ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร]

ภาณวารที่ ๑

๙. อาฏานาฏิยสูตร
ว่าด้วยมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะ
ภาณวารที่ ๑
[๒๗๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท้าวมหาราชทั้ง ๔ องค์วางยามรักษาการณ์ไว้ทั้ง ๔ ทิศ วางกองกำลังไว้ ทั้ง ๔ ทิศ วางหน่วยป้องกันไว้ทั้ง ๔ ทิศ ด้วยกองทัพยักษ์หมู่ใหญ่ ด้วยกองทัพ คนธรรพ์หมู่ใหญ่ ด้วยกองทัพกุมภัณฑ์หมู่ใหญ่ และด้วยกองทัพนาคหมู่ใหญ่ เมื่อราตรีผ่านไป๑- มีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างไสวทั่วภูเขาคิชฌกูฏ แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ฝ่ายยักษ์เหล่านั้น บางพวกถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร บางพวกสนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันกับพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกประนมมือไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่แล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกประกาศชื่อและตระกูลแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกนั่งนิ่งเฉย ณ ที่สมควร [๒๗๖] ท้าวเวสวัณมหาราชประทับนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบทูลพระ ผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยักษ์ชั้นสูงที่ไม่เลื่อมใสพระผู้มีพระภาค ก็มี ที่เลื่อมใสพระผู้มีพระภาคก็มี ยักษ์ชั้นกลางที่ไม่เลื่อมใสพระผู้มีพระภาคก็มี ที่เลื่อมใสพระผู้มีพระภาคก็มี ยักษ์ชั้นต่ำที่ไม่เลื่อมใสพระผู้มีพระภาคก็มี ที่เลื่อมใส พระผู้มีพระภาคก็มี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โดยมาก ยักษ์ไม่เลื่อมใสพระผู้มี พระภาคเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมเพื่องดเว้น จากการฆ่าสัตว์ ทรงแสดงธรรมเพื่องดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขามิได้ให้ ทรงแสดงธรรมเพื่องดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ทรงแสดงธรรมเพื่องดเว้น จากการพูดเท็จ ทรงแสดงธรรมเพื่องดเว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย @เชิงอรรถ : @ เมื่อราตรีผ่านไป หมายถึงปฐมยาม คือยามที่หนึ่งผ่านไป (ในคืนหนึ่ง แบ่งเป็น ๓ ยาม ยามละ ๔ ชั่วโมง @เรียกปฐมยาม มัชฌิมยามและปัจฉิมยาม ตามลำดับ) (ที.ม.อ. ๒๙๓/๒๕๙, ที.ปา.อ. ๒๗๕/๑๕๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๑๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร]

ภาณวารที่ ๑

อันเป็นเหตุแห่งความประมาท แต่โดยมาก พวกยักษ์ไม่งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ไม่งดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขามิได้ให้ ไม่งดเว้นจากการประพฤติผิด ในกาม ไม่งดเว้นจากการพูดเท็จ ไม่งดเว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นเหตุแห่งความประมาท การที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมเพื่อการงดเว้น นั้นจึงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของยักษ์เหล่านั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีสาวก ของพระผู้มีพระภาคที่อาศัยเสนาสนะเป็นป่าละเมาะ และป่าทึบ อันสงัด มีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากการสัญจรไปมาของผู้คน ควรเป็นสถานที่ทำการลับ ของมนุษย์ ควรแก่การหลีกเร้น พวกยักษ์ชั้นสูงผู้อาศัยอยู่ในป่านั้นที่ไม่เลื่อมใสใน พระธรรมวินัยของพระผู้มีพระภาคนี้ก็มี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาค ทรงเรียนมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะ เพื่อให้ยักษ์เหล่านั้นเลื่อมใส เพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อไม่ถูกเบียดเบียน เพื่ออยู่สำราญของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ทั้งหลายเถิด พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์ด้วยพระอาการดุษณี ลำดับนั้น ท้าวเวสวัณมหาราช ทรงทราบพระอาการที่พระผู้มีพระภาคทรงรับ แล้วจึงได้กราบทูลมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะนี้ ในเวลานั้นว่า [๒๗๗] “ขอนอบน้อมพระวิปัสสีพุทธเจ้า ผู้มีพระจักษุ มีพระสิริ ขอนอบน้อมพระสิขีพุทธเจ้า ผู้ทรงอนุเคราะห์แก่สัตว์ทั่วหน้า ขอนอบน้อมพระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้ทรงชำระกิเลส มีความเพียร ขอนอบน้อมพระกกุสันธพุทธเจ้า ผู้ทรงย่ำยีมารและกองทัพมาร ขอนอบน้อมพระโกนาคมนพุทธเจ้า ผู้มีบาปอันลอยแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๒๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร]

ภาณวารที่ ๑

ขอนอบน้อมพระกัสสปพุทธเจ้า ผู้หลุดพ้นในที่ทั้งปวง ขอนอบน้อมพระอังคีรสพุทธเจ้าผู้ศากยบุตร ผู้มีพระสิริ ผู้ทรงแสดงธรรมนี้ อันเป็นเครื่องบรรเทาทุกข์ทั้งปวง อนึ่ง พระพุทธเจ้าเหล่าใดเป็นผู้ดับกิเลสแล้วในโลก ทรงเห็นแจ้งแล้วตามความเป็นจริง พระพุทธเจ้าเหล่านั้นเป็นผู้ไม่ส่อเสียด เป็นผู้ยิ่งใหญ่ ปราศจากความครั่นคร้าม เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายนอบน้อมพระพุทธเจ้า ผู้โคตมโคตรพระองค์ใด ทรงเกื้อกูลแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงเพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ยิ่งใหญ่ ปราศจากความครั่นคร้าม [๒๗๘] พระสุริยะ คือพระอาทิตย์ มีมณฑลใหญ่ ขึ้นทางทิศใด เมื่อพระอาทิตย์ขึ้น กลางคืนก็หายไป และเมื่อพระอาทิตย์ขึ้นเรียกกันว่ากลางวัน ในที่ที่พระอาทิตย์ขึ้นนั้นมีห้วงน้ำลึก คือ มหาสมุทรที่เต็มด้วยน้ำ ชนทั้งหลายรู้จักห้วงน้ำนั้นว่าสมุทรที่เต็มด้วยน้ำ คนเรียกทิศนั้นว่า ทิศนั้นเป็นทิศตะวันออกจากภูเขาสิเนรุนี้ไป ซึ่งเป็นทิศที่ท้าวมหาราชผู้มียศองค์นั้นอภิบาลอยู่ ท้าวมหาราชนั้นมีพระนามว่าธตรฐ ทรงเป็นหัวหน้าของพวกคนธรรพ์ มีคนธรรพ์แวดล้อม ทรงโปรดปรานการร่ายรำและการขับร้อง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๒๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร]

ภาณวารที่ ๑

ข้าพระพุทธเจ้าได้สดับมาว่า ‘แม้โอรสของท้าวธตรฐจะมีมากก็มีพระนามเดียวกัน คือทั้ง ๙๑ องค์ มีพระนามว่าอินทะ ต่างมีพลังมาก’ ท้าวธตรฐและพระโอรสเหล่านั้น เห็นพระพุทธเจ้าผู้ตื่นแล้ว ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ พากันถวายอภิวาทพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ปราศจากครามครั่นคร้าม แต่ที่ไกล ข้าแต่พระผู้ทรงเป็นบุรุษอาชาไนย ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นบุรุษสูงสุด ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ ขอพระองค์โปรดตรวจดูด้วยพระญาณอันฉลาดเถิด แม้อมนุษย์ทั้งหลายก็ถวายอภิวาทพระองค์ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ได้สดับเรื่องนี้มาเนืองๆ ฉะนั้น จึงกราบทูลเช่นนี้ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายเคยถามพวกอมนุษย์ว่า ‘พวกท่าน ถวายอภิวาทพระชินโคดมหรือ’ พวกอมนุษย์ตอบว่า ‘พวกเราถวายอภิวาทพระชินโคดม’ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขอถวายอภิวาทพระพุทธโคดม ผู้เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๒๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร]

ภาณวารที่ ๑

[๒๗๙] ชนทั้งหลายผู้ส่อเสียด ผู้นินทาคนลับหลัง เป็นผู้ฆ่าสัตว์ เป็นนายพราน เป็นโจร เป็นคนตลบตะแลง ตายแล้ว เขาบอกให้นำออกไปทางที่ใด คนเรียกทิศนั้นว่า ทิศนั้นเป็นทิศใต้จากภูเขาสิเนรุนี้ไป ซึ่งเป็นทิศที่ท้าวมหาราชผู้มียศองค์นั้นอภิบาลอยู่ ท้าวมหาราชนั้นมีพระนามว่าวิรุฬหะ ทรงเป็นหัวหน้าของพวกกุมภัณฑ์ มีกุมภัณฑ์แวดล้อม ทรงโปรดปรานการร่ายรำและการขับร้อง ข้าพระองค์ได้สดับมาว่า ‘แม้โอรสของท้าววิรุฬหะจะมีมากก็มีพระนามเดียวกัน คือทั้ง ๙๑ องค์ มีพระนามว่าอินทะ ต่างมีพลังมาก’ ท้าววิรุฬหะและพระโอรสเหล่านั้น เห็นพระพุทธเจ้าผู้ตื่นแล้ว ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ พากันถวายอภิวาทพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ยิ่ง ปราศจากความครั่นคร้าม แต่ที่ไกล ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นบุรุษอาชาไนย ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นบุรุษสูงสุด ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ ขอพระองค์โปรดตรวจดูด้วยพระญาณอันฉลาดเถิด แม้อมนุษย์ทั้งหลายก็ถวายอภิวาทพระองค์ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ได้สดับเรื่องนั้นมาเนืองๆ ฉะนั้น จึงกราบทูลเช่นนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๒๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร]

ภาณวารที่ ๑

ข้าพระองค์ทั้งหลายถามพวกอมนุษย์ว่า ‘พวกท่านถวายอภิวาทพระชินโคดมหรือ’ พวกอมนุษย์ตอบว่า ‘พวกเราถวายอภิวาทพระชินโคดม’ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขอถวายอภิวาทพระพุทธโคดม ผู้เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ [๒๘๐] พระสุริยะ คือพระอาทิตย์ มีมณฑลใหญ่ ตกทางทิศใด เมื่อพระอาทิตย์ตก กลางวันก็หายไป และเมื่อพระอาทิตย์ตกเรียกกันว่ากลางคืน ในที่ที่พระอาทิตย์ตกนั้น มีห้วงน้ำลึก คือมหาสมุทรที่เต็มด้วยน้ำ ชนทั้งหลายรู้จักห้วงน้ำนั้นว่า สมุทรที่เต็มด้วยน้ำ คนเรียกทิศนั้นว่า ทิศนั้นเป็นทิศตะวันตกจากภูเขาสิเนรุนี้ไป ซึ่งเป็นทิศที่ท้าวมหาราชผู้มียศองค์นั้นอภิบาลอยู่ ท้าวมหาราชนั้นมีพระนามว่าวิรูปักษ์ ทรงเป็นหัวหน้าของพวกนาค มีนาคแวดล้อม ทรงโปรดปรานการร่ายรำและการขับร้อง ข้าพระพุทธเจ้าได้สดับมาว่า ‘แม้โอรสของท้าววิรูปักษ์จะมีมาก ก็มีพระนามเดียวกัน คือทั้ง ๙๑ องค์ มีพระนามว่าอินทะ ต่างมีพลังมาก’ ท้าววิรูปักษ์ และโอรสเหล่านั้น ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ตื่นแล้ว ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๒๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร]

ภาณวารที่ ๑

พากันถวายอภิวาทพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ปราศจากความครั่นคร้าม แต่ที่ไกล ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นบุรุษอาชาไนย ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นบุรุษสูงสุด ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ ขอพระองค์โปรดตรวจดูด้วยพระญาณอันฉลาดเถิด แม้อมนุษย์ทั้งหลายก็ถวายอภิวาทพระองค์ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ได้สดับเรื่องนี้มาเนืองๆ ฉะนั้น จึงกราบทูลเช่นนี้ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ถามพวกอมนุษย์ว่า ‘พวกท่านถวายอภิวาทพระชินโคดมหรือ’ พวกอมนุษย์ตอบว่า ‘พวกเราถวายอภิวาทพระชินโคดม’ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขอถวายอภิวาทพระพุทธโคดม ผู้เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ [๒๘๑] อุตตรกุรุทวีปเป็นรมณียสถาน มีภูเขาหลวงชื่อสิเนรุ แลดูงดงาม ตั้งอยู่ทางทิศใด พวกมนุษย์ซึ่งเกิดในอุตตรกุรุทวีปนั้น ไม่ยึดถือสิ่งใดว่าเป็นของตน ไม่ถือครอง มนุษย์เหล่านั้น ไม่ต้องหว่านพืช ไม่ต้องนำไถออกไถ หมู่มนุษย์บริโภคข้าวสาลี อันผลิผลในที่ที่ไม่ต้องไถ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๒๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร]

ภาณวารที่ ๑

พวกเขาหุงข้าวสาลีอันไม่มีรำ ไม่มีแกลบ บริสุทธิ์ มีกลิ่นหอม มีเมล็ดเป็นข้าวสาร บนเตาอันปราศจากควันและถ่าน๑- แล้วบริโภคโภชนะจากที่นั้น พวกเขาใช้แม่โคแทนม้ากีบเดี่ยว แล้วเที่ยวไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่ ใช้สัตว์เลี้ยงแทนม้ากีบเดี่ยว แล้วเที่ยวไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่ ใช้หญิงเป็นพาหนะ๒- แล้วเที่ยวไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่ ใช้ชายเป็นพาหนะ แล้วเที่ยวไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่ ใช้เด็กหญิงเป็นพาหนะ แล้วเที่ยวไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่ ใช้เด็กชายเป็นพาหนะ แล้วเที่ยวไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่ พระสนมทั้งหลายของท้าวมหาราชนั้น ก็ขึ้นสู่ยานเหล่านั้น ตามห้อมล้อมไปทุกทิศ ยานช้าง ยานม้า ยานทิพย์ ปราสาท และวอ บังเกิดแก่ท้าวมหาราชผู้มียศ ท้าวเธอทรงมีเมืองหลายเมืองที่สร้างในอากาศ คือ เมืองอาฏานาฏา เมืองกุสินาฏา เมืองปรกุสินาฏา เมืองนาฏปริยา เมืองปรกุสิฏนาฏา @เชิงอรรถ : @ เตาอันปราศจากควันและถ่าน ในที่นี้หมายถึงเตาที่ใช้หินซึ่งมีความร้อนในตัวเอง ๓ ก้อนวางเป็นสามเส้า @แล้วนำหม้อข้าวที่บรรจุข้าวสารวางไว้บนก้อนเส้านั้น แล้วข้าวก็จะสุกด้วยความร้อนที่เกิดจากก้อนเส้านั้น @(ที.ปา.อ. ๒๘๑/๑๕๗) @ ใช้หญิงเป็นพาหนะในที่นี้หมายถึงจับผู้หญิงท้องมาเทียมยานให้ลากไปเหมือนม้ากีบเดี่ยว @(ที.ปา.อ. ๒๘๑/๑๕๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๒๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร]

ภาณวารที่ ๑

ทางทิศเหนือ มีเมืองกปีวันตะ และมีอีกเมืองหนึ่งชื่อชโนฆะ อีกเมืองหนึ่งชื่อนวนวติยะ และมีอีกเมืองหนึ่งชื่ออัมพรอัมพรวติยะ มีราชธานีชื่ออาฬกมันทา ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ท้าวกุเวรมหาราช มีราชธานีชื่อวิสาณา ฉะนั้น มหาชนจึงเรียกท้าวกุเวรมหาราชว่า ‘ท้าวเวสวัณ’ ยักษ์ชื่อตโตลา ชื่อตัตตลา ชื่อตโตตลา ชื่อโอชสี ชื่อเตชสี ชื่อตโตชสี ชื่อสุระ ชื่อราชา ชื่อสูโรราชา ชื่ออริฏฐะ ชื่อเนมิ ชื่ออริฏฐเนมิ ต่างทำหน้าที่หาข่าวและประกาศให้ทราบ๑- ในวิสาณาราชธานีนั้น มีห้วงน้ำชื่อธรณี ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดเมฆ เกิดฝนตก ในวิสาณาราชธานีนั้น มีสภาชื่อภคลวดี เป็นที่ประชุมของพวกยักษ์ มีต้นไม้ทั้งหลาย ผลิผลเป็นนิจ ดารดาษด้วยหมู่นกชนิดต่างๆ มีเสียงร้องของนกยูง นกกะเรียน และเสียงขับกล่อมจากนกดุเหว่า เป็นต้น @เชิงอรรถ : @ ต่างทำหน้าที่หาข่าวและประกาศให้ทราบ หมายถึงยักษ์ผู้ครองเมืองแต่ละตน แยกกันทำหน้าที่ดูแล @รักษาผลประโยชน์ของเมืองนั้นและแจ้งข่าวแก่ยักษ์ผู้เฝ้าประตูในทิศต่างๆ ๑๒ ทิศ ของวิสาณาราชธานี @เพื่อให้นำไปถวายแก่ท้าวเวสวัณ (ที.ปา.อ. ๒๘๑/๑๕๙, ที.ปา.ฏีกา ๒๘๑/๑๙๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๒๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร]

ภาณวารที่ ๑

ในวิสาณาราชธานีนั้น มีเสียงร้องของนกชีวัญชีวกะ และนกโอฏฐวจิตตกะ มีไก่ป่า ในสระบัวมีปูทอง และนกชื่อโปกขรสาตกะ ในวิสาณาราชธานีนั้น มีเสียงนกแก้ว นกสาลิกา และหมู่นกทัณฑมาณวะ๑- สระบัวของท้าวกุเวรนั้น จึงงามตลอดกาลทุกเมื่อ คนเรียกทิศนั้นว่า ทิศนั้นเป็นทิศเหนือจากภูเขาสิเนรุนี้ไป ซึ่งเป็นทิศที่ท้าวมหาราชผู้ทรงยศองค์นั้นอภิบาลอยู่ ท้าวมหาราชนั้นมีพระนามว่าท้าวกุเวร ทรงเป็นหัวหน้าของพวกยักษ์ มียักษ์แวดล้อม ทรงโปรดปรานการร่ายรำและการขับร้อง ข้าพระพุทธเจ้าได้สดับมาว่า ‘แม้โอรสของท้าวกุเวรจะมีมาก แต่มีพระนามเดียวกัน คือ ทั้ง ๙๑ องค์ มีพระนามว่าอินทะ ต่างมีพลังมาก’ ท้าวกุเวรและโอรสเหล่านั้น ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ตื่นแล้ว ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ พากันถวายอภิวาทพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ปราศจากความครั่นคร้าม แต่ที่ไกล ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นบุรุษอาชาไนย ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นบุรุษสูงสุด @เชิงอรรถ : @ นกฑัณฑมาณวะ หมายถึงนกที่มีหน้าเหมือนคนซึ่งชอบนำท่อนไม้สีทองมาวางไว้บนใบบัว (ที.ปา.อ. ๒๘๑/๑๖๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๒๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร]

ภาณวารที่ ๑

ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ ขอพระองค์โปรดตรวจดูด้วยพระญาณอันฉลาดเถิด แม้อมนุษย์ทั้งหลายก็ถวายอภิวาทพระองค์ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ได้สดับเรื่องนั้นมาเนืองๆ ฉะนั้น จึงกราบทูลเช่นนี้ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ถามพวกอมนุษย์ว่า ‘พวกท่านถวายอภิวาทพระชินโคดมหรือ’ พวกอมนุษย์ตอบว่า ‘พวกเราถวายอภิวาทพระชินโคดม’ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขอถวายอภิวาทพระพุทธโคดม ผู้เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ นี้แหละ คือ มนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะนั้น เพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อไม่ถูกเบียดเบียน เพื่ออยู่สำราญของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย [๒๘๒] ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ผู้ใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา ผู้เรียนมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะนี้จนจบครบบริบูรณ์แล้ว หากว่าอมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นยักษ์ ยักษิณี บุตรยักษ์ ธิดายักษ์ มหาอำมาตย์ ของยักษ์ บริวารของยักษ์ ผู้รับใช้ของยักษ์ก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นคนธรรพ์ นางคนธรรพ์ บุตรคนธรรพ์ ธิดาคนธรรพ์ มหาอำมาตย์ของคนธรรพ์ บริวารของคนธรรพ์ ผู้รับใช้ ของคนธรรพ์ก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นกุมภัณฑ์ นางกุมภัณฑ์ บุตรกุมภัณฑ์ ธิดากุมภัณฑ์ มหาอำมาตย์ของกุมภัณฑ์ บริวารของกุมภัณฑ์ ผู้รับใช้ของกุมภัณฑ์ก็ตาม ไม่ว่า จะเป็นนาค นางนาค บุตรนาค ธิดานาค มหาอำมาตย์ของนาค บริวารของนาค ผู้รับใช้ของนาคก็ตาม มีจิตประทุษร้าย เดินตามภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๒๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร]

ภาณวารที่ ๑

ผู้กำลังเดินไป ยืนใกล้ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา ผู้ยืนอยู่ นั่งใกล้ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา ผู้นั่งอยู่ หรือนอนใกล้ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรือ อุบาสิกา ผู้นอนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ อมนุษย์นั้นไม่พึงได้สักการะ หรือความเคารพ ในหมู่ บ้านหรือในนิคมของข้าพระพุทธเจ้า ไม่พึงได้พื้นที่บ้าน หรือที่อยู่ในราชธานีชื่อว่า อาฬกมันทาของข้าพระพุทธเจ้า ไม่อาจเข้าสมาคมของพวกยักษ์ของข้าพระพุทธเจ้า อีกประการหนึ่ง อมนุษย์ทั้งหลายไม่พึงทำอาวาหมงคลหรือวิวาหมงคลกับ อมนุษย์นั้น อีกประการหนึ่ง อมนุษย์ทั้งหลายด่าอมนุษย์นั้นด้วยคำด่าที่ตรงตัวเต็มปาก เต็มคำ๑- อีกประการหนึ่ง อมนุษย์ทั้งหลายพึงเอาบาตรเปล่าครอบศีรษะอมนุษย์นั้น อีกประการหนึ่ง อมนุษย์ทั้งหลายพึงผ่าศีรษะอมนุษย์นั้นออกเป็น ๗ เสี่ยง ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ มีอมนุษย์ทั้งหลาย ที่ดุร้าย โหดเหี้ยม ทำเกินเหตุ อมนุษย์เหล่านั้นไม่เชื่อฟังท้าวมหาราช ไม่เชื่อฟังเสนาบดีของท้าวมหาราช ไม่เชื่อฟัง ผู้ช่วยเสนาบดีของท้าวมหาราช ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ อมนุษย์เหล่านั้น เรียกว่า เป็นศัตรูของท้าวมหาราช เหมือนมหาโจรทั้งหลายในแว่นแคว้นของพระราชาผู้ครอง แคว้นมคธ มหาโจรเหล่านั้นไม่เชื่อฟังพระราชาผู้ครองแคว้นมคธ ไม่เชื่อฟังเสนาบดี ของพระราชาผู้ครองแคว้นมคธ ไม่เชื่อฟังผู้ช่วยเสนาบดีของพระราชาผู้ครองแคว้น มคธ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ มหาโจรเหล่านั้น เรียกว่า เป็นศัตรูของพระราชา ผู้ครองแคว้นมคธ ฉันใด มีอมนุษย์ทั้งหลาย ที่ดุร้าย โหดเหี้ยม ทำเกินเหตุ อมนุษย์ เหล่านั้น ไม่เชื่อฟังท้าวมหาราช ไม่เชื่อฟังเสนาบดีของท้าวมหาราช ไม่เชื่อฟังผู้ช่วย เสนาบดีของท้าวมหาราช ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ อมนุษย์เหล่านั้น เรียกว่า เป็น ศัตรูของท้าวมหาราช ฉันนั้นเหมือนกัน @เชิงอรรถ : @ คำด่าที่ตรงตัวเต็มปากเต็มคำ ในที่นี้หมายถึงคำด่ากระทบถึงอวัยวะส่วนตัวของผู้ถูกด่า ที่ชัดถ้อยชัดคำ @ไม่อ้อมค้อม เช่น ไอ้ตาเข ไอ้ฟันเหยิน (ที.ปา.อ. ๒๘๒/๑๖๐-๑๖๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๓๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร]

ภาณวารที่ ๑

ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ อมนุษย์ผู้ใดผู้หนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นยักษ์ ยักษิณี บุตรยักษ์ ธิดายักษ์ มหาอำมาตย์ของยักษ์ บริวารของยักษ์ ผู้รับใช้ของยักษ์ก็ตาม ไม่ว่าจะเป็น คนธรรพ์ นางคนธรรพ์ บุตรคนธรรพ์ ธิดาคนธรรพ์ มหาอำมาตย์ของคนธรรพ์ บริวารของคนธรรพ์ ผู้รับใช้ของคนธรรพ์ก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นกุมภัณฑ์ นางกุมภัณฑ์ บุตรกุมภัณฑ์ ธิดากุมภัณฑ์ มหาอำมาตย์ของกุมภัณฑ์ บริวารของกุมภัณฑ์ ผู้รับ ใช้ของกุมภัณฑ์ก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นนาค นางนาค บุตรนาค ธิดานาค มหาอำมาตย์ ของนาค บริวารของนาค ผู้รับใช้ของนาคก็ตาม มีจิตประทุษร้าย เดินตามภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา ผู้กำลังเดินอยู่ ยืนใกล้ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรือ อุบาสิกา ผู้ยืนอยู่ นั่งใกล้ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา ผู้นั่งอยู่ หรือนอนใกล้ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา ผู้นอนอยู่ พึงกล่าวโทษ ร้องทุกข์ ร้องเรียน ต่อยักษ์ มหายักษ์ เสนาบดียักษ์ มหาเสนาบดียักษ์เหล่านี้ว่า ‘ยักษ์นี้สิง ยักษ์นี้ เข้าสิง ยักษ์นี้ระราน ยักษ์นี้รุกราน ยักษ์นี้เบียดเบียน ยักษ์นี้บีบคั้น ยักษ์นี้ไม่ ยอมปล่อย’ [๒๘๓] ยักษ์ มหายักษ์ เสนาบดียักษ์ มหาเสนาบดียักษ์ คือใคร คือ อินทะ ๑ โสมะ ๑ วรุณะ ๑ ภารทวาชะ ๑ ปชาบดี ๑ จันทนะ ๑ กามเสฏฐะ ๑ กินนุฆัณฑุ ๑ นิฆัณฑุ ๑ ปนาทะ ๑ โอปมัญญะ ๑ เทวสูตะ ๑ มาตลิ ๑ จิตตเสนะ ๑ คันธัพพะ ๑ นโฬราชา ๑ ชโนสภะ ๑ สาตาคิระ ๑ เหมวตะ ๑ ปุณณกะ ๑ กรติยะ ๑ คุฬะ ๑ สิวกะ ๑ มุจลินทะ ๑ เวสสามิตตะ ๑ ยุคันธระ ๑ โคปาละ ๑ สุปปเคธะ ๑ หิริ ๑ เนตติ ๑ มันทิยะ ๑ ปัญจาลจันทะ ๑ อาฬวกะ ๑ ปชุนนะ ๑ สุมนะ ๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๓๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร]

ภาณวารที่ ๑

สุมุขะ ๑ ทธิมุขะ ๑ มณิ ๑ มานิจระ ๑ ทีฆะ ๑ รวมทั้งเสรีสกะด้วย พุทธบริษัท พึงกล่าวโทษ ร้องทุกข์ ร้องเรียนต่อยักษ์ มหายักษ์ เสนาบดียักษ์ มหาเสนาบดียักษ์เหล่านี้ว่า ‘ยักษ์นี้สิง ยักษ์นี้เข้าสิง ยักษ์นี้ระราน ยักษ์นี้รุกราน ยักษ์นี้เบียดเบียน ยักษ์นี้บีบคั้น ยักษ์นี้ไม่ยอมปล่อย’ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ นี้แหละ คือ มนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะ เพื่อ คุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่ออยู่สำราญของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ บัดนี้ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายขอทูลลากลับ เพราะ มีกิจมาก มีหน้าที่ที่จะต้องทำมาก พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาราชทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลายจงกำหนดเวลา ที่สมควร ณ บัดนี้เถิด” [๒๘๔] ครั้งนั้น ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ลุกจากที่ประทับถวายอภิวาทพระผู้มี พระภาค กระทำประทักษิณแล้วอันตรธาน(หายตัว)ไป ณ ที่นั้นเอง แม้พวกยักษ์ เหล่านั้นก็ลุกจากที่นั่ง บางพวกก็ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณ แล้วอันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง บางพวกสนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็น ที่ระลึกถึงกันกับพระผู้มีพระภาคแล้วอันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง บางพวกประนมมือ ไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่แล้วอันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง บางพวกประกาศ ชื่อและโคตรแล้วอันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง บางพวกอันตรธานไปเสียเฉยๆ ณ ที่ นั้นเอง
ภาณวารที่ ๑ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๓๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร]

ภาณวารที่ ๒

ภาณวารที่ ๒
[๒๘๕] เมื่อราตรีนั้นล่วงไป พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ตลอดราตรีนี้ ท้าวมหาราชทั้ง ๔ องค์วางยามรักษาการณ์ไว้ ทั้ง ๔ ทิศ วางกองกำลังไว้ทั้ง ๔ ทิศ วางหน่วยป้องกันไว้ทั้ง ๔ ทิศ ด้วยกองทัพ ยักษ์หมู่ใหญ่ ด้วยกองทัพคนธรรพ์หมู่ใหญ่ ด้วยกองทัพกุมภัณฑ์หมู่ใหญ่ และด้วย กองทัพนาคหมู่ใหญ่ เมื่อราตรีนั้นผ่านไป มีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้ สว่างไสวทั่วภูเขาคิชฌกูฏแล้ว เข้าไปหาเราถึงที่อยู่ ไหว้เราแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ยักษ์เหล่านั้น บางพวกไหว้เราแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกสนทนาปราศรัย พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันกับเราแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวก ประนมมือมาทางที่เราอยู่ นั่ง ณ ที่สมควร บางพวกประกาศชื่อและโคตรแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกนั่งนิ่งเฉย ณ ที่สมควร [๒๘๖] ภิกษุทั้งหลาย ท้าวเวสวัณมหาราชประทับนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวกับเราดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยักษ์ชั้นสูงที่ไม่เลื่อมใสพระผู้มีพระภาค ก็มี ที่เลื่อมใสพระผู้มีพระภาคก็มี ยักษ์ชั้นกลางที่ไม่เลื่อมใสพระผู้มีพระภาคก็มี ที่เลื่อมใสพระผู้มีพระภาคก็มี ยักษ์ชั้นต่ำที่ไม่เลื่อมใสพระผู้มีพระภาคก็มี ที่เลื่อมใส พระผู้มีพระภาคก็มี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โดยมาก ยักษ์ไม่เลื่อมใสพระผู้มีพระภาค เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมเพื่องดเว้นจากการ ฆ่าสัตว์ ทรงแสดงธรรมเพื่องดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขามิได้ให้ ทรงแสดง ธรรมเพื่องดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ทรงแสดงธรรมเพื่องดเว้นจากการ พูดเท็จ ทรงแสดงธรรมเพื่องดเว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็น เหตุแห่งความประมาท แต่โดยมาก พวกยักษ์ไม่งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ไม่งดเว้น จากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขามิได้ให้ ไม่งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ไม่งดเว้น จากการพูดเท็จ ไม่งดเว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่ง ความประมาท การที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมเพื่อการงดเว้นนั้นจึงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของยักษ์เหล่านั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีสาวกของพระผู้มีพระภาค {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๓๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร]

ภาณวารที่ ๒

ที่อาศัยเสนาสนะอันเป็นป่าละเมาะและป่าทึบ อันสงัด มีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึก น้อย ปราศจากการสัญจรไปมาของผู้คน ควรเป็นสถานที่ทำการลับของมนุษย์ ควรแก่การหลีกเร้น พวกยักษ์ชั้นสูงผู้อาศัยอยู่ในป่านั้นที่ไม่เลื่อมใสในพระธรรม- วินัยของพระผู้มีพระภาคนี้ก็มี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคทรงเรียน มนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะ เพื่อให้ยักษ์เหล่านั้นเลื่อมใส เพื่อคุ้มครอง เพื่อ รักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่ออยู่สำราญของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ทั้งหลายเถิด พระพุทธเจ้าข้า’ ภิกษุทั้งหลาย เรารับนิมนต์ด้วยอาการดุษณี ลำดับนั้น ท้าวเวสวัณมหาราช ทราบอาการที่เรารับแล้วจึงได้กล่าวมนต์เครื่อง รักษาชื่ออาฏานาฏิยะนี้ ในเวลานั้นว่า [๒๘๗] “๑- ขอนอบน้อมพระวิปัสสีพุทธเจ้า ผู้มีพระจักษุ มีพระสิริ ขอนอบน้อมพระสิขีพุทธเจ้า ผู้ทรงอนุเคราะห์แก่สัตว์ทั่วหน้า ขอนอบน้อมพระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้ทรงชำระกิเลส มีความเพียร ขอนอบน้อมพระกกุสันธพุทธเจ้า ผู้ทรงย่ำยีมารและกองทัพมาร ขอนอบน้อมพระโกนาคมนพุทธเจ้า ผู้มีบาปอันลอยแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์ ขอนอบน้อมพระกัสสปพุทธเจ้า ผู้หลุดพ้นในที่ทั้งปวง @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ข้อ ๒๗๗-๒๘๒ หน้า ๒๒๐-๒๓๒ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๓๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร]

ภาณวารที่ ๒

ขอนอบน้อมพระอังคีรสพุทธเจ้าผู้ศากยบุตร ผู้มีพระสิริ ผู้ทรงแสดงธรรมนี้ อันเป็นเครื่องบรรเทาทุกข์ทั้งปวง อนึ่ง พระพุทธเจ้าเหล่าใดเป็นผู้ดับกิเลสแล้วในโลก ทรงเห็นแจ้งแล้วตามความเป็นจริง พระพุทธเจ้าเหล่านั้นเป็นผู้ไม่ส่อเสียด เป็นผู้ยิ่งใหญ่ ปราศจากความครั่นคร้าม เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายนอบน้อมพระพุทธเจ้า ผู้โคตมโคตรพระองค์ใด ทรงเกื้อกูลแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงเพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ยิ่งใหญ่ ปราศจากความครั่นคร้าม [๒๘๘] พระสุริยะ คือพระอาทิตย์ มีมณฑลใหญ่ ขึ้นทางทิศใด เมื่อพระอาทิตย์ขึ้น กลางคืนก็หายไป และเมื่อพระอาทิตย์ขึ้นเรียกกันว่ากลางวัน ในที่ที่พระอาทิตย์ขึ้นนั้นมีห้วงน้ำลึก คือ มหาสมุทรที่เต็มด้วยน้ำ ชนทั้งหลายรู้จักห้วงน้ำนั้นว่าสมุทรที่เต็มด้วยน้ำ คนเรียกทิศนั้นว่า ทิศนั้นเป็นทิศตะวันออกจากภูเขาสิเนรุนี้ไป ซึ่งเป็นทิศที่ท้าวมหาราชผู้มียศองค์นั้นอภิบาลอยู่ ท้าวมหาราชนั้นมีพระนามว่าธตรฐ ทรงเป็นหัวหน้าของพวกคนธรรพ์ มีคนธรรพ์แวดล้อม ทรงโปรดปรานการร่ายรำและการขับร้อง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๓๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร]

ภาณวารที่ ๒

ข้าพระพุทธเจ้าได้สดับมาว่า ‘แม้โอรสของท้าวธตรฐจะมีมากก็มีพระนามเดียวกัน คือ ทั้ง ๙๑ องค์ มีพระนามว่าอินทะ ต่างมีพลังมาก’ ท้าวธตรฐและพระโอรสเหล่านั้น เห็นพระพุทธเจ้าผู้ตื่นแล้ว ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ พากันถวายอภิวาทพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ปราศจากความครั่นคร้าม แต่ที่ไกล ข้าแต่พระผู้ทรงเป็นบุรุษอาชาไนย ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นบุรุษสูงสุด ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ ขอพระองค์โปรดตรวจดูด้วยพระญาณอันฉลาดเถิด แม้อมนุษย์ทั้งหลายก็ถวายอภิวาทพระองค์ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ได้สดับเรื่องนี้มาเนืองๆ ฉะนั้น จึงกราบทูลเช่นนี้ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายเคยถามพวกอมนุษย์ว่า ‘พวกท่านถวายอภิวาทพระชินโคดมหรือ’ พวกอมนุษย์ตอบว่า ‘พวกเราถวายอภิวาทพระชินโคดม’ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขอถวายอภิวาทพระพุทธโคดม ผู้เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๓๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร]

ภาณวารที่ ๒

[๒๘๙] ชนทั้งหลายผู้ส่อเสียด ผู้นินทาคนลับหลัง เป็นผู้ฆ่าสัตว์ เป็นนายพราน เป็นโจร เป็นคนตลบตะแลง ตายแล้ว เขาบอกให้นำออกไปทางทิศใด คนเรียกทิศนั้นว่า ทิศนั้นเป็นทิศใต้จากภูเขาสิเนรุนี้ไป ซึ่งเป็นทิศที่ท้าวมหาราชผู้มียศองค์นั้นอภิบาลอยู่ ท้าวมหาราชนั้นมีพระนามว่าวิรุฬหะ ทรงเป็นหัวหน้าพวกกุมภัณฑ์ มีกุมภัณฑ์แวดล้อม ทรงโปรดปรานการร่ายรำและการขับร้อง ข้าพระองค์ได้สดับมาว่า ‘แม้โอรสของท้าววิรุฬหะจะมีมากก็มีพระนามเดียวกัน คือ ทั้ง ๙๑ องค์ มีพระนามว่าอินทะ ต่างมีพลังมาก’ ท้าววิรุฬหะและพระโอรสเหล่านั้น เห็นพระพุทธเจ้าผู้ตื่นแล้ว ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ พากันถวายอภิวาทพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ยิ่ง ปราศจากความครั่นคร้าม แต่ที่ไกล ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นบุรุษอาชาไนย ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นบุรุษสูงสุด ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ ขอพระองค์โปรดตรวจดูด้วยพระญาณอันฉลาดเถิด แม้อมนุษย์ทั้งหลายก็ถวายอภิวาทพระองค์ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ได้สดับเรื่องนั้นมาเนืองๆ ฉะนั้น จึงกราบทูลเช่นนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๓๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร]

ภาณวารที่ ๒

ข้าพระองค์ทั้งหลายถามพวกอมนุษย์ว่า ‘พวกท่านถวายอภิวาทพระชินโคดมหรือ’ พวกอมนุษย์ตอบว่า ‘พวกเราถวายอภิวาทพระชินโคดม’ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขอถวายอภิวาทพระพุทธโคดม ผู้เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ [๒๙๐] พระสุริยะ คือพระอาทิตย์ มีมณฑลใหญ่ ตกทางทิศใด เมื่อพระอาทิตย์ตก กลางวันก็หายไป และเมื่อพระอาทิตย์ตกเรียกกันว่ากลางคืน ในที่ที่พระอาทิตย์ตกนั้น มีห้วงน้ำลึก คือมหาสมุทรที่เต็มด้วยน้ำ ชนทั้งหลายรู้จักห้วงน้ำนั้นว่า สมุทรที่เต็มด้วยน้ำ คนเรียกทิศนั้นว่า ทิศนั้นเป็นทิศตะวันตกจากภูเขาสิเนรุนี้ไป ซึ่งเป็นทิศที่ท้าวมหาราชผู้มียศองค์นั้นอภิบาลอยู่ ท้าวมหาราชนั้นมีพระนามว่าวิรูปักษ์ ทรงเป็นหัวหน้าของพวกนาค มีนาคแวดล้อม ทรงโปรดปรานการร่ายรำและการขับร้อง ข้าพระพุทธเจ้าได้สดับมาว่า ‘แม้โอรสของท้าววิรูปักษ์จะมีมาก ก็มีพระนามเดียวกัน คือ ทั้ง ๙๑ องค์ มีพระนามว่าอินทะ ต่างมีพลังมาก’ ท้าววิรูปักษ์ และโอรสเหล่านั้น ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ตื่นแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๓๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร]

ภาณวารที่ ๒

ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ พากันถวายอภิวาทพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ปราศจากความครั่นคร้าม แต่ที่ไกล ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นบุรุษอาชาไนย ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นบุรุษสูงสุด ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ ขอพระองค์โปรดตรวจดูด้วยพระญาณอันฉลาดเถิด แม้อมนุษย์ทั้งหลายก็ถวายอภิวาทพระองค์ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ได้สดับเรื่องนี้มาเนืองๆ ฉะนั้น จึงกราบทูลเช่นนี้ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ถามพวกอมนุษย์ว่า ‘พวกท่านถวายอภิวาทพระชินโคดมหรือ’ พวกอมนุษย์ตอบว่า ‘พวกเราถวายอภิวาทพระชินโคดม’ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขอถวายอภิวาทพระพุทธโคดม ผู้เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ [๒๙๑] อุตตรกุรุทวีปเป็นรมณียสถาน มีภูเขาหลวงชื่อสิเนรุ แลดูงดงาม ตั้งอยู่ทางทิศใด พวกมนุษย์ซึ่งเกิดในอุตตรกุรุทวีปนั้น ไม่ยึดถือสิ่งใดว่าเป็นของตน ไม่ถือครอง มนุษย์เหล่านั้น ไม่ต้องหว่านพืช ไม่ต้องนำไถออกไถ หมู่มนุษย์บริโภคข้าวสาลี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๓๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร]

ภาณวารที่ ๒

อันผลิผลในที่ที่ไม่ต้องไถ พวกเขาหุงข้าวสาลีอันไม่มีรำ ไม่มีแกลบ บริสุทธิ์ มีกลิ่นหอม มีเมล็ดเป็นข้าวสาร บนเตาอันปราศจากควันและถ่าน แล้วบริโภคโภชนะจากที่นั้น พวกเขาใช้แม่โคแทนม้ากีบเดี่ยว แล้วเที่ยวไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่ ใช้สัตว์เลี้ยงแทนม้ากีบเดี่ยว แล้วเที่ยวไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่ ใช้หญิงเป็นพาหนะ แล้วเที่ยวไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่ ใช้ชายเป็นพาหนะ แล้วเที่ยวไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่ ใช้เด็กหญิงเป็นพาหนะ แล้วเที่ยวไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่ ใช้เด็กชายเป็นพาหนะ แล้วเที่ยวไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่ พระสนมทั้งหลายของท้าวมหาราชนั้น ก็ขึ้นสู่ยานเหล่านั้น ตามห้อมล้อมไปทุกทิศ ยานช้าง ยานม้า ยานทิพย์ ปราสาท และวอ บังเกิดแก่ท้าวมหาราชผู้มียศ ท้าวเธอทรงมีเมืองหลายเมืองที่สร้างในอากาศ คือ เมืองอาฏานาฏา เมืองกุสินาฏา เมืองปรกุสินาฏา เมืองนาฏปริยา เมืองปรกุสิฏนาฏา ทางทิศเหนือ มีเมืองกปีวันตะ และมีอีกเมืองหนึ่งชื่อชโนฆะ อีกเมืองหนึ่งชื่อนวนวติยะ และมีอีกเมืองหนึ่งชื่ออัมพรอัมพรวติยะ มีราชธานีชื่ออาฬกมันทา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๔๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร]

ภาณวารที่ ๒

ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ท้าวกุเวรมหาราช มีราชธานีชื่อวิสาณา ฉะนั้น มหาชนจึงเรียกท้าวกุเวรมหาราชว่า ‘ท้าวเวสวัณ’ ยักษ์ชื่อตโตลา ชื่อตัตตลา ชื่อตโตตลา ชื่อโอชสี ชื่อเตชสี ชื่อตโตชสี ชื่อสุระ ชื่อราชา ชื่อสูโรราชา ชื่ออริฏฐะ ชื่อเนมิ ชื่ออริฏฐเนมิ ต่างทำหน้าที่หาข่าวและประกาศให้ทราบ ในวิสาณาราชธานีนั้น มีห้วงน้ำชื่อธรณี ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดเมฆ เกิดฝนตก ในวิสาณาราชธานีนั้น มีสภาชื่อภคลวดี เป็นที่ประชุมของพวกยักษ์ มีต้นไม้ทั้งหลาย ผลิผลเป็นนิจ ดารดาษด้วยหมู่นกชนิดต่างๆ มีเสียงร้องของนกยูง นกกะเรียน และเสียงขับกล่อมจากนกดุเหว่า เป็นต้น ในวิสาณาราชธานีนั้น มีเสียงร้องของนกชีวัญชีวกะ และนกโอฏฐวจิตตกะ มีไก่ป่า ในสระบัวมีปูทองและนกชื่อโปกขรสาตกะ ในวิสาณาราชธานีนั้น มีเสียงนกแก้ว นกสาลิกาและหมู่นกทัณฑมาณวะ สระบัวของท้าวกุเวรนั้น จึงงามตลอดกาลทุกเมื่อ คนเรียกทิศนั้นว่า ทิศนั้นเป็นทิศเหนือจากภูเขาสิเนรุนี้ไป ซึ่งเป็นทิศที่ท้าวมหาราชผู้ทรงยศองค์นั้นอภิบาลอยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๔๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร]

ภาณวารที่ ๒

ท้าวมหาราชนั้นมีพระนามว่าท้าวกุเวร เป็นหัวหน้าของพวกยักษ์ มียักษ์แวดล้อม ทรงโปรดปรานด้วยการร่ายรำและการขับร้อง ข้าพระพุทธเจ้าได้สดับมาว่า ‘แม้โอรสของท้าวกุเวรจะมีมาก แต่มีพระนามเดียวกัน คือ ทั้ง ๙๑ องค์ มีนามว่าอินทะ ต่างมีพลังมาก’ ท้าวกุเวรและโอรสเหล่านั้น ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ตื่นแล้ว ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ พากันถวายอภิวาทพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ปราศจากความครั่นคร้าม แต่ที่ไกล ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นบุรุษอาชาไนย ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นบุรุษสูงสุด ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ ขอพระองค์โปรดตรวจดูด้วยพระญาณอันฉลาดเถิด แม้อมนุษย์ทั้งหลายก็ถวายอภิวาทพระองค์ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ได้สดับเรื่องนั้นมาเนืองๆ ฉะนั้น จึงกราบทูลเช่นนี้ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ถามพวกอมนุษย์ว่า ‘พวกท่านถวายอภิวาทพระชินโคดมหรือ’ พวกอมนุษย์ตอบว่า ‘พวกเราถวายอภิวาทพระชินโคดม’ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขอถวายอภิวาทพระพุทธโคดม ผู้เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๔๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร]

ภาณวารที่ ๒

[๒๙๒] ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ นี้แหละ คือ มนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏา- นาฏิยะนั้น เพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อไม่ถูกเบียดเบียน เพื่ออยู่สำราญของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ผู้ใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรือ อุบาสิกา ผู้เรียนมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะนี้จนจบครบบริบูรณ์แล้ว หากว่า อมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นยักษ์ ยักษิณี บุตรยักษ์ ธิดายักษ์ มหาอำมาตย์ของยักษ์ บริวารของยักษ์ ผู้รับใช้ของยักษ์ก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นคนธรรพ์ นางคนธรรพ์ บุตร คนธรรพ์ ธิดาคนธรรพ์ มหาอำมาตย์ของคนธรรพ์ บริวารของคนธรรพ์ ผู้รับใช้ของ คนธรรพ์ก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นกุมภัณฑ์ นางกุมภัณฑ์ บุตรกุมภัณฑ์ ธิดากุมภัณฑ์ มหาอำมาตย์ของกุมภัณฑ์ บริวารของกุมภัณฑ์ ผู้รับใช้ของกุมภัณฑ์ก็ตาม ไม่ว่า จะเป็นนาค นางนาค บุตรนาค ธิดานาค มหาอำมาตย์ของนาค บริวารของนาค ผู้รับใช้ของนาคก็ตาม มีจิตประทุษร้าย เดินตามภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา ผู้กำลังเดินไป ยืนใกล้ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา ผู้ยืนอยู่ นั่งใกล้ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา ผู้นั่งอยู่ หรือนอนใกล้ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรือ อุบาสิกา ผู้นอนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ อมนุษย์นั้นไม่พึงได้สักการะ หรือความเคารพ ในหมู่ บ้านหรือในนิคมของข้าพระพุทธเจ้า ไม่พึงได้พื้นที่บ้าน หรือที่อยู่ในราชธานีชื่อว่า อาฬกมันทาของข้าพระพุทธเจ้า ไม่อาจเข้าสมาคมของพวกยักษ์ของข้าพระพุทธเจ้า อีกประการหนึ่ง อมนุษย์ทั้งหลายไม่พึงทำอาวาหมงคลและวิวาหมงคลกับ อมนุษย์นั้น อีกประการหนึ่ง อมนุษย์ทั้งหลายด่าอมนุษย์นั้นด้วยคำด่าที่ตรงตัวเต็มปาก เต็มคำ อีกประการหนึ่ง อมนุษย์ทั้งหลายพึงเอาบาตรเปล่าครอบศีรษะอมนุษย์นั้น อีกประการหนึ่ง อมนุษย์ทั้งหลายพึงผ่าศีรษะอมนุษย์นั้นออกเป็น ๗ เสี่ยง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๔๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร]

ภาณวารที่ ๒

ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ มีอมนุษย์ทั้งหลาย ที่ดุร้าย โหดเหี้ยม ทำเกินเหตุ อมนุษย์เหล่านั้นไม่เชื่อฟังท้าวมหาราช ไม่เชื่อฟังเสนาบดีของท้าวมหาราช ไม่เชื่อฟังผู้ช่วยเสนาบดีของท้าวมหาราช ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ อมนุษย์เหล่านั้น เรียกว่า เป็นศัตรูของท้าวมหาราช เหมือนมหาโจรทั้งหลายในแว่นแคว้นของพระราชา ผู้ครองแคว้นมคธ มหาโจรเหล่านั้นไม่เชื่อฟังพระราชาผู้ครองแคว้นมคธ ไม่เชื่อฟัง เสนาบดีของพระราชาผู้ครองแคว้นมคธ ไม่เชื่อฟังผู้ช่วยเสนาบดีของพระราชา ผู้ครองแคว้นมคธ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ มหาโจรเหล่านั้น เรียกว่า เป็นศัตรูของ พระราชาผู้ครองแคว้นมคธ ฉันใด มีอมนุษย์ทั้งหลาย ที่ดุร้าย โหดเหี้ยม ทำเกินเหตุ อมนุษย์เหล่านั้น ไม่เชื่อฟังท้าวมหาราช ไม่เชื่อฟังเสนาบดีของท้าวมหาราช ไม่เชื่อฟัง ผู้ช่วยเสนาบดีของท้าวมหาราช ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ อมนุษย์เหล่านั้น เรียกว่า เป็นศัตรูของท้าวมหาราช ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ อมนุษย์ผู้ใดผู้หนึ่งไม่ว่าจะเป็นยักษ์ ยักษิณี บุตรยักษ์ ธิดายักษ์ มหาอำมาตย์ของยักษ์ บริวารของยักษ์ ผู้รับใช้ของยักษ์ก็ตาม ไม่ว่าจะเป็น คนธรรพ์ นางคนธรรพ์ บุตรคนธรรพ์ ธิดาคนธรรพ์ มหาอำมาตย์ของคนธรรพ์ บริวารของคนธรรพ์ ผู้รับใช้ของคนธรรพ์ก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นกุมภัณฑ์ นางกุมภัณฑ์ บุตรกุมภัณฑ์ ธิดากุมภัณฑ์ มหาอำมาตย์ของกุมภัณฑ์ บริวารของกุมภัณฑ์ ผู้รับใช้ของกุมภัณฑ์ก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นนาค นางนาค บุตรนาค ธิดานาค มหาอำมาตย์ของนาค บริวารของนาค ผู้รับใช้ของนาคก็ตาม มีจิตประทุษร้าย เดินตามภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา ผู้กำลังเดินอยู่ ยืนใกล้ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา ผู้ยืนอยู่ นั่งใกล้ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา ผู้นั่งอยู่ หรือนอนใกล้ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา ผู้นอนอยู่ พึงกล่าวโทษ ร้องทุกข์ ร้องเรียนต่อยักษ์ มหายักษ์ เสนาบดียักษ์ มหาเสนาบดียักษ์เหล่านี้ว่า ‘ยักษ์นี้สิง ยักษ์นี้เข้าสิง ยักษ์นี้ระราน ยักษ์นี้รุกราน ยักษ์นี้เบียดเบียน ยักษ์นี้บีบคั้น ยักษ์นี้ ไม่ยอมปล่อย’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๔๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร]

ภาณวารที่ ๒

[๒๙๓] ยักษ์ มหายักษ์ เสนาบดียักษ์ มหาเสนาบดียักษ์ คือใคร คือ อินทะ ๑ โสมะ ๑ วรุณะ ๑ ภารทวาชะ ๑ ปชาบดี ๑ จันทนะ ๑ กามเสฏฐะ ๑ กินนุฆัณฑุ ๑ นิฆัณฑุ ๑ ปนาทะ ๑ โอปมัญญะ ๑ เทวสูตะ ๑ มาตลิ ๑ จิตตเสนะ ๑ คันธัพพะ ๑ นโฬราชา ๑ ชโนสภะ ๑ สาตาคิระ ๑ เหมวตะ ๑ ปุณณกะ ๑ กรติยะ ๑ คุฬะ ๑ สิวกะ ๑ มุจลินทะ ๑ เวสสามิตตะ ๑ ยุคันธระ ๑ โคปาละ ๑ สุปปเคธะ ๑ หิริ ๑ เนตติ ๑ มันทิยะ ๑ ปัญจาลจันทะ ๑ อาฬวกะ ๑ ปชุนนะ ๑ สุมนะ ๑ สุมุขะ ๑ ทธิมุขะ ๑ มณิ ๑ มานิจระ ๑ ทีฆะ ๑ รวมทั้งเสรีสกะด้วย พุทธบริษัท พึงกล่าวโทษ ร้องทุกข์ ร้องเรียนต่อยักษ์ มหายักษ์ เสนาบดียักษ์ มหาเสนาบดียักษ์เหล่านี้ว่า ‘ยักษ์นี้สิง ยักษ์นี้เข้าสิง ยักษ์นี้ระราน ยักษ์นี้รุกราน ยักษ์นี้เบียดเบียน ยักษ์นี้บีบคั้น ยักษ์นี้ไม่ยอมปล่อย’ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ นี้แหละ คือ มนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะ เพื่อ คุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่ออยู่สำราญของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ บัดนี้ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายขอทูลลากลับ เพราะ มีกิจมาก มีหน้าที่ที่จะต้องทำมาก พระพุทธเจ้าข้า’ เราได้กล่าวว่า ‘มหาราช ทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลายจงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๔๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร]

ภาณวารที่ ๒

[๒๙๔] ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ลุกจากที่ประทับ ไหว้เรา กระทำประทักษิณแล้วอันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง แม้พวกยักษ์เหล่านั้นก็ลุกจากที่นั่ง บางพวกก็ไหว้เรา กระทำประทักษิณแล้วอันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง บางพวกสนทนา ปราศรัย พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันกับเราแล้วอันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง บางพวกประนมมือมาทางที่เราอยู่แล้วอันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง บางพวกประกาศ ชื่อและโคตรแล้วอันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง บางพวกอันตรธานไปเสียเฉยๆ ณ ที่ นั้นเอง [๒๙๕] ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเรียนมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะ จงเล่าเรียนมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะ จงทรงจำมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏา- นาฏิยะไว้ ภิกษุทั้งหลาย มนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะนี้ ประกอบด้วยประโยชน์ เพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่ออยู่สำราญของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ ภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล
อาฏานาฏิยสูตรที่ ๙ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๔๖}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๒๑๙-๒๔๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=11&A=6295 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=11&siri=9              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับฉบับหลวง https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=11&A=4207&Z=4500&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=207              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_11 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu11 https://84000.org/tipitaka/english/?index_11


บันทึก ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]