ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
๗. มหาสกุลุทายิสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อสกุลุทายี สูตรใหญ่
[๒๓๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้นแล ปริพาชกผู้มีชื่อเสียงจำนวนมาก คือ ปริพาชกชื่อ อันนภาระ ปริพาชกชื่อวรตระ ปริพาชกชื่อสกุลุทายี และปริพาชกเหล่าอื่นล้วนมี ชื่อเสียง อาศัยอยู่ในอารามของปริพาชกอันเป็นที่ให้เหยื่อแก่นกยูง ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุง ราชคฤห์ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้มีพระดำริว่า “ยังเช้าเกินไปที่จะเที่ยวบิณฑบาตในเขตกรุงราชคฤห์ ทางที่ดี เราควรเข้าไป หาสกุลุทายีปริพาชก จนถึงอารามของปริพาชกอันเป็นที่ให้เหยื่อแก่นกยูง” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้เสด็จเข้าไปยังอารามของปริพาชกอันเป็นที่ให้เหยื่อ แก่นกยูง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๗๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๗. มหาสกุลุทายิสูตร

ดิรัจฉานกถา
สมัยนั้น สกุลุทายีปริพาชกกำลังนั่งอยู่กับปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่ผู้กำลัง สนทนาถึงดิรัจฉานกถาต่างๆ ด้วยเสียงดังอื้ออึง คือ พูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องการรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องพวงดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่อง นิคม เรื่องเมืองหลวง เรื่องชนบท เรื่องสตรี (เรื่องบุรุษ) เรื่องคนกล้าหาญ เรื่อง ตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่อง ความเจริญและความเสื่อมอย่างนั้นๆ สกุลุทายีปริพาชกได้เห็นพระผู้มีพระภาค กำลังเสด็จมาแต่ไกล จึงห้ามบริษัทของตนว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย โปรดเงียบหน่อย อย่าส่งเสียงอื้ออึง พระสมณโคดม กำลังเสด็จมา พระองค์โปรดเสียงเบา ทรงแนะนำให้พูดกันเบาๆ ตรัสสรรเสริญคุณ ของคนที่พูดเสียงเบา บางทีพระองค์ทรงทราบว่า บริษัทเสียงเบา พระองค์อาจจะ เสด็จเข้ามาหาก็ได้” ลำดับนั้น ปริพาชกเหล่านั้นจึงได้พากันนิ่ง ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้เสด็จ เข้าไปหาสกุลุทายีปริพาชกถึงที่อยู่ สกุลุทายีปริพาชกทูลเชื้อเชิญพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอเชิญพระผู้มีพระภาคจงเสด็จเข้ามาเถิด ขอต้อนรับ เสด็จ นานๆ พระองค์จะมีเวลาเสด็จมาที่นี้ ขอเชิญพระผู้มีพระภาคประทับนั่งเถิด อาสนะนี้ปูลาดไว้แล้ว พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคจึงประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว แม้สกุลุทายีปริพาชก ก็เลือกนั่ง ณ ที่สมควรที่ใดที่หนึ่งซึ่งต่ำกว่า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามสกุลุทายี- ปริพาชกว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๗๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๗. มหาสกุลุทายิสูตร

เรื่องการทำความเคารพ
[๒๓๘] “อุทายี บัดนี้ ท่านทั้งหลายนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เรื่องอะไรที่ท่านทั้งหลายสนทนากันค้างไว้” สกุลุทายีปริพาชกทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องที่ข้าพระองค์ ทั้งหลายนั่งประชุมสนทนากันในเวลานี้ ของดไว้ก่อนเถิด เรื่องนี้พระผู้มีพระภาค จะทรงสดับได้ในภายหลังโดยไม่ยาก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันก่อนๆ พวกสมณ- พราหมณ์ผู้มีลัทธิต่างกันได้มาชุมนุมกันที่ศาลาถกแถลง๑- ได้สนทนากันถึงเรื่องนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เป็นลาภ๒- ของชาวอังคะและชาวมคธหนอ ชาวอังคะและ ชาวมคธได้ดีแล้วหนอ ที่สมณพราหมณ์ผู้เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ เป็นผู้ มีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ คนจำนวนมากยกย่องกันว่าเป็นคนดี เข้าจำพรรษา ณ กรุงราชคฤห์แล้ว คือ ปูรณะ กัสสปะ๓- ผู้เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ เป็นผู้มีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ คนจำนวนมากยกย่องกัน ว่าเป็นคนดี เข้าจำพรรษา ณ กรุงราชคฤห์แล้ว มักขลิ โคสาล๔- ... อชิตะ @เชิงอรรถ : @ ศัพท์บาลีว่า กุตูหลสาลา อรรถกถาแก้ว่า ไม่มีศาลาที่มีชื่ออย่างนี้โดยเฉพาะ แต่เป็นสถานที่ที่สมณ- @พราหมณ์ผู้เป็นเดียรถีย์ต่างพวกมาแสดงทรรศนะตามลัทธิของตน (ที.สี.อ. ๑/๔๑๑/๓๐๔) อีกนัยหนึ่ง @หมายถึงการประชุมสนทนาประกาศลัทธิ ทำให้ประชาชนทราบว่า ‘คนนี้พูดอะไร คนนี้ประกาศอะไร’ @เป็นต้น (ม.ม.อ. ๒/๒๓๘/๑๗๓) @ ลาภ ในที่นี้หมายถึงการได้เห็น การได้ถามปัญหา หรือการได้ฟังธรรมกถาจากสมณพราหมณ์ทั้งหลาย @(ม.ม.อ. ๒/๒๓๘/๑๗๓) @ คำว่า ปูรณะ เป็นชื่อของเขา เหตุที่ชื่ออย่างนั้นเพราะเขาเป็นทาสคนที่ครบร้อยพอดี คำว่า กัสสปะ เป็นชื่อ @โคตร รวมทั้งชื่อและโคตรเรียกว่า ปูรณกัสสปะ (ที.สี.อ. ๑/๑๕๑/๑๓๐, ม.มู.อ. ๒/๓๑๒/๑๔๐) @ คำว่า มักขลิ เป็นชื่อที่ ๑ ของเขา เหตุที่มีชื่ออย่างนั้นเพราะเขาเป็นคนถือหม้อน้ำมันเดินตามทางที่มี @เปือกตม มักจะได้รับคำเตือนจากนายว่า มา ขลิ (อย่าลื่นนะ) คำว่า โคสาล เป็นชื่อที่ ๒ เพราะเขาเกิดใน @โรงโค (ที.สี.อ. ๑/๑๕๒/๑๓๑, ม.มู.อ. ๒/๓๑๒/๑๔๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๘๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๗. มหาสกุลุทายิสูตร

เกสกัมพล๑- ... ปกุธะ กัจจายนะ๒- ... สัญชัย เวลัฏฐบุตร๓- ... นิครนถ์ นาฏบุตร๔- ผู้เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ เป็นผู้มีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ คนจำนวนมากยกย่องกันว่าเป็นคนดี รวมทั้งพระสมณโคดมแม้นี้ ผู้เป็นเจ้าหมู่ เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ เป็นผู้มีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ คนจำนวนมาก ยกย่องกันว่าเป็นคนดี พระองค์ก็เสด็จเข้าจำพรรษา ณ กรุงราชคฤห์เหมือนกัน บรรดาท่านสมณพราหมณ์ผู้เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ เป็นผู้มีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ คนจำนวนมากยกย่องกันว่าเป็นคนดีนี้ ใครเล่าหนอที่ สาวกทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชา และสาวกทั้งหลายสักการะ เคารพแล้ว อาศัยใครเล่าอยู่’
เรื่องศิษย์ไม่เคารพครูทั้ง ๖
[๒๓๙] ในที่ประชุมนั้น สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ครูปูรณะ กัสสปะนี้ถึงจะเป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ เป็นผู้มีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ คนจำนวนมากยกย่องกันว่าเป็นคนดี แต่สาวกทั้งหลายก็ไม่ยอม สักการะ เคารพ นับถือ บูชา และสาวกทั้งหลายสักการะ เคารพแล้ว ก็ไม่อาศัย ครูปูรณะ กัสสปะอยู่ เรื่องเคยมีมาแล้ว ครูปูรณะ กัสสปะแสดงธรรมแก่บริษัทหลายร้อย ในบริษัทนั้น สาวกคนหนึ่งของครูปูรณะ กัสสปะได้ส่งเสียงขึ้นว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย อย่าถาม เนื้อความนี้กับครูปูรณะ กัสสปะเลย ครูปูรณะ กัสสปะนี้ไม่รู้เนื้อความนี้ พวกเราสิ @เชิงอรรถ : @ คำว่า อชิตะ เป็นชื่อของเขา และได้ชื่อว่าเกสกัมพล ก็เพราะนุ่งผ้าที่ทำด้วยผมของมนุษย์ @(ที.สี.อ. ๑/๑๕๓/๑๓๑, ม.มู.อ. ๒/๓๑๒/๑๔๑) @ คำว่า ปกุธะ เป็นชื่อของเขา คำว่า กัจจายนะ เป็นชื่อโคตรเรียกรวมทั้งชื่อและโคตรว่า ปกุธกัจจายนะ @(ที.สี.อ. ๑/๑๕๔/๑๓๒, ม.มู.อ. ๒/๓๑๒/๑๔๑) @ คำว่า สัญชัย เป็นชื่อของเขา คำว่า เวลัฏฐบุตร เป็นชื่อที่ ๒ เพราะเป็นบุตรของช่างสาน @(ที.สี.อ. ๑/๑๕๕/๑๓๒, ม.มู.อ. ๒/๓๑๒/๑๔๑) @ คำว่านิครนถ์เป็นชื่อของเขาที่มีชื่ออย่างนั้นเพราะเขามักกล่าวว่า‘เราไม่มีกิเลสเครื่องร้อยรัด‘ คำว่านาฏบุตร @เป็นอีกชื่อหนึ่งของเขา เพราะเขาเป็นบุตรของนักฟ้อน (ที.สี.อ. ๑/๑๕๖/๑๓๒, ม.มู.อ. ๒/๓๑๒/๑๔๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๘๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๗. มหาสกุลุทายิสูตร

จึงจะรู้เนื้อความนี้ พวกท่านจงถามเนื้อความนี้กับพวกเราเถิด พวกเราจักอธิบายให้ ท่านฟัง’ เรื่องเคยมีมาแล้ว ครูปูรณะ กัสสปะยกมือทั้งสองขึ้น แล้วกล่าวขอร้องว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จงเงียบเสียงหน่อย อย่าส่งเสียงไปเลย ท่านพวกนี้จะถาม พวกท่านไม่ได้ แต่ถามเราได้ เราจักอธิบายให้ท่านพวกนี้ฟัง’ ก็ห้ามไม่ได้ อนึ่ง สาวกของครูปูรณะ กัสสปะเป็นอันมาก พากันยกโทษว่า ‘ท่านไม่รู้ทั่ว ถึงธรรมวินัยนี้ แต่ผมรู้ทั่วถึง ท่านจะรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด แต่ผมปฏิบัติถูก คำพูดของผมมีประโยชน์ แต่คำพูดของท่านไม่มีประโยชน์ คำที่ ควรพูดก่อนท่านกลับพูดภายหลัง คำที่ควรพูดภายหลัง ท่านกลับพูดก่อน เรื่องที่ ท่านเคยชินได้ผันแปรไปแล้ว ผมจับผิดคำพูดของท่านได้แล้ว ผมข่มท่านได้แล้ว ถ้าท่านมีความสามารถก็จงหาทางแก้ไขคำพูดหรือเปลื้องตนให้พ้นผิดเถิด’ แล้วพา กันหลีกไป พวกสาวกไม่ยอมสักการะ เคารพ นับถือ บูชาครูปูรณะ กัสสปะด้วย อาการอย่างนี้ และสาวกทั้งหลาย ไม่สักการะ เคารพแล้ว ก็ไม่อาศัยครูปูรณะ กัสสปะอยู่ ครูปูรณะ กัสสปะก็ไม่โกรธ เพราะเป็นการตำหนิที่ชอบธรรม’ สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ‘แม้ครูมักขลิ โคสาลนี้ ... ครูอชิตะ เกสกัมพล ... ครูปกุธะ กัจจายนะ ... ครูสัญชัย เวลัฏฐบุตร ... ครูนิครนถ์ นาฏบุตร ถึงจะเป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ เป็นคนมีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้า ลัทธิ คนจำนวนมากยกย่องกันว่าเป็นคนดี แต่สาวกทั้งหลายไม่ยอมสักการะ เคารพ นับถือ บูชา และสาวกทั้งหลายสักการะ เคารพแล้ว ก็ไม่อาศัยครูนิครนถ์ นาฏบุตรอยู่ เรื่องเคยมีมาแล้ว ครูนิครนถ์ นาฏบุตรแสดงธรรมแก่บริษัทหลายร้อย ในบริษัทนั้น สาวกคนหนึ่งของครูนิครนถ์ นาฏบุตรได้ส่งเสียงขึ้นว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย อย่าถาม เนื้อความนี้กับครูนิครนถ์ นาฏบุตรเลย ครูนิครนถ์ นาฏบุตรนี้ไม่รู้เนื้อความนี้ พวกเราสิจึงจะรู้เนื้อความนี้ พวกท่านจงถามเนื้อความนี้กับเราเถิด เราจะอธิบาย เนื้อความนี้ให้ท่านฟัง’ เรื่องเคยมีมาแล้ว ครูนิครนถ์ นาฏบุตรยกมือทั้งสองขึ้น แล้วกล่าวขอร้องว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จงเงียบเสียงหน่อย อย่าส่งเสียงไปเลย ท่านพวกนี้จะถามพวกท่านไม่ได้ แต่ถามเราได้ เราจักอธิบายให้ท่านพวกนี้ฟัง’ ก็ห้ามไม่ได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๘๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๗. มหาสกุลุทายิสูตร

อนึ่ง สาวกของครูนิครนถ์ นาฏบุตรเป็นอันมาก พากันยกโทษว่า ‘ท่านไม่รู้ ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ แต่ผมรู้ทั่วถึง ท่านจะรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด แต่ผมปฏิบัติถูก คำพูดของผมมีประโยชน์ แต่คำพูดของท่านไม่มีประโยชน์ คำที่ควร พูดก่อนท่านกลับพูดภายหลัง คำที่ควรพูดภายหลัง ท่านกลับพูดก่อน เรื่องที่ท่าน เคยชินได้ผันแปรไปแล้ว ผมจับผิดคำพูดของท่านได้แล้ว ผมข่มท่านได้แล้ว ถ้าท่าน มีความสามารถก็จงหาทางแก้ไขคำพูดหรือเปลื้องตนให้พ้นผิดเถิด’ แล้วพากัน หลีกไป พวกสาวกไม่ยอมสักการะ เคารพ นับถือ บูชาครูนิครนถ์ นาฏบุตร ด้วยอาการอย่างนี้ และสาวกทั้งหลาย ไม่สักการะ เคารพแล้ว ก็ไม่อาศัยครูนิครนถ์ นาฏบุตรอยู่ ครูนิครนถ์ นาฏบุตรก็ไม่โกรธ เพราะเป็นการตำหนิที่ชอบธรรม’
ความเคารพในพระพุทธเจ้า
[๒๔๐] สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมพระองค์นี้ ทรงเป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ ทรงเป็นคณาจารย์ เป็นผู้มีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ คนจำนวนมากยกย่องกันว่าเป็นคนดี สาวกทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชา พระองค์ นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยพระองค์อยู่ เรื่องเคยมีมาแล้ว พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมแก่บริษัทหลายร้อย ในบริษัทนั้น สาวกของพระสมณโคดมรูปหนึ่งไอขึ้น เพื่อนพรหมจารีรูปหนึ่งใช้เข่าสะกิดเตือน ให้รู้ว่า ‘ท่านจงเงียบเสียง อย่าส่งเสียงดังไป พระผู้มีพระภาคผู้เป็นศาสดาของเรา ทั้งหลายกำลังแสดงธรรม’ ในเวลาที่พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมแก่บริษัทหลายร้อย จะไม่มีเสียงจาม หรือเสียงไอของสาวกของพระสมณโคดมเลย หมู่มหาชนมุ่งหวัง ที่จะฟังธรรมนั้นว่า ‘เราทั้งหลายจักฟังธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสแก่พวกเรา’ บุรุษ บีบรังผึ้งซึ่งปราศจากตัวอ่อน ที่สี่แยกทางหลวง หมู่มหาชนก็มุ่งหวังที่จะได้น้ำผึ้งนั้น แม้ฉันใด ในเวลาที่พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมแก่บริษัทหลายร้อย ก็ฉันนั้น เหมือนกัน จะไม่มีเสียงจาม หรือเสียงไอของสาวกของพระสมณโคดมเลย หมู่มหาชน มุ่งหวังที่จะฟังธรรมนั้นว่า ‘เราทั้งหลายจักฟังธรรมที่พระผู้มีพระภาคจักตรัสแก่พวกเรา’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๘๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๗. มหาสกุลุทายิสูตร

แม้สาวกของพระสมณโคดมผู้บาดหมางกับเพื่อนพรหมจารีแล้วลาสิกขาออกไป เป็นคฤหัสถ์ ก็ยังกล่าวสรรเสริญพระศาสดา กล่าวสรรเสริญพระธรรม และกล่าว สรรเสริญพระสงฆ์ ไม่ติเตียนผู้อื่น ติเตียนเฉพาะตนเองว่า ‘ถึงพวกเราจักได้มาบวช ในพระธรรมวินัยนี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้วอย่างนี้ แต่ไม่อาจประพฤติพรหมจรรย์ ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิตได้ เป็นคนไม่มีบุญ มีบุญน้อยเสียแล้ว’ สาวกของพระสมณโคดมเหล่านั้นจะเป็นอารามิกชนก็ดี เป็นอุบาสกก็ดี ก็ยัง สมาทานประพฤติสิกขาบท ๕ ประการ สาวกทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระสมณโคดมด้วยอาการอย่างนี้ นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัย พระสมณโคดมอยู่”
ธรรมเป็นเหตุให้ทำความเคารพ ๕ ประการ
[๒๔๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุทายี เธอพิจารณาเห็นธรรมกี่ประการ ที่มีอยู่ในเรา ซึ่งเป็นเหตุให้สาวกของเราสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจาก สักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยเราอยู่” สกุลุทายีปริพาชกกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พิจารณา เห็นธรรม ๕ ประการในพระผู้มีพระภาค ซึ่งเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระผู้มีพระภาค นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัย พระผู้มีพระภาคอยู่ ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. พระผู้มีพระภาคเสวยพระกระยาหารน้อย และทรงกล่าวสรรเสริญ ความเป็นผู้มีอาหารน้อย ข้าพระองค์พิจารณาเห็นธรรมนี้ในพระผู้มี พระภาคเป็นประการที่ ๑ ซึ่งเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระผู้มีพระภาค นอกจากสักการะ เคารพ แล้วก็ยังอาศัยพระผู้มีพระภาคอยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๘๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๗. มหาสกุลุทายิสูตร

๒. พระผู้มีพระภาคทรงสันโดษ๑- ด้วยจีวรตามมีตามได้ และทรงกล่าว สรรเสริญความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ ข้าพระองค์พิจารณา เห็นธรรมนี้ในพระผู้มีพระภาคเป็นประการที่ ๒ ซึ่งเป็นเหตุให้สาวก ทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระผู้มีพระภาค นอกจาก สักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยพระผู้มีพระภาคอยู่ ๓. พระผู้มีพระภาคทรงสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ และทรง กล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ ข้าพระองค์ พิจารณาเห็นธรรมนี้ในพระผู้มีพระภาคเป็นประการที่ ๓ ซึ่งเป็นเหตุ ให้สาวกทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระผู้มีพระภาค นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยพระผู้มีพระภาคอยู่ ๔. พระผู้มีพระภาคทรงสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ และทรง กล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ ข้าพระองค์ พิจารณาเห็นธรรมนี้ในพระผู้มีพระภาคเป็นประการที่ ๔ ซึ่งเป็นเหตุ ให้สาวกทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระผู้มีพระภาค นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยพระผู้มีพระภาคอยู่ ๕. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้สงัด๒- และทรงกล่าวสรรเสริญความสงัด ข้าพระองค์พิจารณาเห็นธรรมนี้ในพระผู้มีพระภาคเป็นประการที่ ๕ ซึ่งเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระผู้มี พระภาค นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยพระผู้มีพระภาคอยู่ @เชิงอรรถ : @ สันโดษ หมายถึงความสันโดษ ๓ ประการ คือ (๑) ยถาลาภสันโดษ เป็นผู้สันโดษตามมีตามได้ทั้งดีและ @ไม่ดี (๒) ยถาพลสันโดษ เป็นผู้สันโดษตามกำลังทั้งกำลังของตนและของทายก (๓) ยถาสารุปปสันโดษ @เป็นผู้สันโดษตามสมควรแก่สมณภาวะ @สันโดษ ๓ ประการ ในปัจจัย ๔ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร จึงเป็น @สันโดษ ๑๒ (ม.มู.อ. ๒/๒๕๒/๔๘-๕๐) @ เป็นผู้สงัด หมายถึงมีวิเวก ๓ ประการ คือ (๑) กายวิเวก สงัดกาย ได้แก่ อยู่ผู้เดียวทุกอิริยาบถ @(๒) จิตตวิเวก ได้แก่ ได้สมาบัติ ๘ (๓) อุปธิวิเวก ได้แก่ บรรลุนิพพาน (ม.มู.อ. ๒/๒๕๒/๕๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๘๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๗. มหาสกุลุทายิสูตร

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พิจารณาเห็นธรรม ๕ ประการนี้แล ที่มีอยู่ ในพระผู้มีพระภาคซึ่งเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอกจาก สักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยพระผู้มีพระภาคอยู่” [๒๔๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุทายี ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยเราอยู่ด้วยเข้าใจ ดังนี้ว่า ‘พระสมณโคดมเสวยพระกระยาหารน้อย และทรงกล่าวสรรเสริญความเป็น ผู้มีอาหารน้อย’ อนึ่ง สาวกทั้งหลายของเราฉันอาหารเพียง ๑ โกสะ๑- ก็มี เพียงครึ่ง โกสะก็มี เพียงเท่าผลมะตูมก็มี เพียงครึ่งผลมะตูมก็มี ส่วนเราสิบางครั้งฉันอาหาร เสมอขอบปากบาตรนี้ก็มี ยิ่งกว่าก็มี ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยเราอยู่ด้วยเข้าใจดังนี้ว่า ‘พระสมณโคดมเสวยพระกระยาหารน้อย และทรงกล่าวสรรเสริญความเป็นผู้มี อาหารน้อย’ สาวกทั้งหลายของเราผู้ที่ฉันอาหารเพียง ๑ โกสะบ้าง เพียงครึ่ง โกสะบ้าง เพียงเท่าผลมะตูมบ้าง เพียงครึ่งผลมะตูมบ้าง ก็คงจะไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา แล้วอาศัยเราอยู่โดยธรรมนี้ (๑) ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยเราอยู่ด้วยเข้าใจดังนี้ว่า ‘พระสมณโคดมทรงสันโดษด้วยจีวร ตามมีตามได้ และทรงกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้’ อนึ่ง สาวกทั้งหลายของเราเป็นผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ทั้งครองจีวรเศร้าหมองด้วย เธอเหล่านั้นเลือกเก็บผ้าที่ไม่มีชายจากป่าช้าบ้าง จากกองหยากเยื่อบ้าง จากร้าน ตลาดบ้าง นำมาทำเป็นผ้าสังฆาฏิใช้ก็มี ส่วนเราสิบางคราวก็ใช้คหบดีจีวรเนื้อแน่น เย็บด้วยเส้นด้ายเหนียว เส้นด้ายละเอียดเช่นกับขนน้ำเต้า ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึง สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็อาศัยเราอยู่ด้วยเข้า ใจดังนี้ว่า ‘พระสมณโคดมทรงสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ และทรงกล่าวสรรเสริญ @เชิงอรรถ : @ ๑ โกสะ หมายถึงถ้วยเล็ก หรือขันเล็ก ที่ทายกผู้เป็นทานบดีบรรจุอาหารชั้นเลิศเก็บไว้ถวายบรรพชิตผู้ @มาบิณฑบาต (ม.ม.อ. ๒/๒๔๒/๑๗๔-๑๗๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๘๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๗. มหาสกุลุทายิสูตร

ความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้’ สาวกทั้งหลายของเราผู้ที่ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง เลือกเก็บผ้าที่ไม่มีชายจากป่าช้าบ้าง จากกองหยากเยื่อบ้าง จากร้านตลาดบ้าง มาทำเป็นผ้าสังฆาฏิใช้ ก็คงจะไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา แล้วอาศัยเราอยู่โดยธรรมนี้ (๒) ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยเราอยู่ด้วยเข้าใจดังนี้ว่า ‘พระสมณโคดมทรงสันโดษด้วย บิณฑบาตตามมีตามได้ และทรงกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมี ตามได้’ อนึ่ง สาวกทั้งหลายของเราเป็นผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ถือการเที่ยวบิณฑบาต ตามลำดับตรอกเป็นวัตร ยินดีในวัตรคือการรับภัตตาหารทั้งดีทั้งเลว เธอเหล่านั้น เมื่อเข้าไปถึงละแวกบ้านแล้ว ถึงใครจะนิมนต์ด้วยอาสนะก็ไม่ยินดี ส่วนเราสิ บางครั้งก็ฉันในที่นิมนต์ แต่ล้วนเป็นข้าวสุกแห่งข้าวสาลีที่เขานำกากออกแล้ว มีแกง และกับหลายอย่าง ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยเราอยู่ด้วยเข้าใจดังนี้ว่า ‘พระสมณโคดม ทรงสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ และทรงกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วย บิณฑบาตตามมีตามได้’ สาวกทั้งหลายของเราผู้ที่ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ถือการเที่ยว บิณฑบาตตามลำดับตรอกเป็นวัตร ยินดีในวัตรคือการรับภัตตาหารทั้งดีทั้งเลว เมื่อเข้าไปยังละแวกบ้านแล้ว ถึงใครจะนิมนต์ด้วยอาสนะก็ไม่ยินดี ก็คงจะไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา แล้วอาศัยเราอยู่โดยธรรมนี้ (๓) ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยเราอยู่ด้วยเข้าใจดังนี้ว่า ‘พระสมณโคดมทรงสันโดษด้วย เสนาสนะตามมีตามได้ และทรงกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้’ อนึ่ง สาวกทั้งหลายของเราถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร ถือการอยู่กลางแจ้งเป็นวัตร เธอเหล่านั้นไม่เข้าไปที่มุงตลอด ๘ เดือน ส่วนเราสิบางครั้งอยู่ในเรือนยอดที่ฉาบทา ทั้งข้างในและข้างนอก ลมเข้าไม่ได้ มีลิ่มชิดสนิทดี มีหน้าต่างเปิดปิดได้ ถ้าสาวก ทั้งหลายจะพึงสักการะเคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยัง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๘๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๗. มหาสกุลุทายิสูตร

อาศัยเราอยู่ด้วยเข้าใจดังนี้ว่า ‘พระสมณโคดมทรงยินดีด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ และทรงกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้’ สาวกทั้งหลาย ของเราผู้ที่ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร ถือการอยู่ในที่แจ้งเป็นวัตรไม่เข้าไปที่มุงตลอด ๘ เดือน ก็คงจะไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา แล้วอาศัยเราอยู่โดยธรรมนี้ (๔) ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยเราอยู่ด้วยเข้าใจดังนี้ว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้สงัด และทรง กล่าวสรรเสริญความสงัด’ อนึ่ง สาวกทั้งหลายของเราถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถือเสนาสนะอันสงัดคือป่าชัฏอยู่ เธอเหล่านั้นย่อมมาประชุมท่ามกลางสงฆ์เฉพาะ เวลาสวดปาติโมกข์ทุกกึ่งเดือน ส่วนเราสิบางคราวก็มากไปด้วยภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจากสักการะ เคารพ แล้วก็ยังอาศัยเราอยู่ด้วยเข้าใจดังนี้ว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้สงัด และทรงกล่าว สรรเสริญความสงัด’ สาวกทั้งหลายของเราผู้ที่ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถือเสนาสนะ อันสงัดคือป่าชัฏอยู่ ย่อมมาประชุมท่ามกลางสงฆ์เฉพาะเวลาสวดปาติโมกข์ทุกกึ่งเดือน ก็คงจะไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา แล้วอาศัยเราอยู่โดยธรรมนี้ (๕) อุทายี สาวกทั้งหลายย่อมไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเราแล้วอาศัยเราอยู่ โดยธรรม ๕ ประการนี้ ด้วยอาการอย่างนี้
ธรรมเป็นเหตุให้ทำความเคารพประการอื่นๆ
[๒๔๓] อุทายี มีธรรม ๕ ประการอื่นอีกซึ่งเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายของเรา สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยเราอยู่ ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ในธรรมวินัยนี้ ๑. สาวกทั้งหลายของเราย่อมสรรเสริญ(เรา) ในอธิศีล๑- ว่า ‘พระสมณโคดม เป็นผู้มีศีล ประกอบด้วยสีลขันธ์อย่างยิ่ง’ การที่สาวกทั้งหลายของ @เชิงอรรถ : @ อธิศีล ในที่นี้หมายถึงศีลอันยอดเยี่ยม ดูเทียบ ที.สี. (แปล) ๙/๔๐๒/๑๗๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๘๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๗. มหาสกุลุทายิสูตร

เราสรรเสริญ(เรา) ในอธิศีลว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้มีศีล ประกอบ ด้วยสีลขันธ์อย่างยิ่ง’ นี้แล เป็นธรรมประการที่ ๑ ซึ่งเป็นเหตุให้ สาวกทั้งหลายของเราสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจาก สักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยเราอยู่ [๒๔๔] ๒. สาวกทั้งหลายของเราย่อมสรรเสริญ(เรา) ในญาณทัสสนะ๑- อันยอด เยี่ยมว่า ‘พระสมณโคดมเมื่อทรงรู้เองก็ตรัสว่า ‘เรารู้’ เมื่อทรงเห็น เองก็ตรัสว่า ‘เราเห็น’ ทรงแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่ง มิใช่ทรงแสดง เพื่อความไม่รู้ยิ่ง ทรงแสดงธรรมมีเหตุ มิใช่ทรงแสดงธรรมไม่มีเหตุ ทรงแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ มิใช่ทรงแสดงธรรมไม่มีปาฏิหาริย์’ การที่ สาวกทั้งหลายของเราสรรเสริญ(เรา)ในญาณทัสสนะอันยอดเยี่ยม ว่า ‘พระสมณโคดมเมื่อทรงรู้เองก็ตรัสว่า ‘เรารู้’ เมื่อทรงเห็นเองก็ ตรัสว่า ‘เราเห็น’ ทรงแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่ง มิใช่ทรงแสดงเพื่อ ความไม่รู้ยิ่ง ทรงแสดงธรรมมีเหตุ มิใช่ทรงแสดงธรรมไม่มีเหตุ ทรงแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ มิใช่ทรงแสดงธรรมไม่มีปาฏิหาริย์’ นี้แล เป็นธรรมประการที่ ๒ ซึ่งเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายของเราสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัย เราอยู่ [๒๔๕] ๓. สาวกทั้งหลายของเราย่อมสรรเสริญ(เรา)ในอธิปัญญา๒- ว่า ‘พระสมณ- โคดมทรงมีพระปัญญา ทรงประกอบด้วยพระปัญญาขันธ์อันยิ่ง เป็นไปไม่ได้เลยที่พระสมณโคดมจักไม่ทรงเล็งเห็นถ้อยคำที่ยังไม่มาถึง หรือจักไม่ทรงข่มคำโต้เถียงของฝ่ายอื่นที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เป็นการ ถูกต้อง มีเหตุผลดี’ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร มีบ้างไหม ที่สาวกทั้งหลายของเรา เมื่อรู้ เห็นอย่างนี้ จะพึงพูดสอดขึ้นมา” “ไม่มี พระพุทธเจ้าข้า” @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๑๘๕ (จูฬวัจฉโคตตสูตร) หน้า ๒๑๖ ในเล่มนี้ @ อธิปัญญา หมายถึงปัญญาในมรรค ๔ และผล ๔ ดูเทียบ อภิ.วิ.(แปล) ๓๕/๗๗๐/๕๐๕ อีกนัยหนึ่ง หมายถึง @วิปัสสนาปัญญาและมรรคปัญญา (อภิ.วิ.อ. ๗๗๐/๔๔๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๘๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๗. มหาสกุลุทายิสูตร

“อุทายี เราไม่หวังการพร่ำสอนจากสาวกทั้งหลาย ที่แท้สาวกทั้งหลาย ย่อมหวังการพร่ำสอนจากเราเท่านั้น การที่สาวกทั้งหลายของเรา ย่อมสรรเสริญ(เรา)ในอธิปัญญาว่า ‘พระสมณโคดมทรงมีพระปัญญา ทรงประกอบด้วยพระปัญญาขันธ์อันยิ่ง เป็นไปไม่ได้เลยที่พระสมณ- โคดมจักไม่ทรงเล็งเห็นถ้อยคำที่ยังไม่มาถึง หรือจักไม่ทรงข่มคำโต้ เถียงของฝ่ายอื่นที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เป็นการถูกต้อง มีเหตุผลดี’ นี้แล เป็นธรรมประการที่ ๓ ซึ่ง เป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายของเราสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยเราอยู่ [๒๔๖] ๔. สาวกทั้งหลายของเราผู้ถูกทุกข์ท่วมทับแล้ว ถูกทุกข์ครอบงำแล้ว เพราะทุกข์ใด เธอเหล่านั้นจึงเข้ามาหาเราแล้วถามถึงทุกขอริยสัจนั้น เราถูกเธอเหล่านั้นถามถึงทุกขอริยสัจก็ตอบได้ เราทำให้เธอเหล่า นั้นมีจิตยินดีแช่มชื่นด้วยการตอบปัญหา เธอเหล่านั้นเข้ามาหาเรา แล้วถามถึงทุกขสมุทัยอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯลฯ ถามถึง ทุกขนิโรธคามินีปฏิทาอริยสัจ เราถูกเธอเหล่านั้นถามถึงทุกข- นิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจก็ตอบได้ เราทำให้เธอเหล่านั้นมีจิตยินดี แช่มชื่นด้วยการตอบปัญหา การที่สาวกทั้งหลายของเราผู้ถูกทุกข์ ท่วมทับแล้ว ถูกทุกข์ครอบงำแล้วเพราะทุกข์ใด เธอเหล่านั้นจึงเข้า มาหาเราแล้ว ถามถึงทุกขอริยสัจนั้น เราถูกเธอเหล่านั้นถามถึง ทุกขอริยสัจก็ตอบได้ เราทำให้เธอเหล่านั้นมีจิตยินดีแช่มชื่นด้วยการ ตอบปัญหา เธอเหล่านั้นเข้ามาหาเราแล้วถามถึงทุกขสมุทัยอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯลฯ ถามถึงทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เราถูกเธอเหล่านั้นถามถึงทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจแล้วก็ตอบได้ เราทำให้เธอเหล่านั้นมีจิตยินดีแช่มชื่นด้วยการตอบปัญหา นี้แล เป็นธรรมประการที่ ๔ ซึ่งเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายของเราสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัย เราอยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๙๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๗. มหาสกุลุทายิสูตร

[๒๔๗] ๕. เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเราผู้ปฏิบัติ ตามย่อมเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ฯลฯ ๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ ๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เพราะเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุ ที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมี๑- อยู่ อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเรา ผู้ปฏิบัติตามเจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. สร้างฉันทะ๒- พยายาม ปรารภความเพียร๓- ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรม๔- ที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ๒. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๓. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น @เชิงอรรถ : @ ที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมี ในที่นี้หมายถึงพระอรหัตตผลอันมีอภิญญาเป็นที่สุด และมี @อภิญญาเป็นบารมี (ม.ม.อ. ๒/๒๔๗/๑๗๗) @ สร้างฉันทะ ในที่นี้หมายถึงสร้างความพอใจในกุศลคือความประสงค์จะทำยิ่งขึ้น (ม.ม.อ. ๒/๒๔๗/๑๗๗) @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๒๕ (เสขปฏิปทาสูตร) หน้า ๒๙ ในเล่มนี้ @ บาปอกุศลธรรม ในที่นี้หมายถึงอาสวะ คือ กามาสวะ (อาสวะคือกาม) (ม.ม.อ. ๒/๒๔๗/๑๘๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๙๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๗. มหาสกุลุทายิสูตร

๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อ ความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่ แห่ง กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะเจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการนั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้ บรรลุที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่ อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเรา ผู้ปฏิบัติตามเจริญอิทธิบาท ๔ ประการ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร๑- (สมาธิที่เกิดจาก ฉันทะและความเพียรสร้างสรรค์) ๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร(สมาธิที่เกิดจาก วิริยะและความเพียรสร้างสรรค์) ๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร(สมาธิที่เกิดจาก จิตตะและความเพียรสร้างสรรค์) ๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร(สมาธิที่เกิด จากวิมังสาและความเพียรสร้างสรรค์) เพราะเจริญอิทธิบาท ๔ ประการนั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุ ที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่ อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเรา ผู้ปฏิบัติตามเจริญอินทรีย์ ๕ ประการ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เจริญสัทธินทรีย์ที่ให้ถึงความสงบ ให้ถึงความตรัสรู้ ๒. เจริญวิริยินทรีย์ ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ฉันทสมาธิหมายถึงสมาธิที่เกิดจากฉันทะ ปธานสังขารหมายถึงความเพียรที่มุ่งมั่น(ปธาน)วิริยสมาธิ @จิตตสมาธิ และวิมังสาสมาธิ ก็มีอรรถาธิบายเช่นเดียวกัน ในสูตรนี้ เป็นทั้งโลกิยะและโลกุตตระ @(ม.มู.อ. ๑/๑๘๙/๓๙๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๙๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๗. มหาสกุลุทายิสูตร

๓. เจริญสตินทรีย์ ฯลฯ ๔. เจริญสมาธินทรีย์ ฯลฯ ๕. เจริญปัญญินทรีย์ที่จะให้ถึงความสงบ ให้ถึงความตรัสรู้ เพราะเจริญอินทรีย์ ๕ ประการนั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุ ที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่ อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเรา ผู้ปฏิบัติตามเจริญพละ(ธรรมอันเป็นกำลัง) ๕ ประการ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เจริญสัทธาพละที่ให้ถึงความสงบ ให้ถึงความตรัสรู้ ๒. เจริญวิริยพละ ฯลฯ ๓. เจริญสติพละ ฯลฯ ๔. เจริญสมาธิพละ ฯลฯ ๕. เจริญปัญญาพละ ที่จะให้ถึงความสงบ ให้ถึงความตรัสรู้ เพราะเจริญพละ ๕ ประการนั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุที่สุด แห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่ อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเรา ผู้ปฏิบัติตามเจริญโพชฌงค์(องค์ธรรมแห่งการตรัสรู้) ๗ ประการ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อม ไปในโวสสัคคะ (ความสละ) ๒. เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๓. เจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๔. เจริญปีติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๕. เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๙๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๗. มหาสกุลุทายิสูตร

๖. เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ (ความสละ) เพราะเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการนั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุ ที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่ อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเรา ผู้ปฏิบัติตามเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เจริญสัมมาทิฏฐิ ๒. เจริญสัมมาสังกัปปะ ๓. เจริญสัมมาวาจา ๔. เจริญสัมมากัมมันตะ ๕. เจริญสัมมาอาชีวะ ๖. เจริญสัมมาวายามะ ๗. เจริญสัมมาสติ ๘. เจริญสัมมาสมาธิ เพราะเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุ ที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่ [๒๔๘] อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย ของเราผู้ปฏิบัติตาม เจริญวิโมกข์(ธรรมเครื่องหลุดพ้น) ๘ ประการ๑- คือ ๑. สาวกผู้มีรูปเห็นรูปทั้งหลาย นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๑ ๒. สาวกผู้มีอรูปสัญญาภายในเห็นรูปทั้งหลายภายนอก นี้เป็นวิโมกข์ ประการที่ ๒ ๓. สาวกน้อมใจไปว่า ‘งาม’ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๓ ๔. สาวกบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุด มิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตต- สัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๔ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๗๔/๑๒๒, ที.ปา. ๑๑/๓๓๙/๒๓๐, องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๖๖/๓๖๘-๓๖๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๙๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๗. มหาสกุลุทายิสูตร

๕. สาวกล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ วิญญาณัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๕ ๖. สาวกล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ อากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ นี้เป็นวิโมกข์ ประการที่ ๖ ๗. สาวกล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ เนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๗ ๘. สาวกล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ สัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๘ เพราะเจริญวิโมกข์ ๘ ประการนั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุที่สุด แห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่ [๒๔๙] อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย ของเราผู้ปฏิบัติตาม เจริญอภิภายตนะ๑- ๘ ประการ คือ ๑. สาวกผู้หนึ่งมีรูปสัญญาภายใน๒- เห็นรูปทั้งหลายภายนอกขนาดเล็ก มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๑ ๒. สาวกผู้หนึ่งมีรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกขนาดใหญ่ มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๒ @เชิงอรรถ : @ อภิภายตนะ หมายถึงเหตุครอบงำ เหตุที่มีอิทธิพล ได้แก่ญาณหรือฌานที่เป็นเหตุครอบงำนิวรณ์ ๕ และ @อารมณ์ทั้งหลาย คำนี้มาจาก อภิภู+อายตนะ ที่ชื่อว่า อภิภู เพราะครอบงำอารมณ์ และชื่อว่า อายตนะ @เพราะเป็นที่เกิดความสุขอันวิเศษแก่พระโยคีทั้งหลาย เพราะเป็นมนายตนะและธัมมายตนะ @(องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๕/๒๗๐, องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา ๓/๖๑-๖๕/๓๐๒, ที.ม.อ. ๒/๑๗๓/๑๖๔, ม.ม.อ. ๒/๒๔๙/๑๘๗) @ มีรูปสัญญาภายใน หมายถึงจำได้หมายรู้รูปภายในโดยการบริกรรมรูปภายในที่ยังไม่ถึงอัปปนา @(องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๕/๒๗๐, ม.ม.อ. ๒/๒๔๙/๑๘๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๙๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๗. มหาสกุลุทายิสูตร

๓. สาวกผู้หนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน๑- เห็นรูปทั้งหลายภายนอกขนาดเล็ก มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๓ ๔. สาวกผู้หนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกขนาดใหญ่ มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๔ ๕. สาวกผู้หนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่เขียว มีสีเขียว เปรียบด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม ดอกผักตบที่เขียว มีสี เขียว เปรียบด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม หรือผ้าเมืองพาราณสีอัน มีเนื้อละเอียดทั้ง ๒ ด้าน ที่เขียว มีสีเขียว เปรียบด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม แม้ฉันใด สาวกผู้หนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน ก็ฉันนั้น เหมือนกัน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่เขียว มีสีเขียว เปรียบด้วย ของเขียว มีสีเขียวเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๕ ๖. สาวกผู้หนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม ดอกกรรณิการ์ที่ เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม หรือผ้า เมืองพาราณสีอันมีเนื้อละเอียดทั้ง ๒ ด้าน ที่เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม แม้ฉันใด สาวกผู้หนึ่งมี อรูปสัญญาภายใน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่ เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม ครอบงำ รูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะ ประการที่ ๖ @เชิงอรรถ : @ มีอรูปสัญญาภายใน หมายถึงปราศจากการบริกรรมในรูปภายใน เพราะไม่ให้รูปสัญญาเกิดขึ้น @(องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๕/๒๗๑, ม.ม.อ. ๒/๒๔๙/๑๘๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๙๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๗. มหาสกุลุทายิสูตร

๗. สาวกผู้หนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่แดง มีสี แดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม ดอกชบาที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง และมีสีแดงเข้ม หรือผ้าเมืองพาราณสีอันมีเนื้อ ละเอียดทั้ง ๒ ด้าน ที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม แม้ฉันใด สาวกผู้หนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นรูป ทั้งหลายภายนอกที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็น อภิภายตนะประการที่ ๗ ๘. สาวกผู้หนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกสีขาว มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม ดาวประกายพรึกที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว และมีสีขาวเข้ม หรือผ้าเมืองพาราณสี อันมีเนื้อละเอียดทั้ง ๒ ด้าน ที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม แม้ฉันใด สาวกผู้หนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน ก็ฉันนั้น เหมือนกัน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วย ของขาว มีสีขาวเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๘ เพราะเจริญอภิภายตนะ ๘ ประการนั้นแล๑- สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้ บรรลุที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมี๒- อยู่ [๒๕๐] อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวก ทั้งหลายของเราผู้ปฏิบัติตามเจริญกสิณายตนะ๓- (บ่อเกิดแห่งธรรมที่มีกสิณเป็นอารมณ์) ๑๐ ประการ คือ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๒๙/๗๑-๗๓, ที.ปา. ๑๑/๓๔๖/๒๓๗-๒๓๘ @ บรรลุที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมี ในที่นี้หมายถึงเหล่าสาวกเจริญธรรมในสติปัฏฐานเป็นต้น @ก่อน จากนั้นจึงบรรลุอรหัตตผล หรือเป็นผู้อบรมวสีในอภิภายตนะ ๘ ประการนี้ (ม.ม.อ. ๒/๒๔๙/๑๘๙) @ กสิณายตนะ หมายถึงที่เกิดหรือที่เป็นไปแห่งธรรมทั้งหลายโดยบริกรรมกสิณเป็นอารมณ์ คำว่า กสิณ @หมายถึงวัตถุสำหรับเพ่งเพื่อจูงใจให้เป็นสมาธิทั้งหมดหรือสิ้นเชิง กล่าวคือวัตถุสำหรับแผ่ไปไม่เหลือ ให้ @ปักใจอยู่ในอารมณ์กัมมัฏฐานเพียงอารมณ์เดียว (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๕/๓๓๓, องฺ.ทสก.ฏีกา ๒/๒๕/๓๙๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๙๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๗. มหาสกุลุทายิสูตร

๑. สาวกผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดปฐวีกสิณ(กสิณคือดิน) เบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง ไม่มีประมาณ ๒. สาวกผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดอาโปกสิณ(กสิณคือน้ำ) ฯลฯ ๓. สาวกผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดเตโชกสิณ(กสิณคือไฟ) ฯลฯ ๔. สาวกผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดวาโยกสิณ(กสิณคือลม) ฯลฯ ๕. สาวกผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดนีลกสิณ(กสิณคือสีเขียว) ฯลฯ ๖. สาวกผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดปีตกสิณ(กสิณคือสีเหลือง) ฯลฯ ๗. สาวกผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดโลหิตกสิณ(กสิณคือสีแดง) ฯลฯ ๘. สาวกผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดโอทาตกสิณ(กสิณคือสีขาว) ฯลฯ ๙. สาวกผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดอากาสกสิณ(กสิณคือที่ว่างเปล่า) ฯลฯ ๑๐. สาวกผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดวิญญาณกสิณ(กสิณคือวิญญาณ) เบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง ไม่มีประมาณ เพราะเจริญกสิณายตนะ ๑๐ ประการนั้นแล๑- สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้ บรรลุที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่
ฌาน ๔
[๒๕๑] อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย ของเราผู้ปฏิบัติตาม เจริญฌาน ๔ ประการ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่น อิ่มเอิบ ด้วยปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกรู้สึกซาบซ่านอยู่ ไม่มีส่วนไหนของ ร่างกายที่ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกจะไม่ถูกต้อง พนักงานสรงสนาน หรือลูกมือพนักงานสรงสนานผู้ชำนาญ เทผงถูตัวลงในภาชนะสัมฤทธิ์ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๒๙/๗๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๙๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๗. มหาสกุลุทายิสูตร

แล้วเอาน้ำประพรมให้ติดเป็นก้อน พอตกเย็นก้อนถูตัวที่ยางซึมไปจับ ก็ติดกันหมด ไม่กระจายออก แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทำกายนี้ให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ด้วยปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก รู้สึก ซาบซ่านอยู่ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก จะไม่ถูกต้อง ๒. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่ เธอ ทำกายนี้ให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ด้วยปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิรู้สึก ซาบซ่านอยู่ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ จะไม่ถูกต้อง ห้วงน้ำลึก เป็นวังวน ไม่มีทางที่กระแสน้ำจะไหล เข้าได้ ทั้งด้านตะวันออก ด้านตะวันตก ด้านเหนือ และด้านใต้ ฝนก็ไม่ตกตามฤดูกาล แต่กระแสน้ำเย็นพุขึ้นจากห้วงน้ำนั้นแล้วทำ ห้วงน้ำนั้นให้ชุ่มชื่น เอิบอาบ เนืองนองไปด้วยน้ำเย็น ไม่มีส่วนไหน ของห้วงน้ำนั้นที่น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น เหมือนกัน ทำกายนี้ให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ด้วยปีติและสุขอันเกิดจาก สมาธิรู้สึกซาบซ่านอยู่ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่ปีติและสุขอันเกิด จากสมาธิจะไม่ถูกต้อง ๓. เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุข ด้วยนามกายบรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่ เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่น อิ่มเอิบ ด้วยสุขอันไม่มีปีติรู้สึกซาบซ่านอยู่ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่สุข อันไม่มีปีติจะไม่ถูกต้อง ในกอบัวเขียว(อุบล) กอบัวหลวง(ปทุม) หรือกอบัวขาว(บุณฑริก) ดอกบัวเขียว ดอกบัวหลวงหรือดอกบัว ขาวบางเหล่าที่เกิด เจริญเติบโตในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ใต้น้ำ มีน้ำ หล่อเลี้ยงไว้ ดอกบัวเหล่านั้นชุ่มชื่น เอิบอาบ ซาบซึมด้วยน้ำเย็นตั้ง แต่ยอดถึงเหง้า ไม่มีส่วนไหนของดอกบัวเขียวดอกบัวหลวง หรือ ดอกบัวขาวทั่วทุกดอก ที่น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง แม้ฉันใด ภิกษุก็ ฉันนั้นเหมือนกัน ทำกายนี้ให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ด้วยสุขอันไม่มีปีติรู้สึก ซาบซ่านอยู่ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่สุขอันไม่มีปีติจะไม่ถูกต้อง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๙๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๗. มหาสกุลุทายิสูตร

๔. เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน ภิกษุ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ เธอมีใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง นั่งแผ่ไป ทั่วกายนี้ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่ใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องจะไม่ ถูกต้อง บุรุษนั่งใช้ผ้าขาวคลุมตัวตลอดศีรษะ ไม่มีส่วนไหนของร่าง กายที่ผ้าขาวจะไม่ปกคลุม แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีใจ อันบริสุทธิ์ผุดผ่อง นั่งแผ่ไปทั่วกายนี้ ไม่มีส่วนไหนของร่างกาย ที่ใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องจะไม่ถูกต้อง เพราะปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วเจริญฌาน ๔ ประการนั้นแล สาวก ของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่
วิชชา ๘ ประการ
๑. วิปัสสนาญาณ
[๒๕๒] อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย ของเราผู้ปฏิบัติตามรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘กายของเรานี้คุมกันเป็นรูปร่างประกอบขึ้นจาก มหาภูตรูป ๔ เกิดจากมารดาบิดา เจริญวัยเพราะข้าวสุกและขนมกุมมาส ไม่เที่ยงแท้ ต้องอบ ต้องนวดเฟ้น มีอันแตกกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา วิญญาณของเรา อาศัยและเนื่องอยู่ในกายนี้’ แก้วไพฑูรย์อันงดงาม ตามธรรมชาติมีแปดเหลี่ยม ที่เจียระไนดีแล้ว สุกใสเป็นประกายได้สัดส่วน มีด้ายสีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว หรือสีนวลร้อยอยู่ข้างใน คนตาถึงหยิบแก้วไพฑูรย์นั้นวางไว้ในมือแล้วพิจารณารู้ว่า ‘แก้วไพฑูรย์อันงดงามตามธรรมชาติ มีแปดเหลี่ยม ที่เจียระไนดีแล้ว สุกใส เป็น ประกายได้สัดส่วนมีด้ายสีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว หรือสีนวลร้อยอยู่ข้างใน’ ได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้บอก ข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเราผู้ปฏิบัติตามย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘กายของเรานี้คุมกันเป็นรูปร่าง ประกอบขึ้นจากมหาภูตรูป ๔ เกิดจากมารดาบิดา เจริญวัยเพราะข้าวสุกและขนมกุมมาส ไม่เที่ยงแท้ ต้องอบ ต้องนวดเฟ้น มีอันแตก กระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา วิญญาณของเราอาศัยและเนื่องอยู่ในกายนี้’ เพราะปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วรู้ชัดอย่างนี้นั้นแล สาวกของเราเป็น อันมากจึงได้บรรลุที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๓๐๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๗. มหาสกุลุทายิสูตร

๒. มโนมยิทธิญาณ
[๒๕๓] อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย ของเราผู้ปฏิบัติตามเนรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปที่เกิดแต่ใจ มีอวัยวะครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง เปรียบเหมือนคนชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง เขาเห็นอย่างนี้ว่า ‘นี้คือหญ้าปล้อง นี้คือไส้ หญ้าปล้องเป็นอย่างหนึ่ง ไส้ก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง แต่ไส้ถูก ชักออกมาจากหญ้าปล้องนั่นเอง’ คนชักดาบออกจากฝัก เขาเห็นอย่างนี้ว่า ‘นี้คือดาบ นี้คือฝัก ดาบเป็น อย่างหนึ่ง ฝักก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง แต่ดาบถูกชักออกมาจากฝักนั่นเอง’ หรือคนดึงงูออกจากคราบ เขาเห็นอย่างนี้ว่า ‘นี้คืองู นี้คือคราบ งูเป็นอย่างหนึ่ง คราบก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง แต่งูถูกดึงออกจากคราบนั่นเอง’ แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้น เหมือนกัน ได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเราผู้ปฏิบัติตาม ข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วย่อมเนรมิตกายอื่นจากกายนี้ได้ มีรูปที่เกิดแต่ใจ มีอวัยวะ ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง เพราะปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วเนรมิตกายนั้นแล สาวกทั้งหลายของ เราเป็นอันมากจึงบรรลุที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่
๓. อิทธิวิธญาณ
[๒๕๔] อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย ของเราผู้ปฏิบัติตาม แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏหรือให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง (และ)ภูเขาไปได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงในแผ่นดินเหมือน ไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะ ไปในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์ มากมีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ เปรียบเหมือน ช่างหม้อหรือลูกมือช่างหม้อผู้ชำนาญ เมื่อนวดดินเหนียวดีแล้วพึงทำภาชนะที่ต้องการ ให้สำเร็จได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๓๐๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๗. มหาสกุลุทายิสูตร

ช่างงาหรือลูกมือช่างงาผู้ชำนาญ เมื่อแต่งงาดีแล้ว พึงทำเครื่องงาชนิดที่ ต้องการให้สำเร็จได้ ช่างทองหรือลูกมือช่างทองผู้ชำนาญ เมื่อหลอมทองดีแล้ว พึงทำทอง รูปพรรณชนิดที่ต้องการให้สำเร็จได้ แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้บอกข้อ ปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเราผู้ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้ว ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดง เป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏหรือให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง (และ)ภูเขาไป ได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงในแผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศ เหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์มากมีอานุภาพ มากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ เพราะปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วแสดงฤทธิ์นั้นแล สาวกของเราเป็น อันมากจึงบรรลุที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่
๔. ทิพพโสตธาตุญาณ
[๒๕๕] อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย ของเราผู้ปฏิบัติตามได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ (๑) เสียงทิพย์ (๒) เสียงมนุษย์ ทั้งที่ อยู่ไกลและใกล้ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ คนเป่าสังข์ที่แข็งแรง จะพึงยังคน ให้รู้ตลอดทิศทั้ง ๔ โดยไม่ยาก แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้บอกข้อปฏิบัติ แก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเราผู้ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วย่อม ได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ (๑) เสียงทิพย์ (๒) เสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ เพราะปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วได้ยินเสียง ๒ ชนิดนั้นแล สาวกทั้งหลาย ของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๓๐๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๗. มหาสกุลุทายิสูตร

๕. เจโตปริยญาณ
[๒๕๖] อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย ของเราผู้ปฏิบัติตาม กำหนดรู้จิตของสัตว์และคนอื่นด้วยจิตของตน คือ จิตมีราคะก็รู้ว่า ‘จิตมีราคะ’ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่า ‘จิตปราศจากราคะ’ จิตมีโทสะก็รู้ว่า ‘จิตมีโทสะ’ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่า ‘จิตปราศจากโทสะ’ จิตมีโมหะก็รู้ว่า ‘จิตมีโมหะ’ หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ว่า ‘จิตปราศจากโมหะ’ จิตหดหู่ก็รู้ว่า ‘จิตหดหู่’ หรือจิตฟุ่งซ่านก็รู้ว่า ‘จิตฟุ้งซ่าน’ จิตเป็นมหัคคตะ๑- ก็รู้ว่า ‘จิตเป็นมหัคคตะ’ หรือจิตไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ว่า ‘จิตไม่ เป็นมหัคคตะ’ จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่า ‘จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า’ หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่า ‘จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า’ จิตเป็นสมาธิก็รู้ว่า ‘จิตเป็นสมาธิ’ หรือจิตไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่า ‘จิตไม่เป็นสมาธิ’ จิตหลุดพ้นก็รู้ว่า ‘จิตหลุดพ้น’ หรือจิตไม่หลุดพ้นก็รู้ว่า ‘จิตไม่หลุดพ้น’ ชายหนุ่มหญิงสาวที่ชอบการแต่งตัว เมื่อส่องดูเงาหน้าของตนในกระจกใสสะอาด หรือในภาชนะน้ำใส หน้ามีไฝฝ้าก็รู้ว่า มีไฝฝ้า หรือไม่มีไฝฝ้าก็รู้ว่า ไม่มีไฝฝ้า แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย ของเราผู้ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วย่อมกำหนดรู้จิตของสัตว์ และคนอื่นด้วย จิตของตน คือ จิตมีราคะก็รู้ว่า ‘จิตมีราคะ’ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่า ‘จิตปราศจากราคะ’ จิตมีโทสะก็รู้ว่า ‘จิตมีโทสะ’ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่า ‘จิตปราศจากโทสะ’ จิตมีโมหะ ... หรือจิตปราศจากโมหะ ... จิตหดหู่ ... หรือจิตฟุ้งซ่าน ... @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๒๐ (อัฏฐกนาครสูตร) หน้า ๒๑ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๓๐๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๗. มหาสกุลุทายิสูตร

จิตเป็นมหัคคตะ ... หรือจิตไม่เป็นมหัคคตะ ... จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ... หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ... จิตเป็นสมาธิ ... หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ... จิตหลุดพ้นก็รู้ว่า ‘จิตหลุดพ้น’ หรือจิตไม่หลุดพ้นก็รู้ว่า ‘จิตไม่หลุดพ้น’ เพราะปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วรู้จิตผู้อื่นนั้นแล สาวกของเราเป็นอัน มากจึงได้บรรลุที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่
๖. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
[๒๕๗] อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย ของเราผู้ปฏิบัติตาม ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัป และวิวัฏฏกัป๑- เป็นอันมากบ้างว่า ‘ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้นๆ จุติจากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมี อายุอย่างนั้นๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้’ เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ คนจากบ้านตนไปบ้านอื่น แล้วจาก บ้านนั้นไปยังบ้านอื่นอีก เขาจากบ้านนั้นกลับมายังบ้านเดิมของตนระลึกได้อย่างนี้ว่า ‘เราได้จากบ้านตนไปบ้านอื่น ในบ้านนั้น เราได้ยืน นั่ง พูด นิ่งเฉยอย่างนั้นๆ เราได้จากแม้บ้านนั้นไปยังบ้านโน้น แม้ในบ้านนั้น เราก็ได้ยืน นั่ง พูด นิ่งเฉย @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๑๔ (กันทรกสูตร) หน้า ๑๗ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๓๐๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๗. มหาสกุลุทายิสูตร

อย่างนั้นๆ แล้วกลับจากบ้านนั้นมายังบ้านเดิมของตน’ แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้น เหมือนกัน ได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเราผู้ปฏิบัติตาม ข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วย่อมระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติ บ้าง ฯลฯ เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมลักษณะทั่วไปและชีวประวัติ อย่างนี้ เพราะปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วระลึกชาติได้นั้นแล สาวกของเราเป็น อันมากจึงได้บรรลุที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่
๗. ทิพพจักขุญาณ
[๒๕๘] อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย ของเราผู้ปฏิบัติตาม เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและ ไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้ เป็นไปตามกรรมว่า ‘หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต กล่าวร้าย พระอริยะ มีความเห็นผิด และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด พวกเขา หลังจากตายแล้วจะไปบังเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบ กายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบ และ ชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปบังเกิดใน สุคติโลกสวรรค์’ เธอเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและ ไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็น ไปตามกรรมอย่างนี้แล เรือน ๒ หลังที่ใช้ประตูร่วมกัน คนตาดียืนอยู่ระหว่าง เรือน ๒ หลังนั้น เห็นหมู่ชนกำลังเข้าไปสู่เรือนบ้าง ออกจากเรือนบ้าง เดินรอบๆ บ้าง แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย ของเราผู้ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วย่อมเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๓๐๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๗. มหาสกุลุทายิสูตร

ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือ มนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ฯลฯ๑- เพราะปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วเห็นสัตว์กำลังจุติ กำลังเกิดนั้นแล สาวก ทั้งหลายของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่
๘. อาสวักขยญาณ
[๒๕๙] อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวก ทั้งหลายของเราผู้ปฏิบัติตาม ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน สระน้ำใสสะอาดไม่ขุ่น มัวบนยอดภูเขา คนมีตาดียืนที่ขอบสระนั้น เห็นหอยโข่งและหอยกาบ ก้อนกรวด และก้อนหิน หรือฝูงปลา กำลังแหวกว่ายอยู่บ้าง หยุดอยู่บ้าง ในสระนั้น ก็คิด อย่างนี้ว่า ‘สระน้ำนี้ ใสสะอาด ไม่ขุ่นมัว หอยโข่งและหอยกาบ ก้อนกรวดและก้อนหิน หรือฝูงปลา เหล่านี้กำลังแหวกว่ายอยู่ก็มี หยุดอยู่ก็มี ในสระนั้น’ แม้ฉันใด๒- เราก็ ฉันนั้นเหมือนกัน ได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเราผู้ปฏิบัติ ตามข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วย่อมทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เพราะปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วรู้แจ้งวิมุตตินั้นแล สาวกของเราเป็น อันมากจึงได้บรรลุที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่ นี้แล เป็นธรรมประการที่ ๕ ซึ่งเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายของเราสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยเราอยู่ อุทายี ธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายของเราสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยเราอยู่” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว สกุลุทายีปริพาชกมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
มหาสกุลุทายีสูตรที่ ๗ จบ
@เชิงอรรถ : @ ดูเนื้อความเต็มข้อ ๑๕ (กันทรกสูตร) หน้า ๑๗-๑๘ ในเล่มนี้ @ ดูเทียบ ที.สี. (แปล) ๙/๒๒๖-๒๔๙/๗๕-๘๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๓๐๖}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๒๗๘-๓๐๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=13&A=7810 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=13&siri=27              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับฉบับหลวง https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=5498&Z=6022&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=314              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_13 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu13 https://84000.org/tipitaka/english/?index_13


บันทึก ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]