ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๙. เหวัตถีติกถา

๙. เหวัตถีติกถา
ว่าด้วยสภาวธรรมที่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้
[๓๐๔] สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม ปร.๑- สภาวธรรมที่เป็นอดีตมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ แต่ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้๒- สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวะที่มีอยู่ก็คือสภาวะที่ไม่มีอยู่ สภาวะที่ไม่มีอยู่ก็คือสภาวะที่มีอยู่ ความมีอยู่ก็คือความไม่มีอยู่ ความไม่มีอยู่ก็คือความมีอยู่ บัญญัติว่า “มีอยู่” กับ “ไม่มีอยู่” หรือบัญญัติว่า “ไม่มีอยู่” กับ “มีอยู่” นี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตมีอยู่ใช่ไหม ปร. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยสภาวะ อย่างนี้ สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๐๔/๑๘๐) @ เพราะมีความเห็นว่า สภาวธรรมที่เป็นอดีตจะเปลี่ยนไปเป็นสภาวธรรมที่เป็นอนาคตและปัจจุบันไม่ได้กล่าว @คือสภาวธรรมที่เป็นอดีตก็มีอยู่โดยความเป็นอดีตอันเป็นสภาวะของตนเอง(สกภาว) ไม่เปลี่ยนเป็นอนาคต @และปัจจุบัน อันเป็นสภาวะอื่น(ปรภาว) (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๐๔/๑๘๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๔๒}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๙. เหวัตถีติกถา

สก. สภาวะที่มีอยู่ก็คือสภาวะที่ไม่มีอยู่ สภาวะที่ไม่มีอยู่ก็คือสภาวะที่มีอยู่ ความมีอยู่ก็คือความไม่มีอยู่ ความไม่มีอยู่ก็คือความมีอยู่ บัญญัติว่า “มีอยู่” กับ “ไม่มีอยู่” หรือบัญญัติว่า “ไม่มีอยู่” กับ “มีอยู่” นี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม ปร. สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ สก. สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวะที่มีอยู่ก็คือสภาวะที่ไม่มีอยู่ ฯลฯ นี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๓๐๕] สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ แต่ไม่มีอยู่โดยสภาวะ อย่างนี้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. มีอยู่โดยสภาวะอย่างไร ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างไร ปร. สภาวธรรมที่เป็นอดีตมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นอดีต” ไม่มีอยู่ โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นอนาคต” ไม่มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นปัจจุบัน” สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่ และไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๔๓}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๙. เหวัตถีติกถา

สก. สภาวะที่มีอยู่ก็คือสภาวะที่ไม่มีอยู่ สภาวะที่ไม่มีอยู่ก็คือสภาวะที่มีอยู่ ความมีอยู่ก็คือความไม่มีอยู่ ความไม่มีอยู่ก็คือความมีอยู่ บัญญัติว่า “มีอยู่” กับ “ไม่มีอยู่” หรือบัญญัติว่า “ไม่มีอยู่” กับ “มีอยู่” นี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ แต่ไม่มีอยู่โดยสภาวะ อย่างนี้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตมีอยู่โดยสภาวะอย่างไร ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างไร ปร. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นอนาคต” ไม่มี อยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นอดีต” ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นปัจจุบัน” สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวะที่มีอยู่ก็คือสภาวะที่ไม่มีอยู่ สภาวะที่ไม่มีอยู่ก็คือสภาวะที่มีอยู่ ฯลฯ นี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ แต่ไม่มีอยู่โดยสภาวะ อย่างนี้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. มีอยู่โดยสภาวะอย่างไร ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างไร ปร. สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นปัจจุบัน” ไม่มี อยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นอดีต” ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นอนาคต” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๔๔}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๙. เหวัตถีติกถา

สก. สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวะที่มีอยู่ก็คือสภาวะที่ไม่มีอยู่ ฯลฯ นี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นอดีตมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่ โดยสภาวะอย่างนี้ สภาวธรรมที่เป็นอนาคตมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยสภาวะ อย่างนี้ สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. สภาวธรรมที่เป็นอดีตมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นอนาคต” มีอยู่ โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นปัจจุบัน” สภาวธรรมที่เป็นอนาคตมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นอดีต” มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นปัจจุบัน” สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นอดีต” มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นอนาคต” ใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. ดังนั้น สภาวธรรมที่เป็นอดีตก็มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดย สภาวะอย่างนี้ สภาวธรรมที่เป็นอนาคตมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยสภาวะ อย่างนี้ สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ [๓๐๖] สก. รูปมีอยู่ใช่ไหม ปร. มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ สก. รูปอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๔๕}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๙. เหวัตถีติกถา

สก. รูปอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวะที่มีอยู่ก็คือสภาวะที่ไม่มีอยู่ สภาวะที่ไม่มีอยู่ก็คือสภาวะที่มีอยู่ ความมีอยู่ก็คือความไม่มีอยู่ ความไม่มีอยู่ก็คือความมีอยู่ บัญญัติว่า “มีอยู่” กับ “ไม่มีอยู่” หรือบัญญัติว่า “ไม่มีอยู่” กับ “มีอยู่” นี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณมีอยู่ใช่ไหม ปร. มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ สก. วิญญาณอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. วิญญาณอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวะที่มีอยู่ก็คือสภาวะที่ไม่มีอยู่ ฯลฯ เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. รูปมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปมีอยู่โดยสภาวะอย่างไร ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างไร ปร. รูปมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นรูป” รูปไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นเวทนา ฯลฯ เป็นสัญญา ฯลฯ เป็นสังขาร ฯลฯ เป็นวิญญาณ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๔๖}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๙. เหวัตถีติกถา

สก. รูปอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. รูปอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวะที่มีอยู่ก็คือสภาวะที่ไม่มีอยู่ ฯลฯ เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. วิญญาณมีอยู่โดยสภาวะอย่างไร ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างไร ปร. วิญญาณมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่าเป็น “วิญญาณ” วิญญาณไม่มีอยู่ โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นรูป ฯลฯ เป็นเวทนา ฯลฯ เป็นสัญญา ฯลฯ เป็นสังขาร” สก. วิญญาณอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. วิญญาณอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวะที่มีอยู่ก็คือสภาวะที่ไม่มีอยู่ ฯลฯ เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “รูปมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่ โดยสภาวะอย่างนี้” ใช่ไหม สก. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๔๗}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

รวมกถาที่มีในวรรค

ปร. รูปมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นเวทนา ฯลฯ เป็นสัญญา ฯลฯ เป็นสังขาร ฯลฯ เป็นวิญญาณ” เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นรูป” วิญญาณมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นเวทนา” วิญญาณมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นสัญญา” วิญญาณมีอยู่ โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นสังขาร” ใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. ดังนั้น รูปจึงมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มี อยู่โดยสภาวะอย่างนี้
เหวัตถีติกถา จบ
มหาวรรคที่ ๑ จบ
รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปุคคลกถา ๒. ปริหานิกถา ๓. พรหมจริยกถา (ก) ๓. โอธิโสกถา (ข) ๔. ชหติกถา ๕. สัพพมัตถีติกถา ๖. อตีตักขันธาทิกถา ๗. เอกัจจมัตถีติกถา ๘. สติปัฏฐานกถา ๙. เหวัตถีติกถา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๔๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๒๔๒-๒๔๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka3/m_siri.php?B=37&siri=29              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=37&A=5182&Z=5331                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=437              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=437&items=9              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=4048              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=437&items=9              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=4048                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv1.10/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :