ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

๕. สุทธิกสังสันทนะ
การเทียบเคียงบุคคลกับสภาวธรรมล้วนๆ๑-
[๑๗] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดย สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๒- สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้ หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐ- ปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่าน กล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดย สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า รูปกับ บุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านก็ไม่ ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดย สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ [๑๘] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้เวทนาได้โดย สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้สัญญา ฯลฯ ดุจหยั่งรู้สังขาร ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ หมายถึงตอนที่ว่าด้วยการซักถามถึงการเปรียบเทียบบุคคลกับสภาวธรรมแต่ละอย่างในสภาวธรรม ๕๗ @ประการ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๗-๒๗/๑๓๘-๑๓๙) @ เพราะมีความเห็นว่า ถ้าตอบรับก็จะขัดกับลัทธิของตนที่ว่ามีสภาพบางอย่างที่เป็นบุคคลซึ่งถือว่าเหมือน @กับรูปก็มิใช่ ต่างกับรูปก็มิใช่ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๗-๒๗/๑๓๘-๑๓๙, อภิ.มูลฏีกา ๓/๑๗-๒๗/๖๑-๖๒, @อภิ.อนุฏีกา ๓/๑๗-๒๗/๘๕-๘๖) และขัดกับพระสูตรที่ว่า พระผู้มีพระภาคไม่ทรงตอบปัญหาในเรื่องนี้ @(สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๔๑๖/๔๘๔-๔๘๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๖}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

สก. วิญญาณกับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้ หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐ- ปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “วิญญาณกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคล ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า วิญญาณกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “วิญญาณกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านก็ ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณ ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า วิญญาณกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ [๑๙] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้จักขายตนะได้ โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้โสตายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ฆานายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ชิวหายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้กายายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้รูปายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้สัททายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้คันธายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้รสายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้มนายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ธัมมายตนะได้ โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ [๒๐] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้จักขุธาตุได้โดย สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้โสตธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ฆานธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ ชิวหาธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้กายธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้รูปธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้สัททธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้คันธธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้รสธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้โผฏฐัพพธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้จักขุวิญญาณธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้โสตวิญญาณธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๗}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

ฆานวิญญาณธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ชิวหาวิญญาณธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้กายวิญญาณ ธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้มโนธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้มโนวิญญาณธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ ธัมมธาตุได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ [๒๑] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้จักขุนทรีย์ได้โดย สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้โสตินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ฆานินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ชิวหินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้กายินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้มนินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ชีวิตินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้อิตถินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ปุริสินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้สุขินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ทุกขินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้โสมนัสสินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้โทมนัสสินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้อุเปกขินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้สัทธินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้วิริยินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้สตินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้สมาธินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ปัญญินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ อัญญินทรีย์ ฯลฯ สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดย สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้ หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดย สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็น คนละอย่างกัน” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดย สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๘}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้ อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญาตา- วินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคน ละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ [๒๒] ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่”๑- และ๒- ท่านหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๓- ปร. ท่านจงรับปฏิกรรม ดังต่อไปนี้ หากพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’ และ ท่านหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “รูปกับบุคคล เป็นคนละอย่างกัน” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’ และข้าพเจ้าหยั่ง รู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๙๖/๑๔๕, อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๗๓/๒๐๕ @ ความข้อนี้แปลต่างกับข้อ ๑๗-๒๑ หน้า ๑๖-๑๘ เพราะข้อความข้างหน้าใช้ในความหมายเปรียบเทียบ @ความเหมือน ส่วนในที่นี้ใช้ในความหมายเปรียบเทียบความแตกต่าง @ เพราะมีความเห็นว่า ปัญหานี้เกี่ยวกับความเหมือนและความต่างระหว่างสมมติ(บุคคล) กับปรมัตถ์ (รูป) @ซึ่งเป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ แต่ต่างกับเหตุผลที่ฝ่ายปรวาทียกขึ้นมาอ้าง @(ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๑๗ หน้า ๑๖ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๗-๒๗/๑๓๙, อภิ.มูลฏีกา ๒/๑๗-๒๗/๖๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๙}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านก็ไม่ ควรยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’ และข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมี อยู่’ และข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า รูปกับบุคคล เป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ [๒๓] ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่” และท่านหยั่งรู้เวทนา ฯลฯ หยั่งรู้สัญญา ฯลฯ หยั่งรู้สังขาร ฯลฯ ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่” และ ท่านหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. วิญญาณกับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ปร. ท่านจงรับปฏิกรรม ดังต่อไปนี้ หากพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’ และ ท่านหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “วิญญาณ กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้า ยอมรับว่า พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู’่ และ ข้าพเจ้าหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า วิญญาณกับบุคคล เป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “วิญญาณกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านก็ ไม่ควรยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’ และข้าพเจ้าหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๐}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

ต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อ เกื้อกูลตนเองมีอยู่’ และข้าพเจ้าหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอม รับว่า วิญญาณกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ [๒๔] ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่” และท่านหยั่งรู้จักขายตนะได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ หยั่งรู้โสตายตนะ ฯลฯ ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่” และ ท่านหยั่งรู้ธัมมายตนะได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ [๒๕] ปร. ท่านหยั่งรู้จักขุธาตุได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ หยั่งรู้กายธาตุ ฯลฯ หยั่งรู้รูปธาตุ ฯลฯ หยั่งรู้โผฏฐัพพธาตุ ฯลฯ หยั่งรู้จักขุวิญญาณธาตุ ฯลฯ หยั่งรู้มโนวิญญาณธาตุ ฯลฯ หยั่งรู้ธัมมธาตุได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ [๒๖] ปร. ท่านหยั่งรู้จักขุนทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ หยั่งรู้โสตินทรีย์ ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ หยั่งรู้อัญญินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ [๒๗] ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่” และท่านหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ปร. ท่านจงรับปฏิกรรม ดังต่อไปนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๑}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

หากพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่” และ ท่านหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง มีอยู่’ และข้าพเจ้าหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน เองมีอยู่’ และข้าพเจ้าหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าว คำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’ และข้าพเจ้าหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดย สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
สุทธิกสังสันทนะ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๑๖-๒๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka3/m_siri.php?B=37&siri=9              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=37&A=270&Z=396                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=17              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=17&items=9              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=3098              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=17&items=9              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=3098                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv1.1/en/aung-rhysdavids#pts-cs1.1.16



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :