ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ กถาวัตถุปกรณ์
ชหติกถา
[๒๘๖] สกวาที ปุถุชนละกามราคะ และพยาบาทได้ หรือ? ปรวาที ถูกแล้ว ส. ละได้หมดสิ้น ละได้ไม่มีส่วนเหลือ ละได้ไม่มีเยื่อใย ละได้กับทั้งราก ละได้กับทั้งตัณหา ละได้กับทั้งอนุสัย ละได้ด้วยญาณอันเป็นอริยะ ละได้ด้วยมรรคอันเป็นอริยะ แทงตลอดอกุปปธรรมละได้ ทำให้แจ้ง อนาคามิผลละได้ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๒๘๗] ส. ปุถุชนข่มกามราคะ และพยาบาทได้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ข่มได้หมดสิ้น ข่มได้ไม่มีส่วนเหลือ ข่มได้ไม่มีเยื่อใย ข่มได้กับทั้งราก ข่มได้กับทั้งตัณหา ข่มได้กับทั้งอนุสัย ข่มได้ด้วยญาณอันเป็นอริยะ ข่มได้ด้วยมรรคอันเป็นอริยะแทงตลอดอกุปปธรรมข่มได้ ทำให้แจ้ง อนาคามิผลข่มได้ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๒๘๘] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ละกามราคะและพยาบาทได้ และ บุคคลนั้นละได้หมดสิ้น ละได้ไม่มีส่วนเหลือ ฯลฯ ทำให้แจ้งอนาคามิผล ละได้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ปุถุชนละกามราคะ และพยาบาทได้ และเขาละได้หมดสิ้น ละได้ไม่มี ส่วนเหลือ ฯลฯ ทำให้แจ้งอนาคามิผลละได้ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๒๘๙] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ข่มกามราคะพยาบาทได้ และ บุคคลนั้นข่มได้หมดสิ้น ข่มได้ไม่มีส่วนเหลือ ฯลฯ ทำให้แจ้งอนาคามิผล ข่มได้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ปุถุชนข่มกามราคะและพยาบาทได้ และเขาข่มได้หมดสิ้น ข่มได้ไม่มี ส่วนเหลือ ฯลฯ ทำให้แจ้งอนาคามิผลข่มได้ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๒๙๐] ส. ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้ แต่เขาจะละได้หมดสิ้นก็หามิได้ จะละ ได้ไม่มีส่วนเหลือก็หามิได้ จะละได้ไม่มีเยื่อใยก็หามิได้ จะละได้กับ ทั้งรากก็หามิได้ จะละได้กับทั้งตัณหาก็มิได้ จะละได้กับทั้งอนุสัยก็หามิได้ จะละได้ด้วยญาณอันเป็นอริยะก็หามิได้ จะละได้ด้วยมรรคอันเป็นอริยะ ก็หามิได้ จะแทงตลอดอกุปปธรรมละได้ก็หามิได้ จะทำให้แจ้ง อนาคามิผลละได้ก็หามิได้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ละกามราคะและพยาบาทได้ แต่บุคคลนั้นจะละได้ทั้งหมดก็หามิได้ ฯลฯ จะทำให้แจ้งอนาคามิผลละได้ ก็หามิได้ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๒๙๑] ส. ปุถุชนข่มกามราคะและพยาบาทได้ แต่เขาจะข่มได้หมดสิ้นก็หามิได้ จะ ข่มได้ไม่มีส่วนเหลือก็หามิได้ ฯลฯ จะทำให้แจ้งอนาคามิผลข่มได้ก็หา มิได้หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ข่มกามราคะและพยาบาทได้ แต่บุคคลนั้นจะข่มได้หมดสิ้นก็หามิได้ จะข่มได้ไม่มีส่วนเหลือก็หา มิได้ ฯลฯ จะทำให้แจ้ง อนาคามิผลข่มได้ก็หามิได้ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๒๙๒] ส. ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ด้วยมรรคไหน ป. ด้วยมรรคส่วนรูปาวจร ส. มรรคส่วนรูปาวจรเป็นเหตุนำออกจากสังสารวัฏให้ถึงความสิ้นไป ให้ถึง ความตรัสรู้ ให้ถึงนิพพาน ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ไม่เป็นอารมณ์ ของสัญโญชน์ ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ ไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะ ไม่เป็น อารมณ์ของโยคะ ไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ ไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. มรรคส่วนรูปาวจร ไม่เป็นเหตุนำออกจากสังสารวัฏ ไม่เป็นธรรมให้ถึง ความสิ้นไป ไม่เป็นธรรมให้ถึงความตรัสรู้ ไม่เป็นธรรมให้ถึงนิพพาน เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ ฯลฯ เป็นอารมณ์ ของสังกิเลส มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า มรรคส่วนรูปาวจร ไม่เป็นเหตุนำออกจากสังสารวัฏ ไม่เป็นธรรม ให้ถึงความสิ้นไป ไม่เป็นธรรมให้ถึงความตรัสรู้ ไม่เป็นธรรมให้ถึง นิพพาน เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ ฯลฯ เป็น อารมณ์ของสังกิเลส ก็ต้องไม่กล่าวว่า ปุถุชน ละกามราคะ และ พยาบาทได้ด้วยมรรคส่วนรูปาวจร [๒๙๓] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ละกามราคะและพยาบาทได้ด้วย อนาคามิมรรค และมรรคนั้นเป็นเหตุนำออกจากสังสารวัฏ ให้ถึงความ สิ้นไป ให้ถึงความตรัสรู้ ให้ถึงนิพพาน ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ไม่เป็น อารมณ์ของสัญโญชน์ ฯลฯ ไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้ด้วยมรรคส่วนรูปาวจร และมรรคนั้น เป็นเหตุนำออกจากสังสารวัฏ ให้ถึงความสิ้นไป ให้ถึงความตรัสรู้ ให้ถึง นิพพาน ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ ฯลฯ ไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๒๙๔] ส. ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้ด้วยมรรค ส่วนรูปาวจรและมรรคนั้น ไม่เป็นเหตุนำออกจากสังสารวัฏ ไม่เป็นธรรมให้ถึงความสิ้นไป ไม่เป็น ธรรมให้ถึงความตรัสรู้ ไม่เป็นธรรมให้ถึงนิพพาน เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลส หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ละกามราคะและพยาบาทได้ด้วย อนาคามิมรรค แต่มรรคนั้นไม่เป็นเหตุนำออกจากสังสารวัฏ ไม่เป็น ธรรมให้ถึงความสิ้นไป ไม่เป็นธรรมให้ถึงความตรัสรู้ ไม่เป็นธรรมให้ถึง นิพพาน เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ ฯลฯ เป็น อารมณ์ของสังกิเลส หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๒๙๕] ส. ปุถุชนเป็นผู้ปราศจากความกำหนัดในกามทั้งหลาย ดำรงอยู่ในอนาคามิผล พร้อมกับการบรรลุธรรม หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ดำรงอยู่ในอรหัตตผล หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๒๙๖] ส. ปุถุชนเป็นผู้ปราศจากความกำหนัดในกามทั้งหลาย ดำรงอยู่ในอนาคามิผล พร้อมกับการบรรลุธรรม หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ยังมรรคทั้งสามให้เกิดได้ ไม่ก่อนไม่หลัง หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. ยังมรรคทั้งสามให้เกิดได้ ไม่ก่อนไม่หลัง หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ทำให้แจ้งสามัญญผลทั้งสามได้ ไม่ก่อนไม่หลัง หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. ทำให้แจ้งสามัญญผลทั้งสามได้ ไม่ก่อนไม่หลัง หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เป็นการประชุมแห่งผัสสะสาม แห่งเวทนาสาม แห่งสัญญาสาม แห่ง เจตนาสาม แห่งจิตสาม แห่งศรัทธาสาม แห่งวิริยะสาม แห่งสติสาม แห่งสมาธิสาม แห่งปัญญาสาม หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๒๙๗] ส. ปุถุชนเป็นผู้ปราศจากความกำหนัดในกามทั้งหลาย ดำรงอยู่ในอนาคามิผล พร้อมกับการบรรลุธรรม หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ด้วยโสดาปัตติมรรค หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. ด้วยสกทาคามิมรรค หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ส. ด้วยมรรคไหน ป. ด้วยอนาคามิมรรค ส. ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ได้ด้วยอนาคามิมรรค หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ได้ด้วยอนาคามิมรรค หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระผู้มีพระภาคตรัสโสดาปัตติผล เพราะละสัญโญชน์สาม มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคตรัสโสดาปัตติผล เพราะละสัญโญชน์สาม ก็ ต้องไม่กล่าวว่า ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ด้วย อนาคามิมรรค ฯลฯ ส. ละกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบ ได้ด้วยอนาคามิมรรค หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. ละกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบ ได้ด้วยอนาคามิมรรค หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระผู้มีพระภาคตรัสสกทาคามิผล เพราะความเบาบางแห่งกามราคะและ พยาบาท มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคตรัสสกทาคามิผล เพราะความเบาบางแห่งกาม ราคะและพยาบาท ก็ต้องไม่กล่าวว่า ละกามราคะอย่างหยาบ พยาบาท อย่างหยาบได้ด้วยอนาคามิมรรค [๒๙๘] ส. ปุถุชนเป็นผู้ปราศจากความกำหนัดในกามทั้งหลาย ดำรงอยู่ในอนาคามิผล พร้อมกับการบรรลุธรรม หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ชนเหล่าหนึ่งเหล่าใดบรรลุธรรมได้ ชนเหล่านั้นทั้งหมดดำรงอยู่ในอนาคา มิผลพร้อมกับการบรรลุธรรม หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๒๙๙] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ในกาลส่วนอดีต ได้มีศาสดาทั้งหกเป็นผู้ มียศ หมดความฉุนโกรธ แจ่มใสเพราะกรุณา พ้นจากความ เกี่ยวข้องในกาม คลายกามราคะแล้ว เข้าถึงพรหมโลก แม้สาวก ของศาสดาเหล่านั้น อันมีจำนวนหลายร้อยก็เป็นผู้หมดความฉุนโกรธ แจ่มใสเพราะกรุณา พ้นจากความเกี่ยวข้องในกาม คลายกาม ราคะแล้ว เข้าถึงพรหมโลก ดังนี้ ๑- เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. ถ้าอย่างนั้น ปุถุชนก็ละกามราคะและพยาบาทได้น่ะสิ [๓๐๐] ส. ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศาสดาชื่อสุเนตตะนั้น แล เป็นผู้มีอายุยืนอย่างนี้ ทรงชีพอยู่นานอย่างนี้ แต่ก็ไม่ได้ หลุดพ้นจาก ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เรากล่าวว่า เป็นผู้ไม่พ้นจากทุกข์ ข้อนั้นเพราะ เหตุไร? ก็เพราะไม่รู้ตาม ไม่แทงตลอด ซึ่งธรรมทั้งสี่ ธรรมทั้งสี่ เป็นไฉน? เพราะไม่รู้ตาม ไม่แทงตลอด ซึ่งศีลอันเป็นอริยะ ซึ่ง สมาธิอันเป็นอริยะ ซึ่งปัญญาอันเป็นอริยะ ซึ่งวิมุติอันเป็นอริยะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศีลอันเป็นอริยะ สมาธิอันเป็นอริยะ ปัญญาอันเป็น อริยะ วิมุตติอันเป็นอริยะ นี้ อันเรารู้ตามแล้ว แทงตลอดแล้ว เราจึงถอนตัณหาในภพเสียได้แล้ว ตัณหาอันจะนำไปสู่ภพสิ้นไป แล้วบัดนี้ภพใหม่ไม่มี ดังนี้ (พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณพจน์นี้ ครั้นแล้วจึงได้ตรัสคำอันท่านประพันธ์เป็นคาถาในภายหลัง ความว่าดังนี้) @๑. อํ. ฉกฺก. ข้อ ๒๓๕ หน้า ๔๑๖ ธรรมเหล่านี้ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุติ เป็นธรรมอันยอดเยี่ยม อันพระโคดมผู้มียศทรงตามรู้แล้ว พระพุทธเจ้าทรงรู้ยิ่งด้วยประการ ฉะนี้แล้ว ได้ทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย เป็นศาสดาผู้กระทำ ที่สุดแห่งทุกข์ ผู้มีจักษุ ปรินิพพานแล้ว ดังนี้ ๑- เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ปุถุชนและกามราคะ และพยาบาทได้น่ะสิ
ชหติกถา จบ.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๗ บรรทัดที่ ๓๕๗๓-๓๗๕๐ หน้าที่ ๑๔๘-๑๕๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=37&A=3573&Z=3750&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka3/m_siri.php?B=37&siri=24              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=286              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [286-300] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=37&item=286&items=15              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=3781              The Pali Tipitaka in Roman :- [286-300] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=37&item=286&items=15              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=3781              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv1.5/en/aung-rhysdavids

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :