ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
๖. อากังเขยยสูตร๑-
ว่าด้วยความหวัง ๑๗ ประการ
[๖๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีศีลสมบูรณ์ มีปาติโมกข์สมบูรณ์อยู่ จง สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจร๒- อยู่ จงเป็น ผู้เห็นภัยในโทษแม้เพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๗๑/๑๕๖ @ คำว่า อาจาระ หมายถึงความไม่ล่วงละเมิดทางกาย ทางวาจา และทางใจ ความสำรวมระวังในศีลทั้งปวง @และความที่ภิกษุไม่เลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาอาชีวะที่พระพุทธเจ้าทรงตำหนิ คำว่า โคจร หมายถึงการไม่เที่ยว @ไปยังสถานที่ไม่ควรเที่ยวไป เช่น ที่อยู่ของหญิงแพศยา การไม่คลุกคลีกับบุคคลที่ไม่สมควรคลุกคลีด้วย @เช่น พระราชา การไม่คบหากับตระกูลที่ไม่สมควรคบหา เช่น ตระกูลที่ไม่มีศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใส @ภิกษุผู้ประกอบด้วยอาจาระและโคจรดังกล่าวมานี้ ชื่อว่า ผู้เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจร @(อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๕๑๓-๕๑๔/๓๘๘-๓๘๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๕๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๖. อากังเขยยสูตร

[๖๕] ภิกษุทั้งหลาย ๑. หากภิกษุพึงหวังว่า ‘เราพึงเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย’ ภิกษุนั้นพึงทำศีล ให้บริบูรณ์ หมั่นประกอบธรรมเครื่องสงบใจภายในตน ไม่เหิน ห่างจากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา๑- เพิ่มพูนเรือนว่าง๒- ๒. หากภิกษุพึงหวังว่า ‘เราพึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร’ ภิกษุนั้นพึงทำศีลให้บริบูรณ์ หมั่นประกอบ ธรรมเครื่องสงบใจภายในตน ไม่เหินห่างจากฌาน ประกอบด้วย วิปัสสนา เพิ่มพูนเรือนว่าง ๓. หากภิกษุพึงหวังว่า ‘เราพึงบริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารของชนเหล่าใด ขอสักการะของชน เหล่านั้น พึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก’ ภิกษุนั้นพึงทำศีลให้บริบูรณ์ หมั่นประกอบธรรมเครื่องสงบใจภายในตน ไม่เหินห่างจากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนเรือนว่าง ๔. หากภิกษุพึงหวังว่า ‘ญาติสาโลหิต๓- เหล่าใดผู้ล่วงลับไปแล้ว มีจิต เลื่อมใส ระลึกถึงเราอยู่ ขอการระลึกถึงเราของญาติสาโลหิต เหล่านั้นพึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก’ ภิกษุนั้นพึงทำศีลให้บริบูรณ์ หมั่นประกอบธรรมเครื่องสงบใจภายในตน ไม่เหินห่างจากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนเรือนว่าง @เชิงอรรถ : @ วิปัสสนา หมายถึงอนุปัสสนา ๗ ประการ คือ (๑) อนิจจานุปัสสนา (พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง) @(๒) ทุกขานุปัสสนา (พิจารณาเห็นความเป็นทุกข์) (๓) อนัตตานุปัสสนา (พิจารณาเห็นความไม่มีตัวตน) @(๔) นิพพิทานุปัสสนา (พิจารณาเห็นความน่าเบื่อหน่าย) (๕) วิราคานุปัสสนา (พิจารณาเห็นความคลาย @กำหนัด) (๖) นิโรธานุปัสสนา (พิจารณาเห็นความดับกิเลส) (๗) ปฏินิสสัคคานุปัสสนา (พิจารณาเห็น @ความสลัดทิ้งกิเลส) (ม.มู.อ. ๑/๖๕/๑๖๙) @ เพิ่มพูนเรือนว่าง ในที่นี้หมายถึงการเรียนกัมมัฏฐาน คือ สมถะและวิปัสสนา เข้าไปสู่เรือนว่างนั่ง @พิจารณาอยู่ตลอดคืนและวัน แล้วบำเพ็ญอธิจิตตสิกขาด้วยสมถกัมมัฏฐาน บำเพ็ญอธิปัญญาสิกขาด้วย @วิปัสสนากัมมัฏฐาน (ม.มู.อ. ๑/๖๔/๑๖๙-๑๗๐, องฺ.ทสก.อ. ๓/๗๑/๓๕๗) @ ญาติ หมายถึงบิดามารดาของสามี หรือบิดามารดาของภรรยาและเครือญาติของทั้ง ๒ ฝ่าย @สาโลหิต หมายถึงผู้ร่วมสายเลือดเดียวกัน ได้แก่ ปู่หรือตา เป็นต้น (ม.มู.อ. ๑/๖๕/๑๗๒, @ม.มู.ฏีกา ๑/๖๕/๓๒๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๕๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๖. อากังเขยยสูตร

[๖๖] ภิกษุทั้งหลาย ๕. หากภิกษุพึงหวังว่า ‘เราพึงข่มความไม่ยินดี(ในกุศลธรรม) และ ความยินดี(ในกามคุณ ๕) อนึ่ง ความไม่ยินดี ไม่พึงครอบงำเรา เราพึงครอบงำย่ำยีความไม่ยินดีที่เกิดขึ้นอยู่’ ภิกษุนั้นพึงทำศีลให้ บริบูรณ์ ฯลฯ เพิ่มพูนเรือนว่าง ๖. หากภิกษุพึงหวังว่า ‘เราพึงเอาชนะความขลาดกลัว อนึ่ง ความ ขลาดกลัวไม่พึงครอบงำเรา เราพึงเอาชนะ ครอบงำ ย่ำยีความ ขลาดกลัวที่เกิดขึ้นอยู่’ ภิกษุนั้นพึงทำศีลให้บริบูรณ์ ฯลฯ เพิ่มพูนเรือนว่าง ๗. หากภิกษุพึงหวังว่า ‘เราพึงได้ฌาน ๔ ซึ่งเป็นอภิเจตสิก๑- เป็น เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก’ ภิกษุนั้นพึงทำศีลให้บริบูรณ์ ฯลฯ เพิ่มพูน เรือนว่าง ๘. หากภิกษุพึงหวังว่า ‘เราพึงบรรลุวิโมกข์ที่สงบ เป็นอรูปฌาน เพราะก้าวล่วงรูปาวจรฌานด้วยนามกาย’ ภิกษุนั้นพึงทำศีลให้ บริบูรณ์ ฯลฯ เพิ่มพูนเรือนว่าง [๖๗] ภิกษุทั้งหลาย ๙. หากภิกษุพึงหวังว่า ‘เราพึงเป็นพระโสดาบัน๒- เพราะสังโยชน์๓-@เชิงอรรถ : @ อภิเจตสิก หมายถึงอุปจารสมาธิ (ม.มู.อ. ๑/๖๖/๑๗๓) @ โสดาบัน หมายถึงผู้ประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ เพราะคำว่า โสตะ เป็นชื่อของอริยมรรคมีองค์ ๘ @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๑/๕๓ ดูประกอบใน สํ.ม. (แปล) ๑๙/๑๐๐๑/๔๙๕) @ สังโยชน์ หมายถึงกิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดใจสัตว์ไว้กับทุกข์ มี ๑๐ ประการ คือ (๑) สักกายทิฏฐิ @(๒) วิจิกิจฉา (๓) สีลัพพตปรามาส (๔) กามฉันทะหรือกามราคะ (๕) พยาบาทหรือปฏิฆะ (๖) รูปราคะ @(๗) อรูปราคะ (๘) มานะ (๙) อุทธัจจะ (๑๐) อวิชชา @๕ ข้อต้นชื่อโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ข้อหลังชื่ออุทธัมภาคิยสังโยชน์ พระโสดาบันละสังโยชน์ ๓ ข้อต้นได้ @พระสกทาคามีทำสังโยชน์ที่ ๔ และที่ ๕ ให้เบาบาง พระอนาคามีละสังโยชน์ ๕ ข้อต้นได้หมด @พระอรหันต์ละสังโยชน์ได้หมดทั้ง ๑๐ ข้อ (องฺ.ทสก.(แปล) ๒๔/๑๓/๒๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๕๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๖. อากังเขยยสูตร

ประการสิ้นไป ไม่มีทางตกต่ำ๑- มีความแน่นอนที่จะสำเร็จ สัมโพธิ๒- ในวันข้างหน้า’ ภิกษุนั้นพึงทำศีลให้บริบูรณ์ ฯลฯ เพิ่มพูนเรือนว่าง ๑๐. หากภิกษุพึงหวังว่า ‘เราพึงเป็นพระสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป (และ)เพราะทำราคะ โทสะ โมหะให้เบาบาง กลับมาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียว แล้วทำที่สุดแห่งทุกข์ได้’ ภิกษุนั้น พึงทำศีลให้บริบูรณ์ หมั่นประกอบธรรมเครื่องสงบใจภายในตน ไม่เหินห่างจากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนเรือนว่าง ๑๑. หากภิกษุพึงหวังว่า ‘เราพึงเป็นโอปปาติกะ๓- เพราะโอรัมภาคิย- สังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป ปรินิพพานในพรหมโลกนั้น ไม่ต้อง กลับมาจากโลกนั้นอีก’ ภิกษุนั้นพึงทำศีลให้บริบูรณ์ ฯลฯ เพิ่มพูน เรือนว่าง [๖๘] ภิกษุทั้งหลาย ๑๒. หากภิกษุพึงหวังว่า ‘เราพึงบรรลุวิธีแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏหรือให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง และภูเขา ไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงในแผ่นดิน เหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบน แผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพ มากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้’ ภิกษุนั้นพึง ทำศีลให้บริบูรณ์ ฯลฯ เพิ่มพูนเรือนว่าง @เชิงอรรถ : @ ไม่มีทางตกต่ำ หมายถึงไม่ตกไปในอบาย ๔ คือ นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน แดนเปรต และพวกอสูร @(องฺ.ติก.อ. ๒/๘๗/๒๔๒) @ สัมโพธิ ในที่นี้หมายถึงมรรค ๓ เบื้องสูง (สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค) @(องฺ.ติก.อ. ๒/๘๗/๒๔๒, องฺ.ติก.ฏีกา ๒/๘๗/๒๓๕) @ โอปปาติกะ หมายถึงสัตว์ที่เกิดและเติบโตเต็มที่ทันที และเมื่อจุติ(ตาย) ก็หายวับไปไม่ทิ้งซากศพไว้ เช่น @เทวดาและสัตว์นรกเป็นต้น (เทียบ ที.สี.อ. ๑๗๑/๑๔๙) แต่ในที่นี้หมายถึงพระอนาคามีที่เกิดในสุทธาวาส @(ที่อยู่ของท่านผู้บริสุทธิ์) ๕ ชั้น มีชั้นอวิหาเป็นต้น แล้วดำรงภาวะอยู่ในชั้นนั้นๆ ปรินิพพานสิ้นกิเลส @ในสุทธาวาสนั่นเอง ไม่กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๗-๘๘/๒๔๒-๒๔๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๕๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๖. อากังเขยยสูตร

๑๓. หากภิกษุพึงหวังว่า ‘เราพึงได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ (๑) เสียงทิพย์ (๒) เสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและอยู่ใกล้ ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์ เหนือมนุษย์’ ภิกษุนั้นพึงทำศีลให้บริบูรณ์ ฯลฯ เพิ่มพูนเรือนว่าง ๑๔. หากภิกษุพึงหวังว่า ‘เราพึงกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่นและบุคคลอื่น คือ จิตมีราคะก็รู้ชัดว่า ‘จิตมีราคะ’ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ชัด ว่า ‘จิตปราศจากราคะ’ จิตมีโทสะก็รู้ชัดว่า ‘จิตมีโทสะ’ หรือจิต ปราศจากโทสะก็รู้ชัดว่า ‘จิตปราศจากโทสะ’ จิตมีโมหะก็รู้ชัดว่า ‘จิตมีโมหะ’ หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ชัดว่า ‘จิตปราศจากโมหะ’ จิตหดหู่ก็รู้ชัดว่า ‘จิตหดหู่’ หรือจิตฟุ้งซ่านก็รู้ชัดว่า ‘จิตฟุ้งซ่าน’ จิตเป็นมหัคคตะ๑- ก็รู้ชัดว่า ‘จิตเป็นมหัคคตะ’ หรือจิตไม่เป็น มหัคคตะก็รู้ชัดว่า ‘จิตไม่เป็นมหัคคตะ’ จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ชัด ว่า ‘จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า’ หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ชัดว่า ‘จิตไม่มี จิตอื่นยิ่งกว่า’ จิตเป็นสมาธิก็รู้ชัดว่า ‘จิตเป็นสมาธิ’ หรือจิตไม่ เป็นสมาธิก็รู้ชัดว่า ‘จิตไม่เป็นสมาธิ’ จิตหลุดพ้นก็รู้ชัดว่า ‘จิต หลุดพ้น’ หรือจิตไม่หลุดพ้นก็รู้ชัดว่า ‘จิตไม่หลุดพ้น’ ภิกษุนั้น พึงทำศีลให้บริบูรณ์ ฯลฯ เพิ่มพูนเรือนว่าง ๑๕. หากภิกษุพึงหวังว่า ‘เราพึงระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอด สังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัป๒- เป็นอันมากบ้างว่า ‘ในภพโน้นเรา มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และ มีอายุอย่างนั้นๆ จุติจากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้นๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้’ เราระลึก @เชิงอรรถ : @ มหัคคตะ หมายถึงอารมณ์ที่ถึงความเป็นใหญ่ชั้นรูปาวจรและชั้นอรูปาวจร เพราะมีผลที่สามารถข่มกิเลสได้ @และหมายถึงฉันทะ วิริยะ จิตตะ และปัญญาอันยิ่งใหญ่ (อภิ.สงฺ.อ. ๑๒/๙๒) @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๕๒ (ภยเภรวสูตร) หน้า ๔๒ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๖๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๖. อากังเขยยสูตร

ชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไป และชีวประวัติอย่างนี้’ ภิกษุนั้นพึงทำศีลให้บริบูรณ์ ฯลฯ เพิ่มพูนเรือนว่าง ๑๖. หากภิกษุพึงหวังว่า ‘เราพึงเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้ง ชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์ อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า ‘หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต กล่าวร้าย พระอริยะ มีความเห็นผิด และชักชวนผู้อื่นให้ทำตามความเห็นผิด พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก๑- แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่กล่าว ร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบ และชักชวนผู้อื่นให้ทำตามความ เห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เราเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและ ไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้แล’ ภิกษุนั้นพึงทำศีลให้ บริบูรณ์ หมั่นประกอบธรรมเครื่องสงบใจภายในตน ไม่เหินห่าง จากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนเรือนว่าง [๖๙] ภิกษุทั้งหลาย ๑๗. หากภิกษุพึงหวังว่า ‘เราพึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ๒- ปัญญาวิมุตติ๓- อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึง @เชิงอรรถ : @ ชื่อว่า อบาย เพราะปราศจากความงอกงาม คือความเจริญหรือความสุข ชื่อว่า ทุคติ เพราะเป็นคติ @คือเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ ชื่อว่า วินิบาต เพราะเป็นสถานที่ตกไปของหมู่สัตว์ที่ทำความชั่ว ชื่อว่า นรก เพราะ @ปราศจากความยินดี เหตุเป็นที่ไม่มีความสบายใจ (ม.มู.อ. ๑/๑๕๓/๓๕๘) @ เจโตวิมุตติ หมายถึงสมาธิที่สัมปยุตด้วยอรหัตตผล ที่ชื่อว่า เจโตวิมุตติ เพราะพ้นจากราคะ(ที่เป็น @ปฏิปักขธรรมโดยตรง แต่มิได้หมายความว่าจะระงับบาปธรรมอื่นไม่ได้ ดู ม.มู.ฏีกา ๑/๖๙/๓๓๔) ในที่นี้ @หมายถึงความหลุดพ้นด้วยมีสมถกัมมัฏฐานเป็นพื้นฐาน (ม.มู.อ. ๑/๖๙/๑๗๗, เทียบ องฺ.ทุก.อ. ๒/๘๘/๖๒) @ ปัญญาวิมุตติ หมายถึงปัญญาที่สหรคตด้วยอรหัตตผลนั้น ที่ชื่อว่า ปัญญาวิมุตติ เพราะหลุดพ้นจาก @อวิชชา(ที่เป็นปฏิปักขธรรมโดยตรง แต่มิได้หมายความว่าจะระงับบาปธรรมอื่นไม่ได้ ดู ม.มู.ฏีกา ๑/๖๙/ @๓๓๔) ในที่นี้หมายถึงความหลุดพ้นด้วยมีวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นพื้นฐาน (ม.มู.อ. ๑/๖๙/๑๗๗, เทียบ @องฺ.ทุก.อ. ๒/๘๘/๖๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๖๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๗. วัตถูปมสูตร

อยู่ในปัจจุบัน’ ภิกษุนั้นพึงทำศีลให้บริบูรณ์ หมั่นประกอบธรรม เครื่องสงบใจภายในตน ไม่เหินห่างจากฌาน ประกอบด้วย วิปัสสนา เพิ่มพูนเรือนว่าง ภิกษุทั้งหลาย เราเห็นประโยชน์จึงกล่าวว่า ‘เธอทั้งหลายจงมีศีลสมบูรณ์ มีปาติโมกข์สมบูรณ์อยู่ จงสำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วย อาจาระและโคจรอยู่ จงเป็นผู้เห็นภัยในโทษแม้เพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาใน สิกขาบททั้งหลาย” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
อากังเขยยสูตรที่ ๖ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๕๖-๖๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=12&A=1610 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=12&siri=6              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับฉบับหลวง https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=1024&Z=1135&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=73              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_12 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu12 https://84000.org/tipitaka/english/?index_12


บันทึก ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]