ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๐ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๑
อธิปติปัจจัย
[๔๑๓] สภาวธรรมที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกุศลโดยอธิปติ- ปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว พิจารณากุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ออกจากฌานแล้วพิจารณาฌานให้เป็นอารมณ์อย่าง หนักแน่น พระเสขะพิจารณาโคตรภูให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณาโวทาน ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรคให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดย อธิปติปัจจัย (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า : ๒๖๑}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑. กุสลติกะ ๗. ปัญหาวาร

[๔๑๔] สภาวธรรมที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอกุศลโดยอธิปติ- ปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ยินดีเพลิดเพลินกุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำ ความยินดีเพลิดเพลินกุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึง เกิดขึ้น บุคคลยินดีเพลิดเพลินกุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้วให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินกุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น บุคคลออกจากฌานแล้วยินดีเพลิดเพลินฌานให้เป็นอารมณ์อย่าง หนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินฌานนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น (๒) สภาวธรรมที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตโดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอรหันต์ออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรคให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป โดยอธิปติปัจจัย (๓) สภาวธรรมที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤต โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (๔) [๔๑๕] สภาวธรรมที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอกุศลโดย อธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินราคะให้เป็นอารมณ์อย่างหนัก แน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินราคะนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะ จึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น ยินดีเพลิดเพลินทิฏฐิให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินทิฏฐินั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า : ๒๖๒}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑. กุสลติกะ ๗. ปัญหาวาร

สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดย อธิปติปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่ จิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤต โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (๓) [๔๑๖] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอรหันต์พิจารณาผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณานิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น นิพพานเป็นปัจจัยแก่ผลโดยอธิปติ- ปัจจัย สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นอัพยากตวิบากและที่เป็นอัพยากต- กิริยาเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกุศลโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระเสขะพิจารณาผลให้เป็นอารมณ์อย่าง หนักแน่น พิจารณานิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น นิพพานเป็นปัจจัยแก่ โคตรภู โวทาน และมรรคโดยอธิปติปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอกุศลโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินจักษุนั้นให้เป็นอารมณ์อย่าง หนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น ยินดี เพลิดเพลินโสตะ ... ฆานะ ... ชิวหา ... กาย ... รูป ... เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... หทัยวัตถุ ... ขันธ์ที่เป็นอัพยากตวิบากและที่เป็นอัพยากตกิริยาให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินโสตะเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะ จึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า : ๒๖๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔๐ หน้าที่ ๒๖๑-๒๖๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka3/m_siri.php?B=40&siri=44              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=40&A=5900&Z=5961                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=40&i=496              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=40&item=496&items=9              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=11357              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=40&item=496&items=9              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=11357                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu40



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :