ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๒ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๓
๒๓. สัญโญชนสัญโญชนิยทุกะ ๑. ปฏิจจวาร
๑. ปัจจยานุโลม ๑. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[๙๗] สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์และเป็นอารมณ์ของสังโยชน์อาศัยสภาวธรรมที่ เป็นสังโยชน์และเป็นอารมณ์ของสังโยชน์เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ทิฏฐิสังโยชน์ และอวิชชาสังโยชน์อาศัยกามราคสังโยชน์เกิดขึ้น (พึงผูกเป็นจักกนัย) (๑) สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์อาศัยสภาวธรรมที่เป็น สังโยชน์และเป็นอารมณ์ของสังโยชน์เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยสังโยชน์เกิดขึ้น (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๓๒๐}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๒๓. สัญโญชนสัญโญชนิยทุกะ ๑. ปฏิจจวาร

สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์เป็นอารมณ์ของสังโยชน์และที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ แต่ไม่เป็นสังโยชน์อาศัยสภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์และเป็นอารมณ์ของสังโยชน์เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ทิฏฐิสังโยชน์ อวิชชาสังโยชน์ สัมปยุตตขันธ์ และจิตต- สมุฏฐานรูปอาศัยกามราคสังโยชน์เกิดขึ้น (พึงผูกเป็นจักกนัย) (๓) [๙๘] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์อาศัยสภาวธรรม ที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ เกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (พึงเพิ่มข้อความจนถึง มหาภูตรูป) (๑) สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์และเป็นอารมณ์ของสังโยชน์อาศัยสภาวธรรมที่เป็น อารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ สังโยชน์อาศัย ขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์เกิดขึ้น (๒) สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์เป็นอารมณ์ของสังโยชน์และที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ แต่ไม่เป็นสังโยชน์อาศัยสภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ สังโยชน์และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็น อารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์เกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ (๓) [๙๙] สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์และเป็นอารมณ์ของสังโยชน์อาศัยสภาวธรรม ที่เป็นสังโยชน์เป็นอารมณ์ของสังโยชน์และที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ทิฏฐิสังโยชน์ และอวิชชาสังโยชน์อาศัยกามราคสังโยชน์ และสัมปยุตตขันธ์เกิดขึ้น (พึงผูกเป็นจักกนัย) (๑) สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์อาศัยสภาวธรรมที่ เป็นสังโยชน์เป็นอารมณ์ของสังโยชน์และที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็น อารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์และอาศัยสังโยชน์เกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๓๒๑}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๒๔. สัญโญชนสัญโญชนสัมปยุตตทุกะ ๑. ปฏิจจวาร

สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์เป็นอารมณ์ของสังโยชน์และที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ แต่ไม่เป็นสังโยชน์อาศัยสภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์เป็นอารมณ์ของสังโยชน์และที่เป็น อารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ ทิฏฐิสังโยชน์ อวิชชาสังโยชน์ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอารมณ์ของ สังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์และอาศัยกามราคสังโยชน์เกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ (พึงผูกเป็นจักกนัย) (๓)
(เหมือนกับปฐมทุกะในสัญโญชนโคจฉกะ)
(พึงขยายทุกะให้พิสดารอย่างนี้ ไม่มีข้อแตกต่างกัน ยกเว้นแต่โลกุตตระ)
สัญโญชนสัญโญชนิยทุกะ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔๒ หน้าที่ ๓๒๐-๓๒๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka3/m_siri.php?B=42&siri=59              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=42&A=8791&Z=8841                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=42&i=482              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=42&item=482&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=42&item=482&items=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu42



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :