ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์
๘. สติปัฏฐานกถา
ว่าด้วยสติปัฏฐาน
[๓๐๑] สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐานใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสติ เป็นสตินทรีย์ เป็นสติพละ เป็นสัมมาสติ เป็นสติสัมโพชฌงค์ เป็นทางเดียว เป็นเหตุให้ถึงความสิ้นกิเลส ให้ถึงความตรัสรู้ ให้ถึงนิพพาน ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ไม่เป็น อารมณ์ของคันถะ ไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะ ไม่เป็นอารมณ์ของโยคะ ไม่เป็นอารมณ์ @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๐๑/๑๗๙) @ เพราะมุ่งถึงธรรมที่เป็นอารมณ์ของสติปัฏฐาน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๐๑/๑๗๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๓๖}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๘. สติปัฏฐานกถา

ของนิวรณ์ ไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ไม่เป็น อารมณ์ของกิเลส สภาวธรรมทั้งปวงเป็นพุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ อานาปานสติ มรณานุสสติ กายคตาสติ อุปสมานุสสติใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑- ฯลฯ สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐานใช่ไหม ปร. ใช่ สก. จักขายตนะเป็นสติปัฏฐานใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. จักขายตนะเป็นสติปัฏฐานใช่ไหม ปร. ใช่ สก. จักขายตนะเป็นสติ เป็นสตินทรีย์ เป็นสติพละ เป็นสัมมาสติ เป็น สติสัมโพชฌงค์ เป็นทางเดียว เป็นเหตุให้ถึงความสิ้นกิเลส ให้ถึงความตรัสรู้ ให้ ถึงนิพพาน ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ฯลฯ ไม่เป็น อารมณ์ของสังกิเลส จักขายตนะ เป็นพุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ อานาปานสติ มรณานุสสติ กายคตาสติ อุปสมานุสสติใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. โสตายตนะ ฯลฯ ฆานายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ รูปายตนะ ฯลฯ สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ราคะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ ทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ ถีนะ ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ อหิริกะ ฯลฯ อโนตตัปปะ เป็นสติปัฏฐานใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ เพราะมีความเห็นว่าสภาวธรรมบางอย่างไม่เป็นสติ จึงตอบปฏิเสธ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๐๑/๑๘๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๓๗}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๘. สติปัฏฐานกถา

สก. อโนตตัปปะเป็นสติปัฏฐานใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อโนตตัปปะเป็นสติ เป็นสตินทรีย์ เป็นสติพละ เป็นสัมมาสติ ฯลฯ เป็นกายคตาสติ เป็นอุปสมานุสสติใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สติเป็นสติปัฏฐาน และสติที่เป็นสติปัฏฐานนั้นเป็นสติใช่ไหม ปร. ใช่ สก. จักขายตนะเป็นสติปัฏฐาน และจักขายตนะที่เป็นสติปัฏฐานนั้นเป็นสติ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สติเป็นสติปัฏฐาน และสติที่เป็นสติปัฏฐานนั้นเป็นสติใช่ไหม ปร. ใช่ สก. โสตายตนะ ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ราคะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ อโนตตัปปะเป็นสติปัฏฐาน และอโนตตัปปะที่เป็นสติปัฏฐานนั้นเป็นสติใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. จักขายตนะเป็นสติปัฏฐาน แต่จักขายตนะที่เป็นสติปัฏฐานนั้นไม่เป็นสติ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สติเป็นสติปัฏฐาน แต่สติที่เป็นสติปัฏฐานนั้นไม่เป็นสติใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. โสตายตนะ ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ราคะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะเป็นสติปัฏฐาน แต่ อโนตตัปปะที่เป็นสติปัฏฐานนั้นไม่เป็นสติใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๓๘}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๘. สติปัฏฐานกถา

สก. สติเป็นสติปัฏฐาน แต่สติที่เป็นสติปัฏฐานนั้นไม่เป็นสติใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๓๐๒] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. สติปรารภสภาวธรรมทั้งปวงจึงตั้งมั่นได้มิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. หากสติปรารภสภาวธรรมทั้งปวงจึงตั้งมั่นได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับ ว่า “สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน” สก. สติปรารภสภาวธรรมทั้งปวงจึงตั้งมั่นได้ ดังนั้น สภาวธรรมทั้งปวงจึง เป็นสติปัฏฐานใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ผัสสะปรารภสภาวธรรมทั้งปวงจึงตั้งมั่นได้ ดังนั้น สภาวธรรมทั้งปวง จึงเป็นผัสสปัฏฐานใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สติปรารภสภาวธรรมทั้งปวงจึงตั้งมั่นได้ ดังนั้น สภาวธรรมทั้งปวงจึง เป็นสติปัฏฐานใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เวทนาปรารภสภาวธรรมทั้งปวงจึงตั้งมั่นได้ ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ จิตปรารภสภาวธรรมทั้งปวงจึงตั้งมั่นได้ เพราะเหตุนั้น สภาวธรรมทั้งปวง จึงเป็นจิตตปัฏฐานใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐานใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สัตว์ทั้งปวงมีสติตั้งมั่น ประกอบด้วยสติ มั่นคงด้วยสติ สติปรากฏแก่ สัตว์ทั้งปวงใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๓๙}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๘. สติปัฏฐานกถา

[๓๐๓] สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐานใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดไม่ เจริญกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่บรรลุอมตธรรม ชนเหล่าใดเจริญกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าบรรลุอมตธรรม”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. สัตว์ทั้งปวงเจริญ ได้เฉพาะ ซ่องเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งกายคตาสติ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐานใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทาง๒- นี้เป็นทางเดียว๓- เพื่อความบริสุทธ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม๔- เพื่อทำให้แจ้งนิพพาน ทางนี้คือสติปัฏฐาน ๔”๕- มีอยู่จริง มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นทางสายเดียวใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.เอกก. (แปล) ๒๐/๖๐๐/๕๔ @ ทาง หมายถึงทางดำเนินไปสู่นิพพานหรือทางที่ผู้ต้องการนิพพานควรดำเนินไป (ที.ม.อ. ๒/๓๗๓/๓๖๑) @ ทางเดียว มีความหมาย ๔ นัย คือ (๑) ทางที่บุคคลผู้ละการเกี่ยวข้องกับหมู่คณะไปประพฤติธรรมอยู่ @แต่ผู้เดียว (๒) ทางสายเดียวที่พระพุทธเจ้าทรงทำให้เกิดขึ้น เป็นทางของบุคคลผู้เดียวคือพระผู้มีพระภาค @(๓) ข้อปฏิบัติในศาสนาเดียวคือพระพุทธศาสนา (๔) ทางดำเนินไปสู่จุดหมายเดียวคือนิพพาน @(ที.ม.อ. ๒/๓๗๓/๓๕๙, ม.มู.อ. ๑/๑๐๖/๒๔๔) @ ญายธรรม หมายถึงอริยมรรค (ที.ม.อ. ๒/๒๑๔/๑๙๗, ม.มู.อ. ๑/๑๐๖/๒๕๑) @ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๓๗๓/๓๐๑, ม.มู. (แปล) ๑๒/๑๐๖/๑๐๑, สํ.ม. (แปล) ๑๙/๓๖๗/๒๑๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๔๐}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๘. สติปัฏฐานกถา

สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐานใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะพระเจ้า จักรพรรดิปรากฏ แก้ว ๗ ประการจึงปรากฏ แก้ว ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ (๑) จักรแก้ว (๒) ช้างแก้ว (๓) ม้าแก้ว (๔) มณีแก้ว (๕) นางแก้ว (๖) คหบดีแก้ว (๗) ปริณายกแก้ว เพราะพระเจ้าจักรพรรดิปรากฏ แก้ว ๗ ประการนี้จึงปรากฏ ภิกษุทั้งหลาย เพราะตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าปรากฏ แก้วคือโพชฌงค์ ๗ ประการจึงปรากฏ แก้ว ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ (๑) แก้วคือสติสัมโพชฌงค์ (๒) แก้วคือธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (๓) แก้วคือวิริยสัมโพชฌงค์ (๔) แก้วคือปีติ- สัมโพชฌงค์ (๕) แก้วคือปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (๖) แก้วคือสมาธิสัมโพชฌงค์ (๗) แก้วคืออุเบกขาสัมโพชฌงค์ เพราะตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าปรากฏ แก้วคือโพชฌงค์ ๗ ประการนี้จึงปรากฏ”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. เพราะตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าปรากฏ สภาวธรรมทั้งปวงที่ เป็นแก้วคือสติสัมโพชฌงค์จึงปรากฏใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐานใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสัมมัปปธาน ฯลฯ เป็นอิทธิบาท ฯลฯ เป็น อินทรีย์ ฯลฯ เป็นพละ ฯลฯ เป็นโพชฌงค์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สติปัฏฐานกถา จบ
@เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.ม. (แปล) ๑๙/๒๒๓/๑๕๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๔๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๒๓๖-๒๔๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka3/m_siri.php?B=37&siri=28              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=37&A=5051&Z=5181                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=426              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=426&items=11              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=4022              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=426&items=11              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=4022                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv1.9/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :