ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์
๒. อริยันติกถา (๒๒)
ว่าด้วยความเป็นอริยะ
[๓๕๗] สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและ อฐานะเป็นอริยะใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. กำลังของพระตถาคต เป็นมรรค ผล นิพพาน โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค อรหัตตผล สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๕๗/๑๙๑) @ เพราะมีความเห็นว่า ทสพลญาณเป็นโลกุตตระ ไม่ใช่โลกิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๕๗/๑๙๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๔๕}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค]

๒. อริยันติกถา (๒๒)

สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ เป็นอริยะใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กำลังของพระตถาคตมีสุญญตะ๑- เป็นอารมณ์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กำลังของพระตถาคตมีสุญญตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระตถาคตทรงใฝ่พระทัยถึงฐานะ อฐานะ และสุญญตะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระตถาคตทรงใฝ่พระทัยถึงฐานะ อฐานะ และสุญญตะใช่ไหม ปร. ใช่ สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง จิต ๒ ดวงใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและ อฐานะเป็นอริยะใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กำลังของพระตถาคตมีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็น อารมณ์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กำลังของพระตถาคตมีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ สุญญตะ ในที่นี้หมายถึงสุญญตะ ๒ อย่าง คือ (๑) สัตตสุญญตะ ว่างจากสัตว์ หมายถึงเบญจขันธ์ @(๒) สังขารสุญญตะ ว่างจากสังขารทั้งปวง หมายถึงนิพพาน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๕๗/๑๙๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๔๖}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค]

๒. อริยันติกถา (๒๒)

สก. พระตถาคตทรงใฝ่พระทัยถึงฐานะ อฐานะ และอัปปณิหิตะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระตถาคตทรงใฝ่พระทัยถึงฐานะ อฐานะ และอัปปณิหิตะใช่ไหม ปร. ใช่ สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง จิต ๒ ดวงใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๓๕๘] สก. สติปัฏฐานเป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ เป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สติปัฏฐานเป็นอริยะ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็น อารมณ์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ เป็นอริยะ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ เป็นอริยะ มีสุญญตะเป็น อารมณ์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ เป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๔๗}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค]

๒. อริยันติกถา (๒๒)

สก. โพชฌงค์เป็นอริยะ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ เป็นอริยะ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๓๕๙] สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและ อฐานะเป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีสุญญตะเป็นอารมณ์” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สติปัฏฐานเป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีสุญญตะเป็นอารมณ์” ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ เป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สติปัฏฐานเป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์” ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ เป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีสุญญตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์” ใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๔๘}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค]

๒. อริยันติกถา (๒๒)

สก. สัมมัปปธาน โพชฌงค์เป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีอัปปณิหิตะ เป็นอารมณ์” ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๓๖๐] สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและ ปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายเป็นอริยะใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กำลังของพระตถาคตเป็นมรรค ผล นิพพาน โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล ฯลฯ โพชฌงค์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและปฏิสนธิ ของสัตว์ทั้งหลายเป็นอริยะใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กำลังของพระตถาคตมีสุญญตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กำลังของพระตถาคตมีสุญญตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระตถาคตทรงใฝ่พระทัยถึงจุติ ปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย และสุญญตะ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระตถาคตทรงใฝ่พระทัยถึงจุติ ปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย และสุญญตะ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง จิต ๒ ดวงใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๔๙}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค]

๒. อริยันติกถา (๒๒)

สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและปฏิสนธิ ของสัตว์ทั้งหลายเป็นอริยะใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กำลังของพระตถาคตมีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็น อารมณ์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กำลังของพระตถาคตมีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระตถาคตทรงใฝ่พระทัยถึงจุติ ปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย และอัปปณิหิตะ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระตถาคตทรงใฝ่พระทัยถึงจุติ ปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย และอัปปณิหิตะ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง จิต ๒ ดวงใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๓๖๑] สก. สติปัฏฐานเป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอนิมิตตะเป็น อารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและปฏิสนธิของ สัตว์ทั้งหลายเป็นอริยะ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สัมมัปปธาน ฯลฯ โพชฌงค์เป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๕๐}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค]

๒. อริยันติกถา (๒๒)

สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและปฏิสนธิ ของสัตว์ทั้งหลายเป็นอริยะ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและปฏิสนธิ ของสัตว์ทั้งหลายเป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีสุญญตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สติปัฏฐานเป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์” ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๓๖๒] สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและ ปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายเป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีสุญญตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สัมมัปปธาน ฯลฯ โพชฌงค์เป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีอัปปณิหิตะ เป็นอารมณ์” ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง อาสวะเป็นอริยะใช่ไหม สก. ใช่ ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ เป็นอริยะใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง อาสวะเป็นอริยะใช่ไหม สก. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๕๑}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค]

๒. อริยันติกถา (๒๒)

ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและปฏิสนธิ ของสัตว์ทั้งหลายเป็นอริยะใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็นอริยะ” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง อาสวะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็นอริยะ” ใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและปฏิสนธิ ของสัตว์ทั้งหลาย แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็นอริยะ” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง อาสวะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็นอริยะ” ใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง อาสวะเป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ เป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง อาสวะเป็นอริยะ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มี อัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม สก. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๕๒}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค]

๒. อริยันติกถา (๒๒)

ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ เป็นอริยะ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง อาสวะเป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มี อัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม สก. ใช่ ฯลฯ ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและปฏิสนธิ ของสัตว์ทั้งหลายเป็นอริยะ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ เป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีสุญญตะเป็นอารมณ์” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง อาสวะเป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีสุญญตะเป็นอารมณ์” ใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ เป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง อาสวะเป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์” ใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๕๓}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค]

๓. วิมุตติกถา (๒๓)

ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและปฏิสนธิของ สัตว์ทั้งหลายเป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีสุญญตะเป็นอารมณ์ มีอนิมิตตะ เป็นอารมณ์ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง อาสวะเป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์” ใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อริยันติกถา จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๓๔๕-๓๕๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka3/m_siri.php?B=37&siri=42              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=37&A=7573&Z=7779                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=720              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=720&items=18              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=4292              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=720&items=18              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=4292                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv3.2/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :