ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๓ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๔
๕๘. จิตตสัมปยุตตทุกะ ๗. ปัญหาวาร
๑. ปัจจยานุโลม ๑. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[๑๖๓] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต ด้วยจิตโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่สัมปยุตด้วยจิตเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดย เหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจากจิตโดย เหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่สัมปยุตด้วยจิตเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๙๒}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๕๘. จิตตสัมปยุตตทุกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตและที่ วิปปยุตจากจิตโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่สัมปยุตด้วยจิตเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต- ขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๓)
อารัมมณปัจจัย
[๑๖๔] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย จิตโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว พิจารณากุศลนั้น ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินกุศลนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลพิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌานแล้วพิจารณาฌาน ฯลฯ พระอริยะออกจากมรรคแล้ว พิจารณามรรค พิจารณาผล พิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น บุคคลเห็นแจ้งขันธ์ที่สัมปยุตด้วยจิตโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยสภาวธรรมที่สัมปยุต ด้วยจิตด้วยเจโตปริยญาณ อากาสานัญจายตนะเป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ ฯลฯ อากิญจัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ ฯลฯ ขันธ์ที่สัมปยุต ด้วยจิตเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (๑) [๑๖๕] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย จิตโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระอริยะพิจารณานิพพาน นิพพานเป็นปัจจัยแก่ โคตรภู โวทาน มรรค ผล และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย บุคคลเห็น แจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ และขันธ์ที่วิปปยุตจากจิตโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ขันธ์ที่วิปปยุตจากจิตเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๙๓}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๕๘. จิตตสัมปยุตตทุกะ ๗. ปัญหาวาร

อธิปติปัจจัย
[๑๖๖] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย จิตโดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว พิจารณากุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ยินดีเพลิดเพลิน เพราะทำความ ยินดีเพลิดเพลินกุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น บุคคลพิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ พระอริยะ ออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรคให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณาผลให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่น บุคคลยินดีเพลิดเพลินขันธ์ที่สัมปยุตด้วยจิตให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ โดยอธิปติปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจากจิตโดย อธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่สัมปยุตด้วยจิต เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตและที่ วิปปยุตจากจิตโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรม ที่สัมปยุตด้วยจิตเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (๓) [๑๖๗] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย จิตโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอริยะพิจารณา นิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน มรรค และผลโดยอธิปติปัจจัย บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ และ ขันธ์ที่วิปปยุตจากจิตให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลิน จักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๙๔}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๕๘. จิตตสัมปยุตตทุกะ ๗. ปัญหาวาร

อนันตรปัจจัยเป็นต้น
[๑๖๘] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย จิตโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยจิตซึ่งเกิดก่อนๆ ฯลฯ เป็นปัจจัย แก่ผลสมาบัติโดยอนันตรปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสมนันตรปัจจัย เป็นปัจจัยโดย สหชาตปัจจัย มี ๗ วาระ (เหมือนกับปฏิจจวาร ไม่มีฆฏนาในปัญหาวาร) เป็น ปัจจัยโดยอัญญมัญญปัจจัย มี ๖ วาระ (เหมือนกับปฏิจจวาร) เป็นปัจจัยโดย นิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ (เหมือนกับปัจจยวาร ไม่มีฆฏนาในปัญหาวาร)
อุปนิสสยปัจจัย
[๑๖๙] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิต โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาแล้วให้ทาน ฯลฯ มีมานะ ถือทิฏฐิ อาศัยศีล ฯลฯ ความปรารถนา สุขทางกาย ทุกข์ทางกายแล้วให้ทาน ฯลฯ ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ศรัทธา ฯลฯ ทุกข์ทางกายเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ มรรค และผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่วิปปยุตจากจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตโดย อุปนิสสยปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยอุตุ ฯลฯ โภชนะ และเสนาสนะแล้วให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์ อุตุ ฯลฯ โภชนะและเสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ ผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (๑)
ปุเรชาตปัจจัย
[๑๗๐] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย จิตโดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๙๕}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๕๘. จิตตสัมปยุตตทุกะ ๗. ปัญหาวาร

อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็น สภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วย ทิพพโสตธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยจิตโดย ปุเรชาตปัจจัย (๑)
ปัจฉาชาตปัจจัยและอาเสวนปัจจัย
[๑๗๑] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจาก จิตโดยปัจฉาชาตปัจจัย (ย่อ) มี ๑ วาระ เป็นปัจจัยโดยอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ
กัมมปัจจัย
[๑๗๒] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย จิตโดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่สัมปยุตด้วยจิตเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยกัมม- ปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่สัมปยุตด้วยจิตเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากโดย กัมมปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจากจิตโดย กัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่สัมปยุตด้วยจิตเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดย กัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่สัมปยุตด้วยจิตเป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดย กัมมปัจจัย (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๙๖}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๕๘. จิตตสัมปยุตตทุกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตและที่ วิปปยุตจากจิตโดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่สัมปยุตด้วยจิตเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และ จิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่สัมปยุตด้วยจิตเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากและ กฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย (๓)
วิปากปัจจัยและอาหารปัจจัย
[๑๗๓] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย จิตโดยวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตโดย อาหารปัจจัย มี ๓ วาระ สภาวธรรมที่วิปปยุตจากจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจากจิตโดย อาหารปัจจัย ได้แก่ กวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่กายนี้โดยอาหารปัจจัย (๑)
อินทรียปัจจัยเป็นต้น
[๑๗๔] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย จิตโดยอินทรียปัจจัย มี ๓ วาระ สภาวธรรมที่วิปปยุตจากจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจากจิตโดย อินทรียปัจจัย ได้แก่ รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยอินทรียปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่วิปปยุตจากจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตโดย อินทรียปัจจัย ได้แก่ จักขุนทรีย์เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณโดย อินทรียปัจจัย ฯลฯ กายินทรีย์ ฯลฯ (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๙๗}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๕๘. จิตตสัมปยุตตทุกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตและที่วิปปยุตจากจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ สัมปยุตด้วยจิตโดยอินทรียปัจจัย ได้แก่ จักขุนทรีย์และอุเปกขินทรีย์เป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณโดยอินทรียปัจจัย ฯลฯ กายินทรีย์และสุขินทรีย์ ฯลฯ กายินทรีย์และทุกขินทรีย์เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยกายวิญญาณโดย อินทรียปัจจัย (๑) ... เป็นปัจจัยโดยฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ... เป็นปัจจัยโดยมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ... เป็นปัจจัยโดยสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย
[๑๗๕] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจาก จิตโดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ (ย่อ) (๑) สภาวธรรมที่วิปปยุตจากจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตโดย วิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ในปฏิสนธิขณะ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตด้วย จิตโดยวิปปยุตตปัจจัย ปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณโดย วิปปยุตตปัจจัย ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุต ด้วยจิตโดยวิปปยุตตปัจจัย (๑)
อัตถิปัจจัย
[๑๗๖] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย จิตโดยอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ (เหมือนกับปฏิจจวาร) (๑) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจากจิตโดย อัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ (ย่อ) (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๙๘}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๕๘. จิตตสัมปยุตตทุกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตและที่ วิปปยุตจากจิตโดยอัตถิปัจจัย (เหมือนกับปฏิจจวาร) (๓) [๑๗๗] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจากจิต โดยอัตถิปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ สหชาตะ อาหาระ และอินทรียะ (ย่อ) (๑) สภาวธรรมที่วิปปยุตจากจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตโดย อัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ในปฏิสนธิขณะ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยจิต โดยอัตถิปัจจัย ปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ (ปัจจัยนี้เหมือนกับปุเรชาตปัจจัย) (๒) [๑๗๘] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตและที่วิปปยุตจากจิตเป็นปัจจัยแก่สภาว- ธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตโดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณและจักขายตนะเป็น ปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ ฯลฯ ขันธ์ ๑ ที่สหรคตด้วยกายวิญญาณและกายายตนะเป็น ปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ ฯลฯ ขันธ์ ๑ ที่สัมปยุตด้วยจิตและหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตและที่วิปปยุตจากจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ วิปปยุตจากจิตโดยอัตถิปัจจัย มี ๔ อย่าง คือ สหชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยจิตและมหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่จิตต- สมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยจิตและกวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่ กายนี้โดยอัตถิปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยจิตและรูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่ กฏัตตารูปโดยอัตถิปัจจัย (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๙๙}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๕๘. จิตตสัมปยุตตทุกะ ๗. ปัญหาวาร

๑. ปัจจยานุโลม ๒. สังขยาวาร
สุทธนัย
[๑๗๙] เหตุปัจจัย มี ๓ วาระ อารัมมณปัจจัย มี ๒ วาระ อธิปติปัจจัย มี ๔ วาระ อนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ สมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ สหชาตปัจจัย มี ๗ วาระ อัญญมัญญปัจจัย มี ๖ วาระ นิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ อุปนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ อาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ กัมมปัจจัย มี ๓ วาระ วิปากปัจจัย มี ๓ วาระ อาหารปัจจัย มี ๔ วาระ อินทรียปัจจัย มี ๖ วาระ ฌานปัจจัย มี ๓ วาระ มัคคปัจจัย มี ๓ วาระ สัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ วิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ อัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ นัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ วิคตปัจจัย มี ๑ วาระ อวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ
อนุโลม จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๑๐๐}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๕๘. จิตตสัมปยุตตทุกะ ๗. ปัญหาวาร

๒. ปัจจนียุทธาร
[๑๘๐] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย จิตโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และกัมมปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจากจิตโดย สหชาตปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย และกัมมปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตและที่ วิปปยุตจากจิตโดยสหชาตปัจจัยและกัมมปัจจัย (๓) [๑๘๑] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจากจิต โดยสหชาตปัจจัย อาหารปัจจัย และอินทรียปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่วิปปยุตจากจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตโดย อารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และปุเรชาตปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตและที่วิปปยุตจากจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ สัมปยุตด้วยจิตโดยสหชาตปัจจัยและปุเรชาตปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตและที่วิปปยุตจากจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ วิปปยุตจากจิตโดยสหชาตปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย อาหารปัจจัย และอินทรีย- ปัจจัย (๒)
๒. ปัจจยปัจจนียะ ๒. สังขยาวาร
สุทธนัย
[๑๘๒] นเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ นอารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ นอธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ นอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๑๐๑}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๕๘. จิตตสัมปยุตตทุกะ ๗. ปัญหาวาร

นสมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ นสหชาตปัจจัย มี ๖ วาระ นอัญญมัญญปัจจัย มี ๖ วาระ นนิสสยปัจจัย มี ๖ วาระ นอุปนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ นปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ (ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ ๗ วาระ) นสัมปยุตตปัจจัย มี ๖ วาระ นวิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ โนอัตถิปัจจัย มี ๔ วาระ โนนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ โนวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ โนอวิคตปัจจัย มี ๔ วาระ
๓. ปัจจยานุโลมปัจจนียะ
[๑๘๓] นอารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ นอธิปติปัจจัย ” มี ๓ วาระ นอนันตรปัจจัย ” มี ๓ วาระ นสมนันตรปัจจัย ” มี ๓ วาระ นอัญญมัญญปัจจัย ” มี ๑ วาระ นอุปนิสสยปัจจัย ” มี ๓ วาระ (ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ ๓ วาระ) นสัมปยุตตปัจจัย ” มี ๑ วาระ นวิปปยุตตปัจจัย ” มี ๑ วาระ โนนัตถิปัจจัย ” มี ๓ วาระ โนวิคตปัจจัย ” มี ๓ วาระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๑๐๒}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๖๐. จิตตสมุฏฐานทุกะ ๑. ปฏิจจวาร

๔. ปัจจยปัจจนียานุโลม
[๑๘๔] อารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ อธิปติปัจจัย ” มี ๔ วาระ (พึงเพิ่มบทอนุโลมมาติกา) ฯลฯ อวิคตปัจจัย ” มี ๗ วาระ
จิตตสัมปยุตตทุกะ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔๓ หน้าที่ ๙๒-๑๐๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka3/m_siri.php?B=43&siri=15              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=43&A=2048&Z=2301                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=43&i=0              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=43&item=134&items=18              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=43&item=134&items=18                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu43



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :