของสัตว์ผู้อยู่ในครรภ์ไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. หากการแสดงธรรม การฟังธรรม ฯลฯ การหมั่นประกอบความเพียร เป็นเครื่องตื่นทั้งในปฐมยามและปัจฉิมยามแห่งราตรีของสัตว์ผู้อยู่ในครรภ์ไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “การบรรลุธรรมของสัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มีได้” สก. การบรรลุธรรมสัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มีได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิมี ๒ อย่าง คือ (๑) ปรโตโฆสะ (คำแนะนำจากผู้อื่น) (๒) โยนิโสมนสิการ (การใช้ความคิดถูกวิธี) มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิมี ๒ อย่าง คือ (๑) ปรโตโฆสะ (๒) โยนิโสมนสิการ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “การบรรลุธรรมของ สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มีได้” สก. การบรรลุธรรมของสัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มีได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. การบรรลุธรรมของบุคคลผู้หลับ ผู้ประมาท ผู้มีสติหลงลืม ผู้ไม่มี สัมปชัญญะมีได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ธัมมาภิสมยกถา จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๙๒๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๙๒๗-๙๒๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka3/m_siri.php?B=37&siri=229              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=37&A=19887&Z=19915                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1865              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1865&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=7212              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1865&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=7212                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv22.4/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :