ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์
๑๐. สังวรกถา (๓๐)
ว่าด้วยความสำรวม
[๓๗๙] สก. ความสำรวม๗- มีอยู่ในหมู่เทวดา๘- ใช่ไหม ปร.๙- ใช่ สก. ความไม่สำรวมมีอยู่ในหมู่เทวดาใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ความไม่สำรวมไม่มีในหมู่เทวดาใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ปุพเพนิวาสญาณ หมายถึงปรีชาหยั่งรู้ถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนทั้งของตนและของผู้อื่นได้ @(ขุ.เถร.อ. ๒/๙๙๖/๔๔๓) @๒-๖ ทิพพจักขุญาณ หมายถึงญาณให้มีตาทิพย์ @เจโตปริยญาณ หมายถึงปรีชากำหนดรู้ใจผู้อื่นได้ @อิทธิวิธญาณ หมายถึงญาณที่ทำให้แสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ @ทิพพโสตญาณ หมายถึงญาณพิเศษที่ทำให้มีหูทิพย์ @จุตูปปาตญาณ หมายถึงปรีชาหยั่งรู้จุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย @(ดูเทียบ ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๙๙๖/๕๐๓, ขุ.เถร.อ. ๒/๙๙๖/๔๓๕) @ ความสำรวม หมายถึงเจตนาระวังมิให้ล่วงละเมิดศีล ๕ มีปาณาติบาตเป็นต้น แต่ฝ่ายปรวาทีเข้าใจผิดว่า @การไม่ล่วงละเมิด ศีล ๕ เป็นสังวร (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๗๙/๑๙๙) @ หมู่เทวดา ในที่นี้หมายถึงเทวดาชั้นดาวดึงส์ขึ้นไป (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๗๙/๑๙๙, มูลฏีกา ๓/๘๔, @อนุฏีกา ๓/๑๒๙-๑๓๐) @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ และนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๗๓/๑๙๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๘๒}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค]

๑๐. สังวรกถา (๓๐)

สก. ความสำรวมไม่มีในหมู่เทวดาใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ความสำรวมจากความไม่สำรวมเป็นศีล ความสำรวมมีอยู่ในหมู่เทวดา มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ความสำรวมจากความไม่สำรวมใดเป็นศีล ความไม่สำรวมนั้นมีอยู่ใน หมู่เทวดาใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้ หากความสำรวมจากความไม่สำรวมเป็นศีล และความสำรวมมีอยู่ในหมู่เทวดา ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ความสำรวมจากความไม่สำรวมใดเป็นศีล ความ ไม่สำรวมนั้นมีอยู่ในหมู่เทวดา” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้า ยอมรับว่า ความสำรวมจากความไม่สำรวมเป็นศีล ความสำรวมมีอยู่ในหมู่เทวดา แต่ไม่ยอมรับว่า ความสำรวมจากความไม่สำรวมใดเป็นศีล ความไม่สำรวมนั้นมี อยู่ในหมู่เทวดา” คำนั้นของท่านจึงผิด อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “ความสำรวมจากความไม่สำรวมใดเป็นศีล ความไม่สำรวมนั้นมีอยู่ในหมู่เทวดา” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ความสำรวมจาก ความไม่สำรวมเป็นศีล ความสำรวมมีอยู่ในหมู่เทวดา” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดใน ตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ความสำรวมจากความไม่สำรวมเป็นศีล ความ สำรวมมีอยู่ในหมู่เทวดา แต่ไม่ยอมรับว่า ความสำรวมจากความไม่สำรวมใดเป็นศีล ความไม่สำรวมนั้นมีอยู่ในหมู่เทวดา” คำนั้นของท่านจึงผิด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๘๓}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค]

๑๐. สังวรกถา (๓๐)

สก. ความสำรวมมีอยู่ในหมู่มนุษย์ ความไม่สำรวมก็มีอยู่ในหมู่มนุษย์นั้น ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ความสำรวมมีอยู่ในหมู่เทวดา ความไม่สำรวมก็มีอยู่ในหมู่เทวดานั้น ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ความสำรวมมีอยู่ในหมู่เทวดา แต่ความไม่สำรวมไม่มีในหมู่เทวดานั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ความสำรวมมีอยู่ในหมู่มนุษย์ แต่ความไม่สำรวมไม่มีในหมู่มนุษย์นั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๓๘๐] สก. การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์มีอยู่ในหมู่เทวดาใช่ไหม ปร. ใช่ สก. การฆ่าสัตว์มีอยู่ในหมู่เทวดาใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. การงดเว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ ประมาทมีอยู่ในหมู่เทวดาใช่ไหม ปร. ใช่ สก. การเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทมีอยู่ ในหมู่เทวดาใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๘๔}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค]

๑๐. สังวรกถา (๓๐)

สก. การฆ่าสัตว์ไม่มีในหมู่เทวดาใช่ไหม ปร. ใช่ สก. การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ไม่มีในหมู่เทวดาใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. การเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทไม่มี ในหมู่เทวดาใช่ไหม ปร. ใช่ สก. การงดเว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ ประมาทไม่มีในหมู่เทวดาใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์มีอยู่ในหมู่มนุษย์ การฆ่าสัตว์ก็มีอยู่ในหมู่ มนุษย์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์มีอยู่ในหมู่เทวดา การฆ่าสัตว์ก็มีอยู่ในหมู่ เทวดานั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. การงดเว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ ประมาทมีอยู่ในหมู่มนุษย์(และ)การเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุ แห่งความประมาทก็มีอยู่ในหมู่มนุษย์นั้นใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๘๕}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค]

๑๐. สังวรกถา (๓๐)

สก. การงดเว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ ประมาทมีอยู่ในหมู่เทวดา(และ)การเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุ แห่งความประมาทก็มีอยู่ในหมู่เทวดานั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์มีอยู่ในหมู่เทวดา แต่การฆ่าสัตว์ไม่มีในหมู่ เทวดานั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์มีอยู่ในหมู่มนุษย์ แต่การฆ่าสัตว์ไม่มีในหมู่ มนุษย์นั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. การงดเว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ ประมาทมีอยู่ในหมู่เทวดา(แต่)การเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่ง ความประมาทไม่มีในหมู่เทวดานั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. การงดเว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ ประมาทมีอยู่ในหมู่มนุษย์(แต่)การเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่ง ความประมาทไม่มีในหมู่มนุษย์นั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. ความสำรวมไม่มีในหมู่เทวดาใช่ไหม สก. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๘๖}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค]

๑๑. อสัญญกถา (๓๑)

ปร. เทวดาทั้งปวงเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ประพฤติ ผิดในกาม พูดเท็จ เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท ใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. ดังนั้น ความสำรวมจึงมีอยู่ในหมู่เทวดา
สังวรกถา จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๓๘๒-๓๘๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka3/m_siri.php?B=37&siri=50              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=37&A=8397&Z=8492                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=828              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=828&items=10              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=4472              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=828&items=10              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=4472                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv3.10/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :