ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๓ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๔
๗๙. กิเลสสังกิเลสิกทุกะ ๗. ปัญหาวาร
๑. ปัจจยานุโลม ๑. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[๗๕] สภาวธรรมที่เป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม ที่เป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของกิเลสโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่เป็นกิเลสและเป็น อารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตกิเลสโดยเหตุปัจจัย (โดยนัยนี้ จึงมี ๔ วาระ เหมือนกับกิเลสทุกะ) (๔)
อารัมมณปัจจัย
[๗๖] สภาวธรรมที่เป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม ที่เป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของกิเลสโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภกิเลส ขันธ์ที่เป็นกิเลสจึงเกิดขึ้น (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) เพราะปรารภกิเลส ขันธ์ที่เป็น อารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสจึงเกิดขึ้น (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) เพราะปรารภกิเลส กิเลสและสัมปยุตตขันธ์จึงเกิดขึ้น (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๓๙๓}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๗๙. กิเลสสังกิเลสิกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

[๗๗] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสเป็นปัจจัยแก่ สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ฯลฯ พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌานแล้วพิจารณาฌาน ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดี เพลิดเพลินฌานนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ เมื่อฌานเสื่อมแล้ว โทมนัสจึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความเดือดร้อน พระอริยะพิจารณาโคตรภู พิจารณา โวทาน บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุและขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของกิเลสแต่ไม่ เป็นกิเลสโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่อาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (สองวาระนอกนี้ เหมือนกับ กิเลสทุกะ แม้อารัมมณฆฏนาก็เหมือนกับกิเลสทุกะ)
อธิปติปัจจัย
[๗๘] สภาวธรรมที่เป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม ที่เป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของกิเลสโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ มี ๓ วาระ สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น อารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสโดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ และสหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ฯลฯ พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌานแล้วพิจารณาฌานให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่น พระเสขะพิจารณาโคตรภูให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นพิจารณา พิจารณาโวทานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุและ ขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ขันธ์ที่ เป็นอารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสจึงเกิดขึ้น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นอารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสเป็น ปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (วาระ ๒ อย่างนอกนี้ เหมือนกับกิเลสทุกะ แม้อธิปติฆฏนาก็เหมือนกับกิเลสทุกะ) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๓๙๔}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๘๐. กิเลสสังกิลิฏฐทุกะ ๑. ปฏิจจวาร

อนันตรปัจจัยเป็นต้น
[๗๙] สภาวธรรมที่เป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม ที่เป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของกิเลสโดยอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ (เหมือนกับ กิเลสทุกะ) สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ เป็นอารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอารมณ์ ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของกิเลสแต่ ไม่เป็นกิเลสซึ่งเกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โวทาน อาวัชชนจิตเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็น กิเลสโดยอนันตรปัจจัย (อนันตรปัจจัย ๒ วาระนอกนี้เหมือนกับกิเลสทุกะในอนันตรปัจจัย ไม่มีข้อ แตกต่างกัน แม้อนันตรฆฏนาและปัจจัยทั้งหมดก็เหมือนกับกิเลสทุกะ ไม่มีข้อแตก ต่างกัน ในอุปนิสสยปัจจัยไม่มีโลกุตตระ ทุกะนี้เหมือนกับกิเลสทุกะ ไม่ข้อแตก ต่างกัน)
กิเลสสังกิเลสิกทุกะ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔๓ หน้าที่ ๓๙๓-๓๙๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka3/m_siri.php?B=43&siri=69              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=43&A=8872&Z=8927                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=43&i=0              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=43&item=542&items=4              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=43&item=542&items=4                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu43



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :