ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๑ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๒ ปัจฉิมอนุโลมติกปัฏฐาน

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๒๐. อัชฌัตตติกะ ๗. ปัญหาวาร

๒๐. อัชฌัตตติกะ ๗. ปัญหาวาร
๑. ปัจจยานุโลม ๑. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[๒๗] สภาวธรรมที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายในตน โดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตต- สมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑) สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนโดย เหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตต- สมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑)
อารัมมณปัจจัย
[๒๘] สภาวธรรมที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายในตนโดย อารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้วพิจารณากุศลนั้น พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ พระอริยะออกจาก มรรคแล้วพิจารณามรรค พิจารณาผล พิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว พิจารณากิเลส ที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น เห็นแจ้งจักษุที่เป็นภายในตน ฯลฯ กาย ฯลฯ รูป ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ที่เป็นภายในตนโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุ เป็นต้นนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ อากาสานัญจายตนะเป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ โดยอารัมมณปัจจัย อากิญจัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะโดย อารัมมณปัจจัย รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดย อารัมมณปัจจัย ขันธ์ที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติ- ญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนโดย อารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลอื่นเห็นแจ้งจักษุที่เป็นภายในตน ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๖๐๐}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๒๐. อัชฌัตตติกะ ๗. ปัญหาวาร

ขันธ์ที่เป็นภายในตนโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัส จึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รู้จิตของบุคคล ผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่เป็นภายในตนด้วยเจโตปริยญาณ รูปายตนะที่เป็น ภายในตนเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณที่เป็นภายนอกตน ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะที่ เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณที่เป็นภายนอกตนโดยอารัมมณปัจจัย ขันธ์ ที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่ อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (๒) [๒๙] สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตน โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลอื่นให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้วพิจารณา กุศลนั้น พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ออกจากฌาน ฯลฯ พระอริยะออกจาก มรรคแล้วพิจารณามรรค พิจารณาผล พิจารณานิพพาน นิพพานเป็นปัจจัยแก่ โคตรภู โวทาน มรรค ผล และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย พระอริยะพิจารณา กิเลสที่ละได้แล้ว พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น ฯลฯ บุคคลอื่น เห็นแจ้งจักษุที่เป็นภายนอกตน ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์ที่เป็นภายนอกตนโดยเป็น สภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วย ทิพพโสตธาตุ รู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่เป็นภายนอกตนด้วย เจโตปริยญาณ ฯลฯ อากาสานัญจายตนะเป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะโดย อารัมมณปัจจัย อากิญจัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะโดย อารัมมณปัจจัย รูปายตนะที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณที่เป็นภาย นอกตน ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณที่เป็น ภายนอกตน ฯลฯ ขันธ์ที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดย อารัมมณปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายในตนโดย อารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระอริยะพิจารณานิพพาน นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน มรรค ผล และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย บุคคลเห็นแจ้งจักษุที่เป็น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๖๐๑}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๒๐. อัชฌัตตติกะ ๗. ปัญหาวาร

ภายนอกตน ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ที่เป็นภายนอกตนโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รู้จิต ของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่เป็นภายนอกตนด้วยเจโตปริยญาณ รูปายตนะ ที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณที่เป็นภายในตน ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณที่เป็นภายในตน ฯลฯ ขันธ์ที่เป็นภาย นอกตนเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (๒)
อธิปติปัจจัย
[๓๐] สภาวธรรมที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายในตนโดย อธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว พิจารณากุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ ออกจากฌานแล้ว พิจารณาฌานให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ พระอริยะออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรคให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ พิจารณาผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น บุคคล ยินดีเพลิดเพลินจักษุที่เป็นภายในตน ฯลฯ หทัยวัตถุ ... ขันธ์ที่เป็นภายในตนให้ เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนโดยอธิปติ- ปัจจัยมีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลอื่นยินดีเพลิดเพลินจักษุที่ เป็นภายในตน ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ที่เป็นภายในตนให้เป็นอารมณ์อย่างหนัก แน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๖๐๒}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๒๐. อัชฌัตตติกะ ๗. ปัญหาวาร

[๓๑] สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตน โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ และสหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลอื่นให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว พิจารณากุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้วให้ เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ พระอริยะออกจากมรรคแล้ว พิจารณามรรคให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ พิจารณาผลให้เป็นอารมณ์อย่าง หนักแน่น ฯลฯ พิจารณานิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น นิพพานเป็น ปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน มรรค และผลโดยอธิปติปัจจัย บุคคลยินดีเพลิดเพลิน จักษุที่เป็นภายนอกตน ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ที่เป็นภายนอกตนให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่าง หนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายในตนโดยอธิปติ- ปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอริยะพิจารณานิพพานให้ เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน มรรค และผลโดย อธิปติปัจจัย บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุที่เป็นภายนอกตน ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ที่เป็นภายนอกตนให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลิน จักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น (๒)
อนันตรปัจจัย
[๓๒] สภาวธรรมที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายในตนโดย อนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นภายในตนซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็น ภายในตนซึ่งเกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลมเป็น ปัจจัยแก่โวทาน โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค โวทานเป็นปัจจัยแก่มรรค มรรคเป็น ปัจจัยแก่ผล ผลเป็นปัจจัยแก่ผล อนุโลมเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ เนวสัญญานา- สัญญายตนะของท่านผู้ออกจากนิโรธเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติโดยอนันตรปัจจัย (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๖๐๓}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๒๐. อัชฌัตตติกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนโดย อนันตรปัจจัย (ข้อว่า ขันธ์ที่เป็นภายนอกตนซึ่งเกิดก่อนๆ ดังนี้ เป็นข้อแตกต่างกัน ข้อนั้นแหละพึงดำเนินความตามข้อความข้างต้น) (๑)
สมนันตรปัจจัยเป็นต้น
[๓๓] สภาวธรรมที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายในตน โดยสมนันตรปัจจัย ฯลฯ (ปัจจัยนี้เหมือนกับอนันตรปัจจัย) เป็นปัจจัยโดยสหชาต- ปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอัญญมัญญปัจจัย เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย
อุปนิสสยปัจจัย
[๓๔] สภาวธรรมที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายในตนโดย อุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่เป็นภายในตนแล้วให้ทาน สมาทาน ศีล รักษาอุโบสถ ฯลฯ ทำฌาน ฯลฯ วิปัสสนา ฯลฯ มรรค ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ สมาบัติให้เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิ บุคคลอาศัยศีลที่เป็นภายในตน ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา ฯลฯ สุขทางกาย ฯลฯ ทุกข์ทางกาย ฯลฯ อุตุ ฯลฯ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะแล้วให้ทาน ฯลฯ ทำสมาบัติ ให้เกิดขึ้น ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ศรัทธาที่เป็นภายในตน ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา ฯลฯ สุขทางกาย ฯลฯ ทุกข์ทางกาย ฯลฯ เสนาสนะเป็น ปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็นภายในตน ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา ฯลฯ สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย มรรค และผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนโดย อุปนิสสยปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอื่นอาศัยศรัทธาที่เป็นภายในตนแล้วให้ทาน ฯลฯ มีมานะ ถือทิฏฐิ บุคคลอื่นอาศัยศีลที่เป็นภายในตน ฯลฯ เสนาสนะแล้วให้ทาน ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ศรัทธาที่เป็นภายในตน ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ ศรัทธาที่เป็นภายนอกตน ฯลฯ มรรคและผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๖๐๔}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๒๐. อัชฌัตตติกะ ๗. ปัญหาวาร

[๓๕] สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตน โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอื่นอาศัยศรัทธาที่เป็นภายนอกตน ฯลฯ ความ ปรารถนา ฯลฯ สุขทางกาย ฯลฯ เสนาสนะแล้วให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ศรัทธา ที่เป็นภายนอกตน ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็นภายนอกตน ฯลฯ ผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายในตนโดย อุปนิสสยปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่เป็นภายนอกตน ฯลฯ เสนาสนะ แล้วให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ศรัทธาที่เป็นภายนอกตน ฯลฯ เสนาสนะเป็น ปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็นภายในตน ฯลฯ ผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (๒)
ปุเรชาตปัจจัย
[๓๖] สภาวธรรมที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายในตนโดย ปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุที่เป็นภายในตน ฯลฯ หทัยวัตถุ โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็น รูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยปุเรชาตปัจจัย วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นภายในตนโดย ปุเรชาตปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนโดย ปุเรชาตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลอื่นเห็นแจ้ง จักษุที่เป็นภายในตน ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๖๐๕}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๒๐. อัชฌัตตติกะ ๗. ปัญหาวาร

บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะที่เป็นภายในตน เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณที่เป็นภายนอกตน ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะที่เป็นภายในตน เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณที่เป็นภายนอกตนโดยปุเรชาตปัจจัย (๒) [๓๗] สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตน โดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลอื่นเห็นแจ้งจักษุที่เป็นภายนอกตน ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ เห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพ- โสตธาตุ รูปายตนะที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณที่เป็นภายนอกตน ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณที่เป็นภายนอก ตน ฯลฯ วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะที่เป็นภายนอกตน ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นภายนอกตนโดยปุเรชาตปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายในตนโดย ปุเรชาตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุที่ เป็นภายนอกตน ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะที่เป็นภายนอก ตนเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณที่เป็นภายในตน ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะที่เป็นภาย นอกตนเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณที่เป็นภายในตนโดยปุเรชาตปัจจัย (๒) [๓๘] สภาวธรรมที่เป็นภายในตนและที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม ที่เป็นภายในตนโดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุ- ปุเรชาตะ ได้แก่ รูปายตนะที่เป็นภายนอกตนและจักขายตนะที่เป็นภายในตนเป็น ปัจจัยแก่จักขุวิญญาณที่เป็นภายในตนโดยปุเรชาตปัจจัย ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะที่ เป็นภายนอกตนและกายายตนะที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณที่เป็น ภายในตน ฯลฯ รูปายตนะที่เป็นภายนอกตนและหทัยวัตถุที่เป็นภายในตน ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะที่เป็นภายนอกตนและหทัยวัตถุที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ เป็นภายในตนโดยปุเรชาตปัจจัย (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๖๐๖}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๒๐. อัชฌัตตติกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่เป็นภายในตนและที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น ภายนอกตนโดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ รูปายตนะที่เป็นภายในตนและจักขายตนะที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่ จักขุวิญญาณที่เป็นภายนอกตนโดยปุเรชาตปัจจัย ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะที่เป็น ภายในตนและกายายตนะที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณที่เป็นภายนอก ตนโดยปุเรชาตปัจจัย รูปายตนะที่เป็นภายในตนและหทัยวัตถุที่เป็นภายนอกตน ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะที่เป็นภายในตนและหทัยวัตถุที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ที่เป็นภายนอกตนโดยปุเรชาตปัจจัย (๒)
ปัจฉาชาตปัจจัย
[๓๙] สภาวธรรมที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายในตนโดย ปัจฉาชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นภายในตนซึ่งเกิดภายหลังเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่ เกิดก่อนโดยปัจฉาชาตปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนโดย ปัจฉาชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นภายนอกตนซึ่งเกิดภายหลังเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่ เกิดก่อนโดยปัจฉาชาตปัจจัย (๑)
อาเสวนปัจจัย
[๔๐] สภาวธรรมที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายในตนโดย อาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นภายในตนซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็น ภายในตนซึ่งเกิดหลังๆ โดยอาเสวนปัจจัย อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โวทาน โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค โวทานเป็นปัจจัยแก่มรรคโดย อาเสวนปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนโดย อาเสวนปัจจัยได้แก่ ขันธ์ที่เกิดก่อนๆ ฯลฯ (เหมือนกับสภาวธรรมที่เป็นภายใน ตนนั่นเอง) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๖๐๗}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๒๐. อัชฌัตตติกะ ๗. ปัญหาวาร

กัมมปัจจัย
[๔๑] สภาวธรรมที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายในตนโดย กัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตต- สมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากซึ่ง เป็นภายในตนและกฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนโดย กัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และ จิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบาก ซึ่งเป็นภายนอกตนและกฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย (๑)
วิปากปัจจัย
[๔๒] สภาวธรรมที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายในตนโดย วิปากปัจจัย ฯลฯ (พึงทำให้บริบูรณ์เหมือนกับปฏิจจวาร)
อาหารปัจจัย
[๔๓] สภาวธรรมที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายในตน โดยอาหารปัจจัย ได้แก่ อาหารที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และ จิตตสมุฏฐานรูปโดยอาหารปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ กวฬิงการาหารที่เป็น ภายในตนเป็นปัจจัยแก่กายที่เป็นภายในตนโดยอาหารปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนโดย อาหารปัจจัย ได้แก่ กวฬิงการาหารที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่กายที่เป็นภาย นอกตนโดยอาหารปัจจัย (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๖๐๘}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๒๐. อัชฌัตตติกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนโดย อาหารปัจจัย (พึงเพิ่มปวัตติกาลและปฏิสนธิกาล) ได้แก่ กวฬิงการาหารที่เป็น ภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่กายที่เป็นภายนอกตนโดยอาหารปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายในตนโดย อาหารปัจจัย ได้แก่ กวฬิงการาหารที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่กายที่เป็น ภายในตนโดยอาหารปัจจัย (๒) [๔๔] สภาวธรรมที่เป็นภายในตนและสภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัย แก่สภาวธรรมที่เป็นภายในตนโดยอาหารปัจจัย ได้แก่ กวฬิงการาหารที่เป็น ภายในตนและกวฬิงการกาหารที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่กายที่เป็นภายในตน โดยอาหารปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นภายในตนและสภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่ สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนโดยอาหารปัจจัย ได้แก่ กวฬิงการาหารที่เป็นภายใน ตนและกวฬิงการาหารที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่กายที่เป็นภายนอกตนโดย อาหารปัจจัย (๒)
อินทรียปัจจัยเป็นต้น
[๔๕] สภาวธรรมที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายในตน โดยอินทรียปัจจัย ได้แก่ อินทรีย์ที่เป็นภายในตน (พึงขยายรูปชีวิตินทรีย์ให้พิสดาร) เป็นปัจจัยโดยฌานปัจจัย เป็นปัจจัยโดยมัคคปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสัมปยุตตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ และปัจฉาชาตะ (ผู้รู้พึงขยายบทมาติกาให้พิสดาร) สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนโดย วิปปยุตตปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ และปัจฉาชาตะ (ย่อ)
อัตถิปัจจัย
[๔๖] สภาวธรรมที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายในตนโดย อัตถิปัจจัยมี ๕ อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๖๐๙}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๒๐. อัชฌัตตติกะ ๗. ปัญหาวาร

สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตต- สมุฏฐานรูป ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ ขันธ์เป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ฯลฯ มหาภูตรูป ๑ ฯลฯ สำหรับเหล่า อสัญญสัตตพรหม มหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๓ ฯลฯ ปุเรชาตะ ได้แก่ ... เห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ (ปัจจัยนี้เหมือน กับปุเรชาตปัจจัย) หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นภายในตนโดยอัตถิปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดย อัตถิปัจจัย กวฬิงการาหารที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่กายที่เป็นภายในตน ฯลฯ รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูป ฯลฯ (๑) สภาวธรรมที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนโดย อัตถิปัจจัยมี ๒ อย่าง คือ ปุเรชาตะ และอาหาระ ปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลอื่นเห็นแจ้งจักษุที่เป็นภายในตน ฯลฯ หทัยวัตถุโดย เป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะที่เป็นภายในตน ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณที่เป็น ภายนอกตนโดยอัตถิปัจจัย กวฬิงการาหารที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่กายที่เป็น ภายนอกตนโดยอัตถิปัจจัย (๒) [๔๗] สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายนอก ตนโดยอัตถิปัจจัย มี ๕ อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และ อินทรียะ (สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนไม่มีข้อแตกต่างกัน พึงขยายบทมาติกาให้ พิสดาร) (๑) สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายในตนโดยอัตถิ- ปัจจัยมี ๒ อย่าง คือ ปุเรชาตะและอาหาระ ปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุที่เป็นภายนอกตน ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ เห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะที่เป็นภายนอกตน ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณที่เป็นภายในตนโดยอัตถิปัจจัย กวฬิงการาหารที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่กายที่เป็นภายในตนโดยอัตถิปัจจัย (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๖๑๐}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๒๐. อัชฌัตตติกะ ๗. ปัญหาวาร

[๔๘] สภาวธรรมที่เป็นภายในตนและสภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่ สภาวธรรมที่เป็นภายในตนโดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ ปุเรชาตะและอาหาระ ปุเรชาตะ ได้แก่ รูปายตนะที่เป็นภายนอกตนและจักษุที่เป็นภายในตนเป็น ปัจจัยแก่จักขุวิญญาณที่เป็นภายในตน ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะที่เป็นภายนอกตนและ กายายตนะที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณที่เป็นภายในตนโดยอัตถิปัจจัย รูปายตนะที่เป็นภายนอกตนและหทัยวัตถุที่เป็นภายในตน ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะที่ เป็นภายนอกตนและหทัยวัตถุที่เป็นภายในตน เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นภายในตน โดยอัตถิปัจจัย อาหาระ ได้แก่ กวฬิงการาหารที่เป็นภายในตนและกวฬิงการาหารที่เป็น ภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่กายที่เป็นภายในตนโดยอัตถิปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นภายในตนและสภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่สภาว- ธรรมที่เป็นภายนอกตนโดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ ปุเรชาตะและอาหาระ ปุเรชาตะ ได้แก่ รูปายตนะที่เป็นภายในตนและจักขายตนะที่เป็นภายนอกตน เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณที่เป็นภายนอกตนโดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ที่เป็นภายในตนและกายายตนะที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณที่เป็น ภายนอกตนโดยอัตถิปัจจัย รูปายตนะที่เป็นภายในตนและหทัยวัตถุที่เป็นภายนอก ตนเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นภายนอกตนโดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะที่เป็น ภายในตนและหทัยวัตถุที่เป็นภายนอกตน เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นภายนอกตนโดย อัตถิปัจจัย อาหาระ ได้แก่ กวฬิงการาหารที่เป็นภายในตนและกวฬิงการาหารที่เป็น ภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่กายที่เป็นภายนอกตนโดยอัตถิปัจจัย (๒)
นัตถิปัจจัย วิคตปัจจัย และอวิคตปัจจัย
[๔๙] สภาวธรรมที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายในตนโดย นัตถิปัจจัย เป็นปัจจัยโดยวิคตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอวิคตปัจจัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๖๑๑}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๒๐. อัชฌัตตติกะ ๗. ปัญหาวาร

๑. ปัจจยานุโลม ๒. สังขยาวาร
สุทธนัย
[๕๐] เหตุปัจจัย มี ๒ วาระ อารัมมณปัจจัย มี ๔ วาระ อธิปติปัจจัย มี ๔ วาระ อนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ สมนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ สหชาตปัจจัย มี ๒ วาระ อัญญมัญญปัจจัย มี ๒ วาระ นิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ อุปนิสสยปัจจัย มี ๔ วาระ ปุเรชาตปัจจัย มี ๖ วาระ ปัจฉาชาตปัจจัย มี ๒ วาระ อาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ กัมมปัจจัย มี ๒ วาระ วิปากปัจจัย มี ๒ วาระ อาหารปัจจัย มี ๖ วาระ อินทรียปัจจัย มี ๒ วาระ ฌานปัจจัย มี ๒ วาระ มัคคปัจจัย มี ๒ วาระ สัมปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ วิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ อัตถิปัจจัย มี ๖ วาระ นัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ วิคตปัจจัย มี ๒ วาระ อวิคตปัจจัย มี ๖ วาระ (พึงนับอย่างนี้)
อนุโลม จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๖๑๒}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๒๐. อัชฌัตตติกะ ๗. ปัญหาวาร

๒. ปัจจนียุทธาร
[๕๑] สภาวธรรมที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายในตนโดย อารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย และอินทรียปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนโดย อารัมมณปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย และอาหารปัจจัย (๒) [๕๒] สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตน โดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย และอินทรียปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายในตนโดย อารัมมณปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย และอาหารปัจจัย (๒) [๕๓] สภาวธรรมที่เป็นภายในตนและสภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัย แก่สภาวธรรมที่เป็นภายในตน มี ๒ อย่าง คือ ปุเรชาตะและอาหาระ (๑) สภาวธรรมที่เป็นภายในตนและสภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่ สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตน มี ๒ อย่าง คือ ปุเรชาตะและอาหาระ (๒)
๒. ปัจจยปัจจนียะ ๒. สังขยาวาร
[๕๔] นเหตุปัจจัย มี ๖ วาระ นอารัมมณปัจจัย มี ๖ วาระ นอธิปติปัจจัย มี ๖ วาระ (ย่อ ทุกปัจจัยพึงเพิ่มปัจจัยละ ๖ วาระ) นวิปปยุตตปัจจัย มี ๖ วาระ โนอัตถิปัจจัย มี ๔ วาระ โนนัตถิปัจจัย มี ๖ วาระ โนวิคตปัจจัย มี ๖ วาระ โนอวิคตปัจจัย มี ๔ วาระ (พึงนับอย่างนี้)
ปัจจนียะ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๖๑๓}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๒๐. อัชฌัตตติกะ ๗. ปัญหาวาร

๓. ปัจจยานุโลมปัจจนียะ
เหตุทุกนัย
[๕๕] นอารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ นอธิปติปัจจัย ” มี ๒ วาระ นอนันตรปัจจัย ” มี ๒ วาระ นสมนันตรปัจจัย ” มี ๒ วาระ นอัญญมัญญปัจจัย ” มี ๒ วาระ นอุปนิสสยปัจจัย ” มี ๒ วาระ (ย่อ ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ ๒ วาระ) นสัมปยุตตปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ นวิปปยุตตปัจจัย ” มี ๒ วาระ โนนัตถิปัจจัย ” มี ๒ วาระ โนวิคตปัจจัย ” มี ๒ วาระ
(พึงนับอย่างนี้)
อนุโลมปัจจนียะ จบ
๔. ปัจจยปัจจนียานุโลม
[๕๖] อารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๔ วาระ อธิปติปัจจัย ” มี ๔ วาระ (พึงนับบทอนุโลม) อวิคตปัจจัย ” มี ๖ วาระ
(พึงนับอย่างนี้)
ปัจจนียานุโลม จบ ปัญหาวาร จบ
อัชฌัตตติกะ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๖๑๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔๑ หน้าที่ ๖๐๐-๖๑๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka3/m_siri.php?B=41&siri=45              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=41&A=14191&Z=14571                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=41&i=2073              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=41&item=2073&items=54              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=41&item=2073&items=54                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu41



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :