ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์
๕. วจีเภทกถา (๑๔)
ว่าด้วยการเปล่งวาจา
[๓๒๖] สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ในโอกาสทั้งปวง๓- ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๔- ฯลฯ สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ในกาลทั้งปวงใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๕- ฯลฯ สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๒๖/๑๘๓) @ เพราะมีความเห็นว่า ในขณะที่บุคคลบรรลุโสดาปัตติผล จะมีการเปล่งเสียงว่า ทุกข์ @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๒๖/๑๘๓) @ โอกาสทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงภพ ๓ คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๒๖/๑๘๓) @ เพราะหมายเอารูปภพอย่างเดียว จึงตอบปฏิเสธ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๒๖/๑๘๓) @ เพราะหมายเอากาลที่เข้าสมาบัติอื่นนอกจากการเข้าปฐมฌานในขณะโสดาปัตติมรรค จึงตอบปฏิเสธ @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๒๖/๑๘๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๙๑}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]

๕. วจีเภทกถา (๑๔)

สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานทั้งปวงมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑- ฯลฯ สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. การเปล่งวาจามีอยู่ในสมาบัติทั้งปวงใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. การเคลื่อนไหวกายของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. การเคลื่อนไหวกายของผู้เข้าฌานไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานไม่มีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. วาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ การเปล่งวาจาก็มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กายของผู้เข้าฌานมีอยู่ การเคลื่อนไหวกายก็มีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กายของผู้เข้าฌานมีอยู่ การเคลื่อนไหวกายไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. วาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ (แต่)การเปล่งวาจาไม่มีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ เพราะหมายเอาผู้เข้าโลกิยสมาบัติเท่านั้น จึงตอบปฏิเสธ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๒๖/๑๘๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๙๒}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]

๕. วจีเภทกถา (๑๔)

[๓๒๗] สก. เมื่อรู้ว่าทุกข์ ย่อมเปล่งวาจาว่าทุกข์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เมื่อรู้ว่าสมุทัย ย่อมเปล่งวาจาว่าสมุทัยใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เมื่อรู้ว่าทุกข์ ย่อมเปล่งวาจาว่าทุกข์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เมื่อรู้ว่านิโรธ ย่อมเปล่งวาจาว่านิโรธใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เมื่อรู้ว่าทุกข์ ย่อมเปล่งวาจาว่าทุกข์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เมื่อรู้ว่ามรรค ย่อมเปล่งวาจาว่ามรรคใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เมื่อรู้ว่าสมุทัย แต่ไม่เปล่งวาจาว่าสมุทัยใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เมื่อรู้ว่าทุกข์ แต่ไม่เปล่งวาจาว่าทุกข์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เมื่อรู้ว่านิโรธ แต่ไม่เปล่งวาจาว่านิโรธใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เมื่อรู้ว่าทุกข์ แต่ไม่เปล่งวาจาว่าทุกข์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เมื่อรู้ว่ามรรค แต่ไม่เปล่งวาจาว่ามรรคใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เมื่อรู้ว่าทุกข์ แต่ไม่เปล่งวาจาว่าทุกข์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๙๓}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]

๕. วจีเภทกถา (๑๔)

[๓๒๘] สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌาน มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ญาณ๑- มีอะไรเป็นโคจร ปร. ญาณมีสัจจะเป็นโคจร สก. โสตะ๒- มีสัจจะเป็นโคจรใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. โสตะมีอะไรเป็นโคจร ปร. โสตะมีเสียงเป็นโคจร สก. ญาณมีเสียงเป็นโคจรใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ ญาณมีสัจจะเป็นโคจร โสตะมีเสียง เป็นโคจรใช่ไหม ปร. ใช่ สก. หากญาณมีสัจจะเป็นโคจร โสตะมีเสียงเป็นโคจร ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่” สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ ญาณมีสัจจะเป็นโคจร โสตะมีเสียง เป็นโคจรใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ญาณ ในที่นี้หมายถึงสัจจญาณ ๔ ซึ่งเป็นโลกุตตระ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๒๘/๑๘๔) @ โสตะ ในที่นี้หมายถึงโสตวิญญาณ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๒๘/๑๘๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๙๔}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]

๕. วจีเภทกถา (๑๔)

สก. การประชุมแห่งผัสสะ ๒ เวทนา ๒ สัญญา ๒ เจตนา ๒ จิต ๒ มีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๓๒๙] สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าสมาบัติที่มีอาโปกสิณ ฯลฯ มีเตโชกสิณ ฯลฯ มีวาโยกสิณ ฯลฯ มีนีลกสิณ ฯลฯ มีปีตกสิณ ฯลฯ มีโลหิตกสิณ ฯลฯ มีโอทาตกสิณ ฯลฯ มีอากาสานัญจายตนะ ฯลฯ มีวิญญาณัญจายตนะ ฯลฯ มีอากิญจัญญายตนะ ฯลฯ มีเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นอารมณ์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. หากการเปล่งวาจาของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ไม่มี ท่าน ก็ไม่ควรยอมรับว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่” สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าสมาบัติที่มีอาโปกสิณ ฯลฯ มีเตโชกสิณ ฯลฯ มีวาโยกสิณ ฯลฯ มีนีลกสิณ ฯลฯ มีปีตกสิณ ฯลฯ มีโลหิตกสิณ ฯลฯ มีโอทาตกสิณ ฯลฯ มีอากาสานัญจายตนะ ฯลฯ มีวิญญาณัญจายตนะ ฯลฯ มีอากิญจัญญายตนะ ฯลฯ มีเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นอารมณ์ไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๙๕}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]

๕. วจีเภทกถา (๑๔)

สก. หากการเปล่งวาจาของผู้เข้าสมาบัติที่มีเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็น อารมณ์ไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่” สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกิยสมาบัติมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกิยปฐมฌานมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกิยทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน มีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกิยสมาบัติไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. หากการเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกิยสมาบัติไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่” สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกิยปฐมฌานไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. หากการเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกิยปฐมฌานไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๙๖}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]

๕. วจีเภทกถา (๑๔)

สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกิยทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน ไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. หากการเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกิยจตุตถฌานไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่” [๓๓๐] สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกุตตรปฐมฌานมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกิยปฐมฌานมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกุตตรปฐมฌานมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกิยทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน มีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกิยปฐมฌานไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกุตตรปฐมฌานไม่มีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกิยทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน ไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกุตตรปฐมฌานไม่มีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๙๗}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]

๕. วจีเภทกถา (๑๔)

[๓๓๑] สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกุตตรปฐมฌานมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกุตตรทุติยฌานมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกุตตรปฐมฌานมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกุตตรตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌานมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกุตตรทุติยฌานไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกุตตรปฐมฌานไม่มีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกุตตรทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถ- ฌานไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกุตตรปฐมฌานไม่มีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๓๓๒] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสว่าวิตกและวิจารเป็นวจีสังขาร (เครื่องปรุงแต่ง วาจา) วิตกและวิจารของผู้เข้าปฐมฌานมีอยู่ใช่ไหม สก. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๙๘}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]

๕. วจีเภทกถา (๑๔)

ปร. หากพระผู้มีพระภาคตรัสว่าวิตกและวิจารเป็นวจีสังขาร วิตกและวิจาร ของผู้เข้าปฐมฌานมีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้า ฌานมีอยู่” สก. พระผู้มีพระภาคตรัสว่าวิตกและวิจารเป็นวจีสังขาร วิตกและวิจารของผู้ เข้าปฐมฌานมีอยู่ เพราะเหตุนั้น การเปล่งวาจาของผู้นั้นจึงมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. วิตกและวิจารของผู้เข้าปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์มีอยู่ การ เปล่งวาจาของผู้นั้นมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระผู้มีพระภาคตรัสว่าวิตกและวิจารเป็นวจีสังขาร วิตกและวิจารของผู้ เข้าปฐมฌานมีอยู่ เพราะเหตุนั้น การเปล่งวาจาของผู้นั้นจึงมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. วิตกและวิจารของผู้เข้าปฐมฌานที่มีอาโปกสิณ ฯลฯ มีเตโชกสิณ ฯลฯ มีวาโยกสิณ ฯลฯ มีนีลกสิณ ฯลฯ มีปีตกสิณ ฯลฯ มีโลหิตกสิณ ฯลฯ มีโอทาตกสิณเป็นอารมณ์มีอยู่ การเปล่งวาจาของผู้นั้นมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสว่าวาจามีวิตกเป็นสมุฏฐาน วิตกและวิจารของผู้ เข้าปฐมฌานมีอยู่ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. หากพระผู้มีพระภาคตรัสว่าวาจามีวิตกเป็นสมุฏฐาน วิตกและวิจาร ของผู้เข้าปฐมฌานมีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้า ฌานมีอยู่” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๙๙}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]

๕. วจีเภทกถา (๑๔)

สก. พระผู้มีพระภาคตรัสว่าวาจามีวิตกเป็นสมุฏฐาน วิตกและวิจารของผู้ เข้าปฐมฌานมีอยู่ เพราะเหตุนั้น การเปล่งวาจาของผู้นั้นจึงมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระผู้มีพระภาคตรัสว่าวาจามีสัญญาเป็นสมุฏฐาน สัญญาของผู้เข้า ทุติยฌานมีอยู่ วิตกและวิจารของผู้นั้นจึงมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระผู้พระภาคตรัสว่าวาจามีวิตกเป็นสมุฏฐาน วิตกและวิจารของผู้เข้า ปฐมฌานมีอยู่ เพราะเหตุนั้น การเปล่งวาจาของผู้นั้นจึงมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระผู้มีพระภาคตรัสว่าวาจามีสัญญาเป็นสมุฏฐาน สัญญาของผู้เข้า ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน ฯลฯ อากาสานัญจายตนะ ฯลฯ วิญญาณัญจายตนะ ฯลฯ อากิญจัญญายตนะ มีอยู่ วิตกและวิจารของผู้นั้นมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๓๓๓] สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่ว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้าปฐมฌานดับไป”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากพระสูตรที่ว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้าปฐมฌานดับไป” มีอยู่จริง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่” สก. พระสูตรที่ว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้าปฐมฌานดับไป” มีอยู่จริง เพราะ เหตุนั้น การเปล่งวาจาของผู้นั้นจึงมีอยู่ ใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๒๖๓/๒๘๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๐๐}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]

๕. วจีเภทกถา (๑๔)

สก. พระสูตรที่ว่า “วิตกและวิจารของผู้เข้าทุติยฌานดับไป” มีอยู่จริง เพราะ เหตุนั้น วิตกและวิจารของผู้นั้นจึงมีอยู่ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระสูตรที่ว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้าปฐมฌานดับไป” มีอยู่จริง เพราะ เหตุนั้น การเปล่งวาจาของผู้นั้นจึงมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่ว่า “ปีติของผู้เข้าตติยฌานดับไป ลมอัสสาสะปัสสาสะของผู้เข้า จตุตถฌานดับไป รูปสัญญาของผู้เข้าอากาสานัญจายตนะดับไป อากาสานัญจา- ยตนสัญญาของผู้เข้าวิญญาณัญจายตนะดับไป วิญญาณัญจายตนสัญญาของผู้เข้า อากิญจัญญายตนะดับไป อากิญจัญญายตนสัญญาของผู้เข้าเนวสัญญานา- สัญญายตนะดับไป สัญญาและเวทนาของผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธดับไป”๑- มีอยู่จริง เพราะเหตุนั้น สัญญาและเวทนาของผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นจึงมีอยู่ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. เสียงพระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อปฐมฌาน๒- มิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. หากพระผู้มีพระภาคตรัสว่าเสียงเป็นปฏิปักษ์ต่อปฐมฌาน เพราะเหตุนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่” สก. พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเสียงเป็นปฏิปักษ์ต่อปฐมฌาน เพราะเหตุนั้น การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานจึงมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๒๖๓/๒๘๙ @ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๗๒/๑๕๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๐๑}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]

๕. วจีเภทกถา (๑๔)

สก. พระผู้มีพระภาคตรัสว่าวิตกและวิจารเป็นปฏิปักษ์ต่อทุติยฌาน ฯลฯ ตรัสว่าปีติเป็นปฏิปักษ์ต่อตติยฌาน ตรัสว่าลมอัสสาสะปัสสาสะเป็นปฏิปักษ์ต่อ จตุตถฌาน ตรัสว่ารูปสัญญาเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้เข้าอากาสานัญจายตนะ ตรัสว่า อากาสานัญจายตนสัญญาเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้เข้าวิญญาณัญจายตนะ ตรัสว่า วิญญาณัญจายตนสัญญาเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้เข้าอากิญจัญญายตนะ ตรัสว่า อากิญจัญญายตนสัญญาเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ ตรัสว่า สัญญาและเวทนาเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาของผู้ เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “อานนท์ สาวกชื่อว่าอภิภูของ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี สถิตอยู่ในพรหมโลก ได้ประกาศให้หมื่นจักรวาลทราบด้วยเสียงว่า “ท่านทั้งหลายจงปรารภความเพียร จงทำความเพียรอย่าหยุดยั้ง จงประกอบความเพียรในพระพุทธศาสนา จงกำจัดกองทัพแห่งมัจจุ เหมือนช้างกำจัดเรือนต้นอ้อ ฉะนั้น ผู้ที่ไม่ประมาทอยู่ในพระธรรมวินัยนี้ ละการเวียนว่ายตายเกิดแล้ว จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. ดังนั้น การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานจึงมีอยู่
วจีเภทกถา จบ
@เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.ส. (แปล) ๑๕/๑๘๕/๒๕๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๐๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๒๙๑-๓๐๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka3/m_siri.php?B=37&siri=34              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=37&A=6354&Z=6628                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=575              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=575&items=47              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=4110              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=575&items=47              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=4110                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv2.5/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :