ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๓ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๔
๗๑. อุปาทานสัมปยุตตทุกะ ๗. ปัญหาวาร
๑. ปัจจยานุโลม ๑. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[๖๓] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต ด้วยอุปาทานโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่สัมปยุตด้วยอุปาทานเป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตขันธ์โดยเหตุปัจจัย (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๓๒๒}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๗๑. อุปาทานสัมปยุตตทุกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจาก อุปาทานโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่สัมปยุตด้วยอุปาทานเป็นปัจจัยแก่ จิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย เหตุที่สหรคตด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิเป็น ปัจจัยแก่โลภะที่วิปปยุตจากทิฏฐิและจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่ เป็นมูล) เหตุที่สัมปยุตด้วยอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูป โดยเหตุปัจจัย เหตุที่สหรคตด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ โลภะ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (๓) [๖๔] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุต จากอุปาทานโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่วิปปยุตจากอุปาทานเป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย โลภะที่วิปปยุตจากทิฏฐิเป็นปัจจัย แก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) โลภะ ที่วิปปยุตจากทิฏฐิเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยเหตุปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) โลภะ ที่วิปปยุตจากทิฏฐิเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (๓) [๖๕] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานและที่วิปปยุตจากอุปาทานเป็นปัจจัย แก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ โมหะที่สหรคตด้วยโลภะ ซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิและโลภะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยเหตุปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่ เป็นมูล) โมหะที่สหรคตด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิและโลภะเป็นปัจจัยแก่จิตต- สมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานและที่วิปปยุตจากอุปาทาน เป็นปัจจัยแก่ สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานและที่วิปปยุตจากอุปาทานโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ โมหะที่สหรคตด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิและโลภะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และ จิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (๓)
อารัมมณปัจจัย
[๖๖] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต ด้วยอุปาทานโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอุปาทาน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๓๒๓}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๗๑. อุปาทานสัมปยุตตทุกะ ๗. ปัญหาวาร

ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานจึงเกิดขึ้น (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) เพราะปรารภขันธ์ที่ สัมปยุตด้วยอุปาทาน ขันธ์ที่วิปปยุตจากอุปาทานและโลภะจึงเกิดขึ้น (พึงเพิ่มบท ที่เป็นมูล) เพราะปรารภขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอุปาทาน ขันธ์ที่สหรคตด้วยโลภะซึ่ง วิปปยุตจากทิฏฐิและโลภะจึงเกิดขึ้น (๓) [๖๗] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจาก อุปาทานโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ฯลฯ พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌานแล้วพิจารณาฌาน ยินดี เพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินฌานนั้น ราคะที่วิปปยุตจากทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ เมื่อฌานเสื่อมแล้ว โทมนัสจึงเกิดขึ้นแก่บุคคล ผู้มีความเดือดร้อน พระอริยะออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรค พิจารณาผล พิจารณานิพพาน นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน มรรค ผล และอาวัชชนจิต โดยอารัมมณปัจจัย พระอริยะพิจารณากิเลสที่วิปปยุตจากอุปาทานซึ่งละได้แล้ว ฯลฯ พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว ฯลฯ รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น ฯลฯ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์ที่วิปปยุตจากอุปาทาน และโลภะโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดี เพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะที่วิปปยุต จากทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ โทมนัส ฯลฯ (พึงเพิ่มทั้งหมดให้บริบูรณ์) เห็นรูปด้วยทิพพจักขุ (พึงเพิ่มข้อความจนถึงกายวิญญาณ) ขันธ์ที่วิปปยุตจาก อุปาทานเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย อุปาทานโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน ฯลฯ พิจารณาฌาน ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์ที่วิปปยุตจากอุปาทาน และโลภะ เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึง เกิดขึ้น (๒) สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย อุปาทานและที่วิปปยุตจากอุปาทานโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์ที่วิปปยุตจากอุปาทาน และโลภะ ขันธ์ที่สหรคตด้วยโลภะ ซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิและโลภะจึงเกิดขึ้น (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๓๒๔}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๗๑. อุปาทานสัมปยุตตทุกะ ๗. ปัญหาวาร

[๖๘] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานและที่วิปปยุตจากอุปาทานเป็นปัจจัย แก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภขันธ์ ที่สหรคตด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิและโลภะ ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานจึง เกิดขึ้น (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) เพราะปรารภขันธ์ที่สหรคตด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจาก ทิฏฐิและโลภะ ขันธ์ที่วิปปยุตจากอุปาทานและโลภะจึงเกิดขึ้น (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) เพราะปรารภขันธ์ที่สหรคตด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิและโลภะ ขันธ์ที่สหรคต ด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิและโลภะจึงเกิดขึ้น (๓)
อธิปติปัจจัย
[๖๙] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต ด้วยอุปาทานโดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะทำขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่น ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานจึงเกิดขึ้น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานเป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตขันธ์โดยอธิปติปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ และสหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะทำขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่น โลภะที่วิปปยุตจากทิฏฐิจึงเกิดขึ้น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานเป็นปัจจัยแก่ จิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย อธิบดีธรรมที่สหรคตด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจาก ทิฏฐิเป็นปัจจัยแก่โลภะและจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะทำขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่น ขันธ์ที่สหรคตด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิและโลภะจึงเกิดขึ้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๓๒๕}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๗๑. อุปาทานสัมปยุตตทุกะ ๗. ปัญหาวาร

สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานเป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย อธิบดีธรรมที่สหรคตด้วยโลภะ ซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ โลภะและจิตตสมุฏฐานรูปโดย อธิปติปัจจัย (๓) [๗๐] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุต จากอุปาทานโดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล ฯลฯ ออกจากฌานแล้ว พิจารณาฌานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ยินดีเพลิดเพลิน เพราะทำความยินดี เพลิดเพลินฌานนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่วิปปยุตจากทิฏฐิจึงเกิดขึ้น ฯลฯ พระอริยะออกจากมรรค ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่ผลโดยอธิปติปัจจัย บุคคลยินดี เพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์ที่วิปปยุตจากอุปาทาน และโลภะให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่วิปปยุตจากทิฏฐิจึงเกิดขึ้น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานเป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย อุปาทานโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์ที่วิปปยุต จากอุปาทาน และโลภะให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดี เพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึง เกิดขึ้น (๒) สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย อุปาทานและที่วิปปยุตจากอุปาทานโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะทำจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์ที่วิปปยุตจากอุปาทาน และโลภะให้ เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ขันธ์ที่สหรคตด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิและโลภะ จึงเกิดขึ้น (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๓๒๖}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๗๑. อุปาทานสัมปยุตตทุกะ ๗. ปัญหาวาร

[๗๑] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานและที่วิปปยุตจากอุปาทานเป็น ปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะทำขันธ์ที่สหรคตด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิและ โลภะให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานจึงเกิดขึ้น (พึงเพิ่ม บทที่เป็นมูล) เพราะทำขันธ์ที่สหรคตด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิและโลภะให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่น โลภะที่วิปปยุตจากทิฏฐิจึงเกิดขึ้น (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) เพราะทำขันธ์ที่สหรคตด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิและโลภะให้เป็นอารมณ์อย่าง หนักแน่น ขันธ์ที่สหรคตด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิและโลภะจึงเกิดขึ้น (๓)
อนันตรปัจจัย
[๗๒] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย อุปาทานโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานซึ่งเกิดก่อนๆ เป็น ปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานซึ่งเกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย (พึงเพิ่มบท ที่เป็นมูล) ขันธ์ที่สหรคตด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ โลภะที่วิปปยุตจากทิฏฐิซึ่งเกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอุปาทาน เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะโดยอนันตรปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) ขันธ์ที่สหรคตด้วยโลภะ ซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจาก ทิฏฐิและโลภะที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย (๓) [๗๓] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจาก อุปาทานโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ โลภะที่วิปปยุตจากทิฏฐิซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัย แก่โลภะที่วิปปยุตจากทิฏฐิซึ่งเกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย ขันธ์ที่วิปปยุตจาก อุปาทานซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่วิปปยุตจากอุปาทานซึ่งเกิดหลังๆ โดย อนันตรปัจจัย โลภะที่วิปปยุตจากทิฏฐิเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะโดยอนันตรปัจจัย อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู ฯลฯ ผลสมาบัติโดยอนันตรปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) โลภะที่วิปปยุตจากทิฏฐิซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยโลภะซึ่ง วิปปยุตจากทิฏฐิที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย อาวัชชนจิตเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๓๒๗}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๗๑. อุปาทานสัมปยุตตทุกะ ๗. ปัญหาวาร

สัมปยุตด้วยอุปาทานโดยอนันตรปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) โลภะที่วิปปยุตจาก ทิฏฐิซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิและ โลภะที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย อาวัชชนจิตเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วย โลภะซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิและโลภะโดยอนันตรปัจจัย (๓) [๗๔] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานและที่วิปปยุตจากอุปาทานเป็น ปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่สหรคต ด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิและโลภะที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วย โลภะซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) ขันธ์ ที่สหรคตด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิและโลภะที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่โลภะที่ วิปปยุตจากทิฏฐิซึ่งเกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย ขันธ์ที่สหรคตด้วยโลภะซึ่งวิปปยุต จากทิฏฐิและโลภะเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะโดยอนันตรปัจจัย (พึงเพิ่มบท ที่เป็นมูล) ขันธ์ที่สหรคตด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิและโลภะที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ที่สหรคตด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิและโลภะที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย (๓)
สมนันตรปัจจัยเป็นต้น
[๗๕] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต ด้วยอุปาทานโดยสมนันตรปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย (เหมือนกับปฏิจจวาร) มี ๙ วาระ เป็นปัจจัยโดยอัญญมัญญปัจจัย (เหมือนกับปฏิจจวาร) มี ๖ วาระ เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย (เหมือนกับปัจจยวาร) มี ๙ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย
[๗๖] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต ด้วยอุปาทานโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๓๒๘}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๗๑. อุปาทานสัมปยุตตทุกะ ๗. ปัญหาวาร

ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุต ด้วยอุปาทานโดยอุปนิสสยปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอุปาทาน เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่วิปปยุตจากอุปาทานและโลภะโดยอุปนิสสยปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่ เป็นมูล) ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยโลภะซึ่งวิปปยุต จากทิฏฐิและโลภะโดยอุปนิสสยปัจจัย (๓) [๗๗] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจาก อุปาทานโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาแล้วให้ทาน ฯลฯ ทำสมาบัติให้ เกิดขึ้น มีมานะ อาศัยศีล ฯลฯ ปัญญา ... ราคะที่วิปปยุตจากอุปาทาน ... มานะ ... ความปรารถนา ฯลฯ เสนาสนะแล้วให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ ปัญญา ... ราคะที่วิปปยุตจากอุปาทาน ... มานะ ... ความปรารถนา ... สุขทางกาย ฯลฯ ผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย อุปาทานโดยอุปนิสสยปัจจัย (อุปนิสสยปัจจัยมี ๓ วาระ) ได้แก่ บุคคลอาศัย ศรัทธาแล้ว มีมานะ ถือทิฏฐิ อาศัยศีล ฯลฯ ปัญญา ... ราคะที่วิปปยุตจากอุปาทาน ... มานะ ... ความปรารถนา ... เสนาสนะแล้ว ลักทรัพย์ พูดเท็จ ฯลฯ พูดส่อเสียด ฯลฯ พูดเพ้อเจ้อ ฯลฯ งัดแงะ ฯลฯ ปล้นไม่ให้เหลือ ฯลฯ ปล้นเรือนหลังเดียว ฯลฯ ดักจี้ที่ทางเปลี่ยว ฯลฯ ล่วงเกินภรรยาผู้อื่น ฯลฯ ฆ่าชาวบ้าน ฯลฯ ฆ่าชาวนิคม ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ราคะที่สัมปยุตด้วยอุปาทาน ... โมหะ ... มานะ ... ทิฏฐิ ... ความปรารถนาโดยอุปนิสสยปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย อุปาทานและที่วิปปยุตจากอุปาทานโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาแล้ว มีมานะ อาศัยศีล ฯลฯ ปัญญา ... ราคะที่วิปปยุตจากอุปาทาน ฯลฯ เสนาสนะ ฯลฯ ฆ่าชาวบ้าน ฆ่าชาวนิคม ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิ และโลภะโดยอุปนิสสยปัจจัย (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๓๒๙}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๗๑. อุปาทานสัมปยุตตทุกะ ๗. ปัญหาวาร

[๗๘] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานและที่วิปปยุตจากอุปาทานเป็นปัจจัย แก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานโดยอุปนิสสยปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่สหรคตด้วย โลภะซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิและโลภะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานโดย อุปนิสสยปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) ขันธ์ที่สหรคตด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิ และโลภะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่วิปปยุตจากอุปาทานและโลภะโดยอุปนิสสยปัจจัย (พึง เพิ่มบทที่เป็นมูล) ขันธ์ที่สหรคตด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิและโลภะเป็น ปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิและโลภะโดยอุปนิสสยปัจจัย (๓)
ปุเรชาตปัจจัย
[๗๙] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุต จากอุปาทานโดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็น สภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วย ทิพพโสตธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่วิปปยุตจากอุปาทานและโลภะโดยปุเรชาตปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย อุปาทานโดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานโดย ปุเรชาตปัจจัย (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๓๓๐}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๗๑. อุปาทานสัมปยุตตทุกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย อุปาทานและที่วิปปยุตจากอุปาทานโดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ เพราะปรารภจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์ที่สหรคต ด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิ และโลภะจึงเกิดขึ้น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยโลภะซึ่งวิปปยุต จากทิฏฐิและโลภะโดยปุเรชาตปัจจัย (๓)
ปัจฉาชาตปัจจัยและอาเสวนปัจจัย
[๘๐] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุต จากอุปาทานโดยปัจฉาชาตปัจจัย (ย่อ) (๑) สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทาน โดยปัจฉาชาตปัจจัย (ย่อ) (๑) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานและที่วิปปยุตจากอุปาทานเป็นปัจจัยแก่ สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานโดยปัจฉาชาตปัจจัย (ย่อ) (๑) เป็นปัจจัยโดยอาเสวนปัจจัย
กัมมปัจจัยและวิปากปัจจัย
[๘๑] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต ด้วยอุปาทานโดยกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่สัมปยุตด้วยอุปาทานเป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตขันธ์โดยกัมมปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจาก อุปาทานโดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่สัมปยุตด้วยอุปาทานเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป โดยกัมมปัจจัย เจตนาที่สหรคตด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิเป็นปัจจัยแก่โลภะและ จิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๓๓๑}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๗๑. อุปาทานสัมปยุตตทุกะ ๗. ปัญหาวาร

นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่สัมปยุตด้วยอุปาทานเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็น วิบากและกฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย อุปาทานและที่วิปปยุตจากอุปาทานโดยกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่สัมปยุตด้วย อุปาทานเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย เจตนาที่ สหรคตด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ โลภะ และจิตต- สมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย (๓) [๘๒] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจาก อุปาทานโดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่วิปปยุตจากอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และ จิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่วิปปยุตจากอุปาทานเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็น วิบากและกฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจาก อุปาทานโดยวิปากปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นวิบากซึ่งวิปปยุตจากอุปาทาน ฯลฯ มี ๑ วาระ
อาหารปัจจัยเป็นต้น
[๘๓] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต ด้วยอุปาทานโดยอาหารปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอินทรียปัจจัย เป็นปัจจัยโดยฌานปัจจัย เป็นปัจจัยโดยมัคคปัจจัย (ในปัจจัยทั้ง ๔ นี้ พึงแสดงไว้เหมือนที่แสดงโลภะซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิใน กัมมปัจจัย มีอย่างละ ๔ วาระ) เป็นปัจจัยโดยสัมปยุตตปัจจัย มี ๖ วาระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๓๓๒}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๗๑. อุปาทานสัมปยุตตทุกะ ๗. ปัญหาวาร

วิปปยุตตปัจจัย
[๘๔] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุต จากอุปาทานโดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ (ย่อ) (๑) สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจาก อุปาทานโดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ และปัจฉาชาตะ (ย่อ) (๑) สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย อุปาทานโดยวิปปยุตตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็น ปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานโดยวิปปยุตตปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย อุปาทานและที่วิปปยุตจากอุปาทานโดยวิปปยุตตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิและโลภะ โดยวิปปยุตตปัจจัย (๓) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานและที่วิปปยุตจากอุปาทานเป็นปัจจัยแก่ สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทาน มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่สหรคตด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิและโลภะเป็นปัจจัย แก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยวิปปยุตตปัจจัย ปัจฉาชาต ได้แก่ ฯลฯ (๑)
อัตถิปัจจัยเป็นต้น
[๘๕] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต ด้วยอุปาทานโดยอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ (เหมือนกับปฏิจจวาร) (๑) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจาก อุปาทานโดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ (ย่อ) (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๓๓๓}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๗๑. อุปาทานสัมปยุตตทุกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย อุปาทานและที่วิปปยุตจากอุปาทานโดยอัตถิปัจจัย (เหมือนกับปฏิจจวาร) (๓) [๘๖] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุต จากอุปาทานโดยอัตถิปัจจัย มี ๕ อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ (ย่อ) (๑) สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย อุปาทานโดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ (ย่อ) (๒) สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย อุปาทานและที่วิปปยุตจากอุปาทานโดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะ และปุเรชาตะ (ใน ๒ ปัจจัยนี้ สหชาตัตถิเหมือนสหชาตะ ปุเรชาตัตถิเหมือน ปุเรชาตะ) (๓) [๘๗] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานและที่วิปปยุตจากอุปาทานเป็นปัจจัย แก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานโดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะ และปุเรชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานและหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ ๓ โดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่สหรคตด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิและโลภะเป็น ปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ (๑) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานและที่วิปปยุตจากอุปาทานเป็นปัจจัยแก่ สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานโดยอัตถิปัจจัย มี ๕ อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานและมหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่ จิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่สหรคตด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิและโลภะเป็น ปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๓๓๔}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๗๑. อุปาทานสัมปยุตตทุกะ ๗. ปัญหาวาร

สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่สหรคตด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิและหทัยวัตถุเป็น ปัจจัยแก่โลภะโดยอัตถิปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่สหรคตด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิและโลภะเป็น ปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยอัตถิปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่สหรคตด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิ โลภะ และ กวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่กายนี้โดยอัตถิปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่สหรคตด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิ โลภะ และ รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยอัตถิปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานและที่วิปปยุตจากอุปาทานเป็นปัจจัยแก่ สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานและที่วิปปยุตจากอุปาทานโดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่สหรคตด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิและโลภะเป็น ปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่สหรคตด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิและหทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และโลภะโดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ (๓) เป็นปัจจัยโดยนัตถิปัจจัย เป็นปัจจัยโดยวิคตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอวิคตปัจจัย
๑. ปัจจยานุโลม ๒. สังขยาวาร
สุทธนัย
[๘๘] เหตุปัจจัย มี ๙ วาระ อารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๓๓๕}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๗๑. อุปาทานสัมปยุตตทุกะ ๗. ปัญหาวาร

อธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ อนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ สมนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ สหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ อัญญมัญญปัจจัย มี ๖ วาระ นิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ อุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ อาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ กัมมปัจจัย มี ๔ วาระ วิปากปัจจัย มี ๑ วาระ อาหารปัจจัย มี ๔ วาระ อินทรียปัจจัย มี ๔ วาระ ฌานปัจจัย มี ๔ วาระ มัคคปัจจัย มี ๔ วาระ สัมปยุตตปัจจัย มี ๖ วาระ วิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ อัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ นัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ วิคตปัจจัย มี ๙ วาระ อวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ
๒. ปัจจนียุทธาร
[๘๙] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต ด้วยอุปาทานโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๓๓๖}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๗๑. อุปาทานสัมปยุตตทุกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจาก อุปาทานโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย และกัมมปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย อุปาทานและที่วิปปยุตจากอุปาทานโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย และ อุปนิสสยปัจจัย (๓) [๙๐] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุต จากอุปาทานโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย และอินทรียปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย อุปาทานโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และปุเรชาตปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย อุปาทานและที่วิปปยุตจากอุปาทานโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสย- ปัจจัย และปุเรชาตปัจจัย (๓) [๙๑] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานและที่วิปปยุตจากอุปาทานเป็น ปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานและที่วิปปยุตจากอุปาทานเป็นปัจจัยแก่ สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสย- ปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย อาหารปัจจัย และอินทรียปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานและที่วิปปยุตจากอุปาทานเป็นปัจจัยแก่ สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานและที่วิปปยุตจากอุปาทานโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๓๓๗}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๗๑. อุปาทานสัมปยุตตทุกะ ๗. ปัญหาวาร

๒. ปัจจยปัจจนียะ ๒. สังขยาวาร
[๙๒] นเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ นอารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ นอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ (ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ ๙ วาระ) โนอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ
๓. ปัจจยานุโลมปัจจนียะ
[๙๓] นอารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ นอธิปติปัจจัย ” มี ๙ วาระ นอนันตรปัจจัย ” มี ๙ วาระ นสมนันตรปัจจัย ” มี ๙ วาระ นอัญญมัญญปัจจัย ” มี ๓ วาระ นอุปนิสสยปัจจัย ” มี ๙ วาระ (ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ ๙ วาระ) นสัมปยุตตปัจจัย ” มี ๓ วาระ นวิปปยุตตปัจจัย ” มี ๖ วาระ โนนัตถิปัจจัย ” มี ๙ วาระ โนวิคตปัจจัย ” มี ๙ วาระ
๔. ปัจจยปัจจนียานุโลม
[๙๔] อารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ อธิปติปัจจัย ” มี ๙ วาระ (พึงเพิ่มบทอนุโลมมาติกา) ฯลฯ อวิคตปัจจัย ” มี ๙ วาระ
อุปาทานสัมปยุตตทุกะ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๓๓๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔๓ หน้าที่ ๓๒๒-๓๓๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka3/m_siri.php?B=43&siri=52              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=43&A=7215&Z=7630                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=43&i=0              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=43&item=442&items=18              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=43&item=442&items=18                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu43



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :