ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๓ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑๐ ปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๔
             [๑๐๔] ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก โดยปุเรชาตปัจจัย
             มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต.
             ที่เป็นอารัมมณปุเรชาต ได้แก่ บุคคลพิจารณาเห็นจักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ โดยความ
เป็นของไม่เที่ยง ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภจักขุเป็นต้นนั้น จิต เกิดขึ้น
             บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ
             รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ.
             ที่เป็นวัตถุปุเรชาต ได้แก่ จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ กายายตนะเป็น
ปัจจัยแก่กายวิญญาณ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่จิต โดยปุเรชาตปัจจัย
             ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นเจตสิก โดยปุเรชาตปัจจัย
             มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต.
             ที่เป็นอารัมมณปุเรชาต ได้แก่ บุคคลพิจารณาเห็นจักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ โดยความ
เป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส เกิดขึ้น
             บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ
             รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ โผฏฐัพพายตนะ
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยกายวิญญาณ.
             ที่เป็นวัตถุปุเรชาต ได้แก่ จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่สหรคตด้วย
จักขุวิญญาณ  กายายตนะ ฯลฯ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก โดย
ปุเรชาตปัจจัย.
             ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นเจตสิก และธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก โดย
ปุเรชาตปัจจัย
             มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต.
             ที่เป็นอารัมมณปุเรชาต ได้แก่ บุคคลพิจารณาเห็นจักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ โดยความ
เป็นของไม่เที่ยง ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภจักขุเป็นต้นนั้น จิต และสัมปยุตต-
*ขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น
             บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ
             รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โผฏฐัพพายตนะ
ฯลฯ.
             ที่เป็นวัตถุปุเรชาต ได้แก่ จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ และสัมปยุตตขันธ์
ทั้งหลาย กายายตนะ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่จิต และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดย
ปุเรชาตปัจจัย.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๓ บรรทัดที่ ๑๖๐๑-๑๖๓๐. หน้าที่ ๖๓ - ๖๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=43&A=1601&Z=1630&pagebreak=0              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย[เลขข้อ] เป็นเกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/item.php?book=43&item=104&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=43&siri=              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item.php?book=43&item=104&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item.php?book=43&item=104&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๓ http://84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๔๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_43

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]