ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์
อภิธรรมภาชนีย์
[๔๘๓] สัมมัปปธาน ๔ คือ ๑. ภิกษุในศาสนานี้ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประ คองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น ๒. ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำ ความเพียร เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๓. ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำ ความเพียร เพื่อสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น ๔. ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำ ความเพียร เพื่อความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความภิยโยยิ่ง ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
[เพียรป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น]
[๔๘๔] ก็ภิกษุ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง จิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น เป็น อย่างไร ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ภิกษุ นั้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น [๔๘๕] ในบทเหล่านั้น บทว่า ทำฉันทะให้เกิด มีนิเทสว่า ฉันทะ เป็นไฉน ความพอใจ การทำความพอใจ ความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำความฉลาด ความพอใจในธรรม อันใด นี้เรียกว่า ฉันทะ ภิกษุ ย่อมทำฉันทะนี้ให้เกิด ให้ เกิดด้วยดี ให้ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นด้วยดี ให้บังเกิด ให้บังเกิดยิ่ง ด้วยเหตุนั้น จึง เรียกว่า ทำฉันทะให้เกิด [๔๘๖] บทว่า พยายาม มีนิเทสว่า ความพยายาม เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความ ตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความ ประคับประคองธุระไว้ด้วยดี วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ วิริย- *สัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า ความ พยายาม ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามา ถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้ว ด้วยความพยายามนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า พยายาม [๔๘๗] บทว่า ปรารภความเพียร มีนิเทสว่า ความเพียร เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า ความเพียร ภิกษุ ย่อมปรารภ ปรารภด้วยดี เสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่งความเพียรนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ปรารภความเพียร [๔๘๘] บทว่า ประคองจิตไว้ มีนิเทสว่า จิต เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า จิต ภิกษุ ย่อมประคองไว้ ประคองไว้ด้วยดี อุปถัมถ์ค้ำชู ซึ่งจิตนี้ ด้วยเหตุ นั้น จึงเรียกว่า ประคองจิตไว้ [๔๘๙] บทว่า ทำความเพียร มีนิเทสว่า ความเพียรชอบ เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์อัน เป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า ความเพียรชอบ ธรรม ทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยความเพียรชอบ
[เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว]
[๔๙๐] ก็ภิกษุ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง จิตไว้ ทำความเพียร เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นอย่างไร ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ภิกษุ นั้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว [๔๙๑] บทว่า ทำฉันทะให้เกิด มีนิเทสว่า ฉันทะ เป็นไฉน ความพอใจ การทำความพอใจ ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ทำ ฉันทะให้เกิด บทว่า พยายาม มีนิเทสว่า ความพยายาม เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า พยายาม บทว่า ปรารภความเพียร มีนิเทสว่า ความเพียร เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ปรารภ ความเพียร บทว่า ประคองจิตไว้ มีนิเทสว่า จิต เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ประคองจิตไว้ บทว่า ทำความเพียร มีนิเทสว่า ความเพียรชอบ เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์อัน เป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า ความเพียรชอบ ธรรม ทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยความเพียรชอบ
[เพียรสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น]
[๔๙๒] ก็ภิกษุ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง จิตไว้ ทำความเพียร เพื่อสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น เป็นอย่างไร ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ในสมัยนั้น ภิกษุ นั้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น [๔๙๓] ในบทเหล่านั้น บทว่า ทำฉันทะให้เกิด มีนิเทสว่า ฉันทะ เป็นไฉน ความพอใจ การทำความพอใจ ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ทำ ฉันทะให้เกิด บทว่า พยายาม มีนิเทสว่า ความพยายาม เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า พยายาม บทว่า ปรารภความเพียร มีนิเทสว่า ความเพียร เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ปรารภ ความเพียร บทว่า ประคองจิตไว้ มีนิเทสว่า จิต เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ประคองจิตไว้ บทว่า ทำความเพียร มีนิเทสว่า ความเพียรชอบ เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อัน เป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า ความเพียรชอบ ธรรม ทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยความเพียรชอบ
[เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม]
[๔๙๔] ก็ภิกษุ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง จิตไว้ ทำความเพียร เพื่อความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความภิยโยยิ่ง ความ ไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นอย่างไร ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ในสมัยนั้น ภิกษุ นั้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความภิยโยยิ่ง ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว [๔๙๕] บทว่า เพื่อความดำรงอยู่ มีนิเทสว่า ความดำรงอยู่ อันใด นั้นคือ ความไม่สาบสูญ ความไม่สาบสูญ อันใด นั้นคือ ความภิยโยยิ่ง ความภิยโยยิ่ง อันใด นั้นคือ ความไพบูลย์ ความไพบูลย์ อันใด นั้นคือ ความ เจริญ ความเจริญ อันใด นั้นคือ ความบริบูรณ์ [๔๙๖] บทว่า ทำฉันทะให้เกิด มีนิเทสว่า ฉันทะ เป็นไฉน ความพอใจ การทำความพอใจ ความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำความฉลาด ความพอใจในธรรม อันใด นี้เรียกว่า ฉันทะ ภิกษุ ย่อมทำฉันทะนี้ให้เกิด ให้ เกิดด้วยดี ให้ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นด้วยดี ให้บังเกิด ให้บังเกิดยิ่ง ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ทำฉันทะให้เกิด [๔๙๗] บทว่า พยายาม มีนิเทสว่า ความพยายาม เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า ความพยายาม ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยความพยายามนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า พยายาม [๔๙๘] บทว่า ปรารภความเพียร มีนิเทสว่า ความเพียร เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า ความเพียร ภิกษุ ย่อมปรารภ ปรารภด้วยดี เสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่งความเพียรนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ปรารภความเพียร [๔๙๙] บทว่า ประคองจิตไว้ มีนิเทสว่า จิต เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า จิต ภิกษุ ย่อมประคองไว้ ประคองไว้ด้วยดี อุปถัมถ์ค้ำชู ซึ่งจิตนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ประคองจิตไว้ [๕๐๐] บทว่า ทำความเพียร มีนิเทสว่า ความเพียรชอบ เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า ความเพียรชอบ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยความเพียรชอบ [๕๐๑] ในบทเหล่านั้น สัมมัปปธาน เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด การปรารภความ เพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สัมมัปปธาน ธรรมทั้งหลายที่ เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสัมมัปปธาน
อภิธรรมภาชนีย์ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๖๕๙๒-๖๗๓๔ หน้าที่ ๒๘๔-๒๙๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=35&A=6592&Z=6734&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka3/m_siri.php?B=35&siri=32              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=483              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [483-501] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=35&item=483&items=19              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=7684              The Pali Tipitaka in Roman :- [483-501] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=35&item=483&items=19              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=7684              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_35              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb8/en/thittila#pts-p-pi211

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :